nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

อยู่อย่างปราชญ์


วันนี้นั่งรถมาทำงานได้ฟังรายการ รู้รักษ์ภาษาไทย พูดถึงคำอะไรไม่รู้แต่ผมจับใจความได้แค่เรื่องเดียวคือ เรื่องหัวใจนักปราชญ์ ที่ประกอบด้วย สุ จิ ปุ ลิ   

ที่มาภาพ :  www.tourwat.com

จากหัวใจนักปราชญ์นี้ เป็นสิ่งที่ดี ถ้าใครทำได้ ก็จะเกิดประโยขน์ต่อตนเอง ต่อเพื่อน และต่อสังคมรอบ ๆ ตัวจริง ๆ

และเมื่อย้อนกลับไปเมื่อวานผมมีโอกาสเข้าฟังการประชุมคณะกรรมการหนึ่ง   ประเด็นการประชุมไม่มีอะไรมากมายเป็นพิเศษ แต่ผมติดใจในเรื่องอื่น ๆ ที่ผู้แทน ได้พูดในที่ประชุมถึงพฤติกรรมของผู้ที่ทำหน้าที่ให้การอบรมว่า เขามักจะพูดในสิ่งที่ทำให้เพื่อนครูทั้งหลายสับสน งุนงง และไขว้เขว ในกระบวนการบริหารงานบุคคลครู โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง อะไรทำนองนี้  ซึ่งผู้แทนบอกว่าได้รับข้อมูลมากมายจากทั้ง ไลน์ หรือใน FB เต็มไปหมด จากใครต่อใครก็ไม่รู้ ส่งต่อกันมา และก็ส่งต่อกันไป วนไปวนมาจนงงและสับสนไปหมดแล้ว...

จากจุดนี้เองที่ผมคิดว่า ถ้าผู้รับสาร (ผู้แทน หรือใครก็ตาม) ได้ฟัง หรือ อ่านสิ่งใด ๆ แล้ว ควรนำมาคิด ทบทวน วิเคราะห์  ไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน  หากยังไม่เข้าใจก็ควรจะค้นคว้าเพิ่มเติมจาก หลักเกณฑ์ หนังสือ ตำรา มติ หนังสือเวียน หรือถามผู้ที่รู้จริง ๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้  และที่สำคัญคือ ต้องเขียน หรือบันทึกเก็บไว้เป็นข้อมูลหลักฐานอ้างอิงด้วย

แต่จากที่ผมรู้ก็คือ คนส่วนมาก มักจะรับสาร แล้วส่งต่อทันที เรียกว่าบางทียังอ่านไม่ทันจบก็ส่งต่อเลย และปัจจุบันไม่ส่งกันทีละคนด้วย แต่ส่งกันแบบชนิดที่เรียกว่า แค่ปลายนิ้วมือ ก็สามารถกระจายเรื่องราวไปเป็นกลุ่มเป็นก้อน ซึ่งคิดว่าไวกว่าไฟไหม้ฟางหรือไฟลามทุ่งอีกนะ  และแน่นอนว่ามีการข้ามขั้นตอนของการ จิ  จินตะ (คิด)   ปุ  ปุจฉา (ถาม)  และ ลิ  ลิขิต (เขียน)  ไปเลย และปัญหาที่ตามมาคือ 

  • ใครเป็นเจ้าของข่าว (ที่แท้จริง)
  • ข่าวนี้จริงหรือเท็จประการใดและมีความหมายว่าอย่างไร
  • ผลกระทบที่เกิดกับผู้รับสาร = ตื่น  กลัว  ลนลาน  หวาดผวา  เครียด  และนำไปสู่
  • การติฉิน  ด่าทอ  ร้องเรียน  และรวมกลุ่มกันต่อต้าน ฯลฯ
  • สังคมวุ่นวาย ก็เพราะพฤติกรรมแบบนี้แหละ

ฉะนั้น  ในหมู่สังคมของผู้ที่เรียกว่าเป็นแบบพิมพ์ของชาติ อยากให้ยึดหลักของการเป็นนักปราชญ์ไว้ให้มาก เพราะหากแต่ละคนมัวเมากับการเสพข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง แถมยังขาดการคิดไตร่ตรองให้ดีแล้วเชื่ออย่างไรสติแล้วไซร้  สังคมก็จะมีแต่ความวุ่นวาย  หวาดผวา และความเครียดอยู่ร่ำไป หาความสงบและความเจริญได้ยาก

ในระบบราชการ สิ่งที่เชื่อถือและเชื่อมั่นได้มากที่สุดคือ กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ มติที่ประชุม และหนังสือสั่งการต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย   ขอเพียงแต่ใช้เวลาคิด ค้นคว้า อ่านทำความเข้าใจให้ดีและถี่ถ้วนแล้ว ก็จะนำมาซึ่งความรู้ และความเข้าใจอันดี ในการที่จะดำรงความเป็นนักปราชญ์ได้อย่างแน่นอนครับ

** รายการรู้รักษ์ภาษาไทย ผมฟังตอนเช้าหลังข่าวเช้าทางสถานีวิทยุ และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.royin.go.th/th/home/index.php

หมายเลขบันทึก: 579878เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2014 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2014 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับ

-สบายดีนะครับท่าน

-ด้วยความระลึกถึงครับ

สวัสดีครับ คุณเพ็ชรน้ำหนึ่ง ผมสบายดีครับ ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจครับ หวังว่าคุณสบายดีเช่นกันนะครับ

แวะมา สุ จิ ปุ ลิ ครับ คุณ nobita ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท