Aspiration หรือ Ambition


วิจัยแบบไทยๆ 'ทะเยอทะยาน' น้อยไปหรือเปล่า ?

เป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในใจ
หลังได้ร่วมงานประชุมวิชาการ 4th APOMC
ได้เห็นงานวิจัยจากประเทศ ญี่ปุ่น,ไต้หวัน, ฮ่องกง
ที่ลงถึงระดับ พันธุวิศวกรรม
เพื่อพยายามหาวิธีรักษาโรคที่ (ณ ขณะนี้) รักษาไม่ได้

สังคมไทย มองคำว่า 'ทะเยอทะยาน' ในแง่ลบกว่า คำว่า 'เจียมตัว'

มีผู้อธิบายไว้ ที่นี่ ซึ่งข้าพเจ้าแปลตามความเข้าใจดังนี้

Ambition -> อิจฉา เพ่งเล็งที่ 'เป้าหมาย' เพื่อชื่อเสียง เงินทอง เพื่อ 'ตนเอง'
มาจากรากศัพท์ ลาติน Ambitionem (=going round)
Aspiration -> พัฒนา ให้ความสำคัญทั้ง 'เส้นทางและเป้าหมาย' เพื่อ'สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตนเอง/จิตวิญญาณ'
มาจากรากศัพท์ ลาติน Spiritus หรือ ฝรั่งเศส Aspirare (= breathing out)

ในทัศนะข้าพเจ้า
'ทะเยอทะยาน' อาจมีทั้ง Ambition และ Aspiration ในเวลาเดียวกัน
เพียงในแต่ละคน แต่ละช่วงเวลา มีสัดส่วนไม่เท่ากัน
Thomas Edison หรือ Steve jobs
สัดส่วนของ Ambition น่าจะมากกว่า ก่อน Aspiration เพิ่มขึ้นตามลำดับ

###

ขอบคุณอาจารย์และศูนย์โรคสมองภาคเหนือ ที่ให้โอกาสได้เรียนรู้


ตัวอย่าง งานวิจัย จากประเทศฮ่องกง ที่มี 'ความทะเยอทะยาน'
สร้างความหวังแก่ผู้ป่วยโรค Spinocerebellar ataxia ด้วยพันธุศาสตร์

ข้อสังเกต เพื่อพัฒนา

1.'ทะเยอทะยาน' ทำวิจัยทั้งทีให้มีประโยชน์ต่อส่วนรวม

2.'ข้ามข้อจำกัด' ด้วยการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ

3. 'ตามการหายใจ' ทำต่อเนื่อง มีขึ้น มีลง เป็นเรื่องธรรมดา
..ราบเรียบ = หมดชีวิต

หมายเลขบันทึก: 581930เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2014 05:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2014 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบพระคุณสำหรับมุมมองที่น่าสนใจ น่าอ่าน ชวนติดตาม ผมเริ่มจะมี ambition และ aspirations สำหรับ innovation แล้วละครับ

อยากเห็นงานเขียนของคุณหมอ ป. กลายเป็นหนังสือสักเล่มให้พวกเราได้อ่านมุมมองต่าง ๆ เหล่านี้ ;)...

ได้ความรู้ใหม่ และสะกดใจมากมายกับบันทึกนี้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท