KM (Knowledge Management)


บันทึกอนุทิน รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

โดย นางสาวมณฑนา เพ็งกลาง รหัสนักศึกษา 57D0103113 สาขาหลักสูตรและการสอน เรื่อง KM (Knowledge Management)

วันที่บันทึก17สิงหาคม พ.ศ. 2557


ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

KM (Knowledge Management) Knowledge ความรู้ แต่ความรู้บางอย่างสามารถต่อยอดได้ บางอย่างไม่สามารถต่อยอดได้ ใครมีความรู้มากถือว่าได้เปรียบ องค์กรจะดำรงอยู่ได้ในยุค Knowledge Based Economy จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องปรับยุทธศาสตร์ทั้งหมดขององค์กร การแข่งขันต้องใช้ความเร็ว ความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ความได้เปรียบทางธุรกิจ เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาในระยะยาวและยั่งยืน ทรัพยากรที่ใช้ในการแข่งขัน มีทั้งทรัพยากรที่จับต้องได้ และทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ ทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ คือ ความรู้ ทักษะ การจัดการ ประสบการณ์ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ให้ความสำคัญ ทรัพยากรที่จับต้องได้ คือ อุปกรณ์ ทุน ลักษณะเด่นของความรู้ ความรู้ยิ่งใช้ยิ่งมีมาก ไม่มีขีดจำกัด นำความรู้ใหม่มาผสมกับความรู้เดิมที่มีอยู่ในตัวบุคคลก็จะเกิดความรู้ใหม่ ๆ มากขึ้นอีก เป็นการสร้างความรู้ใหม่จากงานที่ทำ หมุนเวียนกลายเป็นวงจรความรู้ไม่จบสิ้น (ข้อมูล จัดการข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ความรู้ ปัญญาเฉลียวฉลาด) ประเภทของความรู้ มีอยู่สองอย่าง คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล ทักษะ และ ความรู้เด่นชัด คือ สามารถรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร ซึ่งความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา วงจรความรู้ได้ถูกใช้หรือส่งผ่านหมุนเวียนเปลี่ยนสภาพและที่อยู่ไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้หายไปไหน ยังคงหมุนเวียนกลับไปกลับมาในตัวบุคคล มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของผู้สื่อสารระหว่างกัน เผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร รวบรวมความรู้จากคู่มือ หนังสือ หรือเอกสารที่เรียนรู้มา มาสร้างเป็นความรู้ และนำไปปฏิบัติ การจัดการความรู้ การจัดเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดความรู้ใหม่โดยใช้ที่มีอยู่และประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างมีระบบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบ รวบรวมวิธีปฏิบัติการขององค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสร้าง การนำมาใช้การเผยแพร่ความรู้และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับการดำเนินการ

รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ

การจัดการความรู้สามารถทำได้กับตัวบุคคลและองค์กร เพราะมีการกลั่นกรองความรู้ที่สมบูรณ์แล้ว นำมาพัฒนาตัวบุคคลและองค์กรได้ แต่ถ้าจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีความร่วมมือกันระหว่างคนในองค์กร กระบวนการนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผ่านการสร้าง รวบรวม จัดเก็บ แลกเปลี่ยน และนำมาใช้ การจัดการเรียนรู้ตัวบุคคลหรือองค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลงและมีการแลกเปลี่ยน สื่อสารให้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมาย

จะนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างไร

พัฒนาแผนการสอนที่ทำให้ผู้อื่นสามารถทำความเข้าใจง่ายขึ้น จัดทำสื่อให้มีความหมายชัดเจน กระบวนการจัดการเรียนสอนมีความง่ายและเข้าใจอย่างชัดเจน

คำสำคัญ (Tags): #aar#บันทึกอนุทิน
หมายเลขบันทึก: 580002เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท