รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่า(แบต)แบกหาม อันตรายจากแบตลิเธียมระเบิดที่เลี่ยงได้


ข้อควรสังเกตุ บนแบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายไฟเกินค่าที่ระบุ(ค่ากระแสชั่วขณะ) จะเขียนว่า C Rate , (5C 10C 20C 50C 75C 100C) Over Current , Current Peak

รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่า(แบต)แบกหาม อันตรายจากแบตลิเธียมระเบิดที่เลี่ยงได้

รูปอุปกรณ์อิเลคโทนนิคส์ ประเภทสารกึ่งตัวนำ เทอร์มิสเตอร์ ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าในแบตเตอรี่ เมื่ออุณหภูมิตัวสารสูงขึ้น

ถ่านชาร์ตลิเธียมแท้ จะมี อุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำ ใส่อยู่ในเคสของแบต เรียกว่า เทอร์มิสเตอร์ มีหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อแบตเกิดลัดวงจร หรือแบตจ่ายกระแสมากเกินกำหนดจนแบตร้อน เมื่อแบตมีอุณหภูมิสูงขึ้นอุปกรณ์ตัวนี้จะมีความต้านทานทางไฟฟ้า ทำให้ปริมาณกระแสไฟในแบต ไม่สูงเกินไป หรือ ร้อนแล้วตัด นี่เป็นสาเหตุว่าทำไม แบตเตอรี่ที่ราคาถูกถึงได้ร้อน บวม ถึงระเบิดได้ เวลาใช้นานๆ เพราะความร้อนในแบตเตอรรี่ลิเธียม ประกอบด้วยสารละลายลักษณะเป็นเจล ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้ในเจล เจลนี้เองเมื่อเกิดความร้อนสูงจะทำให้กระแสไหลออกจากแบตสูงมาก มากตามความร้อนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อโทรฯนานหรือชาร์ตนานเกินไป จะเกิดความร้อนจนแบตลิเธียมจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นทวีคูณ (ถึง100เท่า) แบตที่ผลิตในประเทศที่เรารู้จักกันดี หลายยี่ห้อไม่มีอุปกรณ์ตัวนี้กันไว้ จึงบวม ลุกเป็นไฟ เพราะการที่เจลทำปฏิกริยากับธาตุลิเธียมจะเกิดการแยกตัว และเกิดก๊าซไฮโดรเจนขึ้น(การที่แบตสามารถคายประจุไฟฟ้าออกมาได้เองแต่จำนวนไม่มากทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจน เป็นเหตุผลให้ต้องใส่ในถุงซิ้บล้อคเพื่อกันไอระเหยของก๊าซไฮโดรเจนนี่เอง) ซึ่งก๊าซไฮโดรเจนจำนวนมากที่เกิดขึ้นจะขยายตัวและดันเคสออกมา จนก๊าซลุกเป็นไฟอย่างรุนแรงได้ในที่สุดครับ ดังนั้นการเลือกใช้แบตฯและเครื่องชาร์ตไฟ จะต้องซื้อจากร้านตัวแทนจำหน่ายที่มีชื่อร้านเป็นที่รู้จัก ยี่ห้อที่ได้รับการการันตี มีหน้าร้านมีตัวตน และมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ C CE UL เป็นดีที่สุดครับ lสำหรับใครที่ใช่รถ Hybrid หมดกังวลได้นะครับ เพราะข้อเสียของถ่านลิเธียมคือการร้อนแล้วจ่ายไฟเกินตัวได้นี่เอง จึงได้คิดค้นแบตเตอรี่แบบใหม่ที่ร้อนแล้วไม่เป็นแบบนี้ โดยเปลี่ยนสารที่ใช้ในแบตเป็น โบเมอร์ (B) จึงทำให้ไม่เกิดการจ่ายไฟเป็นทวีคูณหากได้รับความร้อนนั่นเองครับ

รูปด้านบน แสดงวงจรไฟฟ้าภายในแบตเตอรี่สำรอง แบบ Power Bank ซึ่งจะมีอุปกรณ์ เทอร์มิสเตอร์ ต่อวงจรและจะตัดวงจรโดยทำให้ความต้านทานทางไฟฟ้าของตัวสูงขึ้นเมื่อได้รับความร้อน

รูปแสดง คุณลักษณะของ เทอร์มิสเตอร์ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงจุดๆหนึ่ง(T.ref)ความต้านทานการปล่อยกระแสไฟฟ้า(R.ref)ก็สูงตาม ทำให้กระแสไฟผ่านตัวเองได้น้อยลงหรือแทบไม่มี เสมือนกับตัดวงจรไฟฟ้า จึงปลอดภัยเมื่อแบตถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง หรือชาร์ตไฟเกินจนแบตร้อน

.......ขอยกตัวอย่างชนิดของแบตเตอรี่มาสัก 2 ชนิดที่เรามีใชังานอย่างแพร่หลายในปัจจุบันกันครับ แต่ขอบอกก่อนว่าแบตเตอรี่ในปัจจบันเราไม่ต้องไปกลัวว่า การชาร์ตแล้วใช้งานไม่หมดแล้วนำกลับมาชาร์ตหรือประจุไฟอีกจะทำให้ใช้งาน แบตได้ไม่เต็มก้อนแล้วนะครับ เพราะปัจจุบันได้พัฒาการแก้ไขเรื่อง เมมโมรี่เอฟเฟกท์(Memory Effect) หรือบางคนเรียกว่า ถ่านมันจำการใช้งานครั้งสุดท้าย คือถ่านมันจำได้ว่าใช้ไปน้อย แล้วจะจ่ายไฟให้น้อย หรือ ถ่านชารตเต็ม 100 ใช้ไปแค่ 20 ไม่ทันหมดก้อนแล้วนำมาชาร์ต เต็ม 100 ถ่านนั้นจะจำ และสามารถใช้งานครั้งต่อไปได้แค่ 20 ถ่านก็หมดแล้ว ซึ่งสมัยก่อนเป็นแบบนี้จริงๆ กับถ่าน นิเกิลแคดเมียม Ni-Cad แต่ตอนนี้ถ่านแบบลิเธียม ได้แก้ปัญหานี้ได้เรียบร้อยแล้วครับ

ชนิดของแบตเตอรี่ (ยกมา 2 ชนิด)

- แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-ion)
นับว่าเป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้อย่างกว้างขวางที่สุดแบบหนึ่ง เป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับเลือกใช้เมื่อเราต้องการได้ทั้งความสามารถในการเก็บไฟฟ้าต่อน้ำหนักที่มากที่สุด (มากกว่า NiMh ถึงสองเท่า และมากกว่า NiCd ถึงสามเท่า) จึงสามารถสร้างแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเบาได้

เราจะเห็นแบตเตอรี่ชนิดนี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางทั้งในเครื่องโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ชนิดนี้ต้องการการป้องกันในขณะที่กำลังประจุไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความทนทานในการใช้งานและปลอดภัย คือป้องกันไม่ให้ประจุด้วยศักดาและกระแสที่สูงเกินไป และป้องกันการจ่ายกระแสเกิน (กว่า 1-2 C-rate ของตัวมัน) ซึ่งหากแบตเตอรี่มีการป้องกันที่พร้อมมูลเช่นนี้ ก็สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยสบายใจได้

-แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนโพลิเมอร์ (Li-Ion-Polymer)
แบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ (Li-Polymer) มีความต้านทานไฟฟ้าในตัวเองสูง จึงไม่สามารถจ่ายกระแสไฟได้มาก จึงมีการเพิ่มเจลเข้าไปภายใน (ภาษาปัจจุบันเราเรียกว่า ไฮบริด หรือลูกผสมนั่นเอง) เพื่อเพิ่มความนำไฟฟ้าทำให้กลายเป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนโพลิเมอร์ (Li-Ion-Polymer) แต่ด้วยเหตุผลทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตบางรายยังเรียกว่าเป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ (Li-Polymer) นอกจากคุณสมบัติที่คล้ายกับแบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ที่สามารถสร้างให้มีรูปร่างบางมากๆ ได้แล้ว คุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดีไปกว่าแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-ion) ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก นอกจากนั้นยังอาจจะมีความจุไฟฟ้าที่ต่ำกว่าแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-ion) อยู่เล็กน้อย แต่ด้วยความที่มีรูปร่างที่ยืดหยุ่น มีความสามารถในการป้องกันการประจุไฟเกิน โอกาสรั่วไหลของสารละลายอิเล็กโตรไลท์ต่ำ และการต้องการวงจรป้องกันที่น้อยกว่า ก็เป็นเหตุผลที่ผู้ผลิตอาจจะเลือกใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนโพลิเมอร์ได้


การชาร์ตไฟ หรือประจุไฟ (Charge)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ให้เรามองแบตเตอรี่เหมือนโอ่ง1ใบ และกระแสไฟฟ้าที่เราชาร์ตประจุเข้าไปคือ น้ำในโอ่ง การที่เราเอาน้ำในโอ่งออกด้วยปั้ม 1 ตัวจะดูดน้ำหมดโอ่งใน 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเราใช้ปั้ม 2 ตัว โดยที่ปั้มทั้งสองมีอัตราการดูดำเท่าๆกันก็จะดูดน้ำหมดโอ่งภายในแค่ครึ่งชั่วโมง ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น การปั้มน้ำออกจากโอ่ง นั่นก็คือการที่เรานำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อกับแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ก็คายประจุ(Discharge)ที่ได้ประจุไฟไว้แล้ว(Charge) ออกจากแพ็คจนถ่านหมดนั่นเอง ถ้าคายประจุออกเร็ว แบตก็หมดเร็ว ถ้าคายประจุเร็วเป็นสองเท่า(2C) แทนที่แบตจะคายประจุหมดภายใน 1 ชั่วโมง(1C) แต่จะหมดเร็วขึ้นมากเป็นสองเท่า หรือใช้เวลาน้อยลงเหลือ 30 นาทีนั่นเอง

ค่า C

ค่า C ที่เราเห็นอยู่บน แบตเตอรรี่นั้นคือค่าตัวคูณของกระแสที่จ่ายเกินปกติ ของแบตเตอรรี่แพคนั้นๆ เช่นค่า 1C ของแบตเตอรรี่ 1600 mAh(1.6Ah) จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ 1600 มิลลิแอมป์ ได้ต่อเนื่องนาน 1 ชั่วโมงจึงหมดก้อน
ฉนั้น 2C ก็หมายถึง แบตเตอรี่แพ็คนี้ จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 2 เท่าของปกติ คือ 1600 x 2 = 3200 mAh(3.2A) แต่ระยะเวลาการจ่ายก็จะลดลงครึ่งหนึ่ง คือจ่ายไฟฟ้าต่อเนื่องที่ 3200 mA ได้นานครึ่งชั่วโมงแบบนี้เป็นต้น


C Rate
The C-rate is the multiple of the current over the current that a battery can sustain for one hour. A rate of 1 C means that an entire 1.6Ah battery would be discharged in one hour at a discharge current of 1.6 A. A 2C rate would mean a discharge current of 3.2 A, over one half-hour.


แบตเตอรี่แพ็ค นี้จ่ายกระแสไฟได้ 600 000 mA สังเกตุว่าไม่มี h ตามหลัง mA เพราะว่า ตัวเลข 6 000 mAh หมายถึงการที่แบตเตอรี่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าต่อเนื่ี่้ิองด้วยปริมาณ 6 000 mA ได้นาน 1 hour(h) หรือ 1 ชั่วโมง

แบตที่ใช้กับ เครื่องวิทยุบังคับ แบบนี้ถึงเป็น ลิเทียม(ไออ้อน-โพลิเมอร์) มีความจุ 6000 mAh แต่ตัวเลข 100C คือ100 เท่าของความจุที่ระบุ หรือ ตัวคูณค่าความจุ นั่นเองครับ หมายความว่าแบตก้อนนี้จะจ่ายไฟได้ 100 เท่า ของความจุ 6000 mAh นั่นหมายถึง จ่ายไฟได้ 600 000 mAh

โดยที่ 100 C ก็คือ ตัวคูณหรือจำนวนเท่าของประจุไฟฟ้าค่าความจุ(C Rate)
ถ้าเห็นแบตแบบนี้ สังเกตุ ค่าตัวคูณ หรือ C ด้วยนะครับ ว่าคูณกับค่าความจุ แล้วเกินข้อกำหนดที่ 32 000 mAh ไหม ก้อนนี้จ่ายไฟได้ 6000 x 100 เท่า = 600 000 mAh หรือ 600 Ah แบบต่อเนื่อง และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 900 Amp!!! แบบชั่วขณะ(I Peak) และ(กระแสไฟเท่ากับแบตรถยนต์ 10-15 ลูกต่อพ่วงกัน อันตรายมาก!!!) ห้ามขึ้นเครื่องบินทุกกรณีครับ

(เฉพาะแบตเตอรรี่ชนิด ลิเทียม-โพลิเมอร์ เจ้าหน้าที่ตรวจจะต้องนำค่าตัวคูณ หรือ ค่าC ไปคูณด้วยครับ จะดูตัวเลข 6000mAh อย่างเดียวมิได้ครับ) ในรูปจะระบุว่า 100C คือค่ากระแสไฟที่สามารถจ่ายได้จริง 600 000 mAh

ค่า C rate คือ 100C ฉนั้นแบตเตอรี่แพ็คนี้ สามารถจะจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ถึง 100 เท่าของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายปกติ ปกติจ่ายกระแสออกได้ 6000 mAh ภายใน 1 ชั่วโมง แต่ยังสามารถจ่ายกระแสได้เกินอีก 100 เท่าของ 6000 mAh นั่นคือ 600 000 mA แต่ระยะเวลาที่จ่ายไม่ได้ต่อเนื่องนาน 1 ชั่วโมง แต่จะลดลง 100 เท่านั่นเอง เช่น แบตเตอรี่แพ็คนี้จ่ายไฟปกติ 6000 mA นาน 1 ชั่วโมง หรือ 60 นาที ดังนั้นจะจ่ายไฟเกินที่ 600 000 mA ได้นาน 60นาที/100 = 0.6 วินาที หรือประมาณครึ่งวินาทีนั่นเอง

แต่ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาทีนี้ ก็สามารถทำให้เกิดการกระโดดของประจุไฟอย่างรวดเร็วรุนแรง (ภาษาช่างเรียกว่า อาร์ค (Arc) ที่เราเห็นกระแสไฟกระโดดที่เครื่องช็อตไฟฟ้า เวลาเราเสียบปลั้กไฟ หรือปลั้กไม่แน่น ไม้ตียุง ไฟแลบเวลาพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ หรือที่เห็นกระแสไฟกระโดดที่ขั้วหัวเทียน ในงานแสดงและขายหัวเทียนรถยนต์นั่นเองครับ์ื) การกระโดดของประจุไฟนี้ ก็จะทำให้อนุภาคอิเลคตรอนวิ่งไปชนวัตถุ การชนกระแทกวัตถุ จะเกิดความร้อนจากการที่อนุภาคกระแทกกันแล้วอนุภาคบางส่วนได้เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน ความร้อนนี้เองทำให้วัสดุที่อยู่ใกล้เคียงเกิดการลุกไหม้ได้

ข้อควรสังเกตุ บนแบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายไฟเกินค่าที่ระบุ(ค่ากระแสชั่วขณะ) จะเขียนว่า C Rate , (5C 10C 20C 50C 75C 100C) Over Current , Current Peak





วิวัฒนาการและชนิดของแบตเตอรี่

- แบตเตอรี่แบบนิเกิล-แคดเมียม (NiCd)
ถือว่าเป็นแบตเตอรี่แบบประจุไฟใหม่ได้ที่สามารถพกพาไปด้วยได้เป็นแบบแรกๆ เลยทีเดียว แบตเตอรี่ชนิดนี้อาจจะมีน้ำหนักมากสักหน่อยเมื่อเทียบกับน้องๆ ของมันที่ออกตามมา (เช่น นิเกิล-เมทัลไฮไดรด์, ลิเธียม-อิออน เป็นต้น) แต่ก็มีข้อดีอยู่มาก เช่น จ่ายกระแสไฟได้มาก (ในระยะเวลาจำกัดหนึ่งๆ) ที่สำคัญคือมีราคาต่ำ แต่ข้อเสียก็มีอยู่เช่น ความสามารถในการเก็บประจุต่อน้ำหนักต่ำกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น มีความจำที่เรียกว่า เมมโมรีเอ็ฟเฟ็คท์ (memory effect) คือแบตเตอรี่จะไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยหากมันถูกใช้เพียงบางส่วนแล้วถูกประจุไฟใหม่อยู่ตลอดเวลาซึ่งต้องแก้ไขด้วยการใช้งานแบตเตอรี่แต่ละเซลล์/ก้อนให้หมดก่อนนำไปประจุไฟใหม่เป็นประจำ นอกจากนั้นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แบตเตอรี่ชนิดนี้มีสารแคดเมียม (Cd) ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วย ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อต้องการการกำจัดที่เหมาะสม

- แบตเตอรี่แบบนิเกิลเมทัลไฮไดรด์ (NiMH)
ประวัติของการพัฒนาแบตเตอรี่แบบนี้ต้องเป็นที่น่าภูมิใจของคนที่ใช้เลยทีเดียว เพราะเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับงานอวกาศคือนิเกิลไฮโดรเจน (ปัจจุบันใช้ในยานอวกาศ) ซึ่งในตอนแรกแล้วแบตเตอรี่แบบนี้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมั่นคงเพราะสารประกอบระหว่างนิเกิลและไฮไดรด์มีสภาพไม่คงตัว แต่หลังจากที่เราสามารถสร้างสารประกอบระหว่างนิเกิลและไฮไดรด์ที่มีสภาพคงตัวได้ แบตเตอรี่ชนิดนี้จึงได้รับการพัฒนาต่อจนใช้งานได้ดีในปัจจุบัน ข้อดีของแบตเตอรี่นี้ก็คือมีความจุไฟฟ้าต่อน้ำหนักที่ดี (ดีกว่านิเกิล-แคดเมียม และตะกั่ว-กรด ด้วยซ้ำไป) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีปัญหาเรื่องความจำน้อยกว่าแบตเตอรี่แบบนิเกิลแคดเมียมมาก แต่ก็มาด้วยข้อเสียเช่น สามารถบรรจุซ้ำได้น้อยครั้งกว่า มีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในตัวเองมากกว่าแบตเตอรี่แบบนิเกิล-แคดเมียม (ยกเว้นแบตเตอรี่นิเกิลเมทัลไฮไดรด์แบบสูญเสียต่ำ หรือ Low Self Discharge NiMH) ต้องการวงจรประจุไฟฟ้าที่ซับซ้อนกว่าเพราะต้องมีการป้องกันความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการประจุไฟ และการจ่ายกระแสออกจำนวนมากๆ บ่อยๆ จะทำให้อายุของแบตเตอรี่สั้นลง (ควรจ่ายกระแสในอัตราไม่เกิน 20-50% ของความจุต่อชั่วโมงหรือ C-rate ของมัน) และราคาสูงกว่าแบตเตอรี่แบบนิเกิล-แคดเมียม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง คุณสมบัติต่างๆ ก็ดีขึ้นมากซึ่งต้องพิจารณา
จากคุณสมบัติเฉพาะที่ผู้ผลิตเตรียมไว้ให้สำหรับของแบตเตอรี่รุ่นนั้นๆ ด้วย

- แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-ion)
นับว่าเป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้อย่างกว้างขวางที่สุดแบบหนึ่ง เป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับเลือกใช้เมื่อเราต้องการได้ทั้งความสามารถในการเก็บไฟฟ้าต่อน้ำหนักที่มากที่สุด (มากกว่า NiMh ถึงสองเท่า และมากกว่า NiCd ถึงสามเท่า) จึงสามารถสร้างแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเบาได้ ซึ่งไม่ต้องแปลกใจไปนักเนื่องจากลิเธียมนั้นถือว่าเป็นธาตุโลหะที่เบาที่สุดอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังเป็นแบตเตอรี่ที่มีศักดาไฟฟ้าสูงกว่าแบบอื่น (3.6V ในขณะที่ NiCd และ NiMH สร้างศักดาได้ 1.2V และแบตเตอรี่แบบสังกะสี-ถ่านสร้างได้ 1.5V) ดังนั้นในกรณีที่ต้องการศักดาในระดับนั้นและไม่ต้องการต่ออนุกรมแบตเตอรี่แล้ว แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนก็เป็นทางเลือกที่ดี เป็นแบตเตอรี่ที่ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา ไม่มีความจำ มีอัตราการเสียประจุไฟฟ้าด้วยตัวเองต่ำ (ต่ำกว่า NiCd กว่าครึ่งหนึ่ง) เราจะเห็นแบตเตอรี่ชนิดนี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางทั้งในเครื่องโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ชนิดนี้ต้องการการป้องกันในขณะที่กำลังประจุไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความทนทานในการใช้งานและปลอดภัย คือป้องกันไม่ให้ประจุด้วยศักดาและกระแสที่สูงเกินไป และป้องกันการจ่ายกระแสเกิน (กว่า 1-2 C-rate ของตัวมัน) ซึ่งหากแบตเตอรี่มีการป้องกันที่พร้อมมูลเช่นนี้ ก็สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยสบายใจได้

- แบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ (Li-Polymer)
แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมโพลิเมอร์ (Li-Polymer ซึ่งเป็นคนละแบบกับ ลิเธียมไอออนโพลิเมอร์ Li-Ion-Polymer) ใช้ฟิล์มพลาสติกที่ไม่นำไฟฟ้าแต่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนมาทำหน้าที่แทนสารละลายอิเล็กโตรไลท์ (สารละลายตัวกลางที่นำไฟฟ้า) แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมโพลิเมอร์มีความปลอดภัยสูง ไม่ระเบิด เนื่องจากไม่มีสารละลายใดๆ ที่เป็นของเหลวหรือเป็นไอได้ แต่ข้อเสียของมันก็คือไม่สามารถจ่ายกระแสไฟกระชากที่เครื่องใช้ไฟฟ้าบางแบบเช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กจำเป็นต้องใช้ได้ จึงมีการพัฒนาต่อไปเป็น ลิเธียมไอออนโพลิเมอร์

- แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนโพลิเมอร์ (Li-Ion-Polymer)
แบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ (Li-Polymer) มีความต้านทานไฟฟ้าในตัวเองสูง จึงไม่สามารถจ่ายกระแสไฟได้มาก จึงมีการเพิ่มเจลเข้าไปภายใน (ภาษาปัจจุบันเราเรียกว่า ไฮบริด หรือลูกผสมนั่นเอง) เพื่อเพิ่มความนำไฟฟ้าทำให้กลายเป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนโพลิเมอร์ (Li-Ion-Polymer) แต่ด้วยเหตุผลทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตบางรายยังเรียกว่าเป็นแบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ (Li-Polymer) นอกจากคุณสมบัติที่คล้ายกับแบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ที่สามารถสร้างให้มีรูปร่างบางมากๆ ได้แล้ว คุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดีไปกว่าแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-ion) ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก นอกจากนั้นยังอาจจะมีความจุไฟฟ้าที่ต่ำกว่าแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน (Li-ion) อยู่เล็กน้อย แต่ด้วยความที่มีรูปร่างที่ยืดหยุ่น มีความสามารถในการป้องกันการประจุไฟเกิน โอกาสรั่วไหลของสารละลายอิเล็กโตรไลท์ต่ำ และการต้องการวงจรป้องกันที่น้อยกว่า ก็เป็นเหตุผลที่ผู้ผลิตอาจจะเลือกใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนโพลิเมอร์ได้

อ้างอิง(Reference)

ขอขอบคุณ แหล่งความรู้เรื่องชนิดของแบตเตอรี่ ดีดี www.thaiphonetech.com

C Rateที่มา(Reference):ขอบคุณวิกิตำราสำหรับข้อมูล http://en.wikipedia.org/wiki/Battery_%28electricit...

...ตย. การนำการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรื่องนี้

คือให้ เราหาข้อมูลที่มีที่อ้างอิง เชื่อถือได้ มารวบรวม เพิ่มเสริมความรู้จากประสบการณ์ลงไป และเขียนโดยใช้ภาษาที่ง่ายๆ ระบุใจความสำคัญ ชี้ชัดในประเด็นที่จะต้องนำไปปฏิบัติงานให้ครบถ้วน ผมใช้วิธีคิด วิเคราะห์ในหลายมิติ มองในหลายๆด้าน และลองเชิงโดยการนำผลการวิเคราะห์มาโพสต่อจาก กระทู้ก่อน รอสักพักว่ามีใครแนะนำอะไรเพิ่มไหม

........พอเรื่องราวหรือความเห็นเริ่มมากขึ้น จึงนำมารวมรวบใส่ลงในบันทึก ในเวบ gotoknow.org แบบนี้ คือ KM ที่เนียนไปกับการทำงานครับ KM DCA นี่แหละครับ เนียนไปกับงานโดยที่เราจะไม่รู้สึกว่า KM เป็นงานพิ่ม แต่จะมีความรู้สึกว่า เราได้พัฒนา ขวนขวายหา มาตรการและวิธีการปฏิบัติงานที่บูรณาการร่วมกัน(ในชุมนุมนักปฏิบัติงาน จตอ. ร่วมกัน) ประมาณนี้ครับ


........นี่เป็นเหตุผลว่าเหตุใด จึงได้แนะนำให้เลือกเรื่อง KM ที่เกี่ยวกับงานเรา ถ้ามีอะไรต้องปรับปรุงในนี้ หรือหลายท่านนำไปปฏิบัติแล้วเกิดการต่อยอดองค์ความรู้ และ/หรือ มีไอเดียเพิ่ม ควรอย่างยิ่งที่จะจับประเด็น มา ลปรร. มาช่วยระดมสนมอง ต่อกันไปได้อีก เพื่อให้ได้วิธีปฏิบัติที่เวิร์กที่สุด หรือ Best Practice ในที่สุด พอได้มาแล้วรีบแชร์ให้ ทย.อื่นๆ นำไปปฏิบัติ แล้วกลับมาเล่าสิ่งที่ทำให้ประทับใจ หรือเล่าความสำเร็จในการพัฒนาวิธีการตรวจอาวุธและวัตถุอันตราย กันต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด แบบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่เรามีได้อย่างต่อเนื่อง Autonomous ยิ่งให้มากยิ่งได้รับครับ


หมายเลขบันทึก: 581371เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014 06:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2014 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท