โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (ช่วงที 2 วันที่ 16-19 ตุลาคม 2557)


สวัสดีครับลูกศิษย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ชาว Blog

โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2  ได้เข้ามาสู่ช่วงที 2 แล้วระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2557 

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศ

ช่วงเช้า

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม 2557

วิชาที่ 9

Learning Forum & Game Simulations

หัวข้อ “LEADERSHIP & TEAMWORK”

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

นักวิจัยอาวุโส สวทช.

ช่วงบ่าย

วิชาที่ 10

Panel Discussion& Workshop หัวข้อ “คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า”

โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา

อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและอาจารย์วปอ.

นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล

นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้

กรรมการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.ปิยะ กิจถาวร

รองเลขาธิการ ศอ.บต.

ภาพบรรยากาศ

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2557

วิชาที่ 11

Panel Discussion& Workshop

หัวข้อ “วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ มอ.”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านลอจิสติกส

และอาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการลอจิสติกส์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

วิชาที่ 12

Learning Forum& Workshop

หัวข้อ “Key words of success: Leadership – Mindset – Thinking outside the box

– Thinking new box.”

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

หมายเลขบันทึก: 578880เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2014 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2014 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (101)

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ

เรื่อง Abundance (Group Assignment 1)

16 ตุลาคม 2557

กลุ่มที่ 1

Energy Poverty

การขาดแคลนพลังงาน ทำให้สูญเสียโอกาส

การศึกษา: ไม่มีแสงอ่านหนังสือ

สุขภาพ: วัคซีน เก็บในตู้เย็น, เชื้อเพลิงดั้งเดิมที่ไม่สะอาด

เศรษฐกิจ: การค้าขายหยุดชะงัก

การต่อสู้กับปัญหา (ปัญหานี้เกิดใน Africa) และการมองเห็นโอกาส

พลังงานทดแทน: แสงแดด ลม ความร้อนภายในโลก พลังน้ำ

นายทุน เข้ามาพัฒนา

A Bright Future.

พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแห่งอนาคตที่สดใส

กำลังอยู่ในช่วงขยายตัว 50% ต่อปี

ต้นทุนการผลิตที่ลดลง 3.2 US$/watt  1.3 US$/watt

นโยบายของ USA ในขณะนี้

Plan: 2020 เหลือ 1 US$/watt

พลังงานลม: บราซิล เม็กซิโก สวีเดน และสหรัฐอเมริกา

2011: 68 US$/Mwatt

แนวโน้มการติดตั้งกังหันลมเพิ่มขึ้น

พลังงานแสง+ลม

คิดเป็น 40% ของพลังงานที่ใช้ในอเมริกา (60% ที่เหลือเป็นพลังงานจากน้ำมัน และก๊าซ)

ธุรกิจน้ำมันคงไม่ยอมเสียผลประโยชน์ง่ายๆ

Synthetic Life to the Rescue.

การพยายามหาแหล่งพลังงานทดแทน น้ำมันดิบ

จากสิ่งมีชีวิต

Biofuels จากสาหร่ายทะเล

พลังงานจากการสังเคราะห์แสง

จากสิ่งไม่มีชีวิต

Solar cell, แผ่นดูดซึมพลังงาน

การวิจัยและพัฒนา โดยบริษัท: Exonn, Chevron, P&G, Shell, Boeing

Perfect Power

การกระจายพลังงาน

นวัตกรรมใหม่: Enernet

การจัดเก็บพลังงานในโครงข่าย

Internet เก็บและส่งต่อข้อมูล

Enernet เก็บและส่งต่อพลังงาน, ใช้ IP address ควบคุมพลังงานได้เฉพาะจุด

สรุป Energy

การมองเห็นปัญหา

การมองเห็นทรัพยากรในมือ (8K + 5K)

การแก้ปัญหา และการสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการ (3V)

ผู้มีส่วนได้เสีย

แหล่งทุน

เรื่องการศึกษา

The Hole in-the-Wall

ศึกษาพฤติกรรมของเด็กในแหล่งเสื่อมโทรม

เจาะรูที่กำแพง แล้วใส่คอมพิวเตอร์เข้าไป แล้วเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

เด็กสนใจที่จะเรียนรู้ชวนเพื่อนมาเรียนรู้ด้วย

เรียนเป็นกลุ่ม ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่า เรียนเดี่ยว

“Self-organized learning environment”

คิดค้นรูปแบบการเรียนใหม่ ผ่านทาง Skype ในพื้นที่ๆไม่สามารถเข้าถึงได้

Another brick in the wall.

Wall = กำแพงการศึกษา

การเรียนแบบเก่า: ท่องจำ และทำข้อสอบ

การเรียนใน 21th century: อนุบาล ถึงมหาวิทยาลัย

Creativity, Collaboration, Critical thinking & Problem solving

Reading, Writing, Arithmetics

James Gee Meets Pajama Sam.

James Gee เดิมเป็นนักภาษาศาสตร์ ได้ลองเล่นวิดิโอเกม Pajama Sam

พบว่าเกมนี้ดึงดูดความสนใจลูกชายของเขามาก

ค้นพบข้อดีของเกมในแง่ทักษะคือ การได้ฝึกภาษา

ลบความเชื่อเก่าๆเช่น เล่นเกมแล้วเสียเวลา

ดังนั้นจะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อ จะเปลี่ยนไปเป็นการเรียนที่ดึงดูดใจเหมือนกับการเล่นเกมได้อย่างไร

เปลี่ยนจากเกรด A to D, เป็น Exp level 0 to 12 จูงใจมากกว่า ผู้เรียนรู้ระดับของตนเอง

นวัตกรรม Game-based learning

This Time it’s Personal.

  • แต่ละคน จะมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
  • การเรียนแบบใหม่ที่สัมฤทธิ์ผล เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น
  • Tablet, Smart Phone ช่วยให้สามารถเรียนด้วยตนเองได้
  • การเปลี่ยนวิธีวัดผล, การ feedback
  • AI tutor (Instruction machine based-artificial intelligence)
  • การศึกษาที่ดี จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น
  • อายุยืนกว่า, โรคอ้วน โรคเบาหวานต่ำกว่า
  • สรุป – Education

    การคิดริเริ่มนวัตกรรมใหม่ ไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบเดิม (3V)

    การรู้จักอดทนรอคอยผลลัพธ์

    มีความเชื่อมั่นว่าทำได้

    นำแนวคิดมาประยุกต์กับการพัฒนาคณะฯ

    พลังงาน

    ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

    เปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์

    การเรียนการสอน

    Youtube

    ศ.ดร.จีระ: ขอชมเชย และต้องนำมาโยงกับงานของคณะแพทย์ มีบทของเรื่องสาธารณสุข ในอนาคตเรื่องการศึกษา พลังงาน สาธารณสุข ขึ้นอยู่กับการคิดนอกกรอบ ประเด็นแรก ให้เห็นว่า abundance มาจากสมองของมนุษย์ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม หากจะเชื่อมเข้า 3 V ก็นำมาแก้ปัญหาได้

    ห้องนี้ต้อง Do what you know สิ่งเหล่านี้ต้องร่วมมือกันให้ทำให้สำเร็จ

    กลุ่ม 2

    Chapter 1

    The lesson of aluminum

    The limits to growth

    The possibility of abundance

    Chapter 2

    The trouble with definitions

    A practical definition

    The base of pyramid

    The upside of water

    The pursuit of catallaxy

    Reading, writing and ready

    Turning on the data tap

    The peak of the pyramid

    Freedom

    The bigger challenge

    บทที่ 1

    เนื้อหาในหนังสือ

    The lesson of aluminum

    การมีเทคโนโลยีสามารถช่วยทำให้เกิดทรัพยากรที่มีประโยชน์มากขึ้นได้ เช่น อะลูมิเนียม น้ำมัน พลังงานแสงอาทิตย์ หรือการสกัดน้ำจากน้ำทะเล ดังนั้นปัญหาของเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องความขาดแคลน แต่เป็นคำถามว่าทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงทรัพยากร

    สิ่งที่เรียนรู้ต่อคณะแพทยศาสตร์

    ต้องมีรณรงค์ให้บุคลากรในคณะฯ คิดและหาวิธีการหรือสร้างเทคโนโลยีในการพัฒนาทรัพยากรที่มีให้เกิดมีประโยชน์

    The limits to growth

    ตามทฤษฎีการขาดแคลน การเพิ่มประชากรโลกสูงกว่าอาหารที่มี แต่แนวคิดการลดจำนวนประชากร ยกตัวอย่าง นโยบายลูกคนเดียวของจีน ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ดังนั้นถ้ามีอาหารจำกัด เราจะกินอาหารเท่าที่มีทีละน้อยๆ หรือคิดวิธีการหาอาหารมาเพิ่มเติมให้เพียงพอ

    สิ่งที่เรียนรู้ต่อคณะแพทยศาสตร์

    การวิเคราะห์สถานการณ์ของคณะฯ และควรมีแนวทางปฏิบัติในทางสายกลาง

    The possibility of abundance

    ในปัจจุบันมีเทคโนโลยี เช่น internet, wifi, mobile àติดต่อกันกว้างขวาง พลังในการทำงานมี 3 ประการคือ การลงมือทำด้วยตนเอง มีทุนทรัพย์ที่เพียงพอ และมีเครือข่ายของการสื่อสาร

    สิ่งที่เรียนรู้ต่อคณะแพทยศาสตร์

    คณะฯ มีสามองค์ประกอบนี้ มีความเป็นไปได้ในการสร้างความอุดมสมบูรณ์

    บทที่ 2

    เนื้อหาในหนังสือ

    The trouble with definitions

    Poverty มีสองความหมาย คือ Absolute poverty และ Relative poverty ถึงแม้ว่ามีเงินมากมาย แต่ไม่สามารถซื้อสิ่งที่ต้องการได้น่าจะมีปัญหามากกว่าความยากจน ตัวอย่างคนยากจนตาม absolute povertyในอเมริกา มีความเป็นอยู่ที่ดีด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ

    A practical definition

    ความอุดมสมบูรณ์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การที่ทุกๆ คนอยู่กันแบบหรูหรา แต่เป็นการให้มองเห็นถึงความเป็นไปได้ของชีวิต มีความฝันและลงมือทำ ถึงแม้จะเลือนลางแต่ก็ควรจะเริ่มต้น

    สิ่งที่เรียนรู้ต่อคณะแพทยศาสตร์

    ควรสร้าง Mindset เรื่องทำวันนี้ให้ดีที่สุด อยู่อย่างเหมาะสม ไม่มีการเปรียบเทียบกับคนอื่นหรือที่อื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องรายได้หรือเงินทอง ควรได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างเหมาะสม โดยเน้นสวัสดิการและการมีความสุขในการทำงาน

    ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์

    ของ Maslow มี 5 ขั้น

    • -Physical needs
    • -Safety needs
    • -Love and belonging needs
    • -Esteem
    • -Self actualization

    และผู้แต่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

    • -Basic needsน้ำมีความสำคัญทั้งการบริโภคและอุปโภค ที่อยู่อาศัย การถ่ายเทอากาศ และแสงสว่างที่พอเพียงจำเป็นต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
    • การได้อาหารและน้ำดื่มใช้ที่สะอาดทำให้ประชากรมีอัตราตายน้อยลงส่งผลให้ประชาชนสุขภาพดีและอายุยืนขึ้น
    • -Catalysts
    • พลังงาน การศึกษา ข้อมูลและการสื่อสารที่ทั่วถึง à ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและการแลกเปลี่ยน
    • การใช้พลังงานอย่างถูกต้องจะก่อประโยชน์ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะก่อผลเสียได้
    • การศึกษาเป็นการวางรากฐานของการพัฒนาตนเอง ความรักในการทำงานเป็นพลังของการทำงาน
    • ประโยชน์ของการใช้มือถือในการสื่อสารสร้างรายได้ และขยายตัวอย่างรวดเร็ว
    • -Health Freedom
    • -สุขภาพและระบบสาธารณสุขที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญ การพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถทำให้การตรวจวินิจฉัยได้เร็วขึ้นและมีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบซึ่งมีประโยชน์นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี
    • - การสร้างพลังให้บุคคลได้แสดงออกเป็นการเปิดสิทธิของสาธารณชน แต่สิ่งกดดันต่อผู้นำ เสรีภาพของข้อมูลและข่าวสารด้านเทคโนโลยีมีอำนาจอย่างมากในการเปลี่ยนแปลง
    • คณะแพทย์ ควรเข้าใจสุขภาพของบุคลากรและประชาชน: ห้องปฏิบัติการมีมาตรฐาน รักษามีคุณภาพ และมีระบบเทคโนโลยีเก็บข้อมูลสุขภาพอย่างเป็นระบบ
    • มีเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร เช่น กระดานข่าวและสื่อสารโดยตรงถึงผู้บริหาร โดยมีเสรีภาพในการคิดและการกระทำ แต่อยู่ภายใต้แนวทางที่ยอมรับของคณะฯ

    ศ.ดร.จีระ: เปิดประเด็นบทที่ 1 และ 2 ได้ดี หนังสือเล่มนี้ต้องคิดว่าจะจัดการกับโลกอย่างไร บทที่ Health and freedom เรื่องปีระมิดเป็นแนวคิดที่ดีมาก

    เรื่อง Freedom คือ ค่านิยมหรือคุณค่าที่สำคัญมาก ส่งผลให้ Productivity ดีขึ้น

    กลุ่มที่ 3

    Seeing The Forest Through The Trees

    1.Daniel Kahneman

    “Illusion of validity”

    สิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็น คนเรามีแนวโน้มว่าความคิดของเราเป็นความจริง ต้องรู้เขารู้เรา ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

    2.Cognitive Bias

    -Confirmation bias

    -Negativity bias

    *bandwagon effect*

    ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้แข่งขันระดับนานาชาติได้

    3.If It Bleeds, It Leads

    -Survival instinct : “Fight or Flight”

    -ธรรมชาติมนุษย์ ระแวดระวังตัว

    -ยุคปัจจุบัน “เป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร”

    -ภัยในโลกปัจจุบัน เป็น Probabilistic danger

    -มนุษย์มีแนวโน้มเชื่อข่าวไม่ดีมากกว่าข่าวดี เชื่อข่าวลือ

    -มีการเปลี่ยนแปลงจาก adaptive fear

    mechanism à maladaptive panicked response

    4. It’s No Wonder We’re Exhausted

    -สิ่งแวดล้อมของโลกได้เปลี่ยนแปลงจากlocal linear à global &exponential

    -โลกของข้อมูลข่าวสาร และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยี

    -ธุรกิจหรือองค์กรใดปรับตัวไม่ทัน มีโอกาสล้มได้ชั่วข้ามคืน

    ปรับใช้ คือ ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกให้ทัน

    5. Dunbar’s Number

    -การแข่งขันทางด้านสื่อ

    -การแยกแยะหาความจริงให้พบจึงเป็นสิ่งสำคัญ

    ศ.ดร.จีระ: ประเด็นในวันนี้คือต้องล้มเหลวก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งการอ่านหนังสือและวิเคราะห์เป็นเรื่องที่ดี การอ่านไม่ใช่ให้ท่องจำและลอก ต้องวิเคราะห์ให้เป็น

    การปรับใช้ คือ ต้องค้นหาความเป็นจริง และมีการพัฒนาที่แท้จริง ใช้ดุลพินิจในการพัฒนาต่อไป

    บทที่ 4 It’s not as bad as you think …

    1.This moaning Pessimism

    การเข้าใจระบบ

    การมองโลกในแง่ดี

    2.Saved Time and Saved Lives การพัฒนาเรื่องต่างๆจนถึงยุคปัจจุบัน

    คณะแพทย์จึงต้องนำเรื่อง 8K 5K มาใช้เพื่อให้เกิด 3V

    3.Cumulative Progress ใช้ระบบ KM

    4, The Best Stats You‘ve Ever Seenการบริหารจัดการข้อมูล

    คณะแพทยศาสตร์สงขลานครินทร์

    1.This moaning Pessimism เช่นการพัฒนาระบบ IT ของโรงพยาบาล

    2.Saved Time and Saved Lives เช่นการขนส่งในการลำเลียงผู้ป่วยในเหตุการณ์ความ ไม่สงบ ใน3จังหวัด

    3. Cumulative Progress การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม KM

    4. The Best Stats You‘ve Ever Seen การบริหารโดยใช้ข้อมูล อาจลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำ ของบุคลากรในแต่ละตำแหน่ง

    ศ.ดร.จีระ: หากเรามีแรงบันดาลใจ มีความกล้า ก็ประสบความสำเร็จแน่นอน การนำเสนอดี ขอชื่นชม

    3V เป็น Infinity ในอนาคต หากเราเป็นสังคมการเรียนรู้ ไม่อยู่ใน Comfort zone ไม่ติดกับดักความสบายก็จะอยู่รอด

    กลุ่ม 4 Abundance: Part iii Building the base of the pyramid

    The Tools of Cooperation

    Feeding Nine Billion

    เนื่องจากประเด็นทั้ง 4 ที่สรุปมาได้จากการอ่าน มีความเชื่อมโยงกัน ทั้ง ICT, cooperation, นวัตกรรมและเทคโนโลยี และ ทัศนคติ โดยในแต่ละกรอบจะพูดดังนี้

    - ICT ข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้า ทำให้เราสามารถรับรู้รับทราบข่าวสาร การเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นคนละที่ได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร นัดหมาย ขายสินค้า และอีกมากมายตามมา

    - Cooperation/Networking การสร้างเครือข่าย การสร้างความร่วมมือกัน ปัจจุบันมีมากขึ้น โดยเราไม่จำเป็นที่จะต้องทำเพียงคนเดียวทุกอย่าง เราสามารถแบ่งกันทำเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ และด้วยความก้าวหน้าของ ICT ทำให้การสร้างเครือข่ายหรือการาร่วมมือทำงานเกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น

    - Technology/Innovation จากการร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น การร่วมมือข้ามระหว่างสาขา/ศาสตร์ ทำให้เรามีการสร้างนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆได้มากยิ่งขึ้นและตอบความต้องการของลูกค้าหรือตลาดได้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างผลผลิตเพื่อการบริโภคของมนุษย์ เรามีเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม ทำให้เรามีพืชที่ทนแล้ง ทนแมลง ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง เรามีนวัตกรรมการปลูกพืชแนวตั้ง (vertical farmimg) จากแนวคิดร่วมกันของนักเรียนในclass ของ Despommier หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือ agroecology เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแก้ปัญหาข้อจำกัดบางเรื่องที่เรามีอยู่ หากเราเปลี่ยนมุมคิดและใช้เทคโนโลยี

    -Mindset บางข้อจำกัดหากเราได้ลองเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติเราจะสามารถจัดการกับเรื่องเหล่านั้นได้ เช่น ทำไมเราต้องปลูกพืชบนดิน ปลูกในน้ำ ในอากาศได้ไหม

    ซึ่งหากเราสามารถนำทั้ง 4 ประเด็นมาปรับใช้ได้ก็จะสามารถทำให้เกิดการพลังแห่งการพัฒนาและเกิดการยั่งยืนของสิ่งที่เราพัฒนานั้น จึงเปรียบเทียบประเด็นทั้ง 4 เหมือนคันธนูที่จะช่วยให้เรายิงลูกธนูไปยังเป้าได้อย่างแม่นยำ

    บทที่ 5 บทที่ 18 และ 19

    Risk and failure

    1.The evolution of a great idea

    Mar Mission with “faster, better and cheaper” than previous project

    - Impossible mission: need breakthrough ideas but People will resist breakthrough ideas

    -Do not give up หากมีความมุ่งมั่นและไม่ยอมแพ้ ก็จะประสบความสำเร็จ

    -Prove it that you can make it

    - Revolutionary ideas come from nonsense idea

    2.The upside of Failure

    Huge engine of innovation

    When it comes to risk

    Mild-sets of 2 people types

    Type 1: Riskphobic player: failure is shameful กลัวทุกอย่างว่าจะทำไม่สำเร็จ

    Type 2: Riskphilic player Entrepreneurs: failure is not bad, facing the fears

    -right attitude: you will never be able to achieve big-time success without risking big-time failure กลัวว่าจะเสียโอกาส

    • Born Above the Line of Supercredibility
    • –If your goal is to reshape the world, then the world learn about your plan
    • Think different
    • –mild set: nothing is impossible ไม่มีสิ่งไหนที่จะเป็นไปไม่ได้
    • –Drive the innovation ก็จะขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งใหม่ๆ
    • Getting comfortable with failure
    • it is only a failure if we dual to get the learning.

    หากจะก้าวไปข้างหน้าจะทำอะไรต่อ

  • The Adjacent Possible
  • –meets the road to abundance and produces some spectacular leverage วิวัฒนาของการเดินทาง

  • The Pursuit of Happiness เงินสามารถบันดาลความสุขได้หรือไม่
  • สุขภาพหาซื้อไม่ได้ ถ้าอยากได้ต้องสร้างเอง
  • ทางคณะแพทย์มองว่าถ้าเราปรับทัศนคติว่าอย่ากลัวกับความล้มเหลว แต่ต้องนำความล้มเหลวนั้นมาต่อยอด ที่ไหนมีวิสัยทัศน์ ที่นั่นก็จะเจริญรุ่งเรือง
  • ศ.ดร.จีระ: หนังสือเล่มนี้ทุกคนควรจะมีไว้ ซึ่งจะกระตุ้นให้เรามองไปที่อนาคตทางการแพทย์อย่างมีหวัง

    สร้างค่านิยมที่ปกป้องความล้มเหลวด้วย

    สรุป

    Abundance คือความสมบูรณ์ ซึ่งอยู่ที่การเรียนรู้ เรียนรู้จากความเจ็บปวด ประสบการณ์ และการฟัง อีกทั้งยังนำปัญหามา How to learn เพื่อให้เกิด 3V สร้างมูลค่าจากความหลากหลาย วันนี้มีการแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม ทุกกลุ่มดี ความหลากหลายสำคัญมาก

    หากเราพูดบ่อยๆก็จะเกิดผล

    ปัจจุบันอยู่ใน Service society หากไม่มีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ก็อยู่ไม่รอด

    ความคิดสร้างสรรค์ไม่มีที่สอน แต่ต้องมีการปลูกฝังให้สามารถหามูลค่าเพิ่ม

    การไปสู่ 3 v ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น  

    Learning Forum & Game Simulations

    หัวข้อ “LEADERSHIP & TEAMWORK”

    โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

    16 ตุลาคม 2557

    กิจกรรมที่ 1: ให้จับคู่ โดยเอาคำในกระดาษมาเป็นตัวแปรในการจับคู่

    โลกความเป็นจริง: ตอนแรกหาคู่ไม่ได้ เพราะอุปสรรค คือกรอบความคิด หากเราคิดว่าทำไม่ได้ ก็ไม่มีทางออก การที่จะเป็นผู้นำที่เก่ง ต้องเชื่อมั่นว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้

    ต้องเน้นคำว่าเราทำได้

    อุปสรรคที่สกัดกั้นความสามารถคือตัวเราเอง มันคือ Mindset ซึ่งจะตกทอดจากบรรพบุรุษ เช่น คนกลัวผี มักจะถูกบอกเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่

    เมื่อต้องทำงานเป็นทีม จะต้องทำอย่างไร

    • -ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ กาลเทศะ และเวลา ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา ต้องรู้จักจัดวาง
    • -คนในองค์กร ที่มีนิสัยมุทะลุ ดีหรือไม่ คำตอบคือ ดี แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะเอาไปใช้เมื่อไหร่

    ผู้บริหารต้องเข้าใจกฎธรรมชาติเหล่านี้ ต้องมี Mindset ที่วางถูกกับทุกเรื่อง

    หากมองทุกอย่างเป็นโอกาส มองด้านบวก ก็ทำให้ทำงานง่ายขึ้น

    ในโลกนี้ต้องเข้าใจว่ามีของดีในของไม่ดี และมีของไม่ดีในของดี ของทุกอย่างมี 2 ด้าน ต้องหัดมองให้เป็นสิ่งที่ดีและนำเอาไปใช้

    อะไรทำให้มนุษย์ต่างกัน

    • -ประสบการณ์
    • -สิ่งแวดล้อม
    • -การเรียนรู้

    ทำให้พันธุกรรมที่อยู่ในคนแสดงออกมา

    หากเราเปลี่ยน Mindset ได้ สิ่งที่ต้องมีคือ กระบวนการคิด

    • -การเพาะใจ
    • -การคิดเป็นเหตุเป็นผล ต้องฝึกทำบ่อยๆ
    • -การเพาะกาย
    • -การเพาะวัฒนธรรม
    • แต่ปัญหาเรื่องการทำงานเป็นทีม คือ ทำงานกับคนเก่า แต่เมื่อเราขึ้นเป็นผู้บริหารองค์กร ก็ต้องพาทีมไป และทำงานให้เกิดประสิทธิผล

    (ทฤษฎีปลาทอง)

    • -ถ้าปลาทองรู้ว่าโหลรั่ว แต่ก็ยังอยู่ที่เดิม
    • -กลุ่มที่ 2 รุ้ว่าโหลรั่ว อยากหาทางออกโดดออกไป แต่ไม่รู้ว่าโหลอยู่ไหน
    • -กลุ่มที่ 3 รู้ว่าโหลรั่ว รั่ว รู้ว่าโหลอยู่ไหน แต่กระโดดไม่เป็น
    • -กลุ่มที่ 4 รู้ว่าโหลรั่ว รู้ว่าโหลอยู่ไหน และกระโดดเป็น ฟิตเนสปลาทอง

    จุดสำคัญที่ไปสู่เป้าหมาย

    • -การเห็นคุณค่าของการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ
    • -เกิดจินตนาการ
    • -เกิด Capability
    • -เกิด Endurance
    • -และไปสู่เป้าหมาย

    คุณค่าที่ปรากฏ

    จงเขียนความสามารถ ความเก่ง ความเชียวชาญ พรสวรรค์ ความชำนาญของตนเอง

    ให้เพื่อนเขียนความสามารถ ความเก่ง ความเชียวชาญ พรสวรรค์ ความชำนาญของคุณด้วยความปรารถนาดี

    ถ้าสิ่งที่เราเขียนตรงกับสิ่งที่เพื่อนเขียน แสดงว่าสิ่งนั้นเป็นตัวตนเราจริงๆ แต่หากไม่เหมือนกันก็เป็นสิ่งที่คิดไปเอง และหากเพื่อนเขียนแต่เราไม่ได้เขียนแสดงว่าเราคิดไปเอง

    4Q’s

    Intelligence Quotient

    Emotional Quotient

    Moral Quotient

    Survival Quotient

    บุคลิกภาพของคน

    C นักทฤษฎี : ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการมีหลักการ ยึดติดกับรายละเอียด ไม่ชอบเสี่ยง

    D นักผจญภัย

    กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ

    S นักปฏิบัติ

    สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง

    I นักกิจกรรม

    ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนใจเรื่องเวลา

    ผู้นำเป็นได้ทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

    ปัญหาของผู้นำ ลูกน้อง คือ

    • -หลักการหัวใจ 2 ดวง ต้องหาหัวใจดวงที่ 3 คือหัวใจยุติธรรม ต้องเข้าใจธรรมชาติของตัวลูกน้อง สามารถแสดงออก ปรับพฤติกรรมที่ดี หากเราอยากได้อะไรก้ต้องทำสิ่งนั้นให้เหมือนที่เราอยากจะได้
    • -แต่หากทำใจไม่ได้ ยอมรับไม่ได้ ต้องปรับตัวโดยอาศัยตัวช่วย โดยอาศัยคนข้างๆเช่น D กับ I คุยกันไม่ได้ ก็ต้องให้คนตัว C มาคุยเป็นสื่อกลางให้
    • -หลักศาสนาพุทธ คือ ทำให้หัวใจเป็นที่ว่าง หากทำได้แล้วก็จะไม่มีปัญหา

    ลักษณะบุคลิกของผู้นำ

    • -มีความปรารถนาดีงาม
    • -ตื่นตัว
    • -มีแรงจูงใจ
    • -ความชัดเจนในความคิด
    • -คิดเชิงบวก
    • -มีวินัย
    • -มีความสุขกับชีวิต
    • -ความสามารถในการสื่อสาร
    • -มุ่งมั่น
    • -ช่างเรียนรู้
    • -เป้าหมายชัดเจน
    • -ละเอียด
    • -ตื่นตัว
    • -เป็นผู้ให้
    • -มนุษยสัมพันธ์ เข้าใจผู้อื่น
    • -ความจำดี
    • -ยอมรับในความแตกต่าง

    การเปลี่ยนแปลง ต้องเริ่มจากสิ่งเล็กๆ เมื่อเปลี่ยนได้ต้องมีการชื่นชมและทำของใหญ่ขึ้น

    เรื่องอดีตและอนาคตไม่สำคัญ เท่าปัจจุบัน อดีตที่ไม่ดีก็ทิ้ง แต่ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ทำได้ดีที่สุด อนาคตก็จะดี และไปลบอดีตได้

    การตัดสินใจที่ดีต้องให้ 4Q’s ทำงาน

    Thinking Intelligence Quotient (IQ)

    Feeling Emotional Quotient (EQ)

    Sensing Moral Quotient (MQ)

    Intuition Survival Quotient (SQ)

    เมื่อเป็นผู้บริหารต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา อย่าซื้อเวลา แต่ให้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้ใช้เหตุและผล เมื่อมีปัญหา ต้องคิดเสมอว่า

    ทุกปัญหามีทางออก

    ต้องเริ่มจากการหาข้อมูล

    พิจารณาโอกาสของข้อมูล มองบวกก่อน อันไหนมีน้ำหนักสูง

    มีลบหรือไม่ และต้องคำนึงว่ามีข้อจำกัดอะไรซ่อนอยู่ และหาตัวบวกนั้นใหม่ให้ได้

    กิจกรรม

    เป้าหมายที่อยากทำแต่ยังไม่ได้ทำ

    • -หาทางเลือกที่เป็นบวก และตัดสินใจเดินตามทางเลือกที่ดีที่สุด
    • -ดูว่าตัวสกัดกั้นไม่ให้เดินตามเป้า คืออะไร
    • -และจะกำจัดตัวสกัดกั้นนั้นได้อย่างไร

    เมื่อมีความสุข ก็มีความเบิกบานเกิดขึ้น

    สิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น เกิดจากที่ว่าง โอกาสมาจากที่ว่าง ต้องมีความคิดใหม่ๆที่คนอื่นไม่ได้คิด ต้องทำวิจัยที่ไม่เหมือนกับคนอื่น

    สิ่งสำคัญที่ต้องแบ่งปันคือ คำขอโทษ และการให้อภัย เป็นเครื่องมือที่ทำให้ Teamwork ทำงานดีมาก

    การที่มี่คณะนี้อยากขอบคุณอะไร

    • -ขอบคุณที่ให้มีงานทำ
    • -เกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน
    • -ให้เพื่อนร่วมงาน
    • วิธีการดูแล คือ ตั้งใจทำงาน ช่วยเหลือให้คณะก้าวหน้า
    • สิ่งสำคัญเวลาเคลื่อนไปข้างหน้า คือ ต้องมีพลังของกายและใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างทีม
    • ถ้ามีใจที่มั่งคง แนบแน่น ใจเป็นนาย
    • การสร้างทีม
    • ต้องคำนึงถึงความยุติธรรม ซึ่งอยู่ที่ความพึงพอใจ
    • เป็นผู้ให้ที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคน มีกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างโปร่งใสยุติธรรม
    • หัวหน้า ต้องทำให้ตัวเล็กๆเพื่อให้ลูกน้องอยู่ในวงจรได้
    • การสื่อสาร เป็นสิ่งจำเป็นในการพูดคุยกันอย่างมีปิยวาจา
    • เมื่อมีความดีหายไป ความชั่วร้ายก็จะเข้ามาแทนที่
    • ความสำเร็จของทีม การเลือกเครื่องมือ คือ นาฬิกา และเข็มทิศ
    • นาฬิกา- ประสิทธิภาพ ตารางเวลา สิ่งเร่งด่วน
    • เข็มทิศ ประสิทธิผล สัมพันธภาพ สิ่งสำคัญ
    • นิพพาน คือ การทำจิตนิ่ง เจอความว่างอยู่ภายใน
    • สิ่งสำคัญ คือต้องสภาพแวดล้อม หามุมดีๆมาชนกัน ใช้การสื่อสาร มี MISSION, VALUE &STRATEGY การคิดต่างทำให้เกิด Value creation
    • การคิดอย่างเป็นกลยุทธ์
    • 1.เป้าหมาย
    • 2, หาจุดยืน
    • 3, วิเคราะห์
    • 4. แรงช่วย
    • 5. วางแผน
    • 6. ปฏิบัติ เราควรปรับปรุงและพัฒนาอะไร
    • ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
    • 1. ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง เพราะบนโลกนี้ไม่เที่ยง
    • 2. ใครได้รับประโยชน์ จากการเปลี่ยนแปลง
    • 3. ทำอย่างไร
    • 4. ผลที่ได้รับคืออะไร
    • หลักการทำงานที่จะประสบความสำเร็จ คือ ต้องวางแผนการทำงาน เหมือนทำแพลนสร้างตึกสูง
    • เมื่อเรารู้ว่าโลกนี้ไม่เที่ยง การเปลี่ยนแปลงเลยเป็นสิ่งที่จำเป็น
    • การทำงานเป็นทีม การสื่อสารและสร้างความเข้าใจเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่าให้คนในองค์กรคิดไปเอง ใช้วิจารณญาณในการเปลี่ยนแปลง

    สรุปการบรรยายหัวข้อ

    “คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ

    ในมุมมองของข้าพเจ้า

    โดย

    พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา

    อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและอาจารย์วปอ.

    นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล

    นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้

    กรรมการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ผศ.ปิยะ กิจถาวร

    รองเลขาธิการ ศอ.บต.

    16 ตุลาคม 2557

    ศ.ดร.จีระ: ท่านบัญญัติไปพูดในสภามหาวิทยาลัย ได้พูดเรื่องที่มาบรรยายในรุ่นที่ 1 วันนี้จะเป็นผู้อภิปราย ซึ่งจะกระเด้งไปสู่การแก้ปัญหา

    3 จังหวัดภาคใต้เป็นดินแดนที่เป็นปัญหาอยู่ กลายเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้ง ท่านคณบดีกล่าวว่า 3 จังหวัดภาคใต้ไว้ใจคนที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์มาก

    บ่ายวันนี้จะมีการทำ Workshop เพื่อให้ความคิดตกผลึก และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม

    สิ่งที่ชื่นชมคณะแพทย์ เพราะดูแลคนเจ็บ และเป็นที่ยอมรับของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    พล.ท.สุรพล: ขอเน้นในเรื่องศาสนาอิสลามในแง่การมีผลกระทบต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่มากขึ้น ประเด็นการบรรยาย คือ

    ความมั่นคงของชาติ ( National Security )และมุมมองที่แตกต่างกันของสังคม

    ปัญหาความมั่นคงในภาคใต้ตอนล่าง

    บทบาทของแพทย์ในวิกฤติการณ์?

    ความมั่นคงแห่งชาติ ขอเลือกของคุณ Buzan ที่ให้ความหมายว่า

    • -freedom from threat
    • -ability of states and societies to maintain.. independent identity & functional integrity

    ความมั่นคง ที่ประเทศแคนาดา ให้คำจำกัดความ คือ

    • -ความมั่นคงของปัจเจกบุคคล
    • -ความมั่นคงของชาติ
    • -ความมั่นคงระหว่างชาติ

    มุมมองเรื่องความมั่นคง อยู่ที่ทัศนคติ

    ความหมายกว้าง ความหมายแคบ
    ความอยู่รอด (survival) ความเจริญ (growth) การพัฒนา(development)

    ความทันสมัย ( modern )

    การรักษา (maintenance) เสถียรภาพ (stability) การรักษาระเบียบ (order)

    ความสมดุล (equilibrium)

    ลัทธิใหญ่

    • -โลกาภิวัตน์
    • -ยึดมั่นในจารีต / ศาสนา
    • -อนาธิปไตย ไม่ยอมรับอำนาจส่วนกลาง มีการปฏิเสธการพัฒนา ทำให้วิถีชีวิตชุมชนเสีย

    ศาสนาอิสลาม

    นบีมุฮัมมัด กล่าวว่าท่านเป็นทูตคนสุดท้าย

    The caliph “…both POPE and emperor.”

    political decisions are (only) worldly, nominal actions การตัดสินใจทางการเมืองเป็นเรื่องทางโลก

    เข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าเมื่อมีอายุ 40 ปี

    มุสลิมไม่ใช่เผยแพร่ศาสนาอย่างเดียว แต่ยังขยายอาณาจักรด้วย

    นบีมุฮัมมัด หลังจากสิ้นแล้ว ได้มีการแต่งตั้งผู้สืบทอด

    ศาสนาอิสลาม เป็นFinalize ไม่มีการปรับเปลี่ยน เป็นทั้งศาสนาและเป็นทั้งระเบียบของสังคม

    ตลอดประวัติของการขยายตัวมีทั้งการต่อสู้ทางการเมือง และมีการปลดปล่อยของผู้นับถือนอกศาสนา

    ปัญหาเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเอกสารระดับปริญญาเอกของนักวิชากามุสลิม

    1. ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

    ISLAM AND MALAY NATIONALISM :

    A CASE STUDY OF THE MALAY – MUSLIMS OF SOUTHERN THAILAND HAVARD UNIVERSITY :1982 (2525)

    2. Dr. MULTHIAH ALAGAPPATHE NATIONAL SECURITY OF DEVELOPING STATES –LESSONS FROM THAILAND TUFTS UNIVERSITY AUBURN HOUSE:1987 (2530)

    3. Dr. W.K.CHE MAN เรื่อง MUSLIM SEPARATISM : THE MOROS OF SOUTHERN PHILIPPINES AND THE MALAYS OF SOUTHERN THAILAND AUSTRALIAN NATIONAL UNIVERSITY พิมพ์เผยแพร่ต่อมาโดย OXFORD UNIVERSITY PRESS :1990 (2533)

    ยุทธศาสตร์ของขบวนการฯ

    Means

    1. ความเป็นมาลายู

    2. ศาสนามุสลิมแบบเข้ม

    3. ปัฏฏอนี(รัฐเอกราช)

    Ways

    เรียกร้อง : InternationalAttention
    ปฏิบัติ : Guerrilla Tactics

    Ends : Autonomy of some form.

    RECRUITING MILITANTS IN SOUTHERN THAILAND

    Schools are particularly important as recruiting grounds because they have been the battleground for the clash of cultures and ideologies fuelling the conflict. Many Malay Muslims view state schools as a vehicle to inculcate “Thai-ness”.โรงเรียนของรัฐ จะปลูกฝังความเป็นไทยเข้าไป เขาคิดว่าโรงเรียนไทยจะล้างสมอง

  • By providing substantial funding for private Islamic schools, government policies have inadvertently contributed to the greater separation of Muslim and Buddhist students, which only helps radicalisation efforts.
  • การประนีประนอม เขาคิดว่าไม่มีทาง เพราะเขาไม่มั่นใจพวกนอกศาสนา เขาเห็นว่าพวกอื่นเป็นซาตาo

    “Muslim Elites and Politics in Southern Thailand “ Universiti Sains Malaysia (January 1983) เราอย่าเข้าไปแบบสุ่มสี่สุ่มห้า

    คนมุสลิมส่วนใหญ่จิตใจดี รักสันติ แต่ส่วนใหญ่ให้คนหัวรุนแรงเข้ามาครอบงำ ถึงรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ถูกก็จำยอม เพราะว่าเขาจะไม่ทำร้ายมุสลิมกันเอง

    ชาวไทยพุทธ : ก็ไม่กล้าเข้าไปช่วยเหลือ เพราะไม่แน่ใจในความปลอดภัย

    บทบาทของแพทย์

    ส่วนใหญ่ใช้กีฬา ใช้ฟุตบอล และให้หมอเข้าไป เพราะเขาเชื่อมั่นหมอมาก

    Trust ต้องมีทั้ง 3 องค์ประกอบ ดังนี้

    -clinical need หมอต้องรักษา

    - impartiality

    - without discrimination. ไม่มีการแบ่งแยก

    นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล: ดีใจมากที่ท่านสุรพลได้เล่าถึงสถานการณ์ภาคใต้ ขอให้ทุกท่านอย่ากลัว ความมั่งคงของมทนุษย์ก็จะไม่เกิด

    อยู่ภาคใต้ตั้งแต่ปี 17 เห็นความเปลี่ยนแปลงและการแก้ปัญหาของพรรคคอมมิวนิสต์ของประเทศไทย

    โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา

    เรื่องการก่อการร้ายของกระบวนการแบ่งแยกดินแดง ซึ่งเป็นมาถึงทุกวันนี้

    ภาคใต้มีปัญหา 3 ประเด็น คือ

    โง่ เรื่องการศึกษา ทำให้เข้าไม่ถึงและอยู่ในสังคมปิด

    จน หลายกระทรวง บอกว่าต้องเข้ามาพัฒนาให้มีงานทำ จึงตกอยู่ภายใต้ขบวนการแบ่งแยกดินแดน

    เจ็บ เคยทำงานอยู่ในยูนิเซฟ ไม่มีส้วม เพราะตามหลักศาสนาถ่ายทับถมกันจะบาป มีปัญหาเรื่องสาธารณสุข

    วันนี้ขอพูดถึงเรื่องปัญหาในปัจจุบัน ไม่ควรพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์ เพราะเป็นการตอกย้ำความผิดพลาดของรัฐบาลในอดีต

    เหตุผลของการเผาโรงเรียน เพราะกลัวว่าโรงเรียนไทยจะไปกลืนความเป็นอัตลักษณ์ของเขา

    ในอดีต คนไทยเราเคยทำให้เขาเจ็บปวดมาก่อน

    ทำไมเวลา 10 ปี ยังแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะใช้ความรู้ ความเข้าใจเก่าๆ มาใช้กับสงครามยุคใหม่ สงครามไทย

    ก่อนเกิดเหตุการณ์ 2547 คนกลุ่มหนึ่งเป็นอาสาสมัครของตาลีบัน ไปรบที่อัฟกานิสถานและกลับมาร่วมก่อการร้าย

    ปัจจุบันน่ากลัว แต่ยังมีหวังเพราะเราไม่ได้แก้ปัญหาอย่างจริงจัง ด้วยการเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนนโยบายบ่อย จุดแข็ง 2 จุด คือ การศึกษา และการแพทย์

    กลุ่มบุคลากร ที่สูญเสียน้อยที่สุด คือกลุ่มสาธารณะสุขและแพทย์ แต่ครูสูญเสียมาก เพราะขึ้นอยู่กับการรักษามวลชน และเห็นว่าแพทย์สำคัญที่สุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    เวลาทหารไปแจก บางครั้งประชาชนรับแต่ไม่กระตือรือร้น ทหารไปแจกและกลับไป มีครั้งหนึ่งทหารเอาฟุตบอลมาแจก แต่แนวร่วมบอกชาวบ้านว่าให้กรีดฟุตบอลทิ้ง เพราะมาจากรัฐไทย แต่เมื่อทหารเอายามาแจก แกนนำไม่กล้าบอกให้ประชาชนไม่รับ

    มีรพ.หลายแห่งที่เป็นที่ชื่นชอบของคนในพื้นที่ เพราะได้นำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ และได้รับการรักษาถูกต้องตามหลักศาสนา

    ความรู้สึก คือ ปมลึกของไฟใต้ ยาเสพติด การแบ่งแยกดินแดน

    อะไรที่ไม่ได้รับความยุติธรรม ไม่มีใครตอบได้ เพราะไม่มี แต่ความเชื่อคือ ไม่ได้รับความยุติธรรมจากชาวไทยพุทธ

    เราเอาความรู้เก่าไปสู้กับปัจจุบันไม่ได้ การปลุกระดม ไม่ได้พูดถึงความไม่ยุติธรรมด้านกฎหมาย

    แต่วิธีการแก้ปัญหา คือ แก้ความเท่าเทียมในเรื่องกฎหมาย แต่ปัจจุบันต้องแก้ความไม่เท่าเทียมทางสังคม เพราะตอนนี้ปลุกระดมเรื่องนี้เพื่อสามารถเข่นฆ่าคนนอกศาสนา ซึ่งเป็นสงครามแบบใหม่ที่รัฐต้องรู้เท่าทัน

    จุดแข็งของเราคือเรื่องสาธารณสุข สิ่งที่จะต้องเข้าแก้ปัญหาความไม่สงบคือ ความเจ็บป่วย คือ แพทย์น้อย แต่ต้องทำให้วิกฤติเป็นโอกาสของคนในพื้นที่ อย่างน้อยได้พยาบาล 3,000 คนในพื้นที่ ทำให้ได้ใจของคนส่วนใหญ่

    เขตปกครองพิเศษเป็นเรื่องที่เขาต้องการ ดินแดนยกให้ไม่ได้แต่สามารถสร้างบ้านตามที่ท่านต้องการได้

    ศ.ดร.จีระ: จุดแข็งของประเทศไทยอยู่ที่มอ. ในเรื่องการแพทย์

    ผศ.ปิยะ กิจถาวร: มุ่งเน้นเรื่องปัญหาชายแดนภาคใต้

    รูปเรือบรรทุก น้ำมัน หนักเป็นแสนตัน ทำอย่างไรจึงจะบังคับเรือได้ ตอบ บังคับด้วยหางเสือ

    เมื่อมีปัญหาขนาดเล็ก ให้ปรับปรุงในสิ่งที่เราทำ แต่เมื่อปัญหาใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนความคิดของเรา

    หลัก 7 ประการ

    ของการอยู่ร่วมกัน และการสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

    1) เข้าใจหลักของศาสนาซึ่งกันและกัน และอยู่ในขอบเขตความถูกต้องตามหลักศาสนา

    2) มีการไปมาหาสู่กัน มีการพูดคุย สื่อสารกัน ยิ่งใช้ภาษามลายูท้องถิ่นยิ่งดี

    3) มีคุณธรรม มีจริยธรรม รู้ความต้องการของเขา ของเรา

    4) เมื่อมีความขัดแย้ง จะขอความเห็นใจซึ่งกัน และกัน (ปากะ)

    5) เรื่องสั้นทำให้หาย เรื่องยาวทำให้สั้น ไม่ลำเอียงฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง

    6) ด้านสิทธิและเสรีภาพ น่าจะให้เสมอภาคทั้ง ไทยพุทธ ไทยมุสลิม

    7) ปราบปรามโจร ข้าราชการทุจริต อย่างเด็ดขาด เพื่อสร้างความสงบสุขในพื้นที่

    ทั้ง 7 ข้อนี้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ต้องทำความเข้าใจ

    การดูแล

    • -กลุ่มใหญ่ต้องมีเสียงส่วนใหญ่ในการปกครองดูแล
    • -สูตรของความสำเร็จ = ความสามารถ*ศักยภาพที่จะเรียนรู้*สัดส่วนที่พื้นที่ยอมรับ/ยอมฟัง

    ที่มา: ธาดา ยิบอินซอย , ในการสัมมนาการจัดการความรู้เพื่อสันติสุขสภาวะพื้นที่ภาคใต้ , 7 พฤศจิกายน 2550

    ชายแดนใต้มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มาก แต่ผู้คนยากจน ต้องคิดว่าทำไมถึงจน เพราะประชาชนไม่มีสิทธิ์เข้าไปปริหารจัดการและใช้ประโยชน์ได้จริง

    การศึกษา เป็นเรื่องที่ซับซ้อน เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐไทย และมาเลย์มุสลิม คือ ภาษามลายู และภาษายะวี รัฐจัดการศึกษาสามัญ ผลผลิตของความขัดแย้ง คือ ครูถูกฆ่า โรงเรียนถูกเผา

    ปี 49 มีการคลี่คลายที่ดีมากขึ้น เพราะรัฐไทยตระหนัก ยอมรับ เข้าใจ มากขึ้น เมื่อเขาต้องการสืบทอดมลายูก็ทำไป แต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขต

    ปัญหาการศึกษาส่วนสามัญในปัจจุบัน คือ รัฐไทยจะจัดการศึกษาสามัญในลูกหลานชาวบ้านได้อย่างไร ต้องมีการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

    ยืนยันว่าพลังของมอ. จะเป็นที่พึ่งของประชาชน

    Workshop

    ฟังการอภิปรายวันนี้แล้ว..

    กลุ่ม 1

    1)ที่ผ่านมาโครงการของคณะแพทย์ฯ มอ. ต่อความมั่นคงของประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ อะไร และมีจุดอ่อนอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง

    โครงการผลิตแพทย์เพื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

    จุดอ่อน คือ เงื่อนไขการใช้ทุน 12 ปี

    ปรับปรุง คือ ลดจำนวนปีในการใช้ทุน ให้โควตาเรียนต่อเฉพาะทาง

    2)เสนอโครงการ 2 โครงการใหม่ ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของคณะแพทย์ฯ กับบทบาทต่อการรักษาความมั่นคงและสร้างเครือข่ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    2.1 หลักสูตรโภชนากรระยะสั้น เพื่อส่งเสริมอาหารที่ถูกหลักฮาลาล

    2.2 อบรมหลักสูตรบุคลากรสาธารณสุขระยะสั้น

    กลุ่ม 2

    1)ที่ผ่านมาโครงการของคณะแพทย์ฯ มอ. ต่อความมั่นคงของประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ อะไร และมีจุดอ่อนอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง

    • -คณะแพทย์มีส่วนร่วมให้ทุนโครงการแพทย์ชนบทของทุนมุสลิม ให้โควต้พิเศษ
    • -โครงการอสม. มาเรียนปริญญาตรี ทางด้านสาธารณสุข
    • -โรงพยาบาลมอ.รับผู้ป่วยจากสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ได้ตลอดเวลา
    • -มีศูนย์รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ ศวชต

    จุดอ่อน

    • -ขาดการประชาสัมพันธ์ในองค์กรและบุคคลภายนอก
    • -ขาดการติดตาม

    2)เสนอโครงการ 2 โครงการใหม่ ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของคณะแพทย์ฯ กับบทบาทต่อการรักษาความมั่นคงและสร้างเครือข่ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

  • Project 1: Strengthening referral system in 3 deep south province for violent situation
  • Referral system ---------------------> Better health and satisfaction

  • Project 2: Generating new strategic approach for care of widows who affected by unrest situations in the deep south of Thailand (pattani)
  • People affected by unrest à Care of affected people

    Improving health and heath system for affected people

    กลุ่ม 3

    1)ที่ผ่านมาโครงการของคณะแพทย์ฯ มอ. ต่อความมั่นคงของประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ อะไร และมีจุดอ่อนอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง

    โครงการโควตาผลิตแพทย์เพิ่ม 3 จังหวัดชายแดน

    จุดอ่อน

    นักเรียนมีความรู้น้อย ไม่มีความรู้สายสามัญ ต้องปรับพื้นฐาน

    คณะต้องปรับระบบการศึกษา และเกณฑ์การประเมินใหม่เพื่อให้รองรับโครงการ

    2)เสนอโครงการ 2 โครงการใหม่ ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของคณะแพทย์ฯ กับบทบาทต่อการรักษาความมั่นคงและสร้างเครือข่ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

    โครงการเครือข่ายระบบสาธารณสุขสัญจร โดยมีระบบ Teleconference

    กลุ่ม 4

    1)ที่ผ่านมาโครงการของคณะแพทย์ฯ มอ. ต่อความมั่นคงของประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ อะไร และมีจุดอ่อนอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง
    โครงการที่สำเร็จ

    • -โครงการพัฒนาการดูแลผู้บาดเจ็บรุนแรงจากสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีนโยบายชัดเจนในการส่งต่อผู้ป่วย

    จุดอ่อน

    การสื่อสาร ภาษา ไม่เข้าใจหลักศาสนา

    ปรับปรุง

    คู่มือการสื่อสารเบื้องต้นในการให้บริการผู้ป่วย

    ศึกษาเข้าใจหลักศาสนา

    2)เสนอโครงการ 2 โครงการใหม่ ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของคณะแพทย์ฯ กับบทบาทต่อการรักษาความมั่นคงและสร้างเครือข่ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    โครงการแพทย์ทางไกล Tele med บทบาทต่อการรักษาความมั่นคงและสร้างเครือข่ายใน 3 จังหวัด

    คือให้คำปรึกษาโรคที่ไม่มีแพทย์เชี่ยวชาญ

    โครงการ Web based mentoring system บูรณาการการดุแลเป็นพี่เลี้ยงในโรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนใต้

    กลุ่ม 5

    1)ที่ผ่านมาโครงการของคณะแพทย์ฯ มอ. ต่อความมั่นคงของประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ อะไร และมีจุดอ่อนอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง

    1. Medical students โครงการ 3 จังหวัด

    2. Intern

    3. จุดละหมาด

    4. ผู้ป่วย

    5. อาหารมุสลิม

    2)เสนอโครงการ 2 โครงการใหม่ ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของคณะแพทย์ฯ กับบทบาทต่อการรักษาความมั่นคงและสร้างเครือข่ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    โครงการการสื่อสาร แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย

    โดย

    • -เชิญชมรมมุสลิมเข้าร่วม
    • -เผยแพร่ความแตกต่างวัฒนธรรม
    • -ให้พยาบาลที่นับถือศาสนาอิสลามมีบทบาทในการช่วยประสานงาน

    โครงการครัวฮาลาล

    สิ่งที่ได้เรีียนรู้ในวันนี้

    1. กรอบความคิดของเรา เป็นอุปสรรคในการทำสิ่งใดๆ เราต้องคิดว่าโลกนี้ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ 

    2. mindset เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ

    3. ของทุกอย่างมี 2 ด้าน อยู่ที่เรามอง เราต้องมองในส่วนที่ดีและนำไปใช้

    4. คนแต่ละคน แตกต่างกันที่ ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม ถ้าเจอคนที่แตกต่าง ต้องใช้หลักการ หัวใจ 2 ดวง คือ การเข้าใจธรรมชาติของคนอื่นและทำหัวใจเป็นที่ว่าง(หลักศาสนาพุทธ)

    5. ผู้นำที่ดี ต้องทำตัวให้เป็นสาธารณะ ใจว่าง ลด Ego ยอมรับฟังผู้อื่น

    6. ยุติธรรม ไม่ใช่เท่ากัน แต่อยู่ที่ความพึงพอใจร่วมกัน

    7. ความมั่นคง คือการอยู่รอดอย่างมีคุณภาพ มี 3 มุม คือ บุคคล ชาติและนานาชาติ

    abundance คือความสมบูรณ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ ความเจ็บปวด ประสบการณ์ และการคิดนอกกรอบ ลงมือทำให้เห็นผล    ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมคนเราเปรียบเสมือน เหรียญนั้นย่อมมีสองด้านเสมอ ให้เราเลือกมองเฉพาะด้านบวก เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เขาเป็น       บุคลิกภาพของคนนั้นมีด้วยกัน4อย่าง นักทฤษฎี เป็นคนชัดเจน ถูกต้องตามกฎ มีเหตุผล ยึดติดกับรายละเอียด ไม่ชอบเสี่ยง   นักปฎิบัติ สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน ถ่อมตนเงียบ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง  นักจนภัย  กล้าตัดสินใจ มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน ดุดัน ผ่าซาก ใช้อำนาจ  นักกิจกรรม ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย  ไม่ระมัดระวัง ไม่สนใจเรื่องเวลา                 การสร้างทีมงาน  คือการบริหารบุคคลใช้คนให้ตรงกับงานตรงกับความสามารถ ประสบการณ์     การเรียนรู้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้  ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา  มีทุกข์ร่วมทุกข์มีสุขร่วมสุข  แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

    วันนี้ได้รับหลักการความคิดต่างจากหนังสือ Abundance ที่ว่าพวกเราต้องช่วยกันเพื่อให้องค์กรมีความพร้อมของ Basic needs แต่อย่างไรก็ตามพวกเราจำเป็นต้องหาสิ่งเพิ่มเติมที่จะมาช่วงเร่งเราให้เกิดสุขภาพและเสรีภาพที่สมดุลดัง่ปิระมิดสามชั้น ซึ่งต่อมาก็ได้รับแนวคิดที่สนับสนุนจากบทเรียน Leadership and Teamwork ว่ามุมมองของเราเองนั้นเป็นสิ่งให้เราสามารถทำงานกับคนอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น การปรับหรือให้คนที่แตกต่างกันทำงานในสิ่งที่ตนถนัดจะช่วยให้การทำงานลงตัวและไปในทางที่ดี เราสามารถนำความรู้และหลักการนี้มาใช้ในการทำให้คณะแพทยศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและช่วยเหลือเครือข่ายโดยเฉพาะใน 3 จังหวัดภาคใต้ของเรา โดยนำความรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เราได้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสามท่าน

    จรูญ แก้วมี (ฝ่าย IT คณะแพทยศาสตร์)

    16 ตุลาคม 2557
    วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือเรื่อง Abundance
      - มุ่งให้คิดสิ่งใหม่ที่แตกต่าง ดีกว่าเดิม ที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวหน้า
      - การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการคิด ประดิษฐ์สิ่งใหม่
      - Mindset ที่เอื้อให้เกิดการคิด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ มองสิ่งที่ผิดพลาด
        เป็นโอกาส ไม่ใช้ความน่าอาย

    หัวข้อ “LEADERSHIP & TEAMWORK”
    โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี
      - Mindset ของตัวเราเอง มีผลกับสิ่งรอบข้างอย่างมากมาย
      - การพยายามเข้าใจสิ่งรอบข้าง หรือผู้อื่น จะทำให้เราเข้าถึงและทำงาน
        กับสิ่งนั้นได้ดี
      - ปัญหาที่เราแก้ไขไม่ได้ ตัวช่วย การปรึกษาคนอื่นๆ คุยกับคนอื่นๆ จะมี
        ทางออกมากขึ้น

    คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า
    โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและอาจารย์วปอ.
    นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้ กรรมการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต.
    - พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา ท่านทำให้เราเข้าใจความต้องการและวิธีการ ของผู้ก่อการร้าย
      ศาสนามุสลิม เป็นทั้งคำสอนและแนวการปกครอง
    - นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ชี้ให้เห็นจุดอ่อนประชาชนที่จะถูกชักนำของผู้ก่อการร้าย (โง่ จน เจ็บ)
    - ผศ.ปิยะ กิจถาวร ชี้แนะวิธีการประสบการณ์จริงที่ทำให้ไทยพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกันได้


    แพทย์ และ การศึกษา เป็นช่องทางที่เข้าถึงการแก้ไขปัญหาได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่ยังได้รับ
    ความไว้วางใจ จุดอ่อนการไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นปัญหาใหญ่

    ทัศนันท์ ศิริเสถียรรุจ

    สัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนแล้วสินะ มาคนแรกเลยตื่นเต้นค่ะที่ต้องเป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนอการแปลและวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจจากหนังสือ A bundance กราบขอบคุณท่านอ.จีระค่ะที่กรุณาชมว่าเป็นเหมือนมังคุด วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

    Leadership & Teamwork : รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี วิทยากรระดับชาติสอนให้เราต้องเชื่อมั่นว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เราทำไม่ได้ การตัดสินใจให้ 4Qs ทำงาน ในการแก้ปัญหาของผู้บริหารให้มองว่าทุุกปัญหามีทางออก หาข้อมูลที่เป็นทางออก แล้วพิจารณาโอกาสของข้อมูลให้คิดบวก วิเคราะห์ข้อจำกัด สอนให้เข้าใจธรรมชาติ มองทั้งสองด้านทั้งด้านดีและไม่ดี รู้จักว่าง ปล่อยใจให้ว่าง เพราะความสำเร็จอยู่ในที่ที่ว่าง นอกจากนี้ได้พูดถึงการสร้างทีม ความสำเร็จของทีมให้ใช้ทฤษฎีตัวช่วย เรียนรู้ทุกสิ่งอย่างไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลง แต่จะให้ดีต้องเปลี่ยนแปลงแบบ win win ให้เราเปืดใจยอมรับทุกความคิดเห็น

    ในช่วงบ่่าย หัวข้อ คณะแพทยศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากรมืออาชีพอีกเช่นกัน ได้รู้จักและเข้าใจปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าใจประชาชนที่เป็นพี่น้องคนมุสลิมมากขึ้น ทราบหลักของการอยู่ร่วมกันและการสร้างสันติสุขใน3จังหวัด การแพทย์เป็นสิ่งที่จำเป็นและได้รับการไว้วางใจสูงในการสร้างความมั่นคงของประเทศฯ ใน 3 จังหวัด ช่วงสุดท้ายมีการทำ workshop เกี่ยวกับโครงการของคณะแพทย์ที่ผ่านมาว่ามีจุดอ่อนอะไรบ้าง และให้โครงการในอนาคตที่ทางกลุ่มอยากจะทำในรูปแบบการทำงานของคณะแพทย์กับบทบาทการรักษาความมั่นคงและเครือข่ายใน 3จังหวัด ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางค่ะ

    ขอบพระคุณอาจารย์จีระและทีมงานทุกท่านค่ะ 

    วรรณฤดี หทัยพิทักษ์

    Abundance

    แม้ได้อ่านในบทที่ได้รับมอบหมาย เข้าใจถึงความหมายที่หนังสือสื่อ ทำให้ได้แง่คิดที่ทำให้เราสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ในการวาดฝัน หรือความหวังอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบกับเนื้อหาที่เพื่อนๆมาเล่าสู่กันฟัง ยิ่งรู้สึกขอบคุณ อาจารย์มากค่ะ เป็นหนังสือที่ดีมากจริงๆ

    “LEADERSHIP & TEAMWORK”โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี
    -ช่วยให้เราเข้าใจตัวเราเอง โดยวิเคราะห์ เราเอง และ ให้เข้าใจผู้อื่นสิ่งสำคัญคือMindset จะมีผลต่อการกระทำ การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

    คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ

    พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา ให้แง่คิดของ ความคิดที่แตกต่าง ในเรื่องศาสนา ที่ได้รับอิทธิพลจากคำสอน ในแง่ต่างๆ ซึ่งเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เขาได้รับ เข้าใจความเชื่อ ความต้องการ ของผู้ก่อการไม่สงบ

    คุณไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล เล่าถึงการสอบถามจากประชาชนส่วนใหญ่ พบว่ายังมีความรู้สึกของความไม่เท่าเทียม ความอยุติธรรม เป็นส่วนใหญ่ แม้จะตอบไม่ได้ว่ายังไงของความไม่เท่าเทียมมันเป็นความรู้สึกล้วนๆ
    ผศ.ปิยะ กิจถาวร เล่าประสบการณ์จริง จากการเข้าไปศึกษาในพื้นที่เสี่ยง พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันของชาวไทยพุทธและมุสลิม คือการเข้าใจ และทราบความต้องการของเขา เข้าใจและทราบความต้องการเรา การมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ

    Abundance คือความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไม่ได้หมายถึงน้ำอาหารหรือทรัพยากรธรรมชาติ แต่คือการเรียนรู้จากความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ การคิดค้นสร้างมูลค่าจากความ หลากหลาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนา 

    ช่วงการเรียนรู้จะต่ออีกรอบนะค่ะ

    Leadership & Teamwork : รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี
    เริ่มต้นด้วยกิจกรรมที่สนุกสนาน 
    ตามด้วยสาระเชิงลึกของ หลักคิดที่ดี


    ชอบ Slides นี้มากครับ
    ตอบโจทย์ปัญหาชีวิต และการทำงานได้มากมาย 

    <p>คุณไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้ กรรมการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    ..ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านช่วงเวลาที่ยาวนาน ในพื้นที่สามจังหวัด
    ข้อมูลบางอย่างที่รับรู้ บอกเรื่องราวที่น่าสนใจ และให้ข้อคิดต่อการแก้ปัญหาพหุวัฒนธรรม </p>

    ได้เรียนรู้หลากหลาย

    ช่วงเช้า เริ่มด้วยการนำเสนอการแปล วิเคราะห์ สังเคราะห์ หนังสือ "Abundance" นำมาใช้กับคณะแพทย์อย่างไร ต้องบอกเลยค่ะว่ารุ่น2 "สุดยอด"ค่ะ ทำให้หลายคนอยากอ่านทั้งเล่ม จากที่ได้รับมอบหมายเฉพาะบท

    ต่อด้วยการบรรยายและทำกิจกรรม ในหัวข้อ  "Leadership&Teamwork" โดยท่าน รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี เรียนรู้ว่า ผู้นำคุณคือคนสำคัญ อยู่ที่กรอบความคิด "I think I can. I can do it" สรุปคือผู้นำต้องปรับกรอบความคิดของตนเอง ปัญหามีตลอดให้แก้ ให้เข้าใจทีมงานโดยใช้หลักหัวใจ2ดวงและบางครั้งต้องหาตัวช่วยหัวใจดวงที่3 ให้มองบวกก่อนก่อนมองลบ และพยายามหาบวกอันใหม่ให้ได้ ท่านอาจารย์ได้สาธิตให้เห็นความสวยงามในความหลากหลาย และการบริหารวางให้ถูกที่ถูกทาง การทะลุมิติเวลา และการมีวินัยในการบริหารเงิน 

    ช่วงบ่าย "คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของงประเทศ ในมุมมองของจ้าพเจ้า" โดย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา  นายบัญญัติ จันทน์เสนะ คุณภานุ อุทัยรัตน์  เนื้อหาน่าสนใจมากำด้ทราบข้อมูลเชิงลึก การนำเสนอทั้ง5กลุ่มได้รับความคิดเห็นจากท่านอาจารย์ทำให้เห็นแนวทางเพิ่มในการนำมาพัฒนาปรับใช้ และสุดท้ายในการกล่าวขอบคุณของกลุ่ม2 ชอบมากค่ะ ที่กล่าวถึงปรัชญาแนวคิดของร.9 "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ทำให้นึกถึงภาพพระองค์ท่านเสด็จใน 3จ.ชายแดนภาคใต้ และทรงมีพระสหายแห่งสายบุรี

    หัวข้อ Leadership and teamwork ทำให้เราเรียนรู้หลายอย่าง เช่นการสร้างทีม  การให้ผู้ให้ที่ถูกที่ถูกเวลา มีกติกาการอยู่ร่วมกัน (ยุติธรรม อยู่ที่ความพึงพอใจและยอมรับ)  การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นเช่นการพูดจา  บทวิเคราะห์ ทำให้เราเรียนรู้การจัดการเกี่ยวกับปัญหาที่ยุ่งยากอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้นำ 

    Panel discussion เรื่องคณะแพทย์ มอ.กับงานความมั่นคง   พูดถึงการจัดโครงการของคณะแพทย์ เพื่อปรับใช่้กับชายแดนใต้  ถึงอย่างไรก็ตาม ทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์โครงการการพัฒนาเพื่อให้ปรับใช้าได้ถูกวิธี  ถูกทาง  เพื่อการเรียนรู้ให้เราสามารถนำกลยุทธต่างๆนี้ไปปรับใช้ในแนวทางอื่นไห้

    Leadership &Teamwork  อุปสรรคที่สกัดกั้นความสามารถ คือตัวเรา mindset ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นค่านิยมที่ทำต่อเนื่องกันมา

    ความต่างของมนุษย์เกิดจากประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ ซึ่งทำให้เกิดบุคลิกภาพที่แตกต่างคือนักทฤษฎี มีคุณธรรม ฉลาด ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล มีหลักการ ไม่ชอบเสี่ยง                           นักผจญภัย กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง เอาตัวเองเป็นหลัก นักปฏิบัติ สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟัง เชื่อถือได้ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ                                   นักกิจกรรม ชอบเข้าสังคม เปิดเผย กระตื้อรือร้น มีพลังชักจูนผู้อื่น ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนเวลา               

    เมื่อต้องทำงานเป็นทีม ผู้บริหารต้องเข้าใจกฎธรรมชาตินี้เพื่อจัดวางทีมงาน จัดสรรงานให้ถูกต้องกับบุคคล สถานการณ์ กาลเทศะและเวลา

    ควรมองทุกอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะเราไม่เคยโกรธความเป็นธรรมชาติ

    พยายามทำใจให้ว่าง เพื่อที่จะยอมรับสิ่งอื่นๆให้เข้ามาในที่ว่างนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เห็นและสิ่งที่เป็น

    คณะแพทยศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ  จุดแข็งของปัญหาความไม่สงบของสถานการณ์ใต้คือเรื่องการแพทย์ การสาธารณสุข  การศึกษา  ซึ่ง 2 สิ่งนี้สามารถเข้าร่วมมีบทบาทสำคัญเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีของความขัดแย้งนั้น

    เรียนรู้การปรับมุมมองความคิด มองสิ่งทีาดีจากสิ่งที่ไม่ดี และเรียนรู้การประเด็นท้าทายจากสถานการณ์ใต้ เพื่อสร้างการพัฒนาของคณะแพทย์ให้สอกรับกับสถานการณ์ใต้

    วันที่ 16ตค. 57

    ในสัปดาห์ที่ 2 นี้ รู้สึกว่าสนุกกับการเข้าอบรมเพิ่มขึ้น ความรู้สึกกังวลที่จะไม่รู้เรื่องได้ลดน้อยลง เพราะทราบแล้วว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ซึ่งมันค่อนข้างจะตรงกับสิ่งที่กลุ่มของเราได้เรียนในหัวข้อ "Leadership & Teamwork" โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ต้องจัดการกับอุปสรรคให้ได้ ซึ่งก็คือความคิดของเรานั่นเอง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มี 2 ด้าน การที่เรามองสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดีควรขึ้นกับสถานการณ์ อยู่ที่ว่าเราจะจัดวางอย่างไร ดังนั้นคนที่เป็นผู้นำขององค์กรต้องเข้าใจธรรมชาติของแต่ละบุคคลว่าเค้าเป็นอย่างไร ควรให้เค้าเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นการสร้างทีม ควรเป็นผู้ให้ที่ถูกที่ ถูกเวลาและถูกคน มีกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างโปร่งใสยุติธรรม ปล่อยวางตัวตนและประโยชน์ของตน เป็นคนสาธารณะ นอกจากนี้ในความสำเร็จของทีม ควรมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน มองที่ปัจจุบันและทำให้ดีที่สุด ควรแก้ปัญหาเป็นระยะๆ เพราะ "ทุกปัญหามีทางออก" เริ่มจากหาข้อมูลที่จะเป็นทางออก พิจารณาโอกาสของข้อมูลว่าบวกดีมากน้อยแค่ไหน มีอะไรลบบ้างที่ทำให้เราก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ และเราต้องใช้ตัวบวกแก้ตัวลบ

    ในช่วงบ่ายของวันที่ 16ต.ค.57 เป็นหัวข้อเกี่ยวกับ "คณะแพทยศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า" โดยวิทยากรหลายท่านร่วมกันอภิปราย

    เกี่ยวกับปัญหาในการแบ่งแยกดินแดนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้ฟังปมปัญหาที่ก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นปัญหาระดับประเทศ ดังนั้นเมื่อมีปัญหาขนาดเล็กควรปรับปรุงในสิ่งที่เราทำ แต่เมื่อมีปัญหาใหญ่กว่านั้น ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด

    และสุดท้าย จากงานที่ทุกกลุ่มได้รับมอบหมายให้อ่านหนังสือเรื่อง Abundance ทุกกลุ่มได้มีการนำเสนอได้ดี มองเห็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณรงค์พูนสุข ซึ่งหนังสือเล่มนี้ท่าน อ.จีระ ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ทุกคนควรจะมีไว้อ่านเพื่อเตือนใจ กระตุ้นให้เรามีการพัฒนาและกระเด้งไปที่ 3V ขอบคุณสำหรับเนื้อหาของวันนี้ที่ทำให้เราได้ Learn Share & Care ค่ะ

    นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์

    ช่วงเช้า อ.เฉลิมพลให้แนวคิดในการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม มีทฤษฎีปลาทอง ให้เราเลือกว่าเราจะเป็นปลาทองแบบใหน ให้เราเข้าใจความแตกต่างของแต่ละคน ให้เราอยู่ด้วยกันท่ามกลางความแตกต่าง และค้นหาคุณค่าของแต่ละคน

    -หนังสือ abundance เพียง 1 เล่ม สามารถสร้างแนวคิดที่หลากหลาย ที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการพัฒนาองค์กร

    -ปัญหาทุกอย่าง มีทางออกเสมอ เพราะเราทำได้ ชี้ให้เห็นความสำคัญของ mindset ของแต่ละคน เพียงแค่ปรับ mindset เพียงเล็กน้อย  อาจทำให้หลายๆอย่างเปลี่ยนแปลง

    -เข้าถึงปัญหาความรุนแรงของ 3 จ.ชายแดนใต้ แม้ตัวจะนั่งไกลกว่า 100 กม. ทุกวันนี้เรายังใช้การแก้ปัญหาแบบเดิมๆ มาแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่มีเข้ามาทุกวัน

    ช่วงที่2(16/10/57)

    - จากการเสนองานกลุ่ม:วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือAbundance สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งความสมบูรณ์นั้นมาจากสมองของมนุษย์ ที่สร้างสรรค์ผลงาน กระเด้งไปที่ 3V เพื่อการจัดการกับภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งความต้องการขั้นสูงสุดคือ Health &Freedom ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สำคัญมาก คนเราต้องมีความล้มเหลวมาก่อนถึงจะมีความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ และอย่าคิดกับโลกนี้ในแง่ร้าย ที่สำคัญ ให้ใช้ทฤษฎี3ต่อคือต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง ความมั่งคั่งสมบูรณ์ก็จะคงอยู่กับโลกเราตลอดไป

    - Leadership&Teamwork: รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ได้สอนให้เรารู้คิด อุปสรรคของการทำงานนั้นคือกรอบความคิดของเราเองดังนั้นผู้นำต้องออกจากกรอบความคิดเดิมๆปรับ mindset ใหม่

    ให้หลักคิดในการทำงาน การเริ่มต้นต้องไม่คิดทำเรื่องใหญ่ควรทำเรื่องเล็กๆก่อนเพื่อเป็นกำลังใจ ต้องทำปัจจุบันให้ดีที่สุดและต้องทิ้งอดีตไม่ต้องกังวลอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เมื่อมีปัญหาต้องหาตัวช่วยและใช้หลักคิด ทุกปัญหามีทางออก หาข้อมูลให้เพียงพอเลือกวิธีการที่บวกที่สุดและมองหาส่วนลบในสิ่งที่เลือกมาแล้วหาทางออก และการเขียนแผนที่ละเอียดจะทำให้งานสำเร็จด้วยดี

    Today (October 15, 2014), I have learnt many things in the different perspectives from my background. In the morning, we presented about the assignment 1 "Abundance book". There were good stories that telling us about how can we use our brain and thinking in different ways to solve the problems as well as using technology and changing mindset. Furthermore, I have learnt about leadership characteristics and wisdom for life management. The topics that I like are "the golden fish theory" and "4Qs".

    In the afternoon, I knew more about the 3 South border provinces from the invited speakers in the different views. In addition, the workshop that we discussed about the projects for our faculty and the 3 South border provinces leading us to have new idea to create the valued projects. 

    In conclusion, I think today's topics are interesting and can help me to adapt in my working place and my life.

    วันที่ 16 ได้เรียนรู้ว่าเราต้องเข้าใจธรรมชาติของคน คนที่ไม่ดิ้นรนกรอบความคิดจะแคบ ชอบทฤษฎีปลาทอง

    เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ของโครงการฯ

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในวันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม 2557

    เริ่มต้นด้วย แต่ละกลุ่มทำการนำเสนอประเด็นที่ได้จากหนังสือ Abundance และ อาจารย์จีระ ให้คำแนะนำว่า เมื่ออ่านแล้วอย่าลืม วิเคราะห์เชื่อมโยง/นำมาปรับใช้กับองค์กร กระเด้งไปที่ 3V และต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

    ต่อด้วยหัวข้อ Leadership & Teamwork โดย...อาจารย์เฉลิมพล

    บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ได้รู้คุณค่าของตัวเราเอง และมีโอกาสได้ชื่นชมผู้อื่น (รู้ถึงคุณค่า) การเข้าใจและใช้ 4Qs เพื่อเป็นแรงผลักดันสู่ความสำเร็จ และเราเปิดใจให้กว้างขึ้น ทุกปัญหามีทางออก สิ่งที่สกัดกั้นคือความคิดของเราเอง

    ให้เข้าใจธรรมชาติของผู้อื่น มองทั้งด้านบวกและด้านลบ แต่ให้เน้นที่ด้านบวกที่มีน้ำหนักสูง

    ได้แนวคิดของผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง การใช้ทฤษฎีตัวช่วยไปสู่ความสำเร็จของทีม (win win)

    ช่วงบ่าย หัวข้อ คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.กับบทบาท และการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า โดย...อาจารย์ทั้ง 3 ท่านที่ใช้เวลาศึกษาข้อมูล รู้ลึก และรู้จริง

    รู้สึกขอขอบคุณอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน อย่างมากที่สามารถทำให้ดิฉันรู้สึกไม่แน่นอกอีกต่อไป สิ่งใดที่มันติดอยู่ในใจดิฉัน อาจารย์ทั้ง 3 ท่าน สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด เป็นข้อมูล

    ดิฉันเป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับถือศาสนาอิสลาม ตั้งแต่อนุบาลถึงชั้น ป.5 ได้ย้ายตามผู้ปกครองไปรับราชการครบทั้ง 3 จังหวัด หมุนเวียนกันไป

    จังหวัดปัตตานี 1 ครั้ง /อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 2 ครั้ง /จังหวัดนราธิวาส 2 ครั้ง และเกือบทุกวันหยุดราชการ จะเดินทางกลับจังหวัดที่เป็นบ้านเกิดคือ จังหวัดยะลา

    ทำให้ต้องปรับตัว เรียนรู้ กับความต่างของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดิฉันตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ยอมรับว่ามีเพื่อนต่างศาสนามากกว่า ศาสนาเดียวกัน และมักจะได้ยินเสมอว่าเรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

    สิ่งนี้เป็นเรื่องจริง แต่ถ้าเราได้เรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเปิดใจกันและไม่นำอดีตและประวัติศาสตร์มาตอกย้ำ ให้เกิดชนวนปัญหา มาทำลายการเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต

    ความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉัน จากที่ได้สัมผัส ยกตัวอย่างจากที่ได้มีประสบการณ์จากคนในครอบครัว รู้สึกประทับใจกับโครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ***เฉพาะคนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส นั้น ชื่นชมโครงการนี้ทำเพื่อคนในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จริง ๆ

    แต่ต้องมาสะดุดกับเกณฑ์ในการชดใช้ทุนเรียน ที่มีระยะเวลาถึง 12 ปี หลังจากนั้นถึงไปต่อเฉพาะทางได้ ณ ขณะนั้น กลุ่มที่ได้ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการนี้ ปฎิเสธที่จะรับทุนเกือบทั้งหมด เพราะคิดว่าเมื่อรับทุนเรียนมันยาวนานเกินไป แต่ถ้าไม่รับทุนเรียน แพทย์เหล่านี้ต้องกลับมาใช้ทุน (ผ่านเข้าโครงการ) แค่เพียงทำงานในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ครบ 3 ปีเท่านั้น จากนั้นไปศึกษาเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง และหาที่ทำงานอื่นได้

    สิ่งที่ได้รับ คือ ก็คงยังเกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์อยู่ดี ซึ่งจะเห็นว่าปัญหาอยู่ที่ความคิดของคน และต้องทำอย่างไร ให้ได้คนในพื้นที่ที่รักบ้านเกิดของตัวเองอย่างแท้จริง แม้กระทั่งแพทย์ที่ประจำในพื้นที่ดั้งเดิม ที่มีลูกเรียนแพทย์ในปัจจุบัน ยังสนับสนุนให้ลูกรับทุนโครงการอื่น ๆ นอกเหนือจากโครงการนี้ ทั้ง ๆ ที่พ่อแม่นั้น มีความได้เปรียบในเรื่องคนไข้ในพื้นที่แล้ว วันนี้เรายังไม่ทราบเหตุผลของแพทย์เหล่านั้นเลย

    *** สุดท้ายก็อยากให้กำลังใจกับคณะทำงานด้านความมั่นคง ในการแก้ไขไฟใต้ และดิฉันเองยินดีที่จะให้ร่วมมือกับองค์กรในการช่วยเหลือและบรรเทาสถานการณ์ ลดความขัดแย้งต่อไป เพื่อระบบสุขภาพที่ดีที่ส่งผลคุณภาพที่ดีของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไปค่ะ

    จริพร โตรุ่งนิพัทธ์

    16/10/57  ทุกปัญหามีทางออก และไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ทำไม่ได้ และต้องเข้าใจกฎของธรรมชาติ และต้องเข้าใจคนรอบข้างของเรา อะไรที่คิดว่าทำไม่ได้ต้องหาตัวช่วย และการที่จะเป็นผู้นำที่ดีต้องทำตัวเป็นคนสาธารณะ

    เมื่อวานเขียนไว้ใน blog ครั้งที่ 1 ดึงมาได้มั้ยค่ะ

    สรุปการบรรยาย

    หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ มอ.

    โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

    ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

    ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

    17 ตุลาคม 2557

    ศ.ดร.จีระ: คณะแพทย์หากมีเทคนิค เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์แต่ไม่กระเด้งไปสู่ความสามารถในด้านอื่นๆก็เป็นสิ่งที่ไม่ท้าทาย ต้องเอาความหลากหลายขององค์กรไปกระเด้งกับต่างประเทศ หรือ Stakeholders อื่นๆ คือ Value diversity

    ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล: ขอพูดใน 3 บทบาท คือ

    • -คนไข้
    • -ผู้ถือหุ้นกรุงเทพดุสิตเวชการ
    • -การทำงานเพื่อช่วยกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการเปิดเสรีอาเซียน

    สมัยก่อน คนไม่เขารพ. แต่คนสมัยใหม่มีการตรวจสุขภาพประจำปี

    รพ.เอกชน มี Package รักษาสุขภาพมากมาย

    รพ.ศิริราช รามาธิบดี ก็เป็นโมเดลนี้ เพราะมีการแข่งขันมากมาย

    รพ.ระดับสูง เป็น Super Luxury

    ทางใต้มี 4 ศูนย์ แบ่งเป็นภูมิประเทศ เราอยู่ใต้ตอนล่าง มีม.วลัยลักษณ์ที่ภูเก็ต แต่ทำไมศูนย์มอ.อยู่ภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น ทั้งๆที่มีโอกาสตั้งศูนย์ทางแพทย์ที่หัวเมืองใหญ่

    เนื่องจากหัวใจของคณะแพทย์ศาสตร์อยู่ที่จำนวนเตียง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่จะรองรับคนไข้ที่เดียวเท่านั้น

    ภาคอีสาน คงลำบาก เพราะมีหลายมหาวิทยาลัย

    ภาคกลางและกรุงเทพ ก็ไม่ควรเข้าไป เพราะมีคู่แข่งอยู่แล้ว

    รพ.ศิริราช มีการตั้งรพ.ปิยการุณย์มหาราช เพื่อรองรับคนที่มากกว่า และรองรับ Source income ที่มากขึ้น

    สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการก็มีการจัดตั้งแบบนี้เช่นกัน เจตนาเพื่อรองรับคนอีกกลุ่ม มีเครื่องมือที่ทันสมัย เป็นคลินิกนอกเวลา

    เครือรพ.กรุงเทพ มี 31 รพ. มี 6 กลุ่ม เป็นเจ้าของสมิติเวช เปาโล พญาไท เป็นอันดับ 3 ของโลก ตั้งบริษัทเอ็นเฮลท์ ตอนนี้ใช้เป็น National lab ตั้งเป้าเป็น Central lab ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน จัดหาเวชภัณฑ์มาที่นี้ การบริหารจัดการทันสมัยกว่า ถือหุ้นบริษัทประกันชีวิตและประกันสุขภาพ โอกาสดำเนินงานสูงมาก

    แต่วิธีการหาบุคลากรทางการแพทย์มักจะดึงจากรพ.ที่อื่น คาดว่าคณะแพทย์ มอ. ก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน อาจารย์หมอที่เก่งๆ เทคนิคการแพทย์เก่งๆก็เอาไปจากเราหมด เราจะทำอย่างไรกับปัญหาแรงงานไหล

    Private Hospital

    Public Health Hospital บางครั้งก็มีการดึงบุคลากรแพทย์ไปยังหน่วยราชการกันเอง

    Oversea Hospital ส่วนใหญ่มักจะดึงไปสิงคโปร์ ตอนนี้เครือรพ.เมโยถูกดึงไปจำนวนมาก

    ความต้องการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น 7% ใน 25 ปี

    25 ปีก่อนคณะแพทย์มอ. มีจำนวนเตียง 100 เตียง มันต้องขึ้นปีละ 7% ปัจจุบันมี 800 เตียง ซึ่งนิ่งที่ 800 เตียงมานาน ซึ่งต้องมีแผนการเพิ่มของ Demand และ Supply เพราะสัดส่วนในการรองรับไม่โต แผนการคือ ต้องมีการขยายเตียงเพิ่มขึ้น เพื่อขยายการรองรับ หากรอจากรัฐอย่างเดียวคงช้า ต้องหางบประมาณจากทางอื่นด้วย แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ได้ออกนอกระบบก็ทำได้ยากหน่อย

    ความกดดันที่เพิ่มขึ้นมาจาก

    • -Patient Protection Act
    • -Government Budget Cutting
    • -High Standard or Operations & Services หัวใจการรักษาคือเครื่องมือ หากเครื่องมือทันสมัยมากเท่าไหร่ก็ยิ่งแพง ความท้าทายคือ จะหาเงินมาจากไหนเพื่ออัพเดทเครื่องมือ
    • -Universal Coverage Scheme
    • -High Competition
    • -Higher Operating Costs & Financial Risk

    Tertiary Healthcare service คือ การรักษาแบบสูงสุด แบบเคสยากๆ แต่รพ.มอ. รับเคสPrimary Secondary เคสซ้ำๆ ธรรมดา มากกว่าหรือเปล่า ทำไมไม่ลองรับเน้นเป็น Tertiary เพื่อให้มีงานตีพิมพ์วิชาการ งานนวัตกรรม
    ประเด็นท้าทายที่สำคัญ

    • -Modern Management Culture
    • -Efficient Patient Response
    • -Internationalization
    • -New &High-tech Facilities

    รพ.มอ. มีปัญหาการไม่สามารถนำเด็กใหม่ๆเก่งๆมาหรือไม่

    เด็กเก่งที่อยู่โรงเรียนในพื้นที่ทำไมถึงไม่มาเรียนคณะแพทย์ มอ. แต่ทำไมถึงเลือกเรียนจุฬา ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญ ว่าทำไมคนในพื้นที่ถึงไม่มาเรียน

    อาจเป็นเพราะระบบการคมนาคมขนส่ง ที่ปัจจุบันนี้สะดวกขึ้นมาก เดินทางด้วยเครื่องบินแค่ 1.20 ชั่วโมง ทำให้ได้รับผลกระทบไปที่คนไข้ คือ คนไข้อาจจะมีความเชื่อว่าไปรักษาที่กรุงเทพดีกว่า ทำให้คณะแพทย์มอ. สูญเสียทั้งนักเรียน และคนไข้

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์: รุ่น 2 ต้องกระชับ และตรงประเด็น รู้อยู่แล้วว่าประเด็นท้าทายของเรามีอะไรบ้าง

    ขอเสริมในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย มอ.มีหลายวิทยาลัย แต่ยังไม่มีคณะแพทย์ ที่สุราษฎร์ แต่ในอนาคตจังหวัดสุราษฎร์เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ

    แต่หาดใหญ่ บางครั้งในความรู้สึกของผู้ปกครองที่ไม่ส่งเด็กเข้ามาเรียนอาจจะมีความรู้สึกในความไม่มั่งคง

    ปัญหาของมอ. มีสมองไหลเยอะ วิทยาเขตภูเก็ต มีเรื่องการท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์ วิทยาเขตตรังมีคณะ สถาปัตย์

    ประเด็นที่ คณะแพทย์ต้องมองภูมิศาสตร์ให้ดี เพื่อมองไปที่การขยายตัวไปอนาคต

    คณะของเราควร หาเงินเข้ามาให้เป็น คณบดีในอนาคตต้องเป็นผู้นำในเรื่องต่างๆ

    บทบาทของ Private sectors เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เพราะเขาเน้นเรื่องประกันสุขภาพด้วย

    ประเด็นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ต้องผนึกกำลังเพื่อไปในอนาคต

    เราต้องรักษา Core ของเรา แต่ทำอย่างไรถึงจะมีความสมดุลกับการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่ทำก็จะตกเรื่อง Relevance ต้องเป็นองค์กรคงสภาพความเป็นเลิศไว้ และต้องหลุดจาก Comfort Zone และต้อง Driving force

    ต้องกระเด้งไปยัง Vต่างๆ

    Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

    Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

    Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

    ในอนาคตต้องแน่ใจว่าเดินทิศทางเดียวกัน Alignment ระหว่าง

    -นโยบาย

    -ปฏิบัติ

    -ข้ามสายงาน (Silo)

    -IT กับ งานหลัก

    HR เน้นความร่วมมือกันของ CEO – HR- Non HR + Stakeholders

    การทำงานร่วมมือกันแบบ Informality

    มี Project ระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะ ASEAN+6 เน้นมาเลเซีย อินโดนีเซีย

    หารายได้จากงานวิจัย (Research) มากขึ้น รู้จักภาคธุรกิจและภาคราชการมากขึ้น Networking นอกคณะแพทย์มากขึ้น กลุ่มที่ต้องเข้าไปเชื่อมมากขึ้น คือ หน่วยงานข้ามชาติ งบประมาณจริงๆของเราคือกระทรวงสาธารณสุข รพ.ที่มอ.เข้าไปร่วม ส่วนหนึ่งอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข Benchmark กับมหาวิทยาลัยระดับโลก

    ถ้าเรามี 800 เตียง แล้วหยุดเฉยๆ ทุกอย่างก็อยู่กับที่

    ผสมการสอน การวิจัย และโรงพยาบาลให้เหมาะสม สมดุลกัน ต้องทำงานวิจัย มีการตีพิมพ์ ตอนนี้อันดับการเข้ามหาวิทยาลัย เป็นอับดับ 9 ของประเทศ คุณภาพการทำงานเปรียบเทียบกับการเข้าของเด็กยังไม่สอดคล้องกัน สภาพแวดล้อมของเราต้องต่อสู้

    มีความสุขในการทำงาน และให้ความสำคัญกับทุนแห่งความยั่งยืน คณะแพทย์ในอนาคตหน้าตาจะเป็นอย่างไร ต้องเป็นเรื่องที่คิดไว้ในอนาคต ปัจจัยความเสี่ยง โอกาส เป็นอย่างไรบ้าง ต้องคิดให้รอบคอบ และเราจะได้ประโยชน์ เพราะคนไทยคิดสั้น แคบ

    พัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง ทฤษฎี 8K’s+5K’s เป็นแนวทางที่ดี

    บริหารจัดการ “ทุนมนุษย์” หรือ เก็บเกี่ยว (Harvesting) เน้น Intangible มากขึ้น

    เน้น Execution ในสิ่งที่ทำ เอาชนะอุปสรรคให้ได้

    จาก KM ไปสู่ LO คือ มี Learning Culture ไปสู่ Learning Organization ในคณะแพทย์ฯ เพื่อจัดการกับอนาคต

    พัฒนา IT เพื่อช่วยในการทำงาน, บริหาร, สอน, วิจัย และลดภาระของโรงพยาบาล ไม่ให้คนไข้กลับมาโรงพยาบาลซ้ำซาก

    อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์: ช่วงบ่ายจะพูดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ขอถามว่าใครเป็นหนึ่งของผู้สร้างสรรค์โลก คำตอบคือ ไอน์สไตน์ คำคมของไอน์สไตน์ คือ Insanity is doing the same thing over and over again and expecting different results.มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ แต่กลับหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง

    ขอเสนอแนวความคิดการคิดคร่อมกรอบ และอีกเรื่องที่ชอบคือ เรื่องของบุคลิกภาพ การเข้าใจคนต่างบุคลิกภาพ

    ศ.ดร.จีระ: ควรกระเด้งประเด็นท้าทายไปที่นักศึกษาแพทย์ด้วย ต้องใส่การคิดเชิงยุทธศาสตร์เข้าไปด้วย อยากช่วยคณะแพทย์ที่เรียกว่า Dominant faculty ต้องเป็นตัวสร้างแนวคิดต่างๆให้คณะอื่นด้วย ถ้ามีไอเดียต่างๆนำไปปฏิบัติได้และกระเด้งไป 3 V ก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน

    Q&A

    กลุ่ม 5

    คำถาม ฟังอาจารย์ธงชัยแล้ว เรื่องรพ.กรุงเทพ ระบบบุคลากรเรื่องสมองไหล ต้องคิดต่อว่าทำอย่างไรให้คนเก่งอยู่กับเรา จึงไม่รู้ว่าเราควรถอดใจหรือสู้ต่อ

    เรื่องปีระมิดคว่ำ ตอนนี้ไม่รู้ว่าเราควรจะเดินไปทางไหน อาจารย์แพทย์ที่อยากทำวิจัย ก็ยังมีภาระที่ดูแลนักเรียนแพทย์อยู่

    ศ.ดร.จีระ: ยกตัวอย่างม.ธรรมศาสตร์ที่ไปใช้งบประมาณไปที่คณะแพทย์ ทำให้คณะอื่นๆ เช่น นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มาตรฐานต่ำลง เนื่องจากไม่มีความสมดุล

    อีกประเด็นหนึ่ง มีปัญหาเรื่องการใช้งบประมาณ ไม่กล้าพูดเรื่องเงิน แต่เงินเป็นเรื่องที่จำเป็น

    ผศ.ดร.พงษ์ชัย: อยากทราบ Feedback ก่อนว่า ที่นำเสนอเรื่องการท้าทายไปแล้วนั้น ตรงประเด็นหรือไม่ สิ่งที่เป็นอยู่ไม่กล้าพูดเรื่องเงิน อย่างนั้นจะเข้าถึงได้อย่างไร

    ผู้บริหาร และ Senior level เอาประสบการณ์ที่เขามี แต่ไม่มีสิ่งแวดล้อมแบบนี้ ทุกคนอยากใช้ชีวิตที่สุขสบาย ซึ่งต้องเปลี่ยนบริบทว่าแต่ละ Generation มีความคิดที่ต่างกัน หากไม่ยอมรับความจริง ก็จะได้คนกลุ่มเล็กไม่ได้คนกลุ่มใหญ่

    ต้องยอมรับความจริงว่าต้องกล้าที่จะคุยกันเรื่องเงิน

    บางคนเก็บความรู้สึกไปเรื่อยๆไม่พูดความรู้สึก แต่ในที่สุดก็ต้องออก

    สังคมในมหาวิทยาลัยต้องกล้าที่จะพูดความจริงกัน

    รพ.กรุงเทพไม่ได้ทำในมิติเดียว ทำวิจัย ทำงาน Conference ด้วย บางครั้งอาจจะมีศักยภาพที่มากกว่าเรา

    เรื่องปีระมิด ขอตอบว่าฐานปีระมิดไม่ได้เป็นปัญหาของเรา มันมากจนสัดส่วนเป็นไปตามที่เราไม่ได้กำหนด

    ศ.ดร.จีระ: เรื่องการวิจัยกับการสร้างมูลค่าเพิ่ม เคยไปทำให้ม.เกษตรศาสตร์ เขารู้ว่าเขาต้องเตรียมตัวอะไร เพราะฉะนั้นต้องอย่าประมาทกับเรื่อง Commercial research ในประเทศไทยแข็งเรื่อง medicine ดังนั้นต้องผสมการสอน การวิจัย และโรงพยาบาลให้เหมาะสม สมดุลกัน

    หากในอนาคตเรายังทำไม่ได้ ก็ควรไปลิงค์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เป็นการ Joint venture ขอผลักดันเรื่องนี้ต่อ

    มหาวิทยาลัยดีในประเทศเยอรมันก็ควรดึงมาเช่นกัน เขาเหนือกว่าเราในเรื่อง mindset

    ผศ.ดร.พงษ์ชัย: ยังไม่ทราบเรื่องมอ.มาก แต่มองจากคนนอกที่มองเข้ามา มีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่กำลังจะเข้ามาทางภาคใต้

    ศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอีกหลายสาขา มีหลายพันธมิตร ซึ่งมอ. ควรจะทำเช่นกัน ทางใต้มีที่ชุมพร และสุราษฎร์ธานี การเพิ่มเตียง คือ การเพิ่มในจุดต่างๆ

    รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ รพ.สงขลา รพ.นเรศวร กระจายศูนย์ไปทางภาคเหนือมากมาย ได้แก่ แพร่ ตาก อุตรดิตถ์

    เพราะฉะนั้นมอ. ควรขยายศูนย์การแพทย์ออกไป และต้องคิดว่าเราจะเดินไปทางไหนต่อ ด้วยประสบการณ์ บุคลากร

    สิ่งเดียวที่ทำไม่ได้ คือ ไม่สามารถห้ามคนอื่นไม่ให้วิ่งเร็วได้

    กลุ่ม4

    คำถาม : แพทย์มี Comfort zone ของตัวเอง อยากทราบว่าทำอย่างไรจึงจะเข้าไปคุยกับหมอได้แบบรู้เรื่อง

    ศ.ดร.จีระ: ต้องเน้นไปที่ตัวเรา ว่าเราจะอยู่แบบไหน ต้องค้นหาตัวเอง แบบเน้นไป Relevance หลักสูตรนี้ช่วยได้ระดับหนึ่ง สมัยฟองสบู่แตก พบว่านักธุรกิจที่ยังรอดอยู่สามารถปรับตัวให้เข้มแข็งขึ้น

    หลักสูตรได้เปรียบคือ รู้แนวแล้ว และทุกคนต้องกลับมาเป็น Learning organization การเรียนของแพทย์ต้องข้ามศาสตร์ มีการไปเยี่ยมศึกษาดูงาน ก็จะทำให้ความรู้สึกมีส่วนร่วมมีด้วยกัน

    ถ้าเข้าใจเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ โดยเน้นเรื่องการแพทย์เป็นหลัก

    กลุ่ม 3

    คำถาม : รพ.มอ. มีการเปิดศูนย์ความเป็นเลิศ ขอถามว่า TREND ในอนาคตต้องมีการเปิดศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง แต่คณะแพทย์มอ.ยังเปิดศูนย์จำกัดอยู่ จะแก้ปัญหาอย่างไร

    ผศ.ดร.พงษ์ชัย: รพ.กรุงเทพ มีสถาบัน เกี่ยวกับระบบสมอง และเน้นเรื่องโรคที่ติดอันดับ 3 โรค คือ สมอง หัวใจ มะเร็ง ซึ่งจะจัดสรรทรัพยากรได้ตรง ด้านที่ 1 ต้องตั้งธงให้ถูกก่อนว่าจะตั้งศูนย์อะไร ซึ่งการขับเคลื่อนของรพ.เอกชน เน้นเรื่อง Supply size แต่รพ.รัฐ ต้องเน้นเรื่อง Demand size

    ยอดปีระมิด ไม่ได้ให้น้ำหนัก ไม่มีกลไกต่างในการคิดรายได้ในรูปแบบอื่น ๆ

    แต่ทุกอย่างอยู่ที่ผู้บริหาร

    ศ.ดร.จีระ: การที่ตั้งสถาบันทรัพย์ที่มธ. ประเด็นที่สำคัญ คือต้องมีการสร้างเครือข่ายให้ได้ ต้องมองไปที่ข้างนอกด้วย

    ศศินทร์ได้เปรียบเพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับคณบดี

    หลังจากวันนี้ต้องสรุปให้ดี และต้องคิดต่อว่าจะทำอะไรต่อไป

    กลุ่ม 2

    ร่วมแสดงความคิดเห็น: คณะแพทย์มอ. มีเครือข่าย 7 จังหวัดภาคใต้ มีคนส่งต่อมาที่รพ.เรา ซึ่งดูภูมิศาสตร์ด้วย เรื่องงานวิจัย ก็มีเครือข่ายเช่นกัน จุดยืนของเรามีแน่นอน คงไม่ได้ไปแข่งกับรพ.เอกชน มีความหลากหลายและทำอย่างไรให้สถาบันเราดีขึ้น ตรงกับ Mindset ของเรา และองค์กร

    คำถาม: จุดกึ่งกลางระหว่างการมีเครือข่ายที่ทำให้มีความร่วมมือกัน แต่ไม่ให้เด่นเกินหน้าใคร ควรมีวิธีอย่างไร

    ผศ.ดร.พงษ์ชัย: หลักการพอเพียงอาจจะไม่ได้ใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากต้องสร้างอนาคตให้คนอีกรุ่นหนึ่งให้ได้ สิ่งหนึ่งที่ Trap คือ ความรู้สึกไม่ทะเยอทะยานอีกต่อไป เราก็ไม่ Relevance แล้วคนดีคนเก่งจะเข้ามาอยู่กับเราได้อย่างไร เช่น ระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยน ในยุคปัจจุบันก็ไม่ Relevance แล้ว หากปล่อยไปก็จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน

    อาจารย์ประสพสุข พ่วงสาคร: ความท้าทายในเวลานี้ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปยังโลกธุรกิจ แต่ขอให้เน้นตามปณิธานเดิม และขอพูดถึงเปรียบเทียบกับหนังสือ Abundance ซึ่งคนเราสามารถทำอะไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับ Mindset ของเราเอง ต้องสร้างเครือข่าย เพราะเป็นการสร้างทรัพยากรได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้มอ.ประสบความสำเร็จ

    กลุ่มที่ 1 ขอทราบเรื่องระบบโลจิสติสต์แบบภาพกว้าง

    ผศ.ดร.พงษ์ชัย: รพ.กรุงเทพที่เปรียบเทียบเป็นตัวอย่างที่ยกให้ดู แต่ไม่ได้ให้คิดว่าจะต้องทำแบบนั้น ตรรกะในการเทียบไม่ควรเทียบความพึงพอใจกับรพ.กรุงเทพอย่างเดียว

    เรื่องโลจิสติกส์ แปลว่าเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม กระจาย ภาคธุรกิจใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ใช้ในเรื่องการแพทย์เครื่อง Pharmaceutical and health care logistic ส่วนหนึ่งภายในรพ. คือ Hospital logistic เช่น ประวัติคนไข้ ลิงค์ข้อมูลโดยไม่ต้องให้เกิดการเดินทาง ผล Lab test สามารถแสดงที่หน้าจอแพทย์ได้เลย

    ผู้ป่วย ก็เป็นหนึ่งในระบบการเคลื่อนย้าย

    ยาเป็นสิ่งที่สิ้นเปลือง หลักโลจิสติกส์ คือ ต้องอยู่ตรงกลาง ไม่กระจาย ต้องทำเป็นคลังยา

    มีการกำจัดคน เช่นคนตรวจเลือด และเจ้าหน้าที่เดินเอกสาร 1 ภาค 1 คน ก็สิ้นเปลือง ต่อไปนี้ไม่ต้องมีพนักงานเดินเอกสาร ทุกคนต้องโอนมาอยู่ส่วนกลางที่โลจิสติกส์

    ต้องรวมศูนย์โลจิสติกส์ และหาคนที่สามารถทำงานตรงนี้ได้ คือ คนที่จบเทคนิคการแพทย์ 

    ภาวะผู้นำมีบุคคลิกได้4แบบ แต่ละแบบต้องเข้าใจบริบทของตัวเองเพื่อไปปรับใช่ในงานให้ถูกต้องและมีความคิดเสมอว่าปัญหาทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ สถานการณ์สามจังหวัดชายแดนใต้มีความเกี่ยวข้องกับหลักศาสนาอิสลามอย่างชัดเจนทำให้องค์กรแพทย์ต้องปรับตัวเข้าใจวัฒนธรรม ภาษาและเข้าใจวิถีชีวิตของประชาชนด้วย

    หัวข้อ “Key words of success: Leadership – Mindset – Thinking outside the box

    – Thinking new box.”

    โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

    17 ตุลาคม 2557

    Albert Einstein กล่าวว่า Insanity is doing the same thing over and over again and expecting different results.มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ แต่กลับหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง

    กิจกรรม List คำถาม สิ่งที่อยากรู้ เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์

    ถาม: ไม่มีความคิดในการสร้างความคิดสร้างสรรค์

    อ.ศรัณย์: เราไม่จำเป็นต้องสร้าง เพราะทุกคนมีอยู่ในตัวเองแล้ว แต่ทำอย่างไรให้มันออกมา

    - คนมักจะคิดว่าถ้า IQ สูงความคิดสร้างสรรค์ต่ำ

    ขอตอบว่า IQ กับความคิดสร้างสรรค์ คนละเรื่องกัน

    Einstein กับ สตีฟ จอฟ เป็นนักคิดสร้างสรรค์ที่เก่ง เพราะอะไร เพราะประดิษฐ์คิดค้น

    ถาม: ใครห่อศพนางนาค ตอบ นิติพงษ์ ห่อนาค ซึ่งก็เป็นตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์

    ความถนัดการคิดสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่จะคิดถึง

    • -นักประดิษฐ์
    • -นักประพันธ์
    • แต่มีมากกว่านี้ถึง 6 แบบ
    • -นักผจญภัย
    • -ผู้นำทาง
    • -นักสำรวจ
    • -ผู้มีวิสัยทัศน์
    • -นักบิน
    • -ผู้ประสานเสียง

    โดยการทำแบบประเมิน รหัส E/I S/N T/F J/P

    คนที่สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ สามารถเป็นได้หลายแบบ คือ

    -นักประดิษฐ์ ISTP,INTP

    - นักประพันธ์ ISFP,INFP

    - นักผจญภัย ESTP,ESFP

    - ผู้นำทาง ISTJ,ISFJ

    - นักสำรวจ ENTP,ENFP

    - ผู้มีวิสัยทัศน์ INTJ,INFJ

    - นักบิน ESTJ,ENTJ

    - นักประสานเสียง ESFJ,ENFJ

    สิ่งที่ทำให้รู้ตัวตนว่าเก่งด้านไหน เพราะหากรู้แล้วจะสามารถเป็นคนที่มีตระหนักรู้ และมีความมั่นใจ

    ตามทฤษฎี Personality Type บุคลิกภาพของบุคคลมี 4 ประเภท :

    i. Extraversion-Introversion (E-I) : สิ่งที่บุคคลให้ความสนใจ

    ii. Sensing-Intuition (S-N) : องค์ประกอบที่ทำให้ทราบว่า บุคคลต้องการทราบข้อมูลต่างๆ เพราะเหตุใด

    iii. Thinking-Feeling (T-F) : องค์ประกอบที่แสดงให้เห็นว่า บุคคลจะตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้อย่างไร

    iv. Judging-Perceiving (J-P) : องค์ประกอบที่ใช้วัดว่า บุคคลต้องการติดต่อกับโลกภายนอกมากน้อยเพียงใด

    คำถาม:

    1. บ่อยครั้งที่มีความคิดสร้างสรรค์แต่พอไปแชร์กับเพื่อน เพื่อนไม่รับฟัง

    • -ต้องมีวิธีที่จะนำเสนอไปเดีย คือ ต้องพูดแบบถ่อมตัวว่า มีไอเดียที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แล้วลองถามเพื่อนร่วมงานดูว่า คิดว่ามีข้อดีอย่างไร ให้เพื่อนและหัวหน้ามีส่วนร่วม

    2. การกระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้มีความคิดสร้างสรรค์ทำอย่างไร

    - คนที่บอกว่าคิดสร้างสรรค์ไม่ออก เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ขอให้ทุกคนทำกิจกรรมแนะนำตัวเองแบบสร้างสรรค์ หาคำแนะนำตัวเอง 4 คำ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 4

    บางคนคิดออกไม่ยอมให้ความคิดนั้นกรอบ เพราะติดกรอบความคิด หรือติดความกลัว

    ต้องถามว่า

    • -กลัวอะไร
    • -แล้วไงต่อ
    • -จริงหรือไม่
    • -ถึงตายหรือไม่

    3. สภาวะอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์คือตอนไหน

    ภาวะอื่นๆซึ่งสมองซีกซ้ายไม่ทำงาน การที่ความคิดสร้างสรรค์จะออกมาได้ ต้องอยู่ในช่วงที่สมองซีกซ้ายไม่ทำงาน แต่ซีกขวาทำงานหนัก ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนช่วงตื่นนอน บางคนก่อนนอน เป็นกิจกรรมที่ไม่มีกติกาตายตัว และไม่มีการแข่งขัน การกอด การฮัมเพลง ฮัมทำนอง จะกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรมที่ไม่บ่งชัด กิจกรรมการเล่นปริศนา คนที่ชอบเล่นเกมปริศนาเก่ง คือ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นคนที่สามารถอยู่กับปริศนาได้นานๆ และอึดกว่าคนอื่นๆ

    4. งานประจำของอาจารย์ศรัณย์คืออะไร

    อ.ศรัณย์ งานประจำคือ บรรยายมีสาระแฝงบันเทิง

    กิจกรรม: จับคู่ แล้วถามว่า คิดว่าคนเราถ้าจะประสบความสำเร็จในการทำงานต้องมีความสามารถอะไรบ้าง

    • -มีความคิดสร้างสรรค์
    • -วางแผน
    • -มีความรับผิดชอบ
    • -ความรู้
    • -การประสานงานที่ดี

    สิ่งที่ทำให้คน 86% ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกๆระดับขึ้นอยู่กับ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงาน และความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดต่าง ทำต่างไปจากเดิม เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา

    ความคิดสร้างสรรค์ ถูกจำกัดให้อยู่ในกรอบ

    กรอบความคิด

    กรอบองค์กร

    กรอบสังคม

    ขั้นแรก ต้องออกจากความกลัว และออกจากกรอบองค์กรและกรอบสังคม แต่เป็นความคิดที่คิดนอกกรอบมากเกินไป เอาไปใช้จริงไม่ได้ เหมือนไอเดียดิบๆ เหมือนผลไม้ที่กินไม่ได้ ต้องบ่มไอเดีย ให้อยู่ในกรอบองค์กรและกรอบสังคม

    ความคิด ต้องคำนึงถึง

    1. ข้อดี Pluses

    2. ข้อดีในอนาคต Potentials

    3. ติด..... แต่ว่า...... กังวล...... Concerns

    4.หลบ เลี่ยง ทะลุ Opportunities

    เรียกว่าทฤษฎีการคิดแบบ PPCO

    Workshop

    1. ทำอย่างไรจะมีการทำวิจัยเพิ่มมากขึ้น

    2. Happy workplace

    3. เครือข่ายภายนอก

    4. สร้างคุณค่า Diversity

    5. Driving force

    6. Keep new blood

    7. Preventive care

    8. Retain

    แนวคำตอบ คือ ทำไม และ ทำไง

    ทำไม คือ สิ่งที่อยู่ในกรอบเดิม และต้องถามคำถามเพิ่มเติมว่านอกว่า ทำไง

    และ ต้องถามว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่ และทำอะไรเพิ่มเติมได้อีกบ้าง

    ทำอะไรอยู่ ทำไปทำไม มีวิธีอื่นอีกมั้ย

    กิจกรรม หาเพื่อนที่เกิดวันเดียวกัน โดยใช้วิธีการหาเพื่อนที่ไม่ซ้ำกัน วิธีนี้จะได้ความคิดใหม่ๆ คือต้องห้ามวิธีที่ทำอยู่ 

    วันที่ 17/ต.ค/57 ได้เรียนรู้ถึงความท้าทายสำหรับการทำงาน  เพื่อให้เราสามารถคิดต่อไป เพื่อนำมาปรับใช้กับองค์กร  ทำอย่างไรเราถึงก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้อย่างต่อเนื่องในการทำงานในระบบต่างๆ และทุกคนในองค์กรจะรักษาคนเก่ง คนดี ให้อยู่กับองค์กรของเราได้นานๆ โดยองค์กรไม่เสียบุคคลากรกลุ่มนี้ไปให้ใคร และสามารถดึงคนเก่ง คนดี จากภายนอกเข้ามาอยู่ในองค์กรของเราได้ ซึ่ง    ประกอบด้วยกัน 3 ทาง 

     1. Private Hospital 

     2. Public  health  Hospital 

     3. Oversea Hospital  

          ได้เรียนรู้ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด แต่จะทำอย่างไรให้เราทุกคนสามารถนำความคิดสร้างสรรค์นั้นออกมาใช้ได้อย่างจริงจังและทุกคนในทีม สภาพแวดล้อมเดียวกันยอมรับ ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีด้วยกัน 8 ชนิด

    1. นักผจนภัย

    2. ผู้นำทาง

    3. นักสำรวจ

    4. ผุ้มีวิสัยทัศน์

    5. นักบิน

    6.นักประสานเสียง

    7. นักประดิษฐ์

    8. นักประพันธ์

           ซึ่งที่ประทับใจที่สุดในบทเรียนวันนี้คือได้เรียนรู้ว่าตัวเองก็มีความคิดสร้างสรรค์เหมือนกับคนอื่นๆ อยู่ในกลุ่ม ความคิดสร้างสรรค์นักประดิษฐ์ 

    แนวทางในการจัดทำโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการทำงานของคณะแพทยศาสตร์ มอ. และการนำเสนอ ดังนี้

    คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

    17 ตุลาคม 2557

    1)ชื่อโครงการ : โครงการเชิงนวัตกรรมที่กลุ่มเลือกศึกษาคืออะไร?

    ตัวอย่าง กลุ่ม 1) -Boutique Clinic

    -Public Nursery

    กลุ่ม 2) -พัฒนาระบบ Referral System for accident

    /trauma

    - การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหา

    3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    กลุ่ม 3)-โรงเรียนแพทย์ชั้นเลิศสู่ระดับนานาชาติ

    - เภสัชกรรมระดับ World class

    กลุ่ม 4)-วิศวกรรมOrthopedic

    -เครือข่ายโภชนาการ

    กลุ่ม 5)-World class hospital

    -Magnet hospital

    • 2)หลักการและเหตุผล : เหตุผลสนับสนุนที่โครงการฯ นี้มีความสำคัญ หรือ มีความน่าสนใจต่อการทำงานของคณะแพทย์ในอนาคตคือ อะไร(โครงการที่จะทำต้องตอบโจทย์ : Med PSU 2020 กับ 3 V เน้นให้เกิด V ที่ 2 (Value Creation) กับ V ที่ 3 (Value Diversity) คือ การสร้างคุณค่าใหม่ และการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นจากความหลากหลายและ Impact ต่อการพัฒนาองค์กรควรจะสูง
    • แนวทางการวิเคราะห์
    • Where are we?
    • ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันขององค์กรในประเด็นที่เลือกศึกษาว่าเป็นอย่างไร? และประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรเพียงใด (อาจใช้ SWOT Analysis)
    • Where do we want to go?
    • ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์เป้าหมายในอนาคตที่เราจะพัฒนาคณะแพทย์ฯ มอ. ให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “Med PSU 2020” และโครงการของท่านจะมีส่วนสำคัญอย่างไรในการขับเคลื่อนงานของคณะแพทย์ฯ ไปสู่เป้าหมาย
    • 3)วัตถุประสงค์หลักของโครงการ
    • 4)กลุ่มเป้าหมาย
    • ภายในองค์กร
    • - ผู้บริหาร / อาจารย์แพทย์
    • - แพทย์ พยาบาล ผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน
    • - ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายสนับสนุน ฯลฯ
    • เป็นต้น
    • ภายนอกองค์กร
    • -ผู้รับบริการ
    • -ผู้ป่วย, เด็ก, สตรีมีครรภ์, ผู้สูงอายุ ฯลฯ
    • เป็นต้น
    • 5)กรอบแนวคิดในการดำเนินการและยุทธศาสตร์
    • แนวทางการวิเคราะห์
    • How to do it?
    • ตามประเด็นที่กลุ่มเลือกศึกษา การพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายจะต้องมียุทธศาสตร์ (Strategies) ในการดำเนินการอย่างไร
    • ใช้แนวทางเชิงการวิจัยเพื่อหายุทธศาสตร์ในการดำเนินการ เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้อง(In-depth Interview) หรือ การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) หรือ การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมแบบ Review Literatureทั้งนี้ เพื่อยืนยันว่ายุทธศาสตร์ที่เราเสนอสำหรับโครงการนี้ถูกต้อง เป็นไปได้ และเกิดความคิดเห็นจากผู้มีส่วนร่วม หรือ ตัวละครสำคัญของโครงการฯ

    ใช้กรณีศึกษาที่น่าสนใจ / กรณีศึกษาของความสำเร็จ หรือ ล้มเหลว มาเป็นข้อมูล

    เพื่อการตัดสินใจ

    ให้แต่ละกลุ่มหาข้อมูลกรณีศึกษาที่น่าสนใจ หรือ กรณีศึกษาของความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวเกี่ยวกับเรื่องที่เราเลือกทำ (จะเป็น Assignment 3 ที่จะต้องนำเสนอในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557)

    • 6)วิธีการดำเนินงาน / ขั้นตอนการดำเนินงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (ตัวละคร) /ระยะเวลา
    • แนวทาง คือ เพื่อให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม..มีงานอะไรบ้างที่จะต้องทำ? ใครต้องทำอะไร? อย่างไร?ที่ไหน? เมื่อใด? เป็นต้น
    • 7)วิธีการประเมินผล / การติดตามผล (Follow up)
    • 8)ปัจจัยของความสำเร็จมีอะไรบ้าง
    • How to do it successfully?
    • วิเคราะห์ว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินการโครงการฯ มีอะไรบ้าง? และตัวละครสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จมีใครบ้าง?
    • 9)ผลผลิตของโครงการ (Output): ผลผลิตจากกระบวนการ ซึ่งวัดได้เมื่อสิ้นสุดการกระทำ
    • 10)ผลลัพธ์ของโครงการ (Outcome): ความสำเร็จของโครงการ ผลประโยชน์ที่ได้ซึ่งต้องทอดระยะเวลาไว้ช่วงหนึ่ง
    จรูญ แก้วมี (ฝ่าย IT คณะแพทยศาสตร์)

    เรียนรู้ประเด็นท้าทายในมุมมองของคณะแพทย์  เรื่องการรักษาทรัพยากรบุคลากรของคณะ การพัฒนาเพื่อเตรียมรับมือโลกาภิวัฒน์ 

    นอกจากนี้

    ในวันที่16 อ.เฉลิมพลได้ให้เรารู้ว่าการที่เราล้มเหลว ก็สามารถนำความล้มเหลวนั้นมาพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้ เพียงแต่เราต้องคิดวิเคราะห์ให้เป็นเหตุเป็นผล ให้มองว่าอะไรที่เป็นปัญหานั่นคือโอกาสในการพัฒนา. และสิ่งที่ทำให้mindsetแต่ละคนไม่เหมือนกันมาจาก. สิ่งแวดล้อม,ประสบการณ์และการเรียนรู้. 

    ช่วงบ่ายมีการพูดเรื่องความมั่นคงของชาติซึ่งปัญหาของ3จังหวัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา ,ความไม่ยุติธรรม ซึ่งถูกฝังรากลึกในกลุ่มเยาวชน แต่จุดแข็งของไทยที่จะเข้าไปพูดเพื่อปรับเปลี่ยนวืธีคิดจะมีเรื่องการศึกษาและการแพทย์ เท่านั้น ที่คนใน 3จังหวัดยังให้ความศรัทธาอยู่

    16 ต.ค. 2557

    LEADERSHIP AND TEAMWORK

    การเป็นผู้นำที่ดีต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญมากมาย บางครั้งตัวเราเองลืมคิคหรือนึกไม่ถึ่ง เช่น จะไปเปลี่ยนนิสัยหรือพฤติกรรมของคนบางอาจจะทำได้ยากแต่เราต้องเอาลักษณะนิสัยของเขามาปรับใช้กับงาน และการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องพยายามคิคบวกให้มากๆจากการบรรยายของ รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี แง่คิคที่ประทับใจมาก " ต้องคิคว่าทำได้ " ซึ่งทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราเอง

    คณะแพทย์ศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงแห่งชาติ

    จากการฟังบรรยายและการทำ workshop ผมคิคว่าส่วนที่สำคัญที่สุดในการอยู่ร่วมกันของหมู่ชนต่างศาสนากัน จะต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน อย่ามองว่าเขาเป็นบุคคลชั้นสอง และการให้บริการเมื่อเขามารับการรักษาที่โรงพยาบาล มอ.ของเราจะต้องไม่แสดงความรังเกียรติแบ่งแยกศาสนา จะต้องให้บริการเท่าเทียมกัน

    วันที่ 17ต.ค.57 อ.ศรัณย์ ได้พูดในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ได้มาจากความอยากรู้อยากเห็น ,การตั้งคำถาม ,  การสังเกต. 

    ความคิดสร้างสรรค์ของเราส่วนใหญ่จะติดอยู่กับกรอบความคิดของตัวเอง ,ขององค์กร , ของสังคม ทำให้เราเกิดความกลัวจึงไม่สามารถมีความคิดใหม่ๆเกิดขึ้น. 

    86%ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานเกิดจาก 

    1.มนุษยสัมพันธ์

    2.ความคิดสร้างสรรค์

    17 ต.ค. 2557

          วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ มอ.

                   ผมขอชื่นชมอาจารย์เป็นอย่างสูงทีมีหัวข้อเรื่องนี้ขึ้นมาซึ่งมันเป็นเรื่องใกล้ตัวเป็นอย่างมากแต่พวกผมไม่เคยคิคมาก่อน คิคอยู่อย่างเดียวทำยังไงให้บริการที่ดี โดยหารู้ไม่ว่าอนาคตจะมีโรงพยาบาลอื่นขยายเครื่อข่ายมาในพื้นที่ของเรา และจะแย่งลูกค้าไปหมด ซึ่งเป็นการท้าทายเป็นอย่างมากว่าอนาคตโรงพยาบาล มอ.จะอยู่อย่างไรถ้ามัวแต่ยึดหลักพอเพียงอยู่อย่างเดียวไม่ได้แล้วอย่างเช่น

    1 การตั้งโรงพยาบาลตามหัวเมืองต่างๆในภาคใต้ของมหาลัยมีมีชื่อเสียง

    2 ปัญหาสมองไหลของเจ้่าหน้าที่จะแก้อย่างไร

    3 การหาincomeเข้าโรงพยาบาลจะต้องเริ่มคิคได้แล้ว

           Key words of succes:Leadership -mildset

                 ความคิคสร้างสรรของคนเรามันไม่ขึ้นกับ IQ ซึ่งทุกคนมีอยู่ในตัวเองอยู่แล้วแต่ติดกรอบความคิคเพราะกลัวไม่กล้าคิคนั้นเองธรรมชาติของความคิคสร้างสรรค์มี 4  อย่าง

                    (  PPCO )

             1 ความคิคที่ดี (ข้อดี) Pluse

             2 ข้อดีในอนาคต Potential

             3  ติดอะไร.......แต่ว่าอะไร...........กังวลอะไร Concern

             4 .หลบ.........เลี่ยง...........ทะลุ Opportunity

       หลังจากฟังการบรรยายจะทำให้รู้ว่าความคิคของคนเราสามารถคิคได้ทั้งในกรอบและนอกกรอบซึ่งขึ้นกับการนำไป้ใช้ให้เข้ากับลักษณะงานและในการเป็นผู้นำ ซึงจะต้องกล้าที่จะคิค และอาศัยกฎของPPCO

  • วันที่ 4  ของการอบรม (16/10/57) ในหัวข้อการวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ Abundance ซึ่งหมายถึง ความมั่งคั่งความอุดมสมบูรณ์ทางด้านปัญญาและความสุขของมนุษย์ ทำให้เห็นว่าโลกนี้ยังไม่ขาดแคลนปัญญา สามารถที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดมูลค่าต่อไปได้ ซึ่งเราต้องมาหัดคิดนอกกรอบว่าจะมาประยุกต์เข้ากับ Health Care อย่างไรแล้วจะพัฒนาคณะแพทย์ของเราเพื่อให้เกิด 3V อย่างไร
  • หัวข้อ Leadership & Teamwork ทำให้ได้เรียนรู้ว่าอุปสรรคที่สำคัญอยู่ที่ กรอบความคิดของเราเองที่มาสกัดกั้นความคิดของเราเองทำให้เราไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไม่ยอมที่จะพัฒนา ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ในโลกนี้มีของดีในของไม่ดีและมีของไม่ดีในของดี ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ก็จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติ มองได้ถูกต้องและถูกทาง เรียนรู้หลักการ หัวใจสองดวง ในการเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติของคนอื่น เรียนรู้ การใช้เหตุผล 4Q คือ IQ SQ EQ และ MQ มาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ กฎ Lock & Key การสื่อสารที่ดี การเปลี่ยนแปลงที่ผู้นำต้องมี
  • หัวข้อ คณะแพทยศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ ได้เรียนรู้ว่าบุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าไปช่วยให้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้หลายทาง สร้างโครงการต่างๆที่ทำให้เกิดการกระจายตัวไปสู่ชุมชนท้องถิ่นให้มากขึ้น สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับกลุ่มเด็กกำพร้า คนพิการ สตรีให้เขามีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาในเรื่องของ Teleconference/Telemedicine เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่นำไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศมากยิ่งขึ้น
  • Today (17/10/57), I have learnt very interesting topics both in the morning and afternoon. In the morning, I have learnt about the challenge of PSU faculty of medicine. The invited speaker (Assist. Prof. Dr. Pongchai) gave a valuable lecture and different perspective of medical institute in the future. We have to adapt ourself by looking at other healthcare provider because we have also to make the present and plan for our next generation. So, "Many factors challenge us for the next move of our faculty" Furthermore, I knew more about what logistic means and can do for hospital.

    In the afternoon, it was very creative and funny activities for the topic about "Think outside the box". The speaker (Ajarn Sarun) is smart and has many tricks for teaching us to learn how we can use our creative thinking with many examples. Additionally, I knew about how to ask questions and the four steps to make the creative idea that is outside the box to be inside the box. At the end of the talk, we took a cute photograph with Ajarn Sarun.

    วันนี้ช่วงบ่ายสนุกมาก  ยิ้ม หัวเราะตลอด อายุคงยืนไปหลายปี  สิ่งที่ได้เรียนรู้ มีดังนี้

    1. เราต้อง balance กับการเปลี่ยนแปลงให้ได้

    2. แนวคิด logistic คือ การเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม กระจาย

    3. ความคิดสร้างสรรค์ มีมาตั้งแต่เกิด ไม่เกี่ยวกับ IQ

    4. นักคิดสร้างสรรค์ มี 8 แบบ ได้แก่ นักผจญภัย ผู้นำทาง นักสำรวจ ผู้มีวิสัยทัศน์ นักบิน นักประดิษฐ์ นักประพันธ์ และนักประสานเสียง

    5. ความกลัวเป็นอุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์

    6. ช่วงเวลาที่ความคิดสร้างสรรค์ แล่น คือ ใกล้จะหลับ ตื่นนอนใหม่ๆ เวลาที่สมองซีกซ้ายเหนื่อยๆ หรือขณะทำกิจกรรมที่ไม่เป็นการแข่งขัน กิจกรรมที่เน้นความรู้สึก

    ทัศนันท์ ศิริเสถียรรุจ

    วันศุกร์ที่ 17 ต.ค. 57 (วันที่2 สัปดาห์2)

    ช่วงเช้าในประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทยศาสตร์ มอ. 

    โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

    ได้ทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวในด้านงบประมาณ การแข่งขันที่มีมากขึ้น การเกิดภาวะสมองไหลไปยัง private hospital public health hospital and oversea hospital เราจะต้องหาวิธีการทำอย่างไรไม่ให้เกิดภาวะสมองไหลในคณะแพทย์

    แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มี 4ด้าน

    -New &High-tech Facilities

    -Modern Management Culture

    -Efficient Patient Response

    -Internationalization

    อาจารย์แดงได้เปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มได้ตั้งโจทย์ถามวิทยากรได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง

    และอ.จีระได้เสริมว่าประเด็นความท้าทายสำหรับคณะแพทย์ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเราต้องร่วมมือกันโดย

    1. ทำงานหลักให้ดีตอบสนองพระปณิธานของพระบิดาฯ โดยรักษา Core ของเรา รักษาสมดุลกับการเปลี่ยนแปลงและ Relevance (ตรงประเด็น)คงสภาพความเป็นเลิศไว้

    2. ต้องหลุดจาก Comfort Zone หาแรงผลัก Driving force

    3. มุ่งไปที่ 3VคือValue Added (สร้างมูลค่าเพิ่ม) Value Creation (สร้างคุณค่าใหม่) Value Diversity (สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย)

    4.เดินทิศทางเดียวกัน Alignment ระหว่างนโยบาย ปฏิบัติ ข้ามสายงาน (Silo)IT กับ งานหลัก

    HR เน้นความร่วมมือกันของ CEO – HR- Non HR + Stakeholders

    5.มี project ระหว่างประเทศมากขึ้น

    6. หารายได้จากงานวิจัยมากขึ้น

    7. ผสมการสอน การวิจัยและโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน

    8.มีความสุขในการทำงาน

    9. พัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ เพื่อความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง ทฤษฎี 8K’s+5K’s เป็นแนวทางที่ดี

    10. บริหารจัดการ ทุนมนุษย์หรือเก็บเกี่ยว(Harvesting) เน้นศักดิ์ศรีมากขึ้น

    11. เน้น Execution ในสิ่งที่ทำ เอาชนะอุปสรรคให้ได้

    12. จาก KM ไปสู่ LO มี Learning Culture ไปสู่ Learning Organization ในคณะแพทย์ฯ เพื่อจัดการกับอนาคต

    13. ใช้ IT พัฒนา IT เพื่อช่วยในการทำงาน, บริหาร, สอน, วิจัย และลดภาระของโรงพยาบาล ลดการเข้ารับการรักษาซ้ำของผู้ป่วย

    โดยสรุปเราต้องปรับตัว ปรับความคิด what is next action? ต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง (3ต)

    มีความสุขในการทำงาน และให้ความสำคัญกับทุนแห่งความยั่งยืน คณะแพทย์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องคิดไว้ ค้นหาปัจจัยความเสี่ยง โอกาส เป็นอย่างไรบ้าง ต้องคิดให้รอบคอบ และเราจะได้ประโยชน์

    ----------------

    ในช่วงบ่าย Thinking outside the box– Thinking new box.โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

    ได้เรียนรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องสร้าง เพราะทุกคนมีอยู่ในตัวเองแล้ว แต่ทำอย่างไรให้มันออกมา ความถนัดการคิดสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่จะคิดถึงนักประดิษฐ์และนักประพันธ์จริงๆมีอีก 6 แบบ ได้แก่ –นักผจญภัย –ผู้นำทาง –นักสำรวจ –ผู้มีวิสัยทัศน์ -นักบิน-ผู้ประสานเสียง อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบว่าตัวเองอยู่ในแบบไหน สนุกมาก ตนเองอยู่ในกลุ่มผู้มีวิสัยทัศน์ (รู้สึกดีนะคะ)

    การที่คนเราจะประสบความสำเร็จในการทำงานต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์คนเราถูกจำกัดให้อยู่ในกรอบความคิด กรอบขององค์กรและกรอบของสังคม เราต้องออกจากความกลัว ออกจากกรอบขององค์กรและกรอบของสังคม แต่เป็นความคิดที่คิดนอกกรอบมากเกินไป เอาไปใช้จริงไม่ได้ (เป็นไอเดียดิบ) ต้องบ่มไอเดีย ให้อยู่ในกรอบองค์กรและกรอบสังคมก่อน

    สุดท้ายช็อตเด็ด! แต่ละกลุ่มได้ถ่ายรูปกับอาจารย์แบบคร่อมกรอบ สงสารอาจารย์(โดนแกล้งรึ?)

    ก่อนกลับ อ.จ้า มอบหมายงานที่พวกเรากังวล mini research … จัดให้ค่ะอาจารย์  ฮือๆๆๆๆๆ....

    จรูญ แก้วมี (ฝ่าย IT คณะแพทยศาสตร์)

    • วันที่ 5 ของการอบรม 17/10/57
      หัวข้อการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทยศาสตร์ มอ.
      ทำให้ได้เรียนรู้ว่า คณะแพทย์จะต้องสร้างเครือข่ายหรือขยายเครือข่ายออกไปยังหัวเมืองต่างๆของภาคใต้ เนื่องจากแนวโน้มในอนาคตมีการแข่งขันกันสูงขึ้นแล้วระบบการบริการทางการแพทย์จะเน้นไปทางการตรวจสุขภาพเป็นหลัก ส่วนเรื่องรองจะเป็นเรื่องของการรักษาพยาบาลประเด็นการท้าทายในเรื่องของการเปิดเสรีทางการแพทย์ ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการถูกแย่งถูกดึงบุคลากรทางการแพทย์ที่เก่งออกไปจากองค์กร (สมองไหล) เราจะมีวิธีป้องกันคนของเราอย่างไรให้อยู่กับองค์กรให้นานๆ ในเรื่องของความต้องการในการรักษามีความต้องการเพิ่มขึ้นปีละ 7 % ในขณะที่จำนวนเตียงของเรายังอยู่นิ่งอยู่ที่ 800 เตียงมานานหลายปีแล้ว เราต้องมีการขยายเตียงเพิ่มขึ้น เราต้องหาทุนจากข้างนอกมาช่วยชึ่งจะเป็นการท้าทายว่าเราจะไปหาเงินมาจากไหนมาอัพเดทเครื่องมือราคาแพงๆประเด็นท้าทายอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทำไมเด็กที่เก่งที่สุดในพื้นที่ถึงไม่เลือกเรียนแพทย์ที่มอ. แต่กลับไปเลือกแพทย์จุฬาแทน จะมีวิธีการใดที่จะทำให้เราไม่ต้องสูญเสียเด็กเก่งในพื้นที่ไป ท่านอาจารย์จีระได้ให้ความเห็นว่า คณะแพทย์ต้องมองภูมศาสตร์ให้ดีๆ ต้องสร้างเครือข่ายกับวิทยาเขตอื่นๆ ต้องหาทุนให้ได้ผู้บริหารต้องระดมทุนเป็น ต้องมีภาวะผู้นำ ทำอย่างไรให้เกิดการสมดุลกับการเปลี่ยนแปลง ทำอย่างไรให้หลุดออกจาก Comfort Zone ต้องมี Drive force ให้มากๆ ทำอย่างไรให้มุ่งไปสู่ 3V ให้ได้ควรมีการผสมผสานการสอน งานวิจัยและโรงพยาบาลให้สมดุลกัน ตลอดจนการทำงานอย่างมีความสุขมีทุนแห่งความยั่งยืน การที่จะทำให้องค์กรของเราประสบความสำเร็จคงจะต้องปฏิบัติตามทฤษฎี 3ต ของอาจารย์ คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่องถึงจะเอาชนะอุปสรรคได้
      ในช่วงบ่าย หัวข้อ Key words of success : Leadership-Mindset-Thinking outside the box-Thinking new box โดย อาจารย์ศรัณย์จันทพลาบูรณ์ได้เรียนรู้ว่าคนเราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวแล้ว เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรให้แสดงออกมา ได้เรียนรู้ว่าตัวเองมีความถนัดในการคิดสร้างสรรค์ประเภทไหนโดยใช้รหัส 4 ตัว ซึ่งมีอยู่ 7 ประเภท คือ
      1.นักประดิษฐ์ISTP , INTP
      2.นักประพันธ์ISFP , INFP
      3.นักผจญภัยESTP , ESFP
      4.ผู้นำทางISTJ , ISFJ
      5.นักสำรวจENTP , ENFP
      6.ผู้มีวิสัยทัศน์INTJ , INFJ
      7.นักบินESTJ , ENTJ
      ได้เรียนรู้ว่า ถ้าเรามีไอเดียใหม่นำเสนอ เราควรนำเสนอแบบในเชิงลบไปก่อน เนื่องจากบางทีคนที่รับฟังไอเดียของเราค่อนข้างมีอัตตาสูงทำให้เบรคไอเดียของเราได้
      ได้เรียนรู้วิธีการแนะนำตัวเองแบบสร้างสรรค์ โดยใช้ 4 คำ คือ สมมุติตัวเองเป็น รูปรสกลิ่น และเสียงอะไร ซึ่งทำให้เราคิดออกบ้างไม่ออกบ้าง บางทีคิดแล้วแต่ไม่ยอมให้มันออกมาเนื่องติดกรอบของความคิดของเราเอง ซึ่งก็คือ ความกลัว แล้วให้เราหัดตั้งคำถามว่า
      1.กลัวอะไร
      2.แล้วอย่างไรต่อ
      3.จริงหรือปล่าว
      4.ถึงตายไหม
      การที่จะทำให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ จะต้องทำให้สมองซีกซ้ายเหนื่อย เพื่อให้สมองซึกขวาทำงานมากขึ้น นอกจากนี้การที่จะทำให้คนคิดแก้ปัญหาได้อยู่ที่ ความอึดของคนในการทนรอคำตอบได้นานๆ อาจจะใช้เวลาหลายๆวันถึงคิดออก
      ได้เรียนรู้ว่า 86% ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกๆระดับ ขึ้นอยู่กับ มนุษยสัมพันธ์ในการทำงานและการมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำให้เราคิดต่าง นำไปสู่การพัฒนาได้
      ได้เรียนรู้ step of thinking โดยมีกรอบความคิด กรอบขององค์กรและกรอบของสังคมที่ปิดกั้นไอเดียของเรา ดังนั้น เราต้องลดความกลัวลงแล้วคิดนอกกรอบซึ่งอาจเป็นไอเดียดิบๆ ยังใช้ไม่ได้ต้องบ่มให้สุกก่อนแล้วค่อยดึงเข้ามาในกรอบ เป็นการคิดแบบ PPCO
      1.นึกถึงข้อดีของไอเดียดิบๆ [ Pluses]
      2.ข้อดีในอนาคต[Potentials]
      3.ติด…..แต่ว่า….. กังวล….[ Concerns]
      4.หาทางหลบ…เลี่ยง…ทะลุ….[Opportunities]

      ชั่วโมงสุดท้ายอ.พิชญ์ภูรีจันทรกมล
      พูดคุยเรื่องโครงการเชิงวิจัยของแต่ละกลุ่มว่าจะเลือกศึกษาเรื่องอะไร เอาความรู้ที่ได้เรียนมาดึงมาใช้ประกอบให้มากที่สุด แล้วเตรียมหาข้อมูลเชิงลึกมาอ้างอิงให้ได้
      ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านนะคะที่ช่วยทำให้เปิดโลกทัศน์ ทำให้รู้ว่าจะต้องพัฒนาตัวเองอีกมากในการเรียนรู้ข้ามศาสตร์อื่นๆเพื่อให้รู้เขารู้เรามากยิ่งขึ้นค่ะ
    อัจฉรา จันทร์ช่วย

    สำหรับวันนี้ได้เรียนรู้เรื่อง logistic ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยคิด และไม่ได้สนใจ แต่พอได้เรียน ทำให้ได้รู้ว่า logistic เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และอีกเรื่องคือความท้าทายของคณะแพทย์ซึ่งก็เป็นอีกแนวความคิด ที่เราอาจจะต้องกลับมามองคณะของเราอีกครั้ง และหาแนวทาง หรือวิธีพัฒนาคณะแพทย์ของเรา ต่อไป

    วันนี้ได้เรียนรู้ว่ามีความท้าทายอย่างมากในการพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน ได้รับรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์อยู่ในคนทุกคน แต่ไม่ง่ายเลยนะที่จะทำ แต่ก็สนุกมาก โดยเฉพาะภาพถ่ายตอนปิด สุดยอดจริงๆ สุดท้ายแต่ละกลุ่มคงต้องคิดกันหนักว่าจะทำโครงการอะไรเพื่อให้เกิด 3V ตามเป้าหมาย Med PSU 2020

    "วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ มอ." โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ท่านอ.วิเคราะห์ได้ตรงประเด็นสุดๆเลย เป็นความท้าทายอย่างยิ่ง  

    "Key word of success:Leadership-Mindset-Thinking outside the box-Thinking new box" โดย อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ การคิดนอกกรอบ ต้องฝึกทำให้ไม่เหมือนเดิม ตย.ที่อ.แสดงให้เห็นคือการสอนของอ.ในรุ่น2ไม่เหมือนรุ่น1 ถ้าต้องการผลลัพท์ที่ดีขึ้น 

    แม้แต่การถ่ายภาพ อ.ก็ไม่ให้ใช้ท่าที่คิดไว้ ให้คิดใหม่ ถ้าต้องการให้สมองซีกขวาทำงานต้องทำสิ่งที่ต่างจากเดิม จะลองเริ่มต้นกับการใช้ชีวิตประจำวัน เริ่มจากการแปรงฟันมือที่ไม่ถนัด การขับรถเส้นทางใหม่ เป็นต้นนะคะ ตามที่อ.ให้พวกเราสัญญาไว้ค่ะ

    สัปดาห์ที่2

    16ต.ค.57 abundance เปิดมุมมองให้เราเห็นว่า มนุษย์มีศักยภาพมากมายไม่มีวันหมดจริงๆ  มนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างปัญหาและผู้แก้ปัญหา .......ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางออก...เพียงแต่เราต้องเพียรพยายาม..คิด..และคิดให้แตกต่าง

    leadership+teamwork ได้ประเด็นเรื่่องการเปิดใจ ถ้าเรายอมรับ มันก็ใช่ ..ก็ได้..หนทางจะตามมาเอง..

    ได้ถูกคนรอบข้างเขียนชมในworkshopค้นหาคุณค่า  รู้สึกดีมากๆเลย ต้องไม่ทำให้คนชมผิดหวัง..

    ช่วงบ่าย ได้ฟังมุมมองจากวิทยากรทั้ง3ท่าน ..มีกำลังใจ..ได้เห็นอนาคตที่มีทางออก..และภูมิใจที่วิชาชีพ/คณะฯมีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา....ประทับใจประเด็นสรุปงานวิจัย7ข้อที่อ.จ.ปิยะนำเสนอของหมู่บ้านไทยพุทธที่อยู่ท่ามกลางไทยมุสลิมอย่างสันติ..ทำให้เห็นตัวอย่างที่มีอยู่จริง...projectที่พวกเรานำเสนอจะพยายามทบทวนและต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อไปค่ะ

    <p>Slide ของ อาจารย์จีระ
    ตรงใจกระผม มากครับ </p>

    จากการวิเคราะห์ช่วงเเรกทำให้ทราบข้อมูลจุดเเข็งจุดอ่อนในองกรค์ว่าจะไปทิศทางอย่างไร ต้องมีความมั่นคงในอนาคตต่อไป ในช่วงบ่ายการเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดนอกกรอบมีอยู่อย่างไม่จำกัดจริงๆในสิ่งนี้จะทำให้ใช้เเก้ปัญหาได้

    วันที่ 17 ตุลาคม 2557

    ช่วงเช้า--->สิ่งที่ได้เรียนรู้
    การดูแนวโน้มในการรักษาสุขภาพ แล้วใช้โอกาสนั้นสร้างความได้เปรียบแก่องค์กร การหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้คนมุ่งมารักษาที่เรา และควรทำอย่างไรให้เด็กเรียนเก่ง ภายในพื้นที่ เลือกเรียนที่โรงเรียนแพทย์ของเรา
    พร้อมทั้งต้องคิดว่าทำอย่างไรจึงจะรักษาคนเก่งในองค์กรให้อยู่กับเรา ไม่เขว ไม่ถูกดึงตัวไป
    และหัวใจสำคัญของโรงพยาบาลอยู่ที่จำนวนเตียง ที่รองรับการ grow 7% สำหรับความต้องการทางการแพทย์
    ในขณะที่จำนวนเตียงของเราคงสภาพนิ่งที่จำนวน 800 เตียงมานาน เราต้องคิดและทำอย่างไร การออกสู่ AEC และสภาวะแรงกดดันต่าง ๆ การศึกษา บูรณาการข้ามศาสตร์ การมองมุมองอื่น ๆ บางทีการช่วยองค์กร เราอาจต้องทำตัวเป็นวีรบุรุษในคราบโจรอย่าง Robin Hood ที่ออกปล้นคนรวยเพื่อช่วยคนจน 

    ให้มีการมองภาพรวมของภูมิศาสตร์ มองวิทยาเขตอื่นๆ รักษา core ไว้ แต่ต้องทำให้สมดุลต่อการเปลี่ยนแปลง  ใช้หลักผสมให้สมดุล  ต้องมี Driving force  หากไม่มีจะไปไม่รอด ทำอย่างไรให้กระเด้งไปสู่ 3V   เพื่อความสุขในการทำงาน พัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง 

    ช่วงบ่าย--->สิ่งที่ได้เรียนรู้ ว่าเราทุกคนล้วนมีความคิดสร้างสรรค์ติดตัวมาอยู่แล้ว  และในกลุ่มความคิดสร้างสรรค์...นักประดิษฐ์/นักประพันธ์/นักผจญภัย/ผู้นำทาง/นักสำรวจ/ผู้มีวิสัยทัศน์/นักบิน/นักประสานเสียง...วันนี้อาจารย์ศรัณย์ ทำให้แต่ละท่านได้ทราบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มความคิดสร้างสรรค์ประเภทใด

    ได้วิธีการนำเสนอ idea นั้น เราควรเสนอแบบถ่อมตัว ถามความเห็น ให้เขาได้มีส่วนร่วม  วิธีกำจัดความกลัวจากกรอบความคิด 
    ช่วงเวลา สถานการณ์ที่ทำให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์เยอะจะอึดกว่าคนอื่น ๆ
    และได้ทราบจากการเปิดไพ่ ว่า 86% ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุก ๆ ระดับนั้น ขึ้นอยู่กับ 1. มนุษยสัมพันธ์ 2.ความคิดสร้างสรรค์ 
    ประทับใจที่ได้มีโอกาสทำกิจกรรม คิดแบบ PPCO  [P>luses/<P>otentials/<C>oncerns/<O>pportunities]

    จรูญ แก้วมี (ฝ่าย IT คณะแพทยศาสตร์)

    17 ตุลาคม 2557
    หัวข้อ “วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ มอ.”
    โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านลอจิสติกส
       - อาจารย์พงษ์ชัย ชี้ให้เห็นช่องทางการพัฒนา การขยายความเติมโต ชวนมองคนอื่นเขาทำอะไร
         กันไปถึงไหน ถ้าเราหยุดอยู่กับที่ในไม่นานเราจะตามคนอื่นไม่ทัน อาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่อง
        โลจิสติก ซึ่งผมคิดว่า รพ.มอ. ทำเรื่องนี้ไปมากพอควรก่อนที่เราจะรู้จักคำว่าโลจิสติก เหมือน
         การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทำงานอย่างเต็มระบบเมื่อปี 2544 เราลดขั้นตอนงานและเวลา
         ให้ผู้ป่วยไปมากมาย แต่เราเพิ่งมารู้จักคำว่า Lean เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง
       - หลายครั้งที่ผมอยากบอกอาจารย์จีระ ว่าหลักสูตรนี้ควรสอนให้ผู้บริหารสูงสุดของคณะฯก่อน
         คณบดี ทีมบริหาร และหัวหน้าภาควิชา เพราะเขาคือผู้ที่มีอำนาจและชี้นำในการเปลี่ยน
         แปลงได้จริง พวกผมที่มานั่งเรียนที่ทำได้คือ นำไปพัฒนาหน่วยงานตนเอง นำลูกน้อง
         มีความสัมพันธ์กับหัวหน้าหน่วยงานอื่นๆดีขึ้น ผมอยู่ฝ่าย IT เวลาผมคิดและเจอช่องทาง
         อะไรใหม่ที่เป็นประโยชน์กับองค์กร ผมก็เสนอผู้บริหารที่ดูแลผมและดูว่าเขาจะเอาด้วยหรือไม่
       - การเปิดบริการกลุ่มคนมีพลังจ่าย ถูกคิดถูกมองมานานแล้ว เพื่อจะนำเม็ดเงินมารักษาคน
         รักษามาตรฐาน มาพัฒนา แต่ถ้าผู้มีอำนาจสูงสุดไม่เอาด้วยทุกคนก็พับกระเป๋า นั่งรอวันอื่น
         ใครรอไม่ได้ก็หาช่องทางของตัวเองไป

      - การสร้างรายได้จากงานวิจัย ผมคิดว่าดี แต่ยังมองช่องทางไม่ออก สำหรับประเทศไทย
        ผมอยากเห็นหน่วยงานที่ทำได้ดี แนวทางที่ไปทำร่วมกับมหาลัยชั้นนำของโลก แบ่งเงินจากเขา
        มา เป็นช่องทางที่เป็นไปได้มากที่สุด

    หัวข้อ “Key words of success: Leadership – Mindset – Thinking outside the box

    โดย. อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์
        การเรียน 4 วันที่ผ่านมา พวกเราถูกกระตุ้นให้เป็นผู้ใผ่ที่จะเรียนรู้ เพื่อมองเห็นช่องทาง
        และคิดสร้างงานที่แตกต่าง และไม่ย่อท้อกับอุปสรรค มี mindset ที่ดี ที่จะนำพาองค์กร
        ให้ก้าวหน้า อาจารย์ศรัณย์ เติมวิธีคิดสร้างสรรค์ และทำอย่างไรความคิดสร้างสรรค์นั้น
        สามารถนำไปใช้งานได้จริง เป็นที่ยอมรับของคนรอบข้างและสังคม อาจารย์สอนได้สนุก
        มากๆฮาตลอดงานเลย

    วันที่ 17 ชอบวิชาของ อ.ศรัณย์ มาก เป็นวิชาที่สนุกสนานแฝงสาระ  ทำให้ได้รู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ของคนเรามี 7 อย่าง  และรู้ว่าตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์แบบใด  เวลาเสนอไอเดียไปแล้วโดนปฏิเสธนี้ก็เคยเจอ ทำให้เราไม่อยากจะเสนออะไรที่มันแตกต่างจากที่เคยเป็นมา เหมือนเราคิดนอกกรอบได้ แต่ทำไม่ได้ ต้องกลับมาย้อนคิดดูว่าบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์หรือช่วงเวลา ต้องมีการบ่มเพาะเหมือนที่ อ.ศรัณย์ได้กล่าวเอาไว้  ไอเดียของเราสามารถทำได้แต่มันอาจจะยังไม่ใช่เวลานี้   โดยส่วนตัวแล้วความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองจะเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาคับขันหรือวิกฤต เราจึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ เพื่อให้งานของเราบรรลุตามเป้าหมาย

    วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ มอ  เป็นประเด็นที่ดีมากและน่าจะเป็นหัวใจในการนำองค์กรนี้ต่อไปในอนาคต  แต่เสียดาย อ.พงษ์ชัยยังไใม่ลึกซึ้งกับคณะแพทย์ที่นี่ทำให้โอกาสของการวิเคราะห์จริงยังไม่เห็น   ถ้ามีเวลาน่าจะได้นั่งลงคุยกันอย่างเปิดอกโดยเฉพาะกับผู้บริหารเพื่อจะได้นำไปใช้ได้อย่างแท้จริง   ในฐานะผู้มีส่วนขับเคลื่อนองค์กรในระดับหนึ่งพบว่า  อ.ได้ชี้ประเด็นการเปลี่ยนแปลงในสังคมความเป็นจริงที่พวกเราต้องคำนึงถึงเมื่อจะต้องวางแผนกลยุทธ์ในการนำองค์กร  แต่คิดว่าอ.จีระน่าจะได้มีโอกาสพูดคุยกับท่านบริหารแล้วเนื่องจากอ. ได้อยู่ในระดับมหาวิทยาลัยด้วย

    -หัวข้ออ.ศรัณย์เป็นอีกเรื่องที่ดี หลายครั้งที่เราทำตามกรอบจนลืมคิดหรือบางทีเราก็บอกว่าคิดไม่ออกแล้ว   ดกมที่บอกให้เราคิดว่ามีวิธีการอะไรเสร็จแล้วห้ามทำตามที่บอกมาแต่พอเอาเข้าจริงกลับมีอีกหลายวิธีการที่เรายังสามารถนำมาใช้ได้ซึ่งชอบมาก

    -ถ้ามีเวลาอยากให้อ.จีระเพิ่มประเด็น Logistic  เนื่องจากน่าสนใจ ที่คณะฯเคยคิดจะนำมาใช้แล้วเงียบหายไป   แต่คิดว่าที่ได้ทำไปแล้วคือระบบ IT 

    วันที่ 18 ตค.57  พวกเรามาเรียนหัวข้อรักษ์กาย รักษ์ใจ  อาจารย์สอนลีลาศในครั้งแรกคิดว่าไม่น่าจะเหนื่อย แต่เอาเข้าจริงแต่ละคนเหนื่อยหมดแรงทีเดียว  สะท้อนให้เห็นว่าการจะบริหารคนให้ดี  ผู้นำทุกคนต้องเตรียมตัวเองให้มีสุขภาพดี เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง ผู้ป่วย  ถ้าเราไม่สามารถทำได้  การจะบอกให้คนอื่นทำคงเป็นเรื่องยาก   วันนี้ที่ได้จริง ๆ คือจำได้มีอยู่ 1 อย่าง คือ Step Dance   ส่วนลุมบ้าและอื่น ๆ ยังไม่ทันออกจากห้องก็จำกันไม่ค่อยได้แล้ว (จนอาจารย์แซว)  คงต้องกลับไปทบทวนกันอีกแต่คิดว่าพวกเราคงคิดเหมือนกันคือ I Can Do

    17 ตค.57  ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานคณะแพทย์  ทำอย่างไรให้แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ อยู่ทำงานกับโรงพยาบาล มอ.นานๆ  ทำอย่างไรจึงจะได้เด็กเก่งในจังหวัดสงขลาของเรา ซึ่งติด 1 ใน5 ของประเทศ มาเรียนแพทย์กับมอ.เรามากที่สุด

    ช่วงบ่าย  ความคิดสร้างสรรค์  อ.ศรัณย์ ทำให้รู้ว่าทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ในแบบที่แตกต่างกันออกไป    แต่มักติดกรอบความคิด คือความกลัว

    ร้อยละ 86 ที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ คือ การมีมนุษย์สัมพันธ์ และความคิดสร้างสรรคฺ์

    18 ตค.57 รักษ์ใจ-รักษ์กาย ผ่อนคลายในช่วงแรกๆ หลังๆชักเครียด เพราะไม่ค่อยได้ แต่สนุกค่ะ ถ้ากลับไปใช้ในชีวิตประจำวันจะทำให้เรามีสุขภาพกายและใจดี บุคลิกภาพดี สวยและหล่อเหมือนอาจารย์ผู้สอนค่ะ

    วันนี้ปฎิบัติการทั้งวันด้วนกิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย โดยอ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์และอ.กิติภพ สังฆกิจ เริ่มด้วยBasic Latin Dance ต่อด้วยRumba และCha Cha Cha ยังมีต่อSocial Dance  และDisco อ.ทั้ง2ท่าน และลูกศิษย์รุ่น2 สุดยอดค่ะ อ.ตั้งใจสอนมากๆ รุ่น2เราก็ตั้งใจเรียน แต่มีลืมบ้างไรบ้าง พวกเราคงค้องไปทบทวนวันหลังอีกครั้งนะคะ สำหรับวันนี้ได้ออกกำลังกายเต็มที่แล้ว  ขอบคุณท่านอ.และทีมงานนะคะสำหรับกิจกรรมนี้ จำเป็นสำหรับผู้นำค่ะ

    นอกจากพลังใจและพลังความคิดแล้ว พลังกายก็มีความสำคัญค่ะ อ.น้อยและอ.กิติพลน่ารักมากๆ รู้สึกสดชื่นค่ะ

    วันนี้แทบไม่น่าเชื่อว่า เหงื่อหยดได้แม้จะอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ สนุกมากค่ะ โดยเฉพาะจังหวะ hip หน้า - หลัง

    วันที่ 18 ต.ค.56 วันนี้เรียนสนุกมาก ไม่นึกเลยว่าการเต้นรำนี้ ทำให้เราหมดแรงจริงๆ เดิมคิดว่าเป็นการเต้นให้เข้าจังหวะเท่านั้นไม่มีท่าทางมากนัก แต่วันนี้ได้รู้แล้วว่าการเต้นรำท่าทางเยอะ เข้าจังหวะผิดตลอด ทำให้ได้คิดว่าเวลาที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นเราต้องรู้จักจังหวะในการเข้าและถอยให้ถูกช่วงเวลา ไม่อย่างนั้นจะทำให้งานสดุดล้มลงได้ หรือชงเกไป

    กิจกรรมวันนี้ สนุก เหนื่อย เครียด มีครบทุกอารมณ์ ดีใจเมื่อทำได้ งง เมื่อทำผิด  แต่คิดว่า ไม่ยากที่เราจะเรียนรู้ และทำให้สำเร็จ

    วันที่17ต.ค.57

    ช่วงเช้าวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯมอ. แนวคิด/ข้อเสนอแนะของอจ.จีระตรงใจรุ่นbabyboom ค่ะ คณะเรา/คนเราต้องมีจุดยืนในการทำงาน แต่ก็ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง  ต้องรู้จักใช้ศักยภาพ/ต้นทุนที่มีพัฒนาต่อยอด โดยมุ่งไปที่3V  ผสมผสานการสอน การวิจัย บริการให้สมดุลกัน

    ช่วงบ่ายสนุกสนานบันเทิงแบบมีสาระตามที่อจ.ศรัณย์แนะนำคุณสมบัติตนเอง  อจ.ทำให้เรามั่นใจและรู้จักดึงความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่มาใช้  ต.ย.ที่อจ.เล่าให้ฟังทำให้มองเห็นภาพ ถูกใจเรื่องความคิดดิบๆที่ต้องใช้เวลาบ่มให้สุกต้องอดทนรอคอยอันนี้เป็นต.ย.ที่ดีมาก ค่ะ  ที่ติดสมองมาอีกก็คือคนที่ประสบความสำเร็จต้องมีมนุษย์สัมพันธ์+ความคิดสร้างสรรค์....

    เสาร์18ต.ค.57

    วันนี้ต้องบอกว่าเป็นวันที่รอคอยค่ะ ประทับใจอจ.น้อยตั้งแต่วันแรก อจ.เป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนอยากมีสุขภาพกาย+ใจที่ดีเหมือนอจ.  วันนี้ทั้งอจ.น้อย+อจ.กิตติภพ พลังเหลือเฟือจริงๆ พวกเราท้ายๆยังแผ่วไปบ้าง แต่พอสัมผัสถึงความตั้งใจของอจ.ทั้ง2ท่านก็ฮึดสู้ค่ะ  สนุกจริงๆและวิธีการสอนของอจ.เป็นstepดีค่ะ สัญญากับตนเองว่าจะเต้นต่อเนื่องค่ะ ไม่ให้อจ.เสียแรงที่สอน...

    • วันที่ 6 ของการอบรม18/10/57
      กิจกรรมรักษ์ใจ รักษ์กาย โดย อาจารย์ณภัสวรรณจิลลานนท์ และ อาจารย์ กิติภพสังฆกิจ
      วันนี้ได้เรียนการเต้นรำจังหวะต่างๆทั้ง Rumba, Cha Cha Cha , Basic Latin Dance , Social Dance , Disco , Salsa and Line Dance
      ได้เรียนรู้ท่าต่างๆในแต่ละจังหวะ คือ
      1.Basicคือ ท่าเริ่มต้น
      2.New York คือ เดินไปด้านข้าง
      3.Hand to hand คือ เปิดเต็มตัว ถอยหลัง
      4.Shoulder คือ เปิดครึ่งตัว
      5.Sport คือ หมุนตัวพร้อมกัน
      6.Under arm คือ ให้ผู้หญิงหมุนตัว
      ประโยชน์ของการเต้นรำ ช่วยในเรื่องของการออกกำลังกายเสริมสร้างบุคลิกภาพสนุกสนานและช่วยในการเข้าสังคมที่มีงานเต้นรำ
      วันนี้นอกจากจะได้เรียนรู้ step of dancing แล้วยังรู้สึกสนุกสนาน มีความสุข ได้ปลดปล่อย คลายความตึงเครียดด้วย นอกจากนี้เป็นอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน เต้นตลอด 6 ชั่วโมง เป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจมากๆค่ะ ประทับใจในตัวอาจารย์ผู้สอนทั้งสองท่านด้วยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับการให้ประสบการณ์ในครั้งนี้

    วันที่ 16 ตค 2557

    ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Mind set ว่า

    1. โลกนี้ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้

    2. ให้รู้จักวางในสิ่งที่ถูกต้อง คิดเชิงบวก ทุกอย่างมีด้านบวกและลบ ให้มองด้านบวกให้มาก

    3. ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด และทำให้แตกต่่าง เลิกคิดถึงอดีต เลิกคิดถึงอนาคต

     วันที่ 17 ตค 2557 ท่านอาจารย์พงษ์ชัย ได้ท้าทายพวกเราในประเด็นต่างๆ อาทิ

    1. ขยายสาขา รพ.สงขลานครินทร์ ออกไปยังหัวเมืองใหญ่อื่นๆ

    2. หันมาดึงลูกค้ากลุ่มที่กำลังซื้อสูงให้มากยิ่งขึ้น

    3. ทำยังไงจะหยุดเลือดที่ไหลออก ( ป้องกันการดึงบุคลากรทางการแพทย์ฯ จากภาคเอกชน และจากรพ.ในกลุ่มสาธารณะสุข )

    4. ความเติบโตของลูกค้าจะมีอย่างต่อเนืองที่ 7% ในขณะที่จำนวนเตียงของเราคงที่มาหลายปีแล้ว ?

    5. หาทางเพิ่มรายได้เข้าองค์กรด้วยวิธีอื่นๆ  ที่ไม่ใช่การรอเงินจากรัฐบาลอย่างเดียว ต้องทำให้ได้เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งรายได้ที่เข้าองค์กรเกินกว่า 50% มาจากงานวิจัยเป็นต้น

    6. หาทางลดงานประเภท primary , secondary และ ไปเพิ่มประเภท tirtiary แทน จะได้มีเวลาให้งานวิจัย และ นวัตกรรมมากขึ้น

    7. ทำยังไงให้เด็กเก่งๆ ในเมืองหาดใหญ่  มาเรียนที่มอ. ไม่ต้องไปเรียนไกลถึงเมืองหลวง 

    ความคิดสร้างสรร โดย อ.ศรันณ์ 

    คำคมไอนสไตน์ " มีแต่คนบ้าเท่านั้นแหละ  ที่ทำสิ่งเดิมๆ แต่คาดหวังให้ได้ผลดีกว่าเดิม "

    ความคิดสร้างสรร แยกได้เป็น 8 แบบ

    1. นักประดิษฐ์ ( Inventor )

    2. นักประพันธ์ ( Poet )

    3. นักบิน ( Pilot )

    4. นักผจญภัย ( Adventurer )

    5. ผู้นำทาง ( Navigator )

    6. นักสำรวจ ( Explorer )

    7. มีวิสัยทัศน์ ( vision )

    8. ผู้ประสานเสียง ( Harmonizer )

    - 86% ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกระดับ จะต้องเป็นผู้ที่มี  " ความคิดสร้างสรร " และ " มนุษยสัมพันธ์ "

    วันที่ 18 ตค 2557

    วิชารักษ์กาย รักษ์ใจ  ด้วยการเต้นลีลาศ

    ได้เรียนรู้พื้นฐานการเต้นลีลาศ  ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง  โดยอาจารย์ณภัสวรรณ  จิลลานนท์และอาจารย์กิติภพ สังฆกิจ  ซึ่งทั้งสองท่านสอนได้สนุกมากๆครับ  จากที่เคยเต้นแอโรบิค วันนี้ได้ค้นพบแล้วว่า เต้นลีลาศสนุกกว่ามาก แถมได้ออกกำลังไม่แพ้กันเลย เป็นการผ่อนคลายร่างกายที่ดีวิธีหนึ่ง

    ช่วงเบรคบ่ายรู้สึกหิวมาก  ต้องซัดขนมไป 3 กล่องเลย  คงเป็นเพราะร่างกายมันได้เผาผลาญพลังงานไปเยอะมาก

    วันนี้ลีลาผม อาจจะทื่อๆ แข็งๆไปซักหน่อย  ถ้าได้ฝึกบ่อยๆ  อีกหน่อยคงพริ้วไม่แพ้อาจารย์ทั้งสองท่านนะครับ

    ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่มาให้วิชาความรู้กับพวกเราครับผม

    วันที่ 18 ตุลาคม 2557 

    หัวข้อ รักษ์ใจ-รักษ์กาย สิ่งแรกที่ได้ คือ มีความรู้สึกประทับใจอาจารย์ผู้สอนทั้งสองท่านที่ทุ่มเททั้งใจและกายเพื่อถ่ายทอดจังหวะ ให้แต่ละท่านสามารถเต้นลงจังหวะจนได้  การเต้นเป็นคู่ ต้องอาศัยใจและกายที่ประสานกัน เสมือนการทำงานร่วมกัน ถึงแม้บางครั้งจะมีผิดจังหวะบ้าง แต่ก็พยายามช่วยกันพาไปในจังหวะเดียวกันให้ได้ เพื่อเป้าหมายเดียวกัน 

    ขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองมากนะคะ ที่ทำให้ได้วิธีสร้างพลังกายที่แข็งแรง สู่พลังใจที่แข็งแกร่ง

    ทัศนันท์ ศืรืเสถียรรุจ

    บันทึกวันที่ 18 ตค.57

    วันนี้หัวข้อสบายๆ รักษ์กาย-รักษ์ใจ  แต่เนื้อหาเครียดค่ะ ทำไมเหรอคะ..ด้วยความที่ไม่เคยเรียน สมัยตอนวัยรุ่นช่วงสมองสดใส รับอะไรได้เร็วกว่านี้ ยังหลบวิชานี้ตลอด ไม่ชอบเลย แต่มาวันนี้อยากเรียนรู้นะคะเพราะคิดว่าถ้าไม่จำเป็น คณะฯคงไม่จัดมาให้  และอีกอย่างที่สำคัญคือได้เห็นความตั้งใจ ความพยายามของอาจารย์น้อยและอาจารย์กิตตภพในการถ่ายทอดความรู้ให้พวกเราอย่างจริงจัง  ประทับใจมากๆๆ  

    เสนอแนะนิดหนึ่งค่ะ อยากให้มีเวลาซ้อมฝึกทุกวันที่เรียน ช่วงชั่วโมงสุดท้ายสัปดาห์ละจังหวะ จะได้จำได้ นำไปปฏิบัติได้อย่างยั่งยืนและได้ผ่อนคลายด้วย

    ด้วยความเคารพค่ะ

    Today (October 18,2014), I have learnt four basics of dances. They were lamba, cha cha cha, line dance and disco. It was very funny and enjoy. Furthermore, it was incredible that dances can make me sweat. This was the longest dance that I ever have but I did not feel boring. Hopefully, I can use it when it is necessary.

    วันที่  18  ต.ค 57  

    วันนี้เรียนวิชารักษ์กาย  รักษ์ใจ  ฟังรายวิชาแล้วสนุกมากค่ะ เป็นการเต้นรำลีลาสผ่อนคลายความเครียด อาจารย์เก่งมาก เริ่มจากท่าง่ายๆ  ไปยากขึ้นเรื่อยๆ นักเรียนทุกคนเต้นรำกันสนุกมากค่ะ  และวิชานี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ออกกำลังกาย   โดยใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อย  ปล.อยากให้มีวิชาแบบนี้บ่อยๆค่ะ สุขภาพจะได้แข็งแรง

    โอ้!!!!!,ลีลาศ.....เหนื่อยจิงไรจิง

    อัจฉรา จันทร์ช่วย

    สนุก และมีความสุขมากค่ะ.....ลีลาสสุดเริ่ด

    สรุปการเรียน 3 วัน

    หฤหัส 16 ตค 57    

                         leadership and teamwork อาจารย์ชี้ให้เห็นว่าอุปสรรคของความสำเร็จที่แท้จริงเกิดจากกรอบความคิดของเราเอง ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ ทำให้คนเรามีความแตกต่างกันแต่ความเก่งจองคนอยู่ที่การฝึกฝน  ได้เรียนรู้เรื่องบุคลิกภาพของคน 4 แบบซี่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงาน               ช่วงบ่ายได้รับความรู้ความเข้าใจมากขึ้นกรณีปัญหาเรื้อรัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากท่านอาจารย์ที่มีความเชียวชาญและคลุกคลีอยูกับเรืองนีัมาเป็นเวลายาวนานทำให้มองเห็นความสำคัญของคณะทีจะเป็นตัวจักรเล็กๆแต่มีความสำคัญต่อการเป็นเครือข่ายช่วยเหลือผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงหลัก 7 ประการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

    ศุกร์ 17 ตค 57

                     ช่วงเช้าได้เรียนรู้ว่า logistic ก็คือ การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย การกระจาย ซึ่งในความเป็นจริงเราได้นำวิธีการของ logistic มาประยุกต์ใช้ในงานประจำอยูแล้วแต่ไม่เคยรู้ว่านี่คือวิธีการของ logistic      ช่วงบ่ายการคิดนอกกรอบอาจารย์สอนสนุกมาก มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ทำให้เราได้รูจักตัวเองมากขึ้นว่าเราเป็นนักคิดแบบใด  กระตุ้นให้เกิดความพยายามที่จะฝึกให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์

    เสาร์ 18 ตค 57

               เป็นการเรียนที่ทั้งสนุกและเหนื่อยมาก ไม่เคยเต้นรำยาวนานขนาดนี้มาก่อนช่วงเช้ายัง ok แต่ช่วงบ่ายหมดสภาพ  กลับถึงบ้านหลับเป็นตายหมดแรงค่ะ  ต้องขอบอกอาจารย์ทั้ง 2 ท่านสุดยอดจริงๆเลยขอขอบคุณด้วยความจริงใจ

                         

    วันที่ 17 ต.ค  การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯมอ.  ทำให้เรารู้ในมุมกว้าง   เราจะKeep อจ.แพทย์และleadership ในคณะอย่างไร  อจ.ธงชัยให้แง่คิดประเด็นสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ว่าทีมบริหารจะทำอย่างไร  รวมทั้งทางด้าน Logistic ในโรงพยาบาล เป็นแนวคิดใหม่ที่จะนำมาใช้ใน มอ.   ส่วนการคิดคร่อมกรอบโดย อจ.ศรัณย์  ทำให้เราสนุก รื่นเริงและได้ความรู้ไปด้วย  คิดหนีจากกรอบของความกลัว  สร้างสรรค์แหวกแนวออกไปได้ในที่สุด

    วันที่ 18 ต.ค. กิจกรรมรักษ์ใจรักษ์กาย  ได้ความรู้และออกกำลังกายไปด้วยในตัว แต่ก็เหนื่อย จะเป็นลม 

    อย่างไรก็ตาม ขอบพระคุณ อจ.ทั้งสองท่านที่มาสอนและให้ความรู้สนุก  เป็นการ Relax

    การเต้นลีลาสเป็นวันที่สนุกรู้สึกผ่อนคลาย  เป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาจารย์สอนได้ดีมาก

    17 ตค. 57 เรียนในหัวข้อ" วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ มอ."  โดย อ.จีระ , อ.ศรัณย์ และ อ.พงษ์ชัย มีการอภิปรายร่วมกันอย่างเข้มข้น  ในแง่มุมของตัวเองเดิม ไม่เคยคิดว่าสิ่งต่างๆที่ อ.ได้ร่วมกันอภิปรายจะเกี่ยวข้องกับงานที่เราทำอยู่ แต่เมื่อฟังไปแล้วเกี่ยวข้องแบบเต็มๆเลยค่ะ จนมีความรู้สึกเหมือนที่ อ.พงษ์ชัย กล่าวว่าแล้วเราจะมีอะไรให้รุ่นหลังๆล่ะ ถ้าเราไม่เริ่มทำในตอนนี้ ดังนั้นควรเริ่มทำสิ่งต่างๆให้กระด้งไปที่3Vมากๆ จนเกิดมีความยั่งยืน มี Happiness เกิดขึ้นในองค์กรของเราต่อๆไป 

    และช่วงบ่ายในวันเดียวกัน ทุกคนได้ค้นพบรหัสของตัวเองว่าเป็นรหัสอะไร โดย อ.ศรัณย์ ทำให้ทุกคนรู้ว่าในตัวเราเองนั้นมีความ creative ทั้งนั้น กล้าที่จะคิดนอกกรอบ แต่ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่คิดนอกกรอบเราจะไม่สามารถนำเอาใช้แบบดิบๆได้. ต้องมีการบ่มให้สุกก่อน และกลั่นกรองจนมาเป็นคร่อมกรอบ ซึ่งเรียกว่า การคิดแบบ PPCO มีWorkshop.  ตลอด สนุกและเพลินดีค่ะ

    วันที่ 18 ตค. 57 กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย โดย อ.ณภัสวรรณ&อ.กิติภพ

    ได้เรียน Dance. แต่ละอย่างเริ่มจากง่ายไปสู่ Step Dance ที่แต่ละคนวาดลีลาสเต็ปกันเต็มที่ แม้ว่าเวลาจะผ่านไป 6 ชั่วโมงในการเรียน แต่ทุกคนก้อสนุกและตั้งใจกันเต็มที่ เข้าใจแล้วค่ะว่าทำไมอาจารย์น้อยบอกว่า Dance ดีกว่าไม่ต้องไป T25... ทราบแต่ว่า เมื่อคืนสลบเลยค่ะ

    วันที่ 18 ตค.57 ได้เรียนรู้การเต้นรำแบบต่าง ๆ เหมือนได้ออกกำลังกายคลายเครียด สนุกสนานมาก อาจารย์ผู้สอนทั้ง 2 ท่านก็น่ารัก เป็นกันเอง คอยสอดส่องว่าใครที่เต้นไม่ได้ก็จะเข้ามาสอนทันที แม้จะอยู่ข้างหลังก็สามารถเต้นได้ทัน ทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ

    จริพร โตรุ่งนิพัทธ์

    18/10/57 รักษใจ รักษ์กาย เป็นอะไรที่สนุก คลายความเครียด อาจารย์ผู้สอนก็น่ารัก เป็นกันเอง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีรอยยิ้มปนหัวเราะ จะเห็นได้ชัดเลยว่าได้เหงื่อกันทุกคน ลีลาศกันจนลืมไปเลยค่ะว่าอายุเท่าไร มีความสุขค่ะ

    จริพร โตรุ่งนิพัทธื

    17/10/57  วันนี้ในช่วงบ่ายสนุกสนาน ขำขำ อ.ศรัณย์ เป็นกันเอง ทำให้รู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ มีอยู่ในตัวเองทุกคน  และ ได้รู้ว่า 86% ของคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกระดับ และมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกคน จะต้องเป็นผู้ที่มี "มนุษยสัมพันธ์ และความคิดสร้างสรรค์" 

    ห้องเรียนรุ่น 2 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 เป็นข่าวในผู้จัดการภาคใต้ อ่านดูนะครับ

    คณะแพทย์ฯ ม.อ.เปิดเกมรุกแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

    http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120595

    18 ตุลาคม 2557
    กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย
    โดย อ.ณภัสวรรณ และอ.กิติภพ
       เป็นกิจกรรมที่ออกกำลังกายดีมากครับ ผมไม่ได้ลงไปเต็นด้วย
      นั่งดูและถ่ายภาพให้เพื่อนๆ แต่รู้เลยว่าสนุกและได้ออกกำลังกายจริงๆ
      อ.ณภัสวรรณ และอ.กิติภพ สอนได้เก่งมากครับ แม้ลูกศิษย์จะมากหลาย
      ที่ต้องสอนในเวลาเดียวกัน

    วันพฤหัสที่ 16 ตุลาคม 2557

    หัวข้อ "วิเคราะห์ประเด็นจากบทเรียน" Alundance ได้เรียนรู้ถึงความอุดมสมบูรณ์ด้านพลังงาน การมองเห็นปัญหา 8K+5K แก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรม การศึกษาผ่านระบบวิดีโอ การมองถึงอนาคต สุขภาพ อิสรภาพ การมีความสุข บางครั้งเงินสามารถหาความสุขได้ แต่มีบางอย่างที่ซื้อไม่ได้ คือสุขภาพ อะไรที่เป็นปัญหา ให้คิดว่าเป็นโอกาส คนเราไม่ควรหยุดนิ่ง ควรต่อยอดไปเรื่อยๆ จงอย่ากลัวกับความล้มเหลว ให้นำมาพัฒนา และหาทางแก้ไข องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ องค์กรนั้นจะเกิดความเจริญรุ่งเรือง

    หัวข้อ "LEADERSHIP & TEAMWORK" ได้เรียนรู้ถึง ความคิดมีทางออก การที่เป็นผู้นำที่เก่ง โลกนี้ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ อุปสรรค์ที่สกัดกั้นคือความคิดตัวตัวเราเอง Mindset เป็นสิ่งสำคัญ ต้องอาศัยการทำซ้ำๆ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ มุมมองความคิดด้านมีทั้งดีและไม่ดีในโลกนี้เพื่อนำไปสู่สถานการณ์ในแต่ละครั้งได้ปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องแต่ละคนย่อมแตกต่างประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ไม่เหมือนกัน ต้องฝึกฝน ถ้าเราเปลี่ยนกรอบความคิดได้ กระบวนการคิดสมอง เมื่อเราออกนอกกรอบได้ต้องคิดให้เป็นเหตุเป็นผล สามารถนำไปสู่แนวความคิดการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้ อาจารย์ให้กิจกรรมได้เรียนรู้ถึงการรู้จักตัวนของเรา คนอื่นจะเห็นตัวเรามากกว่าคนอื่นเห็น ถ้าตรงกันแสดงว่าตรงกับตัวเรา ผู้นำเป็นได้ทุกคนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ทุกคนมีคุณค่าหมด ทุกปัญหาต้องมีทางออก จะต้องรู้จักหาตัวช่วยเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ

    หัวข้อ "คณะแพทยศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า" ได้เรียนรู้ถึงสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหลักศาสนาของอิสลามได้ชัดเจนในเรื่องการปรับตัวและการใช้ภาษาวัฒนธรรมวิถีชีวิต ได้เข้ามาใช้บริการกับทางโรงพยาบาลมอ.ของเราไม่แบ่งแยกศาสนาและมีนโยบายเร่งสร้างเครือข่ายให้มากขึ้นด้วย และได้ทราบว่าที่ผ่านมาโครงการของคณะแพทยศาสตร์ มอ. ต่อความมั่นคงของประเทศที่ประสบความสำเร็จมีโครงการอะไรบ้าง

    วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2557

    หัวข้อ "วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทยศาสตร์ มอ." ระบบการแพทย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนเน้นถึงการให้บริการทางการแพทย์เทคโนโลยีที่ทันสมัยรวมถึงบุคลากร บุคคลทั่วไปจะเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพมากขึ้นการรักษาพยาบาลในโลกสมัยนี้ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายกับการแพทย์และมีการดึงบุคคลกรทางการแพทย์มากขึ้นทำไมคนในพื้นที่ถึงเลือกที่จะไปรักษาที่อื่น เช่น โรงพยาบาลจุฬา จึงเกิดการสมองไหลขึ้นและสูญเสียคนในพื้นที่ไป คณะผู้บริหารต้องระดุมทุนทำอย่างไรให้เกิดความสมดุลกับการเปลี่ยนแปลงในกับองค์กรของเรา

    หัวข้อ "Key words of success: Leadership - Mindset - Thinking outside the box - Thinking new box" ได้เรียนรู้ถึงความคิดสร้างสรรค์ เราไม่จำเป็นต้องสร้างมันเพราะในตัวเรามีอยู่แล้ว ได้รู้ว่าตัวเรามีความถนัดความคิดสร้างสรรค์แบบไหน สิ่งที่ทำให้รู้ตัวตนว่าเก่งด้านไหน เพราะหากรู้แล้วจะสามารถเป็นคนที่ตระหนักรู้ และมีความมั่นใจ นอกจากนั้นได้เรียนรู้ถึงการทำแบบประเมิน รหัส E/I S/N T/F J/P ตามทฤษฎีบุคลิกภาพของบุคคลว่าเป็นแบบไหน ความคิดใหม่ๆ ถูกขังอยู่ในกรอบความคิด บางคนคิดออกนอกกรอบได้ แต่ต้องกลับมาที่เดิม คิดว่าทำไม่ได้ ติดกรอบสังคม จะต้องทำลายความกลัว และคิดข้ามกรอบทำลายกรอบสังคมออกมาให้ได้ แล้วจะประสบความสำเร็จในชีวิตและการทำงานได้

    วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2557

    หัวข้อ "กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย" ได้เรียนรู้ถึงท่าเต้นในจังหวะต่างๆมากมาย ทำให้มีความสนุกสนาม เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียด และที่สำคัญคือมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ชีวิตมีสีสัน พลิ้วไปกับจังหวะ และมีความสนุกในการทำงานต่อไป

    บันทึกการเรียนรู้16 ตุลาคม 2557

    “LEADERSHIP & TEAMWORK ประเด็นสำคัญทำให้ได้เรียนรู้ว่าอุปสรรคที่สกัดกั้นความสามารถคือตัวเราเอง มันคือ Mindset เรียนรู้การทำงานเป็นทีมต้องเข้าใจกฎธรรมชาติ ต้องมี Mindset ที่วางถูกกับทุกเรื่องมองทุกอย่างเป็นโอกาส มองด้านบวก ก็ทำให้ทำงานง่ายขึ้น ได้รู้จัก กระบวนการคิดที่จะช่วยให้เปลี่ยน Mindsetได้ ได้แก่ การเพาะใจ การคิดเป็นเหตุเป็นผล ต้องฝึกทำบ่อยๆ การเพาะกาย การเพาะวัฒนธรรม ปัญหาเรื่องการทำงานเป็นทีม คือ ทำงานกับคนเก่า เมื่อเราขึ้นเป็นผู้บริหารองค์กร ก็ต้องพาทีมไป และทำงานให้เกิดประสิทธิผล ได้เรียนรู้ ทฤษฎีปลาทอง 4กลุ่ม รู้จักจุดสำคัญที่ไปสู่เป้าหมาย ได้แก่ การเห็นคุณค่าของการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดแรงบันดาลใจเกิดจินตนาการ เกิด Capability เกิด Endurance และไปสู่เป้าหมาย

    “คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ” ได้เรียนรู้มุมมองที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหา3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะเรื่องศาสนาอิสลามในแง่การมีผลกระทบต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาความมั่นคงในภาคใต้ตอนล่างและความมั่นคงของชาติ ( National Security ) มุมมองที่แตกต่างกันของสังคม บทบาทด้านการแพทย์และการศึกษาเป็นเรื่องที่ยังสามารถเข้าถึงได้เนื่องจากประชาชนยังมีความไว้วางใจ

    บันทึกการเรียนรู้17 ตุลาคม 2557

    “วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ มอ” เป็นประเด็นที่น่าจะเป็นหัวใจสำคัญเรื่องหนึ่งในการอบรมครั้งนี้ เพราะมีมุมมองการวิเคราะห์สำหรับคณะแพทย์จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกโดยเฉพาะการมองจาก macro ซึ่งส่วนใหญ่เราไม่ถนัด ประเด็นท้าทายจากการวิเคราะห์ของอ.จิระน่าสนใจมากทำให้เห็นโอกาสพัฒนาของคณะแพทย์ในอีกหลายๆด้าน แต่น่าเสียดายในส่วนของ อ.พงษ์ชัยดูเหมือนอาจารย์ยังไม่รู้จักคณะแพทย์ฯ มอ. ทำให้การวิเคราะห์เป็นแบบทั่วไปและกว้างมากบางเรื่องก็ไม่สอดคล้องกับบริบทที่เราเป็น จึงยังไม่เห็นประเด็นท้าทายที่อยากเห็นโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ Logisticซึ่งน่าสนใจและต้องยอมรับว่าเรายังต้องพัฒนาด้านนี้อีกมาก

    “Key words of success: Leadership – Mindset – Thinking outside the box”โดย. อาจารย์ศรัณย์ ทึ่งกับเทคนิคการสอนที่ต้องยอมรับว่าเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านนี้อย่างแท้จริง ชวนให้เราคิดได้ว่า”กรอบ”คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นและยึดติดกับมันอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ทำให้คน ประสบความสำเร็จในการทำงานในทุกๆระดับขึ้นอยู่กับ มนุษย์สัมพันธ์ และความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดต่าง ทำต่างไปจากเดิม เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ทฤษฎีการคิดแบบ PPCOเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เราฝึกการคิดนอกกรอบ/คิดคร่อมกรอบที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหากได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกฝนเพิ่มขึ้น

    เปมิกา สิทธิจันทร์

    สรุป ความรู้ที่ได้รับวันที่ 4 ตุลาคม 2557

    ช่วงเช้า วิชาที่ 7 หัวข้อ “การพัฒนาระบบสุขภาพของไทยเกี่ยวกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน” โดย อ.ชเนฏฐวัลลภ ณ ขุมทอง”

    ในหัวข้อนี้ มีสิ่งที่ติดตาติดใจอยู่ คือ สิ่งที่ติดตา :การแต่งกายที่มีโบว์เล็ก ๆ สไตล์นักเรียนนอกประเทศอังกฤษเข้ากับร่างที่เล็ก ๆ ได้ดี เดินเร็ว กระฉับกระเฉง เหมือนวัยแรกรุ่น และสิ่งที่ติดใจอยู่คือ ชื่อของอาจารย์ มีความหมายว่าอย่างไร นาน ๆ จะเห็นชื่อที่ใช้ตัว ฏ ฐ ติดกัน และชื่นชอบนามสกุลมาก
    ณ ขุมทอง คงไม่มีอะไรมีค่าไปกว่า(ที่ที่แห่งนี้) แล้วที่สามารถโยงใยไปสู่หัวข้อที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดมาให้ ซึ่งน่าจะมีแพทย์มาฟังหัวข้อนี้มากกว่านี้ อาจารย์ให้ทราบถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่
    ไม่หยุดนิ่ง ให้มองการแพทย์เป็นเศรษฐศาสตร์ และกล่าวสรุปว่า ระบบสุขภาพที่ดีที่สุด ตอบได้เลยว่าไม่มีระบบที่ดีที่สุด แต่มีเพียงระบบที่เหมาะสมกับบริบทต่างๆของท่าน ซึ่งท่านในที่นี้นั้นหมายถึง
    เราในคณะแพทย์ที่ต้องยืนหยัดให้การรักษาและร่วมกันค้นหาปรับเปลี่ยนระบบสุขภาพให้ดีที่สุด
    เพื่อผู้ป่วย(ลูกค้า)ของเรา

    ช่วงบ่าย วิชาที่ 8 หัวข้อ “กรณีศึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา … และการพัฒนางานของคณะแพทย์ มอ.”

    ในหัวข้อนี้ มีความสนใจมาก เคยมีความคิดว่า สักวันหนึ่งเราจะนำสิ่งที่เรามีอยู่ ทำอะไรสักอย่างที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้างแม้จะเล็ก ๆ น้อย ๆก็ตาม และเมื่อได้ฟังได้สัมผัสกับความรู้และประสบการณ์ตรงมากมาย เป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนกัน มีแง่คิดให้หลายมุมมอง ไม่ว่า จะจดหรือไม่จดสิทธิบัตร ทั้งข้อดีและข้อเสีย ย้อนกลับมาที่ได้ข้อสรุปจากวิทยากรว่า การแต่งเพลงโดยใช้ทำนองของผู้อื่น เจ้าของที่แต่งเพลง จะไม่ได้ลิขสิทธิ์ ครั้งแรกได้ยินทำให้ใจเสีย จิตตก แต่ผ่านไปไม่ถึงนาทีคิดได้ว่า การที่เราได้ทำแม้เป็นเพียงการ Copy ทำนองเขามา เราไม่ใช่มืออาชีพที่เขาร่ำเรียนมาโดยตรง แค่เราเอาเนื้อหาความรู้มาเชื่อมโยงกับทำนอง นับว่า เก่งแล้ว และยิ่งสิ่งที่เราทำ ทำให้เด็กหรือคนฟัง ยิ้ม มีความสุขและเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันได้อย่างถาวรต่างหากที่เป็นจุดมุ่งหมายของเรา (goal) และสิ่งนี้ ทำให้ได้คิดว่า การทำงาน ไม่ใช่ทำไปเรื่อย ๆ ให้คิดถึงจุดมุ่งหมายหลักที่เราตั้งไว้ครั้งแรก ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อใคร ทำไปทำไม ตลอดเวลา และจะเป็นการดี หากเราไม่คิดว่า ทำเพื่อตัวเราเอง (เพื่อที่จะได้เป็นเจ้าของอย่างถาวร) สิ่งที่มีคุณค่าที่สุดคือ การที่ได้ทำงานเพื่อผู้อื่น (Positive Mindset to 3 V)

    พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล

    สัปดาห์ที่ 2 ของการเข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรฯ

    วันที่ 16 ต.ค. 2557 ช่วงแรกเป็นการสรุปประเด็นที่น่าสนใจจากหนังสือ Abudance โดยท่าน อ.จิระ 

    - abundance คือ ความสมบูรณ์ พูนสุข เป็นแนวคิด หรือ mindset  

    - abundance อยู่ที่สมองของมนุษย์ ในการที่จะคิดสร้างสรรค์ให้เกิด 3V ดังนั้นถึงโลกจะขาดแคลนวัตถุ แต่ไม่ขาดปัญญา เราทุกคนจำเป็นต้องรู้จักกับ Learning how to learn

    - การที่เราต้องพบกับการล้มเหลวก่อนจะประสบความสำเร็จ ถื่อเป็นเรื่องธรรมชาติ

    - สิ่งที่เป็นปัญหา ก็คือโอกาสของเรานั่นเอง ต้องเปลี่่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เราควรจะเปลี่ยนสังคมเราให้เป็นลักษณะ "achievement oriented" และต้องมี 3 ต. ของท่านอ.จิระ คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

    "Leadership & Teamwork "  โดย รศ.ตร.เฉลิมพล เกิดมณี

    - เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานได้เรียนรู้หลายอย่าง

    - อุปสรรคที่สกัดกั้นเรา คือ ตัวเราเอง หรือ mindset นั่นเอง ดังนั้น mindset จึงมีผลต่อการพัฒนา

    - กาละ เทศะ สถานการณ์ ขึ้นกับเรานั่นเอง

    - คนที่ทำอะไรได้สำเร็จ ต้องมี Lock & Key  และต้องฝ่าด่านอุปสรรค ด้วย creativity & innovation

    - ผู้นำต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง คิดบวก และต้องคิดอย่างเป็นกลยุทธ์ คือ

    - มีเป้าหมาย 

    - หาจุดยืน

    - วิเคราะห์

    - รู้จักหาแรงช่วย

    - ปฏิบัติ ต้องรู้ว่าต้องปรับปรุง พัฒนาอะไร

    - วางแผนได้ดี

    "คณะแพทยศาสตร์ มอ.กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศในมุมมองของข้าพเจ้า"

    พล.ท. สุรพล เผื่่อนอัยกา ได้นำเสนอ ในประเด็นที่น่าสนใจ 3 ด้าน คือ

    - ความมั่นคงของชาติและมุมมองที่แตกต่างกัน

    - ปัญหาความมั่นคงในภาคใต้ตอนล่าง

    - บทบาทของแพทย์ในวิกฤติการณ์

    สรุปได้ว่า ความเชื่อในศาสนาอิสลามตามแนวคิดของกลุ่ม ยังมีอิทธิพลต่อปัญหาในภาคใต้มาก การแก้ปัญหาต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องความเชื่อและศรัทธาต่อศาสนาค่อนข้างมาก ต้องอาศัยความเข้าใจในเชิงสังคมศาสตร์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ และอาชีพที่ได้รับความไว้วางใจมากคือ แพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข

    คุณไชยยงค์ ได้เสนอในมุมมองของสื่อมวลชนในพื้นที่ ได้สรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า จุดแข็งของการแก้ปัญหาชายแดนใต้ คื่อ การศึกษาและการแพทย์

    ผศ. ปิยะ กิจถาวร  ได้นำเสนอ ในประเด็น แพทย์กับความมั่นคง

    - ปัญหาหลักของประชาชนใน 3 จว.ชายแดนใต้คือ ความไม่ปลอดภัย การเข้าไม่ถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมากมาย ประชาชนยากจน และการศึกษาที่ซับซ้อน

    - ประชาชนในชายแดนใต้ต้องการ การศึกษาที่มีคุณภาพ จริงใจ

    ดังนั้น การศึกษาและการแพทย์ จึงเป็นแนวทางที่สำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาชายแดนใต้

    พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล

    วันที่ 17 ต.ค 2557

    วันนี้มีเรื่องที่น่าสนใจมากคือ "วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ มอ." 

    โดย

    1. ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์  

    - Abundance  คือ สติปัญญา ที่จะทำให้มนุษย์ไม่หยุดการพัฒนา

    - จากแนวคิด 3V  เราสามารถ implement ลงไปที่ อบต. ได้

    - คณะแพทย์ต้องพัฒนา คุณภาพของทุนมนุษย์ คือ 8K+5K ไปสู่ 3V ให้ได้เพื่อความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง 

    - ต้องหลุดจาก comfort zone ให้ได้ และต้องรู้ว่าจะไปอย่างไร

    - ต้อง balance ความเป็น core ของเรา คือ การยึดถือปณิธานของพระราชบิดา และ การพัฒนาของคณะแพทย์ต่อไปในอนาคตเพื่อรองรับการแข่งขันทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ

    2. ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

    - เน้นให้เราคิด  "Where are we now and then?"

    - ให้ข้อมูลการบริหารจัดการของ รพ.เอกชนใหญ่ๆ คือ รพ.กรุงเทพ  ที่มี รพ.ในเครือมากมายและใช้ระบบการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์

    - ให้ข้อคิดว่า มอ. จะทำอย่างไรเพื่อป้องกันสมองไหล และทำอย่างไรให้ได้เด็กเก่งในพืิ้นที่มาเรียน

    -ให้ข้อคิดที่สำคัญ คือ  มอ.เตรียมการเพื่อการแข่งขันในอนาคตอย่างไร? วางแผนรองรับการเปิดเสรีอาเซียนอย่างไร?  เตรียมการเพื่อการอยู่อย่างมีความหมายในอนาคตอย่างไร?

    - อาจาย์ได้ท้าทาย สิ่งที่สำคัญและน่าสนใจ มากคือ ท้าทายให้ มอ. "Think Big" และลองทำดู

    - อาจารย์ให้ความรู้ในเรื่อง logistics ในโรงพยาบาล " เคลื่อนย้าย จัดเก็บ กระจาย "

    ช่วงบ่าย " Key words of success: Leading - Mindset - thinking outside the box "

    โดย อ.ศรันย์ จันพลาบูรณ์

    - 86% ของการประสบความสำเร็จขึ้นกับ มนุษยสัมพันธ์ และ ความคิดสร้างสรรค์

    - คนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะทนกับการทำอะไรนานๆได้

    - การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ต้องไม่มีกติกาตายตัว ไม่แข่งขัน เน้นความรู้สึก ควรมีทำนองเพลงเป็นตัวช่วย เป็นกิจกรรมที่ไม่ฟันธง  เกมส์ที่ใช้กระตุ้น ได้แก่ การเล่นปริศนา

    - ความคิดที่หลุดกรอบไปเลย เป็นความคิดดิบๆ ต้องบ่มให้สุก นำมาเข้ากรอบ แล้วมองข้อดีในอนาคต ดังนั้น จึงต้องคิดแบบคร่อมกรอบ

    - การใช้ PPCO: Pluses , Potentials , Concerns, Opportunity เป็นแนวทางในการฝึกให้มีความคิดสร้างสรร

    พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล

    18 ต.ค. 2557 

    กิจกรรมรักษ์ใจ - รักษ์กาย

    เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและน่าสนุกมาก เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่ง นำมาประยุกต์เป็น movement therapy ได้ แต่น่าเสียดายที่พลาดโอกาสนี้ไป ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าดีกว่า T25 แน่นอน

    นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์

    กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย เป็นกิจกรรมที่ทำให้รู้จักวิธีหนึ่งในการช่วยลดความอ้วนได้ ไม่เคยคิดเลยว่าจังหวะชะชะช่า จะทำให้ใจเต้นแรงและมีความสุข คิดว่ามีประโยชน์ต่อไปเมื่ออกงานสังคมเราจะไม่ใช่คนที่นั่งที่โต๊ะอีกต่อไป

    นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์

    วันที่ 17 ต.ค.57  ประทับใจประโยคหนึ่งที่พูดว่า ความท้าทายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่ความท้าทายเป็นสิ่งที่เราต้องจัดการ และทำไมโรงพยาบาลเราต้องรองรับเฉพาะคนไม่มีเงิน ต้องดูแลผู้ป่วยหนัก เราต้องทำงานหนักแต่ได้เงินน้อยหรือบางครั้งอาจไม่ได้เงิน จริงอยู่เราทำแล้วได้บุญ แต่เราจำเป็นต้องกินต้องใช้เหมือนคนอื่น 

    ส่วนช่วงบ่าย วิทยากรที่ลืมไม่ลง อ.ศรัญย์ ที่มาด้วยเสื้อสีส้ม กรอบแว่นสีขาว และอะไรอีกหลายอย่างที่ต้องให้อ.น้อยมาประเมินการแต่งกาย แต่ทำให้เรารู้จักคำว่าคิกคร่อมกรอบ รู้ว่าความคิดของเราไม่มีที่สิ้นสุด คิดไม่ออกหรือคิดแล้วไม่ยอมให้ออก ต้องกลับไปคิดทบทวนว่าเราเป็นประเภทใด

    วันพฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    ในโลกนี้ต้องเข้าใจว่ามีของดีในของไม่ดี และมีของไม่ดีในของดี ของทุกอย่างมี 2 ด้าน ต้องหัดมองให้เป็นสิ่งที่ดีและนำเอาไปใช้

    ทุกคนควรเข้าใจกฎธรรมชาติ ต้องมี Mindset ที่วางถูกกับทุกเรื่อง หากมองทุกอย่างเป็นโอกาส มองด้านบวก ก็ทำให้ทำงานง่ายขึ้น

    อุปสรรคที่สกัดกั้นความสามารถคือตัวเราเอง มันคือ Mindset ซึ่งจะตกทอดจากบรรพบุรุษ เช่น คนกลัวผี มักจะถูกบอกเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่

    เพียงแค่ปรับ mindset เพียงเล็กน้อย อาจทำให้หลายๆอย่างเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

    สิ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างกัน

    -ประสบการณ์

    -สิ่งแวดล้อม

    -การเรียนรู้

    ทำให้พันธุกรรมที่อยู่ในคนแสดงออกมา

    ความต่างของมนุษย์เกิดจากประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ ซึ่งทำให้เกิดบุคลิกภาพที่แตกต่างคือนักทฤษฎี มีคุณธรรม ฉลาด ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล มีหลักการ ไม่ชอบเสี่ยง นักผจญภัย กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง เอาตัวเองเป็นหลัก นักปฏิบัติ สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟัง เชื่อถือได้ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ นักกิจกรรม ชอบเข้าสังคม เปิดเผย กระตื้อรือร้น มีพลังชักจูนผู้อื่น ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนเวลา

    ควรมองทุกอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะเราไม่เคยโกรธความเป็นธรรมชาติ

    พยายามทำใจให้ว่าง เพื่อที่จะยอมรับสิ่งอื่นๆให้เข้ามาในที่ว่างนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เห็นและสิ่งที่เป็น

    คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. กับบทบาทและการงานด้านความมั่นคงของประเทศ ได้เรียนรู้มุมมองที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหา3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุมมองที่แตกต่างกันของสังคม บทบาทด้านการแพทย์และการศึกษาเป็นเรื่องที่ยังสามารถเข้าถึงได้เนื่องจากประชาชนยังมีความไว้วางใจ

    วันศุกร์ ที่ 17 ตุลาคม 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    ระบบการแพทย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนเน้นถึงการให้บริการทางการแพทย์เทคโนโลยีที่ทันสมัยรวมถึงบุคลากร บุคคลทั่วไปจะเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพมากขึ้นการรักษาพยาบาลในโลกสมัยนี้ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายกับการแพทย์และมีการดึงบุคคลกรทางการแพทย์มากขึ้นทำไมคนในพื้นที่ถึงเลือกที่จะไปรักษาที่อื่น

    ได้เรียนรู้ถึงความคิดสร้างสรรค์ เราไม่จำเป็นต้องสร้างมันเพราะในตัวเรามีอยู่แล้ว ได้รู้ว่าตัวเรามีความถนัดความคิดสร้างสรรค์แบบไหน สิ่งที่ทำให้รู้ตัวตนว่าเก่งด้านไหน เพราะหากรู้แล้วจะสามารถเป็นคนที่ตระหนักรู้ มีความมั่นใจอาศัยการฝึกฝน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องแล้วจะประสบความสำเร็จในชีวิต

    วันเสาร์ ที่ 18 ตุลาคม 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    กิจกรรมรักษ์ใจ - รักษ์กาย

    เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งสนุกครับ

    วันเสาร์ ที่ 18 ตุลาคม 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    กิจกรรมรักษ์ใจ - รักษ์กาย

    เป็นกิจกรรมของการออกกำลังกายอย่างหนึ่งทำให้เพลิดเพลิน คลายเครียด มีเพื่อน เข้าสังคม ที่สำคัญสามารถเต้นจังหวะต่างๆได้จากไม่เคยเรียนรู้มาก่อน อีกทั้งอาจารย์เก่งมาก บุคลิกดี

    16 ต.ค. ได้ค้นหาความเป็น Leadership ในตัวเอง และความสำคัญของ Teamwork ที่สำคัญไปกว่านั้น ได้ฟังเรื่องราวด้านความมั่นคง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงให้เห็นภาพของการให้บริการด้านสาธารณสุข ทำให้ได้รับความรู้หลากหลายแง่มุม

    17 ต.ค. ตื่นตื่นไปกับการค้นหา keyword ของตนเอง และท้าทายกับการแข่งขันในตลาดสุขภาพ วิทยากรทุกท่านทำให้คิดตาม เห็นภาพ โดยส่วนตัวคิดว่านี่แหละเป็นประเด็นสำคัญที่มาเข้าร่วมโครงการนี้ 

    18 ต.ค. ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน อาจารย์สอนสนุกมาก ได้ออกกำลังกายและได้หัวเราะแบบสุดๆ ไปเลย

    บุปผา ส่งศรีบุญสิทธิ์

       ในวันแรก( 16 ตค. 57 )ของการเรียนครั้งที่2 เราได้เรียนรู้ลักษณะผู้นำ และการนำที่สามารถนำมาวิเคราะห์ และพัฒนาตนเองได้อย่างสนุกสนาน ในภาคบ่ายค่อนข้างจะเข้าถึงสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเรา แต่เป็นการแนะให้เราได้มองเห็นว่าในความใกล้ชิดนั้นจริงๆแล้วเรารู้จักซึ่งกันและกันดีจริงแล้วหรือ  หากเรารู้จักและกันดีแล้วบางทีปัญหาที่เผชิญอยู่อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือลดลงได้เมื่อเราเข้าใจความต่างระหว่างเชื้อชาติ ศาสนาระหว่างกันมากขึ้น 

        วันที่สอง ( 17 ตค. 57 ) ของการเรียน เราได้เรียนรู้สถานการณ์ที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของคณะแพทย์ทั้งจากปัจจัยภายใน และภายนอก ความเปลี่ยนแปลงของโลก คน สิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผู้บริหารทุกคนต้องร่วมมือกันคิดค้นหากลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อมาปรับปรุง แก้ไข และป้องกันปัญหาสมองไหล แสวงหา และธรรมรงค์รักษาทรัพยากรบุคคลภายในคณะให้มีความจงรักภักดี และรักมั่นผูกพันต่อองค์กรตลอดไป หรือนานที่สุด

        วันที่สาม ( 18 ตค. 57 ) ของการเรียน วันนี้พวกเราได้ออกกำลังกายด้วยความสนุกสนานไปกับการเต้นรำในจังหวะต่างๆ เป็นการฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่สมองถึงปลายเท้า  สามารถเรียกเหงื่อออกมาในขณะที่แอร์ในห้องเรียนยังทำงานปกติ หากใครกลับไปฝึกฝนทบทวนการเต้นที่ได้รับการถ่ายทอดไปในวันนี้ ก็ขอบอกว่าคนผู้นั้นมีโอกาสสูงที่จะเอวบางร่างเพรียวขึ้น วันนี้จึงเป็นวันที่ทุกคนน่าจะกลับไปหลับได้โดยไม่ฝันเพราะความอ่อนล้าจากการเต้นรำ

    16ต.ค.57

    เพื่อเป็นองค์กรที่เป็นเลิศต่อไปของคณะแพทย์นั้น การทำงานหลัก ตอบสนองพระปณิธานของพระราชบิดานั้น แต่ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง. ต้องมีการเรียนรู้ 2R'sคือ มองความจริง:Reality และ ตรงประเด็น:Relevance. ทั้งสองต้อง สมดุล  ให้หลุดออกจากความสะดวกสบายแล้วหาแรงผลัก เพื่อมุ่งไปที่ 3V 

    สรุปจากการเรียน 16-18 ต.ค.57

    วันแรก leadership & teamwork โดย อ.เฉลิมพล ได้รัจักทฤษฎีปลาทอง (ที่โหลรั่ว..) ทำให้เข้าใจลักษณะของคน และองค์กร/อจ.ให้ฝึกใช้วิธีการแก้ปัญหา ว่า ทุกปัญหามีทางออก โดยหาข้อมูลว่าทางออกน่าจะมีอะไรบ้าง พิจารณาหาโอกาสเป็นไปได้ และเลือกวิธีที่คิดว่าดีที่สุด ช่วงบ่ายเป็นประเด็น คณะแพทย์ฯมอ. กับบทบาทความมั่นคงของประเทศ ได้ฟังที่ท่าน อจ. 3 ท่าน ได้บรรยายในมุมมองที่แตกต่างกัน ทำให้เข้าใจบางเรื่องเพิ่มขึ้น รู้สึกเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก และมีแบบฝึกหัดให้คิดกันในกลุ่มถึงคณะแพทย์ฯมอ. กับบทบาทความมั่นคงของประเทศ ที่ทุกกลุ่ม present ได้ดีทีเดียว

    วันที่สอง เป็นหัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ มอ. โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย ที่มองในมุมของนักโลจิสติกส์ ในแง่ของธุรกิจ ทำให้ได้เห็นในอีกด้านที่เราไม่เคยคิด/เห็นมาก่อน จากนั้นเป็นอจ.ศรัณย์ เน้นการคิดคร่อมกรอบ ใช้ทฤษฎี PPCO ได้แก่ pluses/potentials/concern/opportunitiesทำให้ได้ข้อสรุปใน session นี้ว่า ทุกปัญหา มีทางออก จริงๆ

    วันที่สาม เป็นกิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย รู้สึกได้ออกกำลังกาย ได้หัวเราะ มีความสุข

    ขอขอบพระคุณทีมงาน และคณาจารย์ทุกท่านค่ะ

    พฤหัส 30 ต.ค. 57

    เช้าเรียน วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง (ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์)

    เหตุผลของการเปลี่ยนแปลง

    1.Happy Workplace

    2.Adaptability to Technology

    3.Self Reliability

    4.Survivability

    5.Competitive Advantage

    สิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่น

    §การเรียนรู้ขององค์กร

    §ความร่วมมือ และการทำงานเป็นทีม

    §แรงจูงใจ

    §ภาวะผู้นำ

    §การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

    เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน โดยเปลี่ยน 3สิ่ง คือ

    1.Attitude เปลี่ยนจากภายในเป็น inside out และการยอมรับตนเอง

    2.Thinking คิดด้วยเหตุผล ควบคุมความคิดตัวเอง

    3.Behavior พฤติกรรม โดยมีวินัย ตั้งใจแน่วแน่ที่จะเปลี่ยน และประเมินตนเองอย่างจริงใจ

    บ่าย กลยุทธ์การบริหารการเงินส่วนบุคคล (อ.นวพร เรืองสกุล) สรุป

    Aging Society

    การออม -------> ก่อนสูงอายุ

    การดูแลเงิน -------> สูงอายุ - ดูแลเอง

    -ให้คนอื่นดูแล

    -จัดล่วงหน้า

    Aging Society รัฐพร้อมหรือยัง

    ระบบที่พึงมี : - การบริหารจัดการทรัพย์สิน

    - สุขภาพ

    - ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตประจำวัน

    บทบาทของรัฐ

    ผู้มีเงิน : - ป้องกันสถานะ ความเป็นอยู่ไม่ให้ด้อยลง

    -สนับสนุนให้มีอิสระในการดำรงชีวิตตามวัย

    ผู้ไม่มีเงิน : - สงเคราะห์

    -ชุมชนมีบทบาทช่วยกันดูแล

    งบการเงิน แบ่งเป็น

    1.สินทรัพย์ ได้แก่ เงินสด บ้าน ที่ดิน

    2.หนี้สิน ได้แก่เงินกู้ ถ้าสินทรัพย์ > หนี้สิน à ทุน เป็น +

    ทุนชีวิต แบ่งเป็น

    1.สินทรัพย์ ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน ความรู้ บุญกุศล ความน่าไว้วางใจ และสุขภาพ(หักส่วนเสื่อม)

    2.หนี้สิน ได้แก่

    1)หนี้สิน เช่น หนี้บุญคุณ ภาระเลี้ยงดูผู้อยู่ในอุปการคุณ

    2)มาแต่ปางก่อน

    ศุกร์ 31 ต.ค. 57

    เช้า CEO – HR – Non HR – Stakeholder (อ.จีระ /ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค)

    องค์กรที่สามารถประสบความสำเร็จได้ต้องมีปรัชญาและความเชื่อก่อนว่า คนคือทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กร เพราะฉะนั้น CEO ต้องให้ความสำคัญในทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น HR และ Non HR โดย CEO จะต้องเน้นในการสร้างคน ส่งเสริม และ เปิดโอกาสให้ใช้ความสามารถ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

    บ่าย ความสมดุลของชีวิต (พล.อ.ต.นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ)

    ทุกคนสามารถตั้งเป้าหมายของความสำเร็จได้ แต่จะเดินไปถึงความสำเร็จหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่าการก้าวเดินไปแต่ละก้าว เราก้าวอย่างสมดุลหรือไม่ เพราะถ้าก้าวไปถึงจุดแห่งความสำเร็จของชีวิตได้ก็ดี แต่ถึงจะก้าวไปไม่ถึง ชีวิตก็ยังสมดุลได้

    ปัญญาคือการรู้จริง พื้นฐานสำคัญของการเกิดปัญญา คือ สมาธิ – สติ พื้นฐานสำคัญของสมาธิคือ ศีล – วินัย

    สูตรสำเร็จของการทำงานให้ได้ผลและมีความสุขคือการดำเนินชีวิตให้ถึงพร้อมด้วย

    1.สติ

    2.ปัญญา

    3.ศรัทธา

    4.กุศลกรรม

    5.สายกลาง

    และที่สำคัญต้องรู้จักการคิดเชิงบวก

    เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่ เราพัฒนาตนเองได้ เลือกที่จะเป็นคนดีที่มีความสุขได้

    เสาร์ 1 พ.ย. 57 (คุณลักขณา จำปา)

    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร :- การสื่อสารประกอบด้วย ผู้ส่งสาร เครื่องมือสื่อสาร และผู้รับสาร โดยเทคนิคในการใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์หรือความพึงพอใจ และบรรลุเป้าหมายนั้น

    การสื่อสาร แบ่งเป็น

    1.การสื่อสารระหว่างบุคคล ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา เทคนิคที่ใช้เพื่อให้พึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย คือ Smile, Listen, Speak, Question, Assignment, Request/no Order, Role Model, Training Development, Respect, Response

    2.การสื่อสารภายในบุคคล หรือสื่อสารกับตนเอง

    องค์ประกอบการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล

    1.ชอบ (ถูกใจ) แบ่งเป็น พอใจ, ประทับใจ, ซาบซึ้งใจ

    2.เชื่อ (เข้าใจ) สำหรับความเชื่อจะต้องตรงกับความรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์ ส่วนความเข้าใจนั้นจะประกอบด้วย 4 C ได้แก่ Complete, Correct, Clear, Concise

    3.ช่วย (จูงใจ) ประกอบด้วยจริงใจ เข้าใจ, บุคลิก, ปฏิบัติได้, เหตุผล ประโยชน์ และเรียกร้อง

    ทักษะการสื่อสารสำหรับผู้นำ ประกอบด้วย

    1.Appearance (บุคลิกภายนอก)

    2.Posture (ภาษากาย)

    3.Gestures (กิริยาการเคลื่อนไหวขณะพูด)

    4.Eye contact (การสบสายตา)

    5.Facial Expression (การแสดงออกทางสีหน้า)

    6.Voice (น้ำเสียง)

    7.Padding (การใช้น้ำเสียง อึม อ้า เอ้อ)

    8.Involvement (การตั้งใจฟังเรื่องราวคู่สนทนา)

    9.Handling Question (การตอบคำถาม)

    10.Humor (อารมณ์ขัน)

    11.Introducing others (การแนะนำตัวบุคคลอื่น)

    12.Visual Aids (การใช้อุปกรณ์เสริม)

    Branding โดยใช้สี สัญลักษณ์ ความแตกต่าง ทำอย่างไรเพื่อให้โดนใจ เด่น หรือดัง วิธีการ

    1. Stand out from the crowd

    2. How วิธีที่ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก

    3.โดยใช้หลักการตั้งคำถาม Who What When Where Why How

    4. Fine out Unique Selling Point

    5. Publicity

    วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2557

    Crucial Conversations ในมุมมองของจีระ หงส์ลดารมภ์
    เป็นหนังสือที่น่าอ่าน ให้ความสำคัญกับการสนทนาที่มีความลำบากใจ ไม่ว่า จะเป็นการสนทนาระหว่างคู่รัก สามีภรรยา เพื่อน หรือทำงานในองค์กร แนะนำมีเครื่องมือ/เทคนิค ที่สามารถจะจัดการกับการสนทนาที่ยากและสำคัญที่สุดในชีวิตได้

    สรุปเนื้อหาที่ได้จากการฟังและการดู Video จากหนังสือเล่มนี้ ในมุมมองของ เปมิกา.ส

    ผลกระทบจากการพูดคุยสนทนาไม่ว่าด้วยเรื่องใด ๆ จะส่งกระทบความรู้สึกทั้ง 2 ฝ่าย คือ ผู้พูด และผู้รับฟัง ยิ่งเมื่อต้องพูดในเรื่องที่สำคัญและน่าหนักใจของอีกฝ่ายอย่าง เราจึงมักเลี่ยงที่จะไม่พูด ทำให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทนเก็บเรื่องน่าอึดอัดเอาไว้ (สะสมรอวันระเบิด) อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่น ไม่ว่า จะเรื่องงาน คนในองค์กร สภาพแวดล้อม บรรยากาศของการทำงาน ดังนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายเราควรเริ่มต้นที่ความเข้าใจ ยกตัวอย่าง การประชุมในหน่วยงาน ผู้พูด (ลูกน้อง) ควรมีความชัดเจน รู้ว่า ตนเองจะพูดเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร ต้องการความช่วยเหลืออย่างไร พูดให้กาลเทศะ (ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา) ส่วนผู้ฟัง (ผู้บริหาร) รับฟังด้วยใจที่ไม่มีอคติ วิเคราะห์ให้ได้ว่า สิ่งที่ได้รับฟัง คืออะไร มีสิ่งใดที่สามารถให้ได้ เพื่่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ เปลี่ยนจากการจิกคน เซ้าซี้เพื่อให้ได้งาน เป็นโน้มน้าวใจคนเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ ด้วยการพูดคุยสนทนากันอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยระหว่างบุคคล เรียนรู้เพื่อดูให้ออก พูดให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างดี สุขุม ผสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน ขับเคลื่อนงานไปอย่างรวดเร็ว และมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ความสำเร็จเป็นสำคัญ

    ขออ้างถึง The Why of Work, หน้า 142 ที่ว่า
    "Help me understand." There words put the leader in a coaching stance where the leader wants to learn, not boss. "Help me understand what went wrong" and "Help me understand what went right" both spur helpful discussions.

    Understand, Take care ซึ่งกันและกันในหน่วยงาน จึงเป็นสิ่งสำคัญ หลังจาก Communication/Conversation แล้ว


    สุดท้าย มากกว่า คำว่า ขอบคุณ คือ การได้อ่าน คิด วิเคราะห์ และถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ ร่วมกัน จากหนังสือที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการอ่านหนังสือเล่มต่อ ๆ ไป

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท