ไขข้อข้องใจสิทธิของผู้โดยสารซึ่งใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินภายในประเทศ


การบินไทยบินไปมาเลเซียแล้วเครื่องดีเลย์ออกจากมาเลเซีย เกิน 6 ชั่วโมง ซึ่งถึงมาเลเซียก็ดึกมากผู้โดยสารการบินไทย ต้องขอร่วมเดินทางกับคณะของสายการบินมาเลเซีย โดยรถบัสจากสนามบิน(ซึ่งอยู่ไกลจากตัวเมืองและโรงแรมมาก)และให้เจ้าหน้าที่สนามบินมาเลเซียติดต่อหาที่พักให้

(ไขข้อข้องใจ) สิทธิของผู้โดยสารซึ่งใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินภายในประเทศ

เนื่องจากประกาศเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทย ในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ จะได้รับสิทธิประโยชน์จากสายการบิน กรณีเที่ยวบินเกิดความล่าช้า(Flight Delay) หรือยกเลิกเที่ยวบิน(Flight Cancel) ดังนี้

1. ล่าช้า 2 - 3 ชั่วโมง

(ก.) สายการบินต้องจัดหา อาหาร เครื่องดื่ม และโทรศัพท์/โทรสาร/อีเมลล์

2. ล่าช้า 3 - 5 ชั่วโมง

ได้รับตาม (ก.) + (ข.)ได้รับค่าโดยสารคืน/เปลี่ยนเที่ยวบิน/โดยสารทางอื่น

3. ล่าช้า 5 - 6 ชั่วโมง

ได้รับตาม (ก.) + (ข.) + ค่าชดเชย 600 บาท (ยกเว้นเหตุสุดวิสัย)

4. ล่าช้าเกิน 6 ชั่วโมง หรือ ยกเลิกเที่ยวบิน

ได้รับเงินคืนค่าโดยสาร หรือ เปลี่ยนเที่ยวบิน หรือ เดินทางโดยการขนส่งทางอื่น และ

(ก.) + ที่พักและการรับส่ง และ

ได้รับเงินชดเชย 1200 บาท (เว้นเหตุสุดวิสัย หรือ แจ้งยกเลิกก่อน 3 วัน หรือดีเลย์ไม่เกิน +/-3 ชม.)

......ที่ยกเป็นประเด็นก็คือข้อ 4 ....กรณี ล่าช้าเกิน 6 ชั่วโมง หรือ ยกเลิกเที่ยวบิน

ได้รับเงินคืนค่าโดยสาร หรือ เปลี่ยนเที่ยวบิน หรือ เดินทางโดยการขนส่งทางอื่น และ

(ก.) + ที่พักและการรับส่ง และ ได้รับเงินชดเชย 1200 บาท

.............ซึ่งตามประกาศ กระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ ซึ่งบังคับใช้ 6 พ.ย. 2553.....ใน...ข้อ 2 ...ประกาศว่า...
“สายการบิน" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศแบบประจำในเส้นทางบินภายในประเทศ

...............กรณีนี้จึงเป็นประเด็นคำถามของผู้บริโภค หรือ ผู้โดยสารถึงการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งกฏหมายคุ้มครองกรณีเฉพาะเป็นเที่ยวบินประจำภายในประเทศ.....

........ .....ดังนั้นกรณีสายการบินของไทยที่บินระหว่างประเทศ เกิดไปดีเลย์ที่ต่างประเทศ เกิน 6 ชั่วโมงแบบนี้ จะไม่ได้รับเงินคืน ไม่ได้รับการจัดหาที่พัก ไม่ได้รับเงินชดเชย แบบนี้น่าจะไม่เป็นธรรม หรือตัวอย่างที่ สายการบิน การบินไทยบินไปมาเลเซียแล้วเครื่องดีเลย์ออกจากมาเลเซีย เกิน 6 ชั่วโมง ซึ่งถึงมาเลเซียก็ดึกมากผู้โดยสารการบินไทย ต้องขอร่วมเดินทางกับคณะของสายการบินมาเลเซีย โดยรถบัสจากสนามบิน(ซึ่งอยู่ไกลจากตัวเมืองและโรงแรมมาก)และให้เจ้าหน้าที่สนามบินมาเลเซียติดต่อหาที่พักให้(ถ้าเป็นโรงแรมที่เป็นลูกค้าประจำกับทางสนามบินจะราคาไม่แพงมาก) แบบนี้เกิดความไม่สะดวก และอาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่างๆตามมา เพราะกฏหมายไม่ระบุให้คุ้มครองดูแลผู้โดยสาร กรณีเที่ยวบินต่างประเทศนี่เอง....

........หันมาดูต่างประเทศเขากำหนดในเรื่องแบบนี้ไม่เหมือนบ้านเรา คือควรกำหนดการคุ้มครองให้ผู้โดยสารให้ครอบคลุม กรณีไปดีเลย์เกิน 6 ชั่วโมงที่ปลายทางในต่างประเทศ คือคุ้มครองสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทย

หรือ ...ให้คำนิยามใหม่ว่า........

“สายการบิน" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศแบบประจำ ในเส้นทางบินภายในประเทศ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (HS-XXX)

แบบนี้ทำให้ผู้บริโภคด้านการบิน หรือผู้โดยสารได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยขน์อันครอบคลุมและเป็นธรรมกว่าในปัจจุบันนะครับ ........

อ้างอิง :

.....ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง สิทธิของผู้โดยสารซึ่งใช้บริการสายการของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 (4) ข้อ 4 ข้อ 7 และข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515 กำหนดให้กระทรวงคมนาคมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการเดินอากาศ และรัฐมนตรีสามารถกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ค้าขายในการเดินอากาศอันเป็นสาธารณูปโภคได้ตามที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อความปลอดภัยหรือผาสุก
ของประชาชน รวมทั้งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมเงื่อนไขนี้ได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงได้กำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางบินประจำภายในประเทศไว้ในเงื่อนไขประกอบใบอนุญาตของผู้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศแบบประจำของไทยทุกราย ทั้งที่ได้รับใบอนุญาตในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการยึดถือและปฏิบัติตาม ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารซึ่งใช้บริการสายการบินของไทยภายในประเทศ ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2550

ข้อ 2 ในประกาศนี้
“สายการบิน" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศแบบประจำในเส้นทางบินภายในประเทศ

“สำรองที่นั่ง" หมายความว่า ข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานยืนยันว่าสายการบินได้ยอมรับและจดแจ้งการสำรองที่นั่งไว้แล้ว

“การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน" หมายความว่า การจัดให้ผู้โดยสารเดินทางโดยเที่ยวบินอื่นของสายการบินนั้นเอง หรือของสายการบินอื่น

“เที่ยวบินล่าช้า" หมายความว่า เที่ยวบินที่ปฏิบัติการบินล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดตามตารางการบินซึ่งได้ประกาศไว้แล้ว

“การยกเลิกเที่ยวบิน" หมายความว่า การที่สายการบินยกเลิกเที่ยวบินใด ๆ ตามตารางการบินที่ประกาศไว้แล้ว และรวมถึงการยกเลิกเที่ยวบินพิเศษ (Extra Flight)

“การปฏิเสธการขนส่ง" หมายความว่า การปฏิเสธที่จะรับขนผู้โดยสารเพื่อเดินทางไปกับเที่ยวบินที่ระบุไว้ในบัตรโดยสาร แม้ว่าผู้โดยสารนั้นจะได้มาแสดงตนเพื่อการขึ้นเครื่องตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้แล้วก็ตาม เว้นแต่ การปฏิเสธนั้นมีเหตุผลอันสมควร เช่น สุขภาพ ความมั่นคงความปลอดภัย เอกสารการเดินทางไม่สมบูรณ์ เป็นต้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท