เศรษฐกิจพอเพียง .....ทางออกของคนไทยที่ดีที่สุดในยุคปัจจุบัน


ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

  เศรษฐกิจพอเพียง  .....ทางออกของคนไทยที่ดีที่สุดในยุคปัจจุบัน                    ในยุคของสังคมฟุ่มเฟือย  ผู้คนแข่งขันกันแต่ในด้านวัตถุ  ค่าครองชีพถีบตัวขึ้นสูง  ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งกระฉูด  โอกาสที่จะลดลงมีความเป็นไปได้น้อยมากแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีเลยก็ว่าได้  น้ำมันในประเทศไทยก็พุ่งตัวสูงตามไปด้วย  ผลที่ตามมาราคาสินค้าอุปโภคบริโภคก็สูงขึ้นตามไปด้วย  ผู้ที่มีรายได้น้อยจะอยู่กันอย่างไร  ดูเหมือนสังคมจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป  น้ำมันแพงก็แพงไป  สินค้าอุปโภคบริโภคขึ้นราคาก็ขึ้นไป  รัฐบาลก็อ้างปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด  ให้มันลอยตัว  ทุกฝ่ายดูเหมือนจะมองว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดา  ใครจนก็จงจนต่อไป  ใครรวยก็รวยต่อไป  ใครมีโอกาสฉกฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ใส่ตนเองและพวกพ้องก็หากันไปโดยเสรี   นายกทักษิณ  พูดอยู่เสมอว่า  อีก 4 ปีข้างหน้าคนจนจะหมดไปจากประเทศไทย  หากเศรษฐกิจและสภาพของสังคมไทยยังดำเนินอยู่ในปัจจุบันนี้ อีก 4 ปีข้างหน้าคนจนก็คงจะหมดไปจากประเทศไทยจริงๆ  นั่นคือตายกันหมด  หรือไม่ก็ถูกจับไปอยู่ในห้องขัง  เปลี่ยนจากคนจนกลายไปเป็นนักโทษ  นั่นเอง                  คำว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า  25  ปี ตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งพระองค์ท่านได้ชี้แนวดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์                   ความพอเพียง หมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร(อินเตอร์เนต:2548)                  1. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง                  มีผู้ศึกษาและค้นหา ความหมายของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง อาจทำได้ 2 วิธี คือ  คิดค้นหาความหมายเชิงทฤษฎี (Deductive ) หรือกลั่นกรองความหมายโดยการนำเอาประสบการณ์ที่มีอยู่มาสังเคราะห์ ( Inductive) เพื่อถอดออกมาเป็นข้อคิดและหลักการ  ดังนี้                  1.1 กิจกรรมในชุมชนที่สอดคล้องกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งยังไม่กล่าวถึงความหมายของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง                           1.1.1  กิจกรรมการผลิต  โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า เช่น กิจกรรมทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวปลอดสารพิษ  การทำถ่านชีวภาพ การแปรรูปผลผลิต  การทำการเกษตรผสมผสาน ฯลฯ                        1.1.2. การรวมกลุ่มกันเพื่อกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชนด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่ ชุมชนได้รวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆที่เกิดจากความรักและความเอื้ออาทรของสมาชิกในชุมชน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด  การจัดตั้งร้านค้าชุมชน การจัดทำแผนแม่บท  การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์  การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ  การรวมกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  ฯลฯ                        1.1.3. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จิตสำนึกท้องถิ่น ส่งเสริมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเศรษฐกิจพอเพียง  เช่น กิจกรรมที่ปลูกฝังสมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกันมากกว่าคำนึงถึงตัวเงิน  ให้ทำบัญชีด้วยความโปร่งใส  กิจกรรมให้สมาชิกชุมชนพึ่งตนเอง  กิจกรรมการพัฒนาครูในชุมชนให้มีคุณภาพและมีจิตผูกพันกับท้องถิ่นเป็นสำคัญ                  2. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงจากมุมมองของชุมชน  หลังจากที่ชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว ก็ได้ร่วมกันคิดค้นหาความหมายและให้นิยามเกี่ยวกับปรัชญา  เศรษฐกิจพอเพียง  จากประสบการณ์ ของแต่ละคน สรุปแบ่งแยกปรัชญาเป็น  3  ระดับ·       ระดับจิตสำนึก  คือการที่สมาชิกในชุมชนแต่ละคนรู้จักใช้ชีวิตอย่างสมถะประกอบสัมมาชีพหาเลี้ยงตนเองได้อย่างถูกต้องไม่อดอยาก  โดยยึดหลักดังนี้§       การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง  รู้จกพัฒนาตนเองด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส§       การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน  ก่อนคิดพึ่งคนอื่นก็ต้องคิดพึ่งพาตนเองก่อน และในสังคมก็ควรถ้อยทีถ้อยอาศัย  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน§       การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง  รู้จักลดละเลิกกิเลส  เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมมากขึ้น·       ระดับปฏิบัติ§       ขั้นแรก  การพึ่งตนเอง  ในระดับครอบครัวต้องสามารถพึ่งตนเองได้ มีการบริหารจัดการอย่างพอดี  ไม่ฟุ่มเฟือย  สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายไม่เป็นหนี้§       ขั้นที่สอง  อยู่ได้อย่างพอเพียงเมื่อพึ่งตนเองในขั้นแรกได้แล้ว สมาชิกต้องรู้จักพัฒนาตนเอง ให้สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง§       ขั้นที่สาม  อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรสมาชิกในชุมชนต้องรู้จักแจกจ่ายแบ่งปัน  จะช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความเพียงพอขึ้นในจิตใจ§       ขั้นสุดท้าย  อยู่ดียิ่งขึ้นด้วยการเรียนรู้สมาชิกในชุมชนต้องรู้จักพัฒนาตนเอง  โดยการเรียนรู้จากธรรมชาติและประสบการณ์ในโลกว้างด้วยตนเอง  หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับผู้อื่น  ให้เกอดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนช่วยกันพัฒนาชีวิตตนเองและผู้อื่นร่วมกัน  มีการสืบทอดและเรียนรู้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาให้เป็นสังคมที่มั่นคงและยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  โดยใช้คุณธรรมและวัฒนธรรมเป็นตัวนำ  ไม่ได้ใช้เงินเป็นตัวตั้ง ·       ระดับปฏิเวธ (ผลที่เกิดจากการปฏิบัติ)§       ความพอเพียงในระดับครอบครัว สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ในลักษณะพึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุข  สามารถดำเนินชีวิตโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  สามารถหาปัจจัย 4 มาเลี้ยงตนเองได้โดยยังเหลือเป็นส่วนออม§       ความพอเพียงในระดับชุมชน  เกิดจากความเพียงพอในระดับครอบครัวก่อน แล้วจึงรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม§       ความพอเพียงในระดับสังคม เกิดจากความเพียงพอของหลายๆชุมชนมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สืบทอดภูมิปัญญา  และร่วมกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง                  วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เป็นบทเรียนที่ดีในการวางแผนพัฒนาประเทศ  โดยทำให้เห็นความสำคัญของ  แนวทางพัฒนาที่สอดคล้องกับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยที่เน้นความเพียงพอเป็นพื้นฐานก่อน ดังพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานไว้ว่าการเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ความพอมีพอกิน (พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา   ศาลาดุสิดาลัย  สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต  วันพฤหัสบดี ที่ 4  ธันวาคม  2540) 

เหตุแห่งวิกฤติทางเศรษฐกิจ ที่เคยล่มสลาย  และอาจจะมาเยือนอีก

จากข้อความที่กล่าวว่า “เหตุแห่งวิกฤติทางเศรษฐกิจ ที่เคยล่มสลาย  และอาจจะมาเยือนอีก” ก็ด้วยเหตุที่ว่า

                  1. อิทธิพลจักรวรรดินิยมชาติตะวันตกที่เปลี่ยนจากสงครามทางการเมือง  มาเป็นสงครามทางเศรษฐกิจ  หรือที่เรียกกันว่า    จากสงครามร้อนมาสู่สงครามเย็น  ซึ่งค่อยๆแทรกแซงเข้ามาครอบงำปัจจัยพื้นฐานของประเทศโดยผ่านเครื่องมือ  4  อย่าง  คือ สถาบันทางการเงิน  นักการเมืองทุจริต ระบบประชาธิปไตยที่ยึดเสียงข้างมากเป็นหลัก  และสื่อมวลชน                  2. ที่ผ่านมาและกำลังดำเนินอยู่รัฐมีแนวทางพัฒนาประเทศโดยเอาเงินเป็นตัวตั้ง  มุ่งกระจายเงินไปสู่ชนบท  แต่ไม่มีวิธีการพัฒนาที่ยั่งยืน                  3. จากนโยบายในข้อ 2 ก็ส่งผลต่อสมาชิกในชุมชน  คือ สมาชิกในชุมชนเกิดความคุ้นเคยในการก่อหนี้  ไม่สนใจการออม  มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  ลงทุนเกินตัว  วางแผนไม่รอบคอบ                  4. นำค่านิยมและวัฒนธรรมต่างประเทศมาใช้โดยไม่ปรับให้เหมาะสมกับคนไทย  คนไม่ช่วยเหลือสังคม  เน้นวัตถุเกิดความแก่งแย่งแข่งขัน  แย่งชิงทรัพยากรมาใช้เพื่ออยู่ดีทางวัตถุ                    5. ขาดการถ่ายทอดความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาไปยังลูกหลาน  ทำตัวเหมือนสังคมของ นกเรดโรบิน  (ดำรง  ลีลานุรักษ์ :มติชน 2544)  หรือเลวร้ายกว่านั้นคือ ปลูกฝังค่านิยมในการดำเนินชีวิตที่ผิด  กล่าวคือ  ไม่ปลูกฝังให้สมาชิกรูจักพอเพียง  ไม่รู้จักบุญคุณ  ไม่เคารพผู้ใหญ่  หรือพระสงฆ์  ไม่รู้จักหน้าที่ของพลเมืองที่ดี   นับถือวัตถุ  นับถือคนรวย  ความรวย  ไม่นับถือความดี  เงินคือพระเจ้า  มุ่งแสวงหาวัตถุโดยไม่คำนึงความถูก-ผิด  ชั่ว-ดี  สมาชิกจึงเกิดความเห็นแก่ตัว  ตัวใครตัวมัน  ไม่เอื้อเฟื้อไม่อาทร  สังคมจึงเกิดปัญหา                  6. การอพยพของชาวชนบทเข้าสู่ตัวเมือเพื่อขายแรงงานแลกเงิน  ทำให้ชนบทขาดแรงงานภาคเกษตร  จะเหลือแต่เด็กและคนชรา  สถาบันครอบครัวล่มสลาย  พ่อแม่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเอง  ไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูและเอาใจใส่ลูก  ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวและปัญหาทางสังคมตามมา                  7. นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการขาดคุณธรรมมุ่งแต่เงิน  ทำให้ผลิตสื่อมอมเมาสมาชิกในสังคมให้เกิดความฟุ้งเฟ้อ  โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติยิ่งถูกมอมเมาได้ง่าย                  8. ระบบราชการ  การเมือง  และกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ พอเพียงในการพัฒนาระดับชุมชน  การทุจริตฉ้อราษฎร์ บังหลวงมีอยู่ทุกระดับ แทรกซึมทุกหน่วยงาน  ทุกองค์กร  โครงสร้างทางการเมืองไม่โปร่งใสประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาประเทศน้อยมาก  ทำให้แนวทางในการพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน  กฎหมายยังล้าหลังและอ่อนแอ                  9. ปัญหาการความรู้ทางเทคโนโลยีและการทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นอันมีค่าไม่ สืบทอดและต่อยอด                  10. หลักสูตรมุ่งผลิตให้นักเรียนมีความรู้  แต่ไม่มีคุณธรรม  นักเรียนนักศึกษายังเป็นภาระให้ผู้ปกครองหาเลี้ยงและส่งเสีย                  11. สมาชิกในสังคมไม่เห็นไม่รู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ  ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีตกลับเสื่อมโทรม  เช่น ป่าไม้  แม่น้ำ ลำธาร ขาดการดูแลรักษา และพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มา เปลี่ยนวิกฤตจากกระแสโลกาภิวัตน์ให้เป็นโอกาสโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันเถอะ                ในปัจจุบันสังคมโลกที่เราอาศัยอยู่เป็นสังคมโลกที่เราต้องดำรงชีวิตอยู่และรักษาสมดุลภายใต้กระแสที่ตรงข้ามกัน  ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง  อาทิ ชนบท  กับเมือง  กายภาพ  กับ จิตวิญญาณ การอนุรักษ์กับการพัฒนา   ฯลฯ  ดูตามตาราง

โลกาภิวัตน์

ชนบท                          เสถียรภาพอนุรักษ์กายภาพอุตสาหกรรม
ชุมชนาภิวัฒน์ในเมืองการเปลี่ยนแปลงพัฒนาจิตวิญญาณสิ่งแวดล้อม
                                    จากตารางข้างบนนั่นคือสิ่งที่กำลังเป็นอยู่และจะดำเนินต่อไป  การที่เราจะใช้ชีวิตให้เป็นไปอย่างสมดุล ไม่ใช่เราจะเลือกขั้วใดขั้วหนึ่ง  แต่เป็นการหาแนวทางที่ดีจากแต่ละกระแสมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม  ก็เหมือนกันกับการจะดำรงชีวิตอยู่ใต้กระแสโลกาภิวัฒน์นั้นก็ต้องเข้าใจถึงโอกาสและภัยคุกคามที่เกิดขึ้น  เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง  กับชุมชน  และรัฐ  และขณะเดียวกันก็ใช้กระแสโลกาภิวัฒน์เป็นโอกาส  คือนำกระแสโลกาภิวัฒน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยนำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง มาใช้   เช่น                  1. เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า  ทำให้ เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสารอย่างรวดเร็ว  ทำให้คนได้รับข่าวสารได้อย่างเท่าทัน  เป็นผลผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย จากนโยบายรวมศูนย์ไปเป็นการกระจายอำนาจ                    2. กระแสโลกาภิวัฒน์  เปิดโอกาสให้เกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างชุมชนและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ  เกิดความร่วมมืออย่างไร้พรมแดน  ทั้งในแง่การผลิต  การตลาด  ซึ่งจะทำให้เกิดกิจการส่งเสริมอาชีพ  การเพิ่มทางเลือกของตลาด  การเพิ่มทางเลือกของสินค้า                    3. ผลของวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้ชุมชนต่างๆหันมาคิดพึ่งตนเองให้มากขึ้น  พิจารณาต้นเหตุของปัญหา  และทบทวนแนวทางการดำเนินชีวิตที่ผ่าน ที่มีค่านิยมฟุ้งเฟ้อ  มีชีวิตอยู่บนความประมาท  เศรษฐกิจแบบฟองสบู่ เมื่อฟองสบู่แตกก็ล่มสลาย  นักธุรกิจทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่าหลายคนหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย  เริ่มมารู้จักสถานะและศักยภาพของตนเอง ประกอบกับในขณะนี้เกิดวิกฤตทางสังคม  แนวคิดพัฒนาจากภายนอก  ทำให้ชุมชนหันมาให้ความสนใจกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน  ดูแลสุขภาพตนเองให้ดีขึ้นโดยพยายามประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่มีอยู่มารักษา                  4. ภัยคุกคามจากกระแสโลกาภิวัฒน์  หากองค์กรของรัฐหรือสถาบันของชุมชนไม่รู้เท่าทัน ย่อมมีผลส่งให้ภาพโดยรวมของประเทศและสังคมไทย มีความ เปราะบาง  และรับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอกได้ง่าย  เช่นตลาดชุมชนถูกทำลาย  วิสาหกิจภายในประเทศถูกคุกคาม  ก่อให้เกิดการว่างงาน  ผู้ผลิตไม่สามารถขายผลผลิตได้เพราะถูกเอาเปรียบจากอิทธิพลทุนนิยมต่างประเทศ  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้  รัฐและชุมชน ต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้เกิดขึ้น ด้วยการสร้างองค์ความรู้โดยสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนและจัดการความรู้ ทางด้านข้อมูลข่าวสาร  และเทคโนโลยีระหว่างคนในประเทศ เพื่อให้คนไทยทุกส่วนของประเทศวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม  ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและเป็นธรรม  เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง                  5. ความแตกต่างของระดับการพัฒนา  คนไทยไม่รู้เท่าทันต่างชาติ เป็นการเปิดโอกาสให้เข้ามาใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาไทย  หรือปิดบังโอกาสไม่ให้คนไทยได้นำภูมิปัญญาดั้งเดิมของตนเองไปใช้  ด้วยการชิงจดสิทธิบัตรเป็นเจ้าของความคิดภูมิปัญญานั้นก่อน  วิธีแก้ปัญหา ในภาครัฐต้องเร่งส่งเสริมหามาตรการให้คนในสังคมเข้าใจและรู้เท่าทันสภาพการณ์ รวมทั้งรัฐจะต้องรู้จักนำกฎระเบียบสากลที่มีอยู่  โดยเฉพาะการเจรจาในองค์การค้าโลก (WTO) มาปกป้องและคุมครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยด้วย                  6. การไตร่ตรองให้รอบคอบ ในการนำเอาแนวคิดค่านิยมที่มุ่งเน้นวัตถุเข้ามาในประเทศ  หาก ไม่ไตร่ตรอง  ย่อเกิดผลความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาการเอารัดเอาเปรียบเกิดขึ้นในสังคม  หรือการรับเอาค่านิยมการบริโภคที่ฟุ้งเฟ้อ ย่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง  วิธีแก้คือ ต้องเน้นสร้างฐานแห่งความรู้  รู้จักตนเอง  รู้จักชุมชน  รู้จักสังคม  ไม่หลงมัวเมากับค่านิยมที่กล่าวมาข้างต้น                  7. จรรยาบรรณของสื่อมวลชน  สื่อมวลชนผู้ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการนำเสนอข้อมูล  และมีบทบาทในการกระตุ้นกระแสนิยมต่างๆ  ที่หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัฒน์   รัฐจึงควรสร้างจรรยาบรรณของสื่อมวลชน ให้มีจิตสำนึกสาธารณะและความสามัคคีในชุมชน  หามาตรการส่งเสริมให้สื่อ ช่วยสร้างเสริมศักยภาพด้านการจัดการของคนและสังคมให้มีประสิทธิภาพ  ให้สามารถรู้เท่าทันโลก  โดยสื่อจะต้องส่งเสริมให้ร่วมกันคิด  กระตุ้นให้เกิดกระแสนิยมให้ทุกคนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญ  ของภูมิปัญญาท้องถิ่น                ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า  25  ปี การดำเนินชีวิตในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น  จะต้องมีการจัดการบริหารที่ดี  เพราะการประกอบอาชีพใดก็ตามควรต้องใช้ความรู้ความสามารถและการจัดการที่ดี  มีการนำทรัพยากรมาใช้อย่างชาญฉลาด  พร้อมทั้งหาวิธีการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในการประกอบอาชีพต่างๆ  จะต้องยึดหลักในการมุ่งลดรายจ่ายไม่ใช่มุ่งแต่จะเพิ่มรายได้อย่างเดียว  และการนำทรัพยากรมาใช้นั้นควรจะรู้ถึงคุณค่า  คุณประโยชน์  ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน                   อีกประการหนึ่ง  การอยู่ร่วมกันในสังคมก็ต้องมีความเอื้ออาทร ไม่เบียดเบียนกัน  ประนีประนอม  รู้รักสามัคคี  สมาชิกในชุมชนต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นส่วนรวม  นอกจากนี้แล้วสมาชิกในชุมชนต้องรู้จักพึ่งพาตนเอง  โดยยึดพุทธภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน  ไม่หวังพึ่งปัจจัยภายนอก  ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน  ไม่เป็นภาระของผู้อื่น  ไม่ฟุ้งเฟ้อ  พอเพียงกับตนเอง                    หลักการสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ เศรษฐกิจพอเพียง  คือการรวมกลุ่มดำเนินการทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน  ของชุมชน  ซึ่งการรวมกลุ่มของชาวบ้านจะเป็นการพัฒนาสมาชิกในชุมชน  เมื่อกลุ่มเข้มแข็ง  ทางเศรษฐกิจก็จะช่วยให้สังคมก็เข้มแข็งขึ้น  จะส่งผลให้ประเทศเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความมั่นคง                  จากเหตุและผลตลอดทั้งแนวทางแก้ปัญหาในภาวะวิกฤตที่ผ่านมาและดำเนินอยู่ในปัจจุบัน  จึงสรุปได้ว่า  ในยุคนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่า  การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตเพื่อให้เกิดความสมดุลท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์   ผู้เขียนขอสรุปแนวทางในการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ในการดำรงชีวิตดังต่อไปนี้                  1. เพิ่มทักษะและขีดความสามารถของคนในชุมชนให้รู้จักตนเอง มีศักยภาพเรียนรู้ และรู้จักทุนทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนตนเอง              2. สนับสนุนให้เกิดการบร

หมายเลขบันทึก: 58055เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 05:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้เข้ามาเรียนรู้ด้วยครับ ในที่สุดก็ไม่พ้นหลักธรรม เศรษฐกิจพอเพียงเป็นคำตอบของการพัฒนาชาติบ้านเมือง สอดคล้องกับสัปปุริสธรรม ๗ คือรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักชุมชน และรู้จักบุคคล   เอวังก็มีด้วยประการฉนี้

ขอบคุณครับ

น.ส.กรวิภา บุญพระลักษณ์

รายงานของพี่เสร็จก็เพราะเว็ปอาจารย์นี่แหละค่ะขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ

ขอบคุนมากเรยนะคะ

เปนพระคุนอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท