การอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ (Reading Comprehension) ตอนที่ 3


3. พ่อแม่ควรทำอะไร

นักเรียนบางคนมีปัญหาในการจำและทำความเข้าใจบทอ่าน ถึงแม้ว่าบทอ่านนั้นจะง่ายขนาดไหน หรือแม้แต่จะมีคนอ่านให้ฟังแล้วก็ตาม ในที่นี้เราได้เสนอสิ่งที่พ่อแม่สมควรจะทำเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจให้แก่ลูก

1. จงอ่านให้ลูกคุณฟังทุกวัน อย่างน้อยก็สัก 20-30 นาที ก่อนการอ่าน จงคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อ หรือบทอ่านว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อาจให้ลูกๆพยากรณ์ว่าเรื่องที่อ่านจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร หรือบอกสิ่งต่างๆที่พวกเขาควรจะรู้เกี่ยวกับเนื้อหา ต่อจากนั้นก็ให้อ่านประมาณ 1-2 ย่อหน้า (paragraph) หยุด และถามเกี่ยวกับว่าย่อหน้าที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร บางครั้งอาจถามคำถามเฉพาะย่อหน้าที่อ่าน หากเรื่องที่อ่านยากเกินไป เรามีคำแนะนำให้ ดังนี้

1.1 ให้เลือกเรื่องที่ง่ายขั้น หรือ บทอ่าน หรืออะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ลูกๆของคุณรู้ดีพอสมควร เช่น ถ้าลูกๆของคุณชอบหมากรุกพอสมควร ก็ให้หาเรื่องราว หรือบทอ่านที่เกี่ยวกับหมากรุก

1.2 อ่านให้น้อย ก่อนที่จะหยุด และถามลูกๆของเราเกี่ยวกับบทอ่าน การอ่านให้น้อย หมายถึง อ่านเพียง 2 ประโยค แทนที่จะอ่านถึง 2 ย่อหน้า

2. จงใช้กิจกรรมเดียวกัน แต่คราวนี้ให้ลูกๆของคุณอ่าน (ประมาณสัก 20-30 นาทีก็พอ) อย่างไรก็ตาม จงแน่ใจว่า บทอ่านนั้นไม่ยากเกินไป

3. กลยุทธ์ประการหนึ่งในการช่วยให้ผู้เรียนสามารถจำสิ่งที่ตนเองอ่านเอง หรือคนอื่นอาจให้ฟัง นั่นคือ การทำให้พวกเด็กๆสามารถภาพที่เกิดขึ้นในจิต (mental pictures) ระหว่างที่กำลังอ่าน โดยนัยยะนี้หมายถึง เพวกเด็กๆกำลังนั่งดูโทรทัศน์อยู่ ภาพที่เห็นก็คือเนื้อหาที่กำลังอ่านอยู่นั่นเอง

4. อีกวิธีหนึ่งก็คือ การให้เด็กๆถามปัญหาก่อนที่พวกเขาจะอ่าน และระหว่างที่อ่านนั้น พอผ่านแต่ละย่อหน้านั้น พ่อแม่ควรตอบปัญหาที่เด็กๆถามไว้ก่อน และอาจถามคำถามเพิ่มเติมได้ด้วย

5. หลังจากการอ่าน พ่อแม่ควรถามเด็กๆว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีคติสอนใจหรือไม่ อย่างไร บางครั้งก็อาจถามเด็กๆว่าสนใจเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ อาจให้เด็กๆช่วยใช้จินตนาการเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้ ฯลฯ

ขอขอบคุณกบ พงศกร บัวทอง และง้อ ที่ทำให้ผมค้นคว้าเรื่องนี้

หนังสืออ้างอิง

Carolyn A. Denton and Jan E. Hasbrouck. (2000) Reading Comprehension from Teaching Students with Disabilities to Read. Texas A & M University.

หมายเลขบันทึก: 580236เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท