ปัญญาจากความสงบ


ความสงบในใจจึงเป็นการรักษาศีลไปในตัวเพราะจิตมีความสมดุล ไม่ลำเอียงและก็ไม่ไปเอาเปรียบผู้ใด

ใช้ความสงบเพื่อให้จิตปล่อยวาง ไม่ไปติดอยู่ในความคิดและความยึดมั่นถือมั่นในถูกหรือผิด

ความสงบเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ใจเรามองเห็นอะไรได้อย่างชัดแจ้ง เมื่อจิตเรามีความสงบโล่งโปร่งใส จิตก็จะรู้สึกเบาสบาย เบิกบานขึ้น ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นและทำให้เราเห็นในสาเหตุว่าความคิดและอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ปัญญาตัวนี้จึงสามารถ ทะลุความเข้าใจผิดได้ เพราะเป็นสติปัญญาที่เกิดจากความไม่ยึดมั่นถือมั่น เกิดจากการปล่อยวาง ไม่กระโดดเข้าไปและจมอยู่ในความคิดหรืออารมณ์ที่แกว่งไปมา เพียงแต่สังเกตความคิดหรืออารมณ์ได้อย่างเป็นกลาง ตัวสังเกตที่มีความสงบและมีสติจึงสร้างความเฉลียวฉลาดให้จิตเห็นตัวที่สร้างความทุกข์ที่อยู่ภายในใจ จึงทำให้จิตปล่อยวางความหลงที่เรายึดมั่นถือมั่นเอาไว้

เมื่อตัวปิดบังหลุดออก ความชัดเจนจึงเกิดขึ้น ทำให้จิตใจเรารู้สึกใสสว่าง กว้างขวางและคลายออกจากความทุกข์ต่างๆที่เราเคยแบกเอาไว้

คุณภาพจิตจึงเปลี่ยนไป กลายเป็นจิตใจที่นุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง มีความเมตตาและความรักต่อทุกสิ่งทุกอย่าง

ปัญหาในชีวิตจึงไม่เป็นอุปสรรคสำหรับจิตที่เป็นกลาง เพราะจิตไม่สร้างอคติและอารมณ์ในเชิงลบโต้ตอบกับสถานการณ์ แต่มองเห็นทุกอย่างจากมุมกว้าง เห็นประโยชน์ของปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จึงทำให้จิตมีอารมณ์ยินดี ยิ้มแย้ม แจ่มใสกับสิ่งเหล่านี้และนำเอาปัญญาที่เกิดจากความกระจ่างไปแก้ปัญหาในชีวิต โดยไม่มีการทำร้ายร่างกายและจิตใจของตนเองหรือผู้อื่น


ความสงบในใจจึงเป็นการรักษาศีลไปในตัวเพราะจิตมีความสมดุล ไม่ลำเอียงและก็ไม่ไปเอาเปรียบผู้ใด



คัดลอกจาก meditationguide.org ขอขอบคุณ

หมายเลขบันทึก: 581485เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2014 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

The Buddha says:
Is there, bhikkhus, any method (pariyaaya), by following which a bhikkhu is apart from belief, apart from preference, apart from hearsay, apart from methodological argument, apart from reflection on theory, apart from speculation, and fully knows thus: "Birth is ended, noble conduct is established, done is what was to be done, there is no more of further becoming" ?

... There is indeed a method ... And what is that method?

Herein, bhikkhus, a bhikkhu, seeing a visible object with the eye, either knows the existence of desire (raga), hatred (dosa), and delusion (moha) within him, thus: 'I inwardly have desire, hatred, and delusion' , or knows the non-existence of desire, hatred, and delusion within him, thus: 'I inwardly do not have desire, hatred, and delusion' . Now, bhikkhus, I ask: As to that knowing the existence or non-existence of desire, hatred, and delusion within him, are these states (dhammaa) to be known (veditabbaa) by belief, or preference, or hearsay, or methodological argument, or reflection on theory?

Surely not, venerable sir.

Are not these states to be known by seeing (disvaa) with wisdom (pa~n~naaya) .

Surely, venerable sir.

Again, as to hearing a sound with the ear ...

สวัสดีค่ะ..คุณ ภูสุภา..สบายดีนะคะ.."..ชอบบทความนี้..แจ่มชัดมาก"..อ่านแล้ว..เข้าใจ..เข้าถึงจุดตามความหมายได้ดี...เจ้าค่ะ..ขอชมเชยมาณ..ที่นี้..เจ้าค่ะ

มีภาพ..ความโปร่งเบา."ภายนอก".ราวความสงบ..ที่อยู่ภายในที่สัมผัสได้..แม้เราจะถูกป้องกันด้วยระบบเทคนิควิทยาการก้าวหน้า..ในสมัยนี้...(มาฝาก..เจ้าค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท