​ก้าวสู่ยุคโชติช่วงชัชวาลทางการปฏิรูปการศึกษา


          ผมได้รับ อีเมล์ จาก ผศ. พัชริน ดำรงกิตติกุล ดังต่อไปนี้

          เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๗ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคุรุสภา และ รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร อดีตประธาน คณบดีคณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ แห่งประเทศไทย เสวนา “จุดเปลี่ยน” ปฏิรูปครูเพื่อปฎิรูปประเทศไทย ในการประชุมวิชาการของคุรุสภา ประจำปี ๒๕๕๗

          พบแสงสว่างปฏิรูปการศึกษา นับว่าเป็นการนำผลงานวิจัยที่สนับสนุนโดย สกว. ไปขยายผล เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ ด้วย RBL/PBL มุ่งการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area Based Education) เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา

          และที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศ เห็นด้วยกับการนำไปดำเนินการนำร่อง

          อ่านบันทึกได้ดังแนบค่ะ

พัชริน

บันทึกการเสวนา จุดเปลี่ยนปฏิรูปครูเพื่อปฎิรูปประเทศไทยในการประชุมวิชาการของคุรุสภาประจำปี ๒๕๕๗เรื่อง การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษา และพัฒนาวิชาชีพวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๗


โดยพัชริน ดำรงกิตติกุล


          ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช. กระทรวงศึกษาธิการ

          การจัดการการศึกษาต้องผูกกับอุดมการของชาติ มิใช่เพียงแค่การสอนเทคนิคการศึกษา แนวโน้มการศึกษาโลกมี ๓ ด้าน

           ๑. ด้านกระบวนการเรียนรู้ใหม่ เพื่อให้ได้ทักษะในศวรรษที่ 21 คือ 3R, 7 C, 2L (Learning and Leadership) เปลี่ยนวิธีคิด มโนทัศน์ กระบวนทัศน์ โดยการเปลี่ยนห้องเรียน เปลี่ยนการเรียนรู้ ด้วย RBL/PBL wok based learning, service leaning ซึ่งต้องออาศัยทรัพยากรในพื้นที่

          ๒. ด้านเนื้อหาใหม่ ความรู้ใหม่ สาระวิชาที่มีคุณค่าต่อชีวิต มีวิชาอนาคตศึกษา ที่ตอบสนองการอยู่ร่วมกันในสังคมโลก ประกอบด้วย


a. วิชาใหม่ที่สำคัญ มี พลังงานทางเลือก ภัยพิบัติศึกษา มิใช่ 8 สาระวิชาเท่านั้น

b. ต่อยอดความรู้

c. Work based learning เรียนรู้เศรษฐศาตร์ การออม การลงทุน รวมทั้งทักษะการใช้เทคโนโลยีใหม่ การสอนทักษะการเรียนรู้จริงกับท้องถิ่น


          ๓. ด้านการบริหารจัดการการเรียนรู้ใหม่ รัฐมีบทบาทจัดการศึกษาในขนาดเล็กลง มุ่งการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area Based Education) เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา ใช้ฐานการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น ซึ่งต้องมีฐานข้อมูลในพื้นที่ น่าจะดูแลนวัตกรรมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ อาจจะเป็นเรื่องการค้าชายแดน มีการจัดการจัดสรรงบประมาณการศึกษานำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีการปรับหลักสูตรที่ยึดหยุ่น เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดการการศึกษา สังคมในอนาคตมีการให้ความเห็นต่อการจัดสรรงบประมาณ ให้เห็นประสิทธิผลการใช้งบประมาณ ซึ่งต้องอาศัยงานวิจัย


        ทั้ง ๓ ด้านดังกล่าว จะตอบสนองแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโลก มี ๕ เรื่อง


๑. การมีงานทำ การแข่งขันทางการค้า ปัญหาทางสังคม โจทย์ใหม่การศึกษา

๒. ทักษะชีวิต เพื่อป้องกันปัญหาสังคม แม่วัยรุ่น การจัดการศึกษาในวัยทำงาน

๓. รัฐเป็นผู้ซื้อบริการทางการศึกษา เพื่อตอบโจทย์พื้นที่ ดึงทุกภาคส่วนมาวางแผนการจัดการศึกษาในพื้นที่ มี เอกชนมาร่วมจัดการศึกษา ท้องถิ่นประชาสังคมมีบทบาทการจัดการศึกษา

๔. ความหลากหลายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวัดผล ทางเลือกใหม่ ที่มีความหลากหลาย แตกต่าง โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เต็มที่

๕. เป้าหมายการศึกษา คือการสร้างองค์รวมของชีวิต ครูเป็นปัจจัยสำคัญ นิยามของครู เป็นครูสอนชีวิต แทนที่จัดสอนวิชาการ ครูมีบทบาทเป็นนักจัดการการเรียนรู้ จึงต้องมีการพัฒนาครูอย่างจริงจัง เพื่อให้ครูทำหน้าที่เป็น coaching


          กระบวนการเรียนรู้ใหม่ เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนใฝ่รู้ จึงต้องมีการวัดผลการเรียนรู้ใหม่ แทนที่จะวัดความรู้เท่านั้น การพัฒนาเด็กมิใช่อยู่ที่โรงเรียนเท่านั้น ผู้ปกครองมีส่วนร่วมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก กระบวนการพัฒนาเด็กต้องเกิดรอบๆ สถานศึกษาด้วย

          การใช้สารสนเทศพัฒนาครู เป็นการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์ มีการจัดการความรู้โดยใช้ IT , FB ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

          โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พัฒนาการศึกษาเพื่อชีวิต ด้วยกระบวนการบริหารจัดการใหม่



ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคุรุสภา

การปฏิรูปการศึกษา


๑. เพื่อให้ผู้เรียน มี critical analysis, imagination, innovation, communication, leadership, entrepreneurship จากการสอนแบบเดิมให้เด็กจำ มาสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ได้ ให้ผู้เรียนหาความรู้เอง สรุปเองได้ ว่าอะไรมีประโยชน์ วิเคราะห์สู่การประยุกต์ใช้

๒. สถาบันฝึกหัดครู ต้องเปลี่ยนแปลง



รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร อดีตประธาน คณบดีคณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ แห่งประเทศไทย


          การปฏิรูปการศึกษาคือปฏิรูปห้องเรียน ด้วยการปฏิรูปครู คณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ จะจัดให้มีสถาบันนำร่อง พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรการผลิตครู ให้มีห้องเรียนละ ๓๐ คน เปลี่ยนวิธีพัฒนาครู เป็น work based learning ทำงานเป็น area based โดย สพฐ. ให้คณะครุศาสตร์ รับบทบาทในการพัฒนาครูประจำการ เป็น team learning

หมายเลขบันทึก: 579020เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท