suganda2530


งานชิ้นที่3 การคำนวณด้วยโปรแกรมExcelเพื่อนำมาใช้ในการหาค่าต่างๆในงานประวัติศาสตร์

สูตรคำนวณอายุงาน (แบบเต็ม)

วันที่ปัจจุบัน =today - วันที่เข้าทำงาน สมมติตำแหน่งเซลล์ g2
สูตรก็คือ =today  – g2 ผลลัพธ์คือ ผลต่างของจำนวนวัน (สมมติ 3778 วัน)
365 วัน = 1 ปี
3778 วัน = 3778/365 ปี = 10 ปี
เศษที่ได้คือ จำนวนวันที่เหลือ = 128 วัน มาจาก (3778 – (จำนวนวันในรอบ 10 ปี)
=mod(3778,365)
=mod(today  -  g2,365)
mod = modulus หารเอาแต่เศษ
30 วัน = 1 เดือน
int((mod(today -g2,365))/30)
int = interger แสดงเฉพาะจำนวนเต็ม (ไม่แสดงจุดทศนิยม)
128 วัน = 128/30 เดือน = 4 เดือน
เศษที่ได้คือ จำนวนวันที่เหลือ
หาจำนวนวันคือ
128 mod 30 = วันที่เหลือ
สรุปคำสั่งหาอายุงานแบบเต็ม

ปี =YEAR(TODAY) -YEAR(ตำแหน่งเซลล์)
เดือน =INT(MOD(TODAY - ตำแหน่งเซลล์,365)/30)
วัน =MOD(MOD(TODAY - ตำแหน่งเซลล์,365),30)

สูตรปัดตัวเลขขึ้น ได้แก่
    • RoundUp ปัดตัวเลขขึ้น ให้เหลือจำนวนหลักตัวเลขตามต้องการ
      • =ROUNDUP( ตัวเลข , จำนวนหลัก)
      • =ROUNDUP(1.23,1) 1.3
      • =ROUNDUP(1.23,0) 2
      • =ROUNDUP(12.3,-1) 20
    • Ceiling ปัดตัวเลขขึ้น สู่ตัวเลขเท่ากับ จำนวนเท่าคูณค่าทวีคูณ
      • = CEILING( ตัวเลข , ค่าทวีคูณ)
      • = CEILING( 1.23 ,. 25) 1.25
      • = CEILING( 1.23 ,. 5) 1.5
      • = CEILING( 1.23,1) 2
      • = CEILING( 12.3,2) 14
        • ค่าทวีคูณ หมายถึง ตัวเลขซึ่งจะเพิ่มหรือลดเป็นจำนวนเท่าตัวของค่าเดิม เช่น
        • ค่าทวีคูณ = .5 มีค่า 0 > 0.5 > 1.0 > 1.5 > 2 >>>
  • สูตรปัดตัวเลขลง ได้แก่
    • RoundDown ปัดตัวเลขลง ให้เหลือจำนวนหลักตัวเลขตามต้องการ
      • =ROUNDDOWN( ตัวเลข , จำนวนหลัก)
      • =ROUNDDOWN(1.23,1) 1.2
      • =ROUNDDOWN(1.23,0) 1
      • =ROUNDDOWN(12.3,-1) 10
    • Floor ปัดตัวเลขลง สู่ตัวเลขเท่ากับ จำนวนเท่าคูณค่าทวีคูณ
      • =FLOOR( ตัวเลข , ค่าทวีคูณ)
      • =FLOOR(1.23,.25) 1
      • =FLOOR(1.23,.5) 1
      • =FLOOR(1.23,1) 1
      • =FLOOR(12.3,2) 12
    • Int ปัดตัวเลขลง เป็นเลขจำนวนเต็มที่น้อยลง
      • =INT( ตัวเลข)
      • =INT(1.23) 1
      • =INT(-1.23) -2
    • Trunc ตัดตัวเลข ให้เหลือจำนวนหลักตัวเลขตามต้องการ
      • = TRUNC( ตัวเลข , จำนวนหลัก)
      • = TRUNC( 1.23) 1
      • = TRUNC(- 1.23) -1
      • = TRUNC( 1.23,1) 1.2
      • = TRUNC( 12.3,0) 12
      • = TRUNC( 12.3 ,- 1) 10
      • ข้อสังเกต สูตร Trunc จะตัดตัวเลขทิ้งเลย ส่วนสูตร Int จะตัดตัวเลขทิ้งให้เป็นค่าที่น้อยลง ทำให้ Int(-1.23) กลายเป็น - 2
      • สูตรปัดตัวเลข ขึ้นก็ได้ ลงก็ได้ ได้แก่
            • Round ใช้เลข 5 เป็นเกณฑ์ ในการปัดตัวเลขขึ้นหรือลง
            • =ROUND( ตัวเลข , จำนวนหลัก)
            • =ROUND(1.23,1) 1.2
            • =ROUND(1.25,1) 1.3
            • =ROUND(14.2,-1) 10
            • =ROUND(15.2,-1) 20
            • สูตร Round จะปัดลงเมื่อตัวเลขหลักถัดไปน้อยกว่า 5 และปัดขึ้นเมื่อตัวเลขหลักถัดไปมากกว่าหรือเท่ากับ 5
            • Round พิเศษ ใช้ค่าทวีคูณเป็นเกณฑ์ ปัดตัวเลขใกล้เคียง เข้าสู่ค่าทวีคูณ
            • =ROUND( ตัวเลข/ค่าทวีคูณ ,0)* ค่าทวีคูณ
            • =ROUND(10.125/.05,0)*.05 10.15
            • =ROUND(10.125/.10,0)*.10 10.10
            • =ROUND(10.124/.25,0)*.25 10.00
            • =ROUND(10.125/.25,0)*.25 10.25
        • สูตร Round ดัดแปลงนี้มีประโยชน์มากจะปัดลง เมื่อตัวเลขมีค่า ไม่ถึงครึ่งของค่าทวีคูณ จะปัดขึ้น เมื่อตัวเลขมีค่า มากกว่าหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าทวีคูณ
        • MRound ใช้ค่าทวีคูณเป็นเกณฑ์ ปัดตัวเลขใกล้เคียง เข้าสู่ค่าทวีคูณ
        ตัวอย่างการคำนวณ
        การคำนวณด้วยฟังก์ชัน
        โปรแกรม Microsoft Excel มีความสามารถเด่นในด้านการคำนวณ ซึ่งมีลักษณะการคำนวณ 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่
        • การคำนวณด้วยสูตร (Formula)
        • การคำนวณด้วยฟังก์ชันสำเร็จรูป (Function)
        ชื่อฟังก์ชันจะเป็นคำเฉพาะที่ Microsoft Excel กำหนดไว้ ซึ่งแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้มากมาย เช่น
        • ฟังก์ชันคำนวณด้านการเงิน เช่น DDB( ) หาค่าเสื่อมราคาที่ระยะเวลาใด ๆ โดยวิธี Double - declining balance method
        • ฟังก์ชันคำนวณด้านวัน เวลา เช่น NOW( ) ฟังก์ชันให้ค่าวันเวลาปัจจุบัน
        • ฟังก์ชันคำนวณด้านคณิตศาสตร์ เช่น TAN( ) ฟังก์ชันหาค่า Tangent ของมุม
        • ฟังก์ชันคำนวณด้านสถิติ เช่น SUM( ) ฟังก์ชันหาผลรวมของชุดตัวเลข
        • ฟังก์ชันคำนวณด้านฐานข้อมูล เช่น DSUM( ) ฟังก์ชันหาผลรวมของข้อมูลตามเงื่อนไขที่ระบุ
        • ฟังก์ชันในการค้นหาข้อมูล เช่น HLOOPUP( ) ฟังก์ชันหาข้อมูลที่ตรงตามเงื่อนไข
        • ฟังก์ชันจัดการตัวอักษร เช่น CHAR( ) ให้ค่าตัวอักษรจากตาราง ASCII
        • ฟังก์ชันการคำนวณแบบตรรก เช่น AND( ) ให้ค่าทางตรรกะในกรณี AND
        • ฟังก์ชันด้านวิศวกรรม เช่น HEX2OCT( ) แปลงตัวเลขฐาน 16 เป็นตัวเลขฐาน 8
        การใช้งาน
        • เลื่อน Cell Pointer ไปไว้ ณ เซลล์ล์ที่ต้องการวางผลลัพธ์
        • สร้างฟังก์ชันการคำนวณแล้วกดปุ่ม <Enter> โดยฟังก์ชันจะมีรูปแบบดังนี้
        ค่าที่ใช้ในการคำนวณค่าที่นำมาใช้ในการคำนวณ อาจจะเป็นค่าคงที่ เช่น 500 หรืออาจจะเป็นตำแหน่งเซลล์ เช่น A5 จะหมายถึงนำค่าที่ถูกเก็บไว้ในเซลล์ล์ ณ ตำแหน่งแถวที่ 5 คอลัมน์ A มาคำนวณนอกจากนี้ บางฟังก์ชัน ก็ไม่จำเป็นต้องมีค่ากำกับ เช่นฟังก์ชันวันที่ปัจจุบัน ใช้เป็น =NOW() ได้เลย เป็นต้น
            ฟังก์คำนวณค่ามาตรฐาน

        ฟังก์ชันการคำนวณค่ามาตรฐาน ที่ Excel เตรียมไว้ให้ใช้งาน ได้แก่

        SUM(ค่าข้อมูล หรือช่วง)                                            หาผลรวมของข้อมูล

        MAX(ค่าข้อมูล หรือช่วง)                                            หาค่าข้อมูลที่มีค่ามากที่สุด

        MIN(ค่าข้อมูล หรือช่วง)                                              หาค่าข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุด

        AVERAGE(ค่าข้อมูล หรือช่วง)                                  หาค่าเฉลี่ยของข้อมูล

         

        ตัวอย่างการใช้งาน

        SUM(85,25,65)
        SUM(A1:A3)
        MAX(85,25,65)
        MAX(85,25,65)
        MIN(85,25,65)
        MIN(85,25,65)
        AVERAGE(85,25,65)
        AVERAGE(85,25,65)
        คำนวณหาอายุ, อายุงาน (ปี)

จากตัวอย่าง สามารถใช้ฟังก์ชันของ Excel ช่วยคำนวณหาอายุงาน และอายุตัวได้ง่ายๆ ดังนี้

การคำนวณหาอายุงาน กระทำได้โดย
  • คลิกเมาส์ที่คอลัมน์ J เลือกเมนูคำสั่ง "Insert, Columns" เพื่อแทรกคอลัมน์ว่าง ป้อนชื่อคอลัมน์เป็น "อายุงาน (ปี)"
  • คลิกเมาส์ในเซลล์ J2 พิมพ์สูตร =YEAR(TODAY  - YEAR(I2)
  • คัดลอกสูตรไปยังเซลล์อื่นๆ
  • ถ้าปรากฏค่าเป็นรูปแบบวันที่ ให้คำสั่ง "Format, Cells..." แล้วเลือกบัตรรายการ Number จากนั้นเลือก Category ชื่อ General โปรแกรมจะแสดงค่าตัวเลขปี ที่ถูกต้อง
  • คำอธิบาย=YEAR(TODAY())-YEAR(I2) เป็นสูตรผสมในการค่าอายุงาน หน่วยเป็น "ปี" โดย·         today() เป็นฟังก์ชันหาค่าวันที่ปัจจุบัน (วันที่ของเครื่อง) ·         year(today()) เป็นฟังก์ชันผสม โดยฟังก์ชัน Year() จะหาค่า "ปี ค.ศ." ของฟังก์ชัน Today() เช่น ถ้าวันที่ของเครื่องเป็น 21 มกราคม 2545 ฟังก์ชัน Today() จะมีค่าเป็น 1/1/70 เมื่อนำมาผ่านฟังก์ชัน Year(today()) จะได้ค่าเป็น 2002 นั่นเอง ·         year(I2) เป็นการหาค่าปี ค.ศ. ของข้อมูลในเซลล์ I2 จากตัวอย่างข้อมูลใน I2 คือ 7 พฤษภาคม 2537 เมื่อผ่านฟังก์ชัน Year() จะได้ค่าปี ค.ศ. เป็น 1991 ·         ดังนั้น =YEAR(TODAY())-YEAR(I2) ก็จะเป็นการนำค่า 2002 ลบด้วยค่า 1991 ซึ่งเท่ากับ 11 (ปี) นั่นเอง เพิ่มเติมการหาอายุตัว (ปี) ก็ใช้หลักการลักษณะเดียวกันสรุปสูตรคำนวณเกี่ยวกับอายุ

    =YEAR(TODAY())-YEAR(ตำแหน่งเซลล์ของวันที่ที่ต้องการคำนวณ)

    คำนวณวันทำงานไม่รวมวันหยุด

    การคำนวณวันทำงานไม่รวมวันหยุด จะต้องใช้ฟังก์ชัน Networkday ซึ่งเป็นฟังก์ชันเสริมที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมด้วยคำสั่ง Tools, Add-ins คลิกเลือกรายการ Analysis ToolPak เมื่อคลิก OK โปรแกรมจะติดตั้งฟังก์ชันเพิ่มเติมให้ (อาจจะต้องใส่แผ่นโปรแกรม MS-Office)

    สร้างสูตรคำนวณวันทำงาน ไม่รวมวันหยุดด้วยสูตร =networkdays(วันเริ่มต้น,วันสุดท้าย,วันหยุด) ทั้งนี้สูตรของตัวอย่างนี้คือ =NETWORKDAYS(C2,C3,holiday) หมายเหตุ holiday เป็นชื่อช่วงวันหยุดที่ได้

    ตารางวันหยุด

    สำหรับวันหยุดในช่วง ก็คำนวณได้จากสูตร =C5-C6

     

    อ้างอิง www.google.co.th

                 www.nectec.or.th

หมายเลขบันทึก: 58013เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2006 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท