"ให้ฉันดูแลเธอ"


เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นจริงอันแสนจะวุ่นวายของสาวน้อยข้าวสาร ในขณะที่เธอกำลังฝึกงานที่คลินิกกิจกรรมบำบัด ณ ปิ่นเกล้า เธอผู้ซึ่งบอบบาง รูปร่างเล็ก อ่อนไหวต่อความรู้สึกง่าย แต่กลับต้องมาเจอเคส(กรณีศึกษา)ที่ท้าทาย และยากสำหรับเธอ นั่นก็คือคุณลุงวัยเกษียณนามว่า ลุงศรี ที่ถูกวินิจว่าเป็น โรค Bell's palsy ข้าวสารถึงกับจึงตกใจ "เอ๊ะนี่คือโรคอะไรนะ มีอาการของโรคอย่างไรหรือ" และกระวนการะวายใจอย่างมากเนื่องจากเธอทราบเพียงว่าโรคนี้คือโรคอัมพาตใบหน้าเท่านั้น และเธอเองก็ไม่เคยเรียนมาก่อน เธอจึงตั้งคำถามในใจว่า "นักศึกษากิจกรรมบำบัดอย่างเราจะมีบทบาทอย่างไรนะเกี่ยวกับโรคนี้" เธอได้แต่คิด แต่คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออกสักที

จนเธอได้พบกับคุณลุงเข้าจริงๆซะที เธอจึงแสดง อาการประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะเธอยังคิดไม่ออกว่า นักกิจกรรมบำบัดจะมีบทบาทอย่างไร ควรจะประเมินลุงอย่างไรดีนะ เธอแสดงอาการเก้ ๆ กัง ๆต่อหน้าคุณลุง แต่เธอก็ฮึดสู้และใช้ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับการกระตุ้นกลืนในส่วนของการประเมินเกี่ยวกับ การทำงานของกล้ามเนื้อปาก ลิ้น คางช่วยให้เธอกู้หน้าได้สักนิด แต่เมื่อจบแล้วการประเมินนี้แล้วก็เหมือนจบชีวิตเธอ เพราะเธอไม่รู้ว่าควรจะประเมินอะไรต่อ เธอรู้สึกเหมือนลอยอยู่กลางมหาสมุทรเลยทีเดียว เธอจึงใช้ทักษะการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลุง โดยการสัมภาษณ์ว่า "ตอนนี้คุณลุงมีปัญหาอะไรหนักใจที่สุดคะ" ในตอนแรกคุณลุงก็ไม่กล้าที่จะคุยจะตอบเธอ เพราะพวกเราเจอกันเพียงครั้งแรก แต่ด้วยที่ว่าเธอได้ทำบุญบารมีที่ทำไว้มาก อาจารย์ที่คุมการฝึกงานเธอนั้นจึงช่วยไกด์นำในการประเมินให้และช่วยสร้างบรรยากาศให้มีความตึงเครียดน้อยลง ทำให้คุณลุงรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น คุณลุงจึงบอกว่า " ตอนนี้คุณลุงกังวลเรื่องการดื่มน้ำมากที่สุด เพราะเมื่อดื่มน้ำแล้วน้ำมักจะไหลออกทางมุมปากขวาเสมอๆ" ข้าวสารเธอจึงได้สัมภาษณ์เพิ่มเติมจึงได้ข้อมูลว่าคุณลุงเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาหลายสิบปีแล้ว รวมทั้งตอนนี้คุณลุงก็มีอาการสำลักด้วย

และแล้วในที่สุดก็ครบ 1 ชั่วโมงแห่งความทรหด อึดอัดใจ เธอจึงได้ข้อมูลเพียงว่า ลุงศรีมีปัญหาเรื่อง การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าเนื่องจากโรคBell's palsy และภาวะการกลืนลำบากเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองเดิมที่อาจหลงเหลืออยู่(การรับความรู้สึกลดลง Negative swallowingและNegative cough ส่วนReflexอื่นปกติ) ที่ส่งผลทำให้การดื่มน้ำของคุณลุงมีความยากลำบาก เสี่ยงต่อการสำลัก

แต่กระนั้นแม้ว่าจะได้ปัญหาแล้วก็มิวายที่จะทำให้ข้าวสารหายค้างคาใจเกี่ยวกับบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในโรคนี้ เมื่อเธอกลับไปยังหอพัก เธอจึงเปิดอินเตอร์เน็ตค้นคว้าหาเนื้อหาเหล่านั้น เพื่อหวังเพียงว่า จะทำให้ลุงศรีสามารถดื่มน้ำได้อย่างปลอดภัย และจะเป็นการให้อภัยที่แสดงพฤติกรรมที่เก้ๆกังๆต่อหน้าคุณลุงด้วย และในที่สุดเธอก็ได้ข้อมูลว่า โรคนี้ควรให้มีก ารออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า โดยทำท่า ยิ้มตาปี๋ ทำปากจู๋ ย่นหน้าผากเป็นต้น เพื่อที่จะนำท่าออกกำลังกายนี้ให้ลุงศรีในสัปดาห์หน้า

เมื่อครบสัปดาห์ เธอก็รอแล้วรอเล่าว่า ลุงศรีจะมาเมื่อไหร่นะ มาให้โอกาสเธอในการแก้ตัวสักหน่อย แต่คุณลุงก็ไม่มาอีกเลย ซึ่งทำให้เธอนั้นรู้สึกผิดกับตัวเองเป็นอย่างมาก และเคสนี้ก็เป็นเคสที่ค้างคาใจเธอตลอดมา

ครึ่งปีผ่านไป ข้าวสารได้เรียนวิชาการให้เหตุผลทางคลินิก โดยให้เลือกเคสที่ตนเองคิดว่ายากที่สุดมา ข้าวสารจึงไม่ลังเลใจที่จะเลือกเคสลุงศรีเป็นเคสยากสำหรับตน

ซึ่งเมื่อเรียนวิชานี้แล้วทำให้เธอสามารถตอบคำถามตนเองได้ว่า นักกิจกรรมบำบัดสามารถมีบทบาทอย่างไรในโรคนี้ โดยเธอได้ค้นคว้าหาตำราทั้งในและนอก เพื่อที่จะตอบโจทย์ของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ปัญหาของลุงศรีมีความสอดคล้องกันระหว่างการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า กับการสำลักง่ายเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองเก่า เพื่อที่จะให้ลุงศรีสามารถกลับมาดื่มน้ำได้อย่างปลอดภัย

เธอจึงค้นพบวิธีรักษาต่างๆที่เป็นอาวุธให้เธอได้บำบัดรักษา เกี่ยวกับการโรคBell's palsyนี้

โดยหนึ่งคือการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงจากโรคBell's palsyให้การบำบัดรักษาด้วย

  • Oral tactile stimulation
  • Oro-motor exercise
  • Functional Dynamic taping protocol/technique
  • Aromatherapy
  • Reflexology
  • Electro-acupuncture
  • An intensive home activity หรือ Occupation based activities เช่น การเป่าหลอดพ่นสี, การอ่านกลอน, การออกแรงต้านดูดกับลูกอม, การเล่นละครใบ้, การถือหลอดหลายๆอันบนริมฝีปาก รวมถึงการสนับสนุนและการให้กำลังใจจากครอบครัวสามารถทำโดยการถ่ายรูปทุกครั้งที่เห็นความก้าวหน้า หรือการร่วมฉลอง ยินดีกับผู้รับบริการเป็นต้น
  • Exercise program

เพื่อให้กล้ามเนื้อใบหน้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดื่มน้ำมีความแข็งแรง

และบำบัดรักษาในส่วนของอาการจากโรคหลอดเลือดสมองเดิมนั่นคือการให้การบำบัดรักษา Oro-motor stimulation ได้แก่

  • การทำให้Reflexปกติ ในส่วนของผู้รับบริการรายนี้คือการกระตุ้นให้เกิดSwallowing and cough reflex เพื่อป้องกันการสำลักที่จะเกิดตามมา
  • การใช้เทคนิค Sensory re-educationกับsenseที่ลดลง
  • การทำ Oral motor exercise เช่น Gum massage, Upper cheek stretch, Palate and tongue sweepเป็นต้น

และฝึกโดยใช้เทคนิคพิเศษสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะเช่น เทคนิคMendelsohn maneuver, Masako maneuver, Supraglottic swallowเป็นต้น เพื่อป้องกันการสำลัก

สุดท้ายเป็นในส่วนของการบำบัดรักษาที่ใช้เทคนิคการสอน แนะนำ และการให้กลับไปทำที่บ้านด้วยตนเองได้แก่

  • การฝึกกลืนในลักษณะของSemiliquidก่อนที่จะให้ดื่มน้ำธรรมดา
  • ให้มีการนั่งSit in upright positionมากกว่า60องศาแต่ไม่เกิน90ขณะดื่มน้ำ
  • การใช้มือแตะแก้วเพื่อวัดอุณหภูมิของน้ำก่อนดื่ม เป็นต้น
  • การวางตำแหน่งการดูดน้ำค่อนไปทางด้านกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
  • การให้ความรู้กับญาติเพื่อเตือนผู้รับบริการหากหลงลืมในบางการรักษา
  • การให้อุปกรณ์ช่วยเช่น แก้วตัดขอบเพื่อให้ผู้รับบริการดื่มน้ำได้สะดวกมากขึ้นหรือเป็นการแนะนำอุปกรณ์ช่วยๆอื่นๆเป็นต้น

เธอจึงเฝ้าภาวนาว่า หากเป็นไปได้เธออยากจะขอโอกาสและขอดูแลบำบัดรักษาคุณลุงอีกครั้ง และขอให้คุณลงสามารถดื่มน้ำได้อย่างปลอดภัยด้วยนะ และเธอเองก็ภาวนาอยู่เสมอว่าหากเจอโรคนี้อีกครั้งก็จะตั้งใจบำบัดรักษาอย่างเต็มความสามารถที่เธอมี

ตอนนี้เธอเองได้แต่พูดในใจว่า "ฉันพร้อมจะดูแลเธอน่ะ" ^^

หมายเลขบันทึก: 581489เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2014 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2014 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท