หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน : เรื่องในภาพ ๑ (ว่าด้วยยายและหลานๆ : ภาษาเกาหลี)


ในเช้ารุ่งที่ผมรอการเดินทางครั้งใหม่ลงสู่ชุมชน เพื่อประเมินชุมชนต้นแบบ-หลักสูตรต้นแบบเนื่องในโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ปี ๒๕๕๗ ซึ่งวันนี้มีทั้งหมด ๓ พื้นที่...

ในช่วงเวลาการรอคอย ผมไม่ได้ลงไปเดินทอดเท้าสัมผัสผืนดินและสายลมหนาวที่หลงทิศหลงทางมาแต่อย่างใด หากแต่เลือกที่จะนั่งอ่านงานเล็กๆ น้อยๆ ไปพรางๆ...

ก่อนอื่น ต้องขออภัยกัลยาณมิตรอย่างที่สุดที่ไม่ค่อยได้ไปทักทายและแลกเปลี่ยนใน Blog อย่างที่ควรจะเป็น สารภาพอย่างไม่อายเลยครับว่า ตลอดเดือนเศษที่ผ่านมานั้น ผมและทีมงานยังนอนไม่อุ่นกันเลย เพราะแบกรักภารกิจหนักหน่วงต่อเนื่องชนิด วันต่อวัน -...

ผมเลือกที่จะเติมพลังชีวิตให้ตัวเองผ่านการดูภาพต่างๆ ...ที่สัมพันธ์กับการงานทีี่กำลังสัญจรไปในเช้านี้ และวันนี้ทั้งวัน
ภาพต่อไปนี้ เป็นภาพที่สาขาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ส่งมาให้ผมดู เพื่อใช้ประกอบเรื่องเล่าเร้าพลังของนิสิต และส่วนหนึ่งก็ใช้ประกอบในจดหมายข่าวฯ...

ภาพเหล่านี้ ผมได้รับความอนุเคราะห์จาก อ.กนกกุล มาเวียง
ท่านไม่ได้ส่งภาพมาเฉยๆ หากแต่บอกเล่าถึงเรื่องราวดังกล่าวนี้ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นในชุมชนเลิงแฝก ต.เลิงแฝก อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม อันเป็นพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนของภาษาเกาหลี โดยขับเคลื่อนต่อเนื่องในพื้นที่เป็นปีที่ ๓ ติดต่อกัน



เรื่องมีอยู่ว่า....(สั้นๆ เลยนะครับ)

ยายท่านหนึ่ง อยากให้ลูกๆ หลานๆ ได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีร่วมกับมหาวิทยาลัยฯ...วันแรกๆ ขับมอเตอร์ไซค์บรรทุกลูกหลานมา ๕ คน รถติดหล่ม เซซัดตกถนนเปียกปอนเลอะโคลนกันถ้วนหน้า วันหลังๆ ทุบกระปุกออมสินไปต่อเป็น "รถพ่วง" เล็กๆ เพื่อให้สัญจรได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย...

ผมไม่อธิบายอะไรหรอกนะครับ หากสนใจ ก็สามารถติดตามเรื่องเหล่านี้ย้อนหลังได้ เพราะผมนำมาเขียนไว้ก็มากแล้ว และส่วนหนึ่งก็นำลงใน จดหมายข่าว มมส งานวิชาการรับใช้สังคม 3 ด้วยเช่นกัน




หมายเลขบันทึก: 581789เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2014 06:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2014 07:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่น ใจเอาแท้ๆๆ ด้วยหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน พี่สุก็ไม่ว่างเช่นกัน วันนี้ลองแว๊บเข้ามา เยี่ยมกัลยาณมิตร ก็เยี่ยมไม่ได้หลายคน ด้วยกว่าจะเข้ามาได้ ลืมสูตรคะ พี่น้อง

ครับ, คุณทิมดาบ

ความสดใสในตัวเล่ม มาจากสีประจำคณะเทคโนโลยี หนึ่งในเรื่องหลักที่ปรากฏในเล่ม
ความสดใสของชุมชน คือความรักและความผูกพันของยายกับหลาน โดยเฉพาะยายที่รู้สึกและศรัทธาต่อการเรียนรู้ อยากให้ลูกๆ หลานๆ ได้เรียน-ได้รู้ ครับ



ครับ พี่สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ

ต้องมาบ่อยๆ แล้วละครับ ไม่งั้น ทางเข้าอาจถูกปิด (ตาย) 55


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท