บทความ


IT

IT กับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้

ในโลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งการแข่งขันความร้ความสามารถของคนขึ้นอยู่กัลเศรษฐกิจที่ใช้ความร้เป็นฐาน (Knowlerge-based Econnomy)การเรียนโดยเอาวิชาความรู้เป็นตัวตั้งไม่สามารถทำให้มนุษย็เผชิญและแก้ปัญหาต่างๆได้ เพราะโลกแห่งวิชาและโลกแห่งความเป็นจริงต่างกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนได้เผชิญสถานการณ์ต่างๆด้วยตนเอง อีกทั้งในโลกแห่งโลกาภิวัฒน์ที่ข้อมูลข่าวสารสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกันไปทั่วโลกทำให้ความรู้ไม่จำกัดเฉพาะอยู่ที่ห้องเรียน ดังนั้นการใช้สื่อที่ทันสมัย ทันตามเทคโนโลยี ย่อมทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
สื่อIT สามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ในด้านต่างดังนี้
1.
พัฒนาคุณภาพของคนให้มีความสามารถในการใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ทั้งด้านสตอปัญญา กาย อารมณ์และสังคม
2.
เพิ่มพูนความเข้มแข็งโดยพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวม
3.
ให้การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสังคมโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งข้อมูลและสาระความรู้ต่างๆ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
4.
ให้การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
5.
ให้การเรียนรู้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งเน้นให้การปฏิรูปการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ คือเป็นคนเก่ง เป็นคนดี มีความสุข

เป็นคนเก่ง
- มีความรู้ทั้งไทยและสากล

- มีความสามารถพิเศษเฉพาะทาง
-
มีความสามารถในการคิด อย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณณาญ
-
มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง


เป็นคนดี
- ดำรงชีวิตร่วมกับคนอื่นอย่างมีคุณภาพและเป็นสุข
-
มีจิตใจและพฤติกรรมที่ดีงาม เป็นประชาธิปไตย มีคุณธรรม


เป็นคนดี
-
ดำรงชีวิตร่วมกับคนอื่นอย่างมีคุณภาพและเป็นสุข
-
มีจิตใจและพฤติกรรมที่ดีงาม เป็นประชาธิปไตย มีคุณธรรม

ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องตระหนักว่าการจัดการเรียนการสอนจะต้องตอบสนองความต้องการ ความถนัด ความสนใจและความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทั้งด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านสุขภาพ สุขนิสัย ด้านการอย่ร่วมในสังคมและด้านความสามารถทางสติปัญญา ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสามารถและทักษะในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong learning) กระบวนการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้จึงต้องเกิดจากการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เอง เพราะ "หัวใจของการเรียนรู้เกิดจากขุมทรัพย์ในตน"(สิปปนนท์ 2543)

---------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
"
ปฏิรูปการเรียนรู้ สู่ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง".(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.lib.lpru.ac.th/library/news2/kingfa002.pdf 2006
หมายเลขบันทึก: 58026เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท