เบิร์นหูฟัง


การเบิร์นอินหูฟังมีส่วนทำให้คุณภาพเสียงที่ได้ดีขึ้น ทำไมจึงเชื่อเช่นนั้น ?
ในแนวคิดเชิงอุดมคติของนักฟัง เชื่อว่า หูฟังประกอบด้วย ขดลวดหรือ วอยซ์คอยล์, แม่เหล็กถาวร และแผ่นเคลื่อนไหวหรือไดอะแฟรม (diaphragm) ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกบางๆ ถูกขึ้นรูปมาให้เคลื่อนไหวตามทิศทางของเสียงที่ถูกขับออกมา

ดังนั้นเมื่อถูกเบิร์นนานๆ 100 ชั่วโมงขึ้นไปองค์ประกอบต่างๆจะเข้าที่เข้าทางนั่นเองครับ
กฏเหล็ก 4 ข้อ ของการ Burn In
1.ควรใช้ไฟล์เพลงที่มีความละเอียดสูง
เช่นไฟล์เพลงพวก Lossless ต่างๆ (m4a , .flac , .wav เป็นต้น) ยิ่งได้ระดับ Lossless ยิ่งดี หรือถ้าหากไม่มีไฟล์ระดับ Lossless เลยจริงๆก็ใช้พวกระดับ MP3 ก็ได้ แต่ควร Bit Rate ไม่ต่ำกว่า320kbps นะครับ ยิ่งละเอียด ยิ่งดีครับ

2.คุณภาพเครื่องเล่น สำหรับคนทั่วๆไปก็มักจะเบิรน์ผ่าน Music Player คุณภาพดี
ที่จริงมือถือก็โอแล้วครับ หรือใครกูรูขึ้นมากหน่อยก็ใช้พวก Recoder (เครื่องอัดเสียง) ในการเบิรน์ อันนี้บอกตรงๆว่า ยิ่งเครื่องเล่นไหนเบิรน์ได้ดีเท่าไรก็ยิ่งดีครับ อย่างตัวผมเองก็ใช้เครื่องเล่น Music Player ในการเบิรน์เป็นหลักเช่น iPod Classic , Sony Walkman เป็นต้นครับ

3.วิธีการเปิดเบิร์น ก็ควรเปิดด้วยความดังในระดับที่เราฟังเป็นประจำดีที่สุด ไม่เบา และไม่ดังจนเกินไป
การเปิดดังจนหูเรารับไม่ได้ อาจทำให้ไดอะเฟรมรับไม่ไหว ขาดได้นะครับ เสียงแตก และเสียงอาจจะเพี้ยนไปเลยครับ
*การเบิร์น ผมว่าไม่ควรเปิด EQ นะครับ จะทำให้เสียงเพี้ยนได้ครับ

4.ระยะเวลาที่เปิดทิ้งไว้
สำหรับหูฟังและอุปกรณ์ทั่วไป ผมก็แนะนำที่ประมาณ 100 ชั่วโมงขึ้นไปครับ
เปิดต่อๆกันไปเลยครับ เพลงก็เป็นเพลงแนวที่เราฟังนั่นแหละครับ

คำสำคัญ (Tags): #เบิร์นหูฟัง
หมายเลขบันทึก: 581588เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท