Q&Aจตอ


สนามบินต้องแยกให้ได้ว่าอันไหนเป็นวัตถุอันตรายตามกฎกระทรวงถ้าแยกได้แล้วว่าวัตถุอันไหนเป็นวัตถุอันตรายตามกฎกระทรวง ในการที่จะนำขึ้นได้ ต้องผ่านการประเมินของ จนท.โดยดูจำนวนขนาดต่างๆตามข้อแนะนำicaoเป็นหลักพิจารณา

Q&Aจตอ.

ถาม.... ผมสงสัยเรื่องไฟแช็คแก้ส กับไฟแช็คน้ำมัน ซิปโป มันสมควรให้โหลดขึ้นไหมครับ เพราะเห็นเขาก็ปล่อยให้โหลดขึ้นกันครับ

ตอบ.....ส่วนไฟแช็ค แก๊ส น้ำมันซิปโป ถือเป็นวัตถุไวไฟเป็นสินค้าอันตราย ต้องดูจำนวนในการขนด้วยค่ะ มันจะมีระบุอยู่ใน ICAO Document 9284-AN/905 Technical Instruction for the Safe Transport of Dangerous Goods by Air บางตัวห้ามทำการขนส่งในเครื่องที่มีผู้โดยสาร ขนได้เฉพาะเครื่อง Cargo Only แต่อย่างไรก็ตามคนที่จะทำการขนส่งสินค้าหรือวัตถุอันตรายจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบนะคะ

ความคิดเห็นเสริม : ที่ควรสังเกตุ คือไฟแช้คที่จุดติดไฟค้างไว้เอง ได้นานๆ เช่น zippo ติดไฟค้างได้ หรือไฟแช้คแบบอัดก๊าซมักมีปุ่มล้อคก๊าซให้ติดค้างได้เมื่อเราปล่อยมือ แบบนี้เสี่ยงในการนำไปก่อการร้าย และอีกแบบคือไฟแช้คอัดก้าซที่มีตัวยึดสูญญากาศ แบบนี้ปล่อยแก้ซค้างได้และบังคับทิศทางให้ค้างไว้ในตำแหน่งเดียวได้ แบบนี้สามารถทำความเสียหายได้มาก ต้องนำมาพิจารณาประกอบบริบทอื่นๆด้วย

ถาม....ความเห็นผม ไม่สมควรให้เอาติดตัวขึ้นไป เพราะเป็นวัตถุอันตรายโดยสภาพ แต่สังเกตหลายๆ ที่ เหตุใดยังคงปล่อยให้เอาขึ้นไปอยู่ครับ?

ตอบ.... "ส่วนไฟแช็ค แก๊ส น้ำมันซิปโป ถือเป็นวัตถุไวไฟเป็นสินค้าอันตราย ต้องดูจำนวนในการขนด้วยค่ะ มันจะมีระบุอยู่ใน TI “ นี่คงเป็นคำตอบที่ว่าทำไม สายการบินบางสายถึงให้เอาไฟแช้คขึ้นเครื่องบินได้อันเดียวโดยอนุโลม สมัยก่อนสูบบุหรี่บนเครื่องบินได้สายการบินจะแจกไม้ขีดเป็นซองเล็กๆมียี่สิบก้าน สมัยก่อน ใช้ไม้ขีดก็โยนทิ้งไปได้ครับ แต่ไฟแช้คสมัยนี้ถูกพัฒนาให้มีแรงดันสูงๆ แบบนี้ควรให้โหลด

ตอบ.....แต่การจะอนุโลมให้ คงไม่ใช่การยอม แต่เป็นการที่ จนท. ได้ประเมินสิ่งต่างๆ นั่นคือ จนท.จะดูจากบริบทอื่นๆประกอบไปด้วยตามที่ได้ฝึกอบรมมาครับ ซึ่งตรงนี้แหละครับ ที่ผู้โดยสารไม่เข้าใจ ว่าแต่ละสนามบินปฏิบัติต่างกัน จริงแล้วสนามบินเดียวกันก็ปฏิบัติต่างกันได้ เพราะ… “จนท. สังเกตุสิ่งอื่นๆประกอบแล้วจึงประเมินและตัดสินว่าจะให้ขึ้นไม่ให้ขึ้น" …. …“ไม่ได้ห้ามเหมือนกันทุกคน ตรงนี้เองครับที่ผู้โดยสารมองว่า ปฏิบัติไม่เหมือนกัน"… เพราะ บุคลิกลักษณะท่าทาง รูปลักษณ์ และสิ่งอื่นๆประกอบกันประเมินแล้วไม่ OK เพราะ บุคคลิกลักษณะอากับกิริยา ทรงผมทรงหน้า ทำให้การพิจารณาต้องยิ่งเข้มงวด ต่างกันไปแต่เราไม่สามารถอธิบายได้ตรงๆเพราะเป็นแค่การตรวจสอบด้วยสายตาเบื้องต้น พูดไปอาจผิดกฏหมายเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือเข้าข่ายกล่าวหาไปได้อีก ทั้งที่เราปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องก็ตาม จนท.จึงเลี่ยงที่จะบอก “วิธีพิจารณาตัดสินใจ" กับผู้โดยสาร พอไม่บอก ผู้โดยสารก็เข้าใจว่า Double Std. เลือกปฏิบัติ จนท.ไม่วางตัวเป็นกลางปฏิบัติกับประชาชนไม่เหมือนกัน เป็นงูกินหางแบบนี้ นั่นเองครับ

ถาม.....ขอสอบถาม ลูกทุเรียน เราห้ามนำขึ้นเครื่องไหมครับ

ตอบ....ลูกทุเรียนรู้สึกว่าจะเป็นสายการบินที่ห้ามนะคะ

ถาม....ขอถามอีกข้อครับ ที่สายการบินห้ามนำอาหารหรือผลไม้กลิ่นแรงขึ้นเครื่อง เพราะจะไปรบกวนผู้โดยสารท่านอื่น แล้วผู้โดยสารที่มีกลิ่นตัวแรงมาก แบบว่านั่งใกล้แล้วอยากจะอาเจียน แต่สายการบินกลับปล่อยให้ขึ้นมาส่งกลิ่นรบกวนผู้โดยสารส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเราไหมครับ

ตอบ..กลิ่นตัวไม่น่าจะห้ามได้ เพราะถ้าไปแถบแขกๆก็ต้องยอมรับจุดนี้ เพราะมันต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกเส้นทาง

ถาม....ที่ท่ามีเคสเกี่ยวกับวัตถุต้องห้ามเป็นปืนบีบีกัน อยากทราบว่าสามารถโหลดไปกับใต้ท้องเครื่องได้มั้ยคะA : สิ่งเทียมอาวุธต่าง ๆ สามารถ load ใน check-in baggage ได้ ห้าม carry on board the aircraft

5k,A: ในเคสนี้เคยมีกรณีตัวอย่างครับ…ขอแยกเป็นประเด็นดังนี้
1. สนามบินต้องแยกให้ได้ว่าอันไหนเป็นวัตถุอันตรายตามกฎกระทรวง
2. ถ้าแยกได้แล้วว่าวัตถุอันไหนเป็นวัตถุอันตรายตามกฎกระทรวง ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ. เดิน อากาศ 2497

ตามมาตรา 26 คือห้ามขึ้นเครื่อง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงาน จนท ก็คือ ผอ.ทย. ซึ่งผอ. ทย. ก็มอบให้ หน.ฝ่ายความปลอดภัย และเวรอำนวยการที่ ป.ราชการแทน ผอ. สำหรับ ทย.กรม ส่วนสำหรับ ทอท. ก็คือผอ.ทย. มอบให้ Safety Manager และ หน.Supervisor ทีมตรวจอาวุธ พิจารณา ลงนามเซ็นต์อนุญาตในบันทึก แต่ต้องทำตามมาตรการที่กำหนดในการขนส่งอย่างเคร่งครัด

ตอบ.....ตีความว่า BB Gun เป็นสิ่งเทียมอาวุธ เป็นวัตถุอันตราย ตาม กฏกระทรวงข้อ 3(9) แต่ BB Gun “จะไม่เป็นวัตถุอันตรายต่อเ</wbr></wbr>ครื่องบินเมื่อ" ข้อ 4 (4) นำ BB Gun ไปกับสัมภาระโหลดใต้ท้องเคร</wbr></wbr>ื่องครับ ถ้าตีความข้างต้น BB Gun ก็สามารถนำโหลดไปกับสัมภาระ</wbr></wbr>ได้ครับถาม .....สินค้าที่จำหน่าย ณ ห้องผูโดยสารขาออก หรือ ทางเดินที่จะไปออก Gate นั้น เหตุใดน้ำ ของเหลวเช่นน้ำหอม สเปรย์Oditollet จึงอนุญาตให้ถือขึ้นเครื่องบินได้

ตอบ.....ของเหลวในท่าอากาศยานเราจะแบ่งเป็นรู้ที่มาเช่นของที่จำหน่ายหลังจุดตรวจค้นซึ่งมีการตรวจสอบอย่างรัดกุม เรามีมาตรการควบคุ ตรวจและสุ่มตรวจของเหลวที่จำหน่ายหลังจุดตรวจค้นอย่างเคร่งครัดทำให้ของเหลวในส่วนนี้มีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ครับ ส่วนของเหลวที่มากับตัวผู้โดยสารเราไม่ทราบแหล่งที่มาครับ ดังนั้นของเหลวส่วนนี้จึงถูกจัดอยู่ในมาตรการของเหลวสเปรย์เจลที่ไม่สามารถให้นำไปกับอากาศยานได้ครับ

ตอบ..... สำหรับสินค้าสำหรับจำหน่ายในพื้นที่หวงห้าม สนามบิน ทอท.นั้น บริษัทผู้จำหน่ายจะรับสินค้ามาจากผู้ส่งสินค้าโดยตรงที่ได้มีการขึ้นทะเบียนไว้กับบริษัท และดำเนินการตรวจสอบก่อนนำไปจัดเก็บและลำเลียงมาทำการ packing พร้อมทั้งทำการ seal จากต้นทางด้วย จนท.รปภ.ของบริษัท ภายใต้การกำกับดูแลของ จนท.ศุลกากร จากนั้นทำการลำเลียงมายังท่าอากาศยาน เมื่อถึงท่าอากาศยาน จนท.รปภ.จะทำการตรวจ seal หากพบว่าชำรุดเสียหายจะนำเข้าเครื่อง x-ray อีกครั้ง ก่อนนำไปจำหน่าย
......หมายเหตุ กระบวนการทั้งหมดเป็นระบบเดียวกับการควบคุมและกำกับดูแลการรักษาความปลอดภัยในลักษณะเช่นเดียวกับผู้ประกอบการด้านโภชนาการ (catering) ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (BAC) และบริษัท แอลเอสจี สกายเชฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ตอบ ......พื้นที่สนามบินเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ เป็นสิ่งที่ผู้โดยสารต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ผ่อนผันไม่ได้ทุกกรณี.. แต่ลักษณะการแก้ไขสถานการณ์เรื่องนี้ ความสุภาพอ่อนโยนต่อตัวบุคคลเป็นสำคัญ แต่กฏระเบียบมั่นคงเด็ดขาดไม่ประณีประนอม เที่ยงและตรง..คุณสมบัตินี้มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของ จตอ. อย่างยิ่ง

ตอบ .......ก่อนที่สินค้าปลอดภาษีจะถูกนำเข้าไปจำหน่าย ผ่านมาตรการต่างๆ ตอน พนง.ร้านค้าขนของเข้ามา จะอยู่ในสภาพที่ว่ากล่อง(หีบ) จะถูกแกะตรวจ ข้อสงสัยอยู่ตรงที่ หลังจากที่ ผดส. ซื้อไปแล้วล่ะครับ? ถ้าผดส.(ที่เป็นผู้ก่อการร้าย) ซื้อแอลกอฮอร์อาจจะ 1-2 ลิตร, เจลจากแผนกเครื่องสำอาง ฯลฯ แล้วไอ้คนร้ายคนนั้นนำของดังกล่าวไปขึ้นเครื่อง ระหว่างนั้น ใครจะเป็นผู้ติดตามครับว่า ของเหล่านั้นจะไม่นำไปถูกใช้เป็นระเบิดเพลิง บนเครื่องบินได้? รวมทั้งขวดน้ำดื่มด้วย เพราะอาจจะนำขวดเปล่าเข้าไปเติมน้ำภายในอาคารผู้โดยสารนั่นแหละ มากกว่า 100ml เสียด้วยซ้ำถาม ความรู้จากพี่ๆ EOD ในท่าอากาศยานครับ การประกอบระเบิดแสวงเครื่องหลังจุดตรวจค้นไม่สามารถทำได้เลยครับ นำ้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ขายหลังจุดตรวจค้นไม่สามารถเป็นได้ทั้งสารตั้งต้น เชื้อประทุ และวัตถุระเบิดได้ครับ แต่อย่างเลวร้ายสุดถ้ามีความพยายามขนาดนั้น เรามีกล้อง cctv มองเห็นทุกจุดและสามารถส่งเจ้าหน้าที่ตระเวณถึงพื้นที่ทันทีครับ

ตอบ..... เป็นมาตรการเพื่อป้องปราม ให้ การก่อการอะไรใดๆมันยากขึ้น และต้องเตรียมการอย่างดีมากขึ้น เท่านั้นเอง เพราะมาตรการห้าม อะไรก็ตาม ไม่ใช่ จะป้องกันได้ 100% ถ้าจะทำจริงๆมันมีวิธีการ 108

ถาม หลายๆสายการบิน ก็แจกน้ำเป็นขวดเลย ทุกที่นั่งเลยด้วยซ้ำ

ตอบ .....น้ำภายในอาคารผูโดยสารกับสารประกอบระเบิดที่เป็น power gel เป็นสารคนละคงตัวกัน และ ICAO ได้ทำการวิจัยแล้วว่า สารคงตัวประกอบกันไม่เกิน 100 ml. ไม่สามารถทำให้เกิดระเบิดได้ครัย ส่วนการยกเลิกมาตรการของเหลวเจลยังต้องรอเครื่อง x-ray ที่ตรวจสารระเบิดชนิดนี้ได้ก่อน ปัจจุบัน EU อยู่ในระหว่างการพัฒนา …………………………………………………………………………………………

สิ่งต่างๆอื่นๆที่ เจ้าหน้าที่เช็คอิน หรือ จตอ. มักจะเจอ Norm หรือพฤติกรรมแบบไทยๆที่เรียกว่าป้าๆนั่นแหละครับ ต้องใช้สติให้ดีและจัดการโดยใช้เทคนอคเฉพาะตัว สามารถเล่าแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ดีดีให้กันได้ครับ เช่น

- แซงคิวเช็คอิน
-น้ำหนักเกินขอต่อราคา ตังไม่ยอมจ่ายของไม่ยอมจัดใหม่
-อยากนั่งหน้า ชั้นนั่งหลังไม่ได้เด็ดขาด
-มาสายไม่สนใจชั้นเคยไปได้ครั้งนี้ชั้นต้องได้ไป
-เชิญผู้โดยสารแถวหลังขึ้นเครื่องก่อน ชั้นไม่สนใจชั้นดูไม่เป็นหรอกชั้นอยู่แถวไหนชั้นรู้แต่ว่าชั้นอยากขึ้นไปนั่งแล้ว
-เครื่องจะออกในอีก5นาทีป้ามาสายป้าไม่แคร์ป้าขอเข้าห้องน้ำก่อนละกัน
-กระเป๋าป้าต้องมาก่อน หากระเป๋าไม่เจอโวยวาย เห็นหน้าตาคล้ายๆของป้า ป้าหยิบเลย ไม่สนใจตรวจว่าหยิบผิดหยิบถูก
-คนอื่นหยิบกระเป๋าป้าผิดไป สายการบินคุณดูแลกระเป๋าผู้โดยสารยังไงให้คนที่ไม่ใช่เจ้าของกระเป๋าหยิบของไปได้ เอาค่าชดเชยมา! ชั้นต้องได้บินฟรีตลอดปี!!

แบบนี้ต้องอดทนและควบคุมสติให้ดี มีวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมและทันการณ์ก็ต้องแนะนำกันนะครับ

อนึ่งการห้ามภาชนะเกิน 100 Ml รูปการห้ามต้องชัดเจนว่าห้ามภาชนะด้วย เพราะกันการนำของเหลวที่เป็นสารตั้งต้นไปผสม ทั้งนี้ ICAO ได้วิจัยมาแล้วว่า ของเหลวหรือสารตั้งต้นที่บรรจุในภาชนะไม่เกิน 100 Ml ไม่สามารถระเบิดได้ครับ

อ้างอิง : ICAO Doc 9284-AN/905 TECHNICAL INSTRUCTIONS FOR THE SAFE TRANSPORT </p><p>OF DANGEROUS GOODS BY AIR http://www.icao.int/safety/DangerousGoods/AddendumCorrigendum%20to%20the%20Technical%20Instructions/Doc%209284-ADDENDUM-5.en.pdf</p><p></p><p></p><p></p><p></p>

Q / พอดีว่ามันมีหลายเคสมากที่เกี่ยวกับแบตเตอรี่สำรอง เพราะต่างชาติเค้าก็บอกว่า เค้านำมาจากประเทศเค้าได้ ผ่านดอนเมืองมาไม่มีปัญหา แต่พอจะกลับเอากลับไปไม่ได้ เลยอยากจะขอความรู้ ว่ามันมาได้ไงคะ แต่ครั้งที่แล้ว หนูให้ไปคุยกะสายการบิน ให้สายการบินทำการส่งทางไปรษณีให้ค่ะ

Ans สายการบินตัดสินใจถูกแล้วกราที่ผ่านต้นทางมาได้ ไม่ได้หมายความว่าปลายทางจะผ่านได้การตรวจสแกนเป็นการตรวจสามารถหลุดรอดได้ประเด็นที่น่าศึกษาคือ กฏระเบียบ บ้านเขากับบ้านเราใช้เหมือนกันหรือไม่

Q / ใช่ค่ะ สงสัยอยู่ แต่ไม่กล้าถามใคร

Ans ถ้าเขาเป็นรัฐภาคี ของ ICAO ก็ต้องทำตาม ICAO เพราะไทยยึดข้อกำหนดของ ICAO มาออกเป็นกฏหมาย บังคับใช้ในประเทศไทยครับถ้ามาจากต่างประเทศก็ต้องเข้มกว่าเรา จากแอปที่ให้มาคือ material guidance แนวทางการปฏิบัติ ซึ่งออสเตรเลียทำออกมาใช้ก่อน เราสามารถทำตามได้เลย เป็นไปตาม ICAO กำหนดแน่นอนซึ่งจะรอกฏหมายไทยไม่ได้ บอก ผดส ว่าเราทำตามข้อกำหนดของ ICAO ไปพร้อมๆกับการเร่งออกกฏหมายครับ

Q / ถ้ามีข้อสงสัยหนูสามารถมาขอความรู้จากท่านได้ไหมค่ะ

Ans ส่วนมากก็จะยอมครับเพราะสามารถส่งไปรษณีย์ได้ แต่ถ้าเรายึดไม่คืนอันนี้เสี่ยงถูกฟ้องครับ เพราะกฏหมายแม่ที่ให้อำนาจเรายังไม่มี เรามีแต่บันทึกข้อความ กับ ร่าง กบร ห้าแบตเกิน 32000 มล ที่เป็นร่างอยู่ที่สำนักกฏหมาย ตอนนี้ครับ

Q / จะปฎิบัติตามที่แนะนำนะค่ะ

พรุ่ีงนี้ วันเสาร์ ที่ 28 ก.พ. นี้ กบร จะพิจารณารับรองร่าง ฉบับนี้แหละครับ

Q / แต่บางทีสายการบินจะปฎิเสธให้ ผดส. ทำการส่งเอง ซึ่งบางที ผดส.จะขึ้นเครื่องแล้วเค้าจะไปส่งยังไง

Ans ลอง แลกเเปลี่ยนเรียนรู้ใน จตอ ดูสิครับ ตั้งขึ้นมาเพื่อการนี้เลยครับ

Q / ค่ะ

Ans บางคนเขาหารายได้จาก อาชีพรับจ้าง จิปาถะ แบบนี้ก็มีนะครับ เราน่าจะหา rate ค่าส่งสินค้าไว้ หรือ co กับไปรณีย์ หรือ ชวนมาตอบคำถามในเพจนี้ หรือ อื่นๆครับ

Q / ค่ะ ขอบคุณค่ะ

Ans ชวนมา แลกเปลี่ยนกันได้ครับ https://www.gotoknow.org/posts/578517https://www.gotoknow.org/posts/578517Q&Aจตอ - GotoKnow


หมายเลขบันทึก: 578517เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 02:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2017 07:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท