ตอบจดหมาย เรื่อง การประเมินโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ท่าน ผอ. ที่ผมเคารพท่านหนึ่ง ส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์มาถามผมเรื่องเกี่ยวกับการประเมินโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ผมตอบจดหมายตามภูมิรู้เท่าที่มีของตนเอง แต่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับท่านอื่นๆ ที่กำลังขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาด้วย จึงขออนุญาตท่าน นำมาเผยแพร่ ต่อ ดังนี้ครับ 

หัวข้อ: สอบถามครับ —————————————

อาจารย์ครับ..คำถามเดิมๆ แต่จริงจัง ศน. สนับสนุนโรงเรียนผมมากขึ้น ว่า “ใช่” ที่จะเป็นศูนย์ เนื่องจาก ผลงานต่อเนื่อง กิจกรรมชัดเจน มีคนมาดูงานสม่ำเสมอ ผมมีความสุขกับการทำงาน ไม่คาดหวังการประกวดแข่งขัน งานเกษตรอินทรีย์ที่พอเพียง ทำมาตั้งแต่ ปี ๒๕๕๐ และคิดงานเล็กๆเพิ่มเติมตามบริบท…. ถามอาจารย์ว่า ….เด็ก ๖๙ ครู ๕ เป็นศุนย์ฯ ได้ไหมครับ ผมไม่ได้กลัวเกณฑ์…แต่ผมกำลังเร่งคุณภาพผลสัมฤทธิ์ .... ถ้าผมจะรับการประเมิน ผมอ่านบทความอาจารย์ที่ผมบันทึกไว้มากมาย ก็เพียงพอแล้ว ครับ สุดท้ายนี้ ถ้าศน.ให้ผมสมัครรับการประเมินเป็นศูนย์เทอมหน้า ผมจะได้รับการประเมินราวเดือนไหน ครับ(ปีงบประมาณ ๒๕๕๘) 

ขอบคุณครับ

***************************************************************************************************************************************

เรียน ท่านผอ.ชยันต์ ที่เคารพ

ขอบพระคุณมากครับ ผมเองก็ติดตามผลงานผ่านบันทึ
กของท่านอย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบว่าทางสำนักงานเขตฯ กำลังผลักดันจะให้โรงเรียนท่านเป็นศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา(ปศพพ.) (ตามนโยบายว่า ๑ เขต ต้องมีอย่างน้อย ๑ ศูนย์การเรียนรู้) รู้สึกยินดีมากครับที่ท่านสนใจจะร่วมเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน ปศพพ. ขอเรียนตอบท่านดังนี้ครับ

๑) เด็ก ๙๖ คน ครู ๕ เป็นศูนย์ฯ ได้หรือไม่ ตอบว่า ตามความรู้ที่ผมมีตอนนี้ ไม่มีข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวข้องกับจำนวนหรื
อขนาดของโรงเรียน ผมคิดว่า โรงเรียนขนาดเล็กในประเทศเรามีเป็นหมื่นโรงเรียน หากมีตัวอย่างของโรงเรียนศูนย์ฯ ที่มีบริบทคล้ายกัน น่าจะเป็นประโยชน์ยิ่ง ... เราสามารถพิจารณาตนเองตามเกณฑ์ก้าวหน้าได้ว่า เราเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์การเรียนรู้หรือไม่

๒) เรื่องการเป็นโรงเรียนศูนย์
การเรียนรู้ฯ กับ คุณภาพผลสัมฤทธิ์ ขอเรียนท่านว่า การเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ หัวใจสำคัญคือ การขยาย "ผลสัมฤทธิ์" หรือ "ความสำเร็จ" ที่ภูมิใจของตนเองสู่ผู้อื่นๆ หรือโรงเรียนอื่นๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมี "ผลสัมฤทธิ์" หรือ "ความสำเร็จ" ที่ภาคภูมิใจ ผมคิดว่า ท่าน ผอ. ดำเนินงานมาจนถึงตรงนี้ ทุกอย่างที่ท่านทำสำเร็จล้วนแล้วแต่ "พอเพียง" คือสอดคล้องกับการนำหลัก ปศพพ.ไปใช้ทั้งสิ้น นั่นหมายถึง หากท่านจะรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์ฯ สิ่งที่้ต้องเตรียมตัวมากหน่อยก็คือ การ "ถอดบทเรียน" "ถอดประสบการณ์" ว่าเราทำอย่างไรจึงสำเร็จ สอดคล้องกับหลักปรัชญาฯ อย่างไร ท่านน้อมนำไปใช้ตอนไหน..เพื่อวัตถุประสงค์ของการ "สื่อสาร ขยายผล" สู่คนอื่น หรือโรงเรียนอื่น ..... หลังจากถอดบทเรียนเทียบเคียงกับเกณฑ์ก้าวหน้า ท่านจะทราบทันทีว่า เราพร้อมจะรับการประเมินหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมต้องเติมอย่างไรบ้าง ....

๓) ถ้า ศน. ให้ขอรับการประเมินฯ เทอมหน้า (๒๕๕๘) จะได้รับการประเมินประมาณเดื
อนไหน ... ขอเรียนท่านอย่างนี้ครับ ที่ผมทราบคือ จะมีคณะกรรมการกลั่นกรองแบบคัดกรอง ซึ่งทุกโรงเรียนต้องส่งเข้าไป ภายในเดือนพฤษภาคม หากผ่านการคัดเลือก จะมีการประเมินประมาณ สิงหาคม หรือ กันยายน ดังนั้น เราต้องนำเสนอในแบบคัดกรองให้ดี (ทำวีซีดีแนะนำจะดีมาก) ว่าเราขับเคลื่อนอย่างไร เกิดผลอย่างไร ทำไมจึงอยากขอรับการประเมินฯ เป็นต้น (มีรายละเอียดในแบบฟอร์ม) .... แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการเปลี่ยนแปลง เพราะตอนนี้ เราต้องส่งแบบคัดกรองไปยังเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่จะส่งไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองฯ อีกครั้งหนึ่ง

๔) ผมมีความเห็นเพิ่มเติมอยากเรี
ยนท่าน ผอ. ว่า ศึกษานิเทศน์ (ศน.) ต้องทำงานในลักษณะ "รับ-ประสาน-สร้าง-ส่ง" บางท่านต้อง "รับ" งานจากส่วนกลาง (สพฐ.) หลายๆ โครงการพร้อมๆ กัน หลายโครงการ ศน. ไม่มีสิทธิ์คิด ต้อง "ประสาน-สั่ง-ส่ง" คือเป็นผู้ประสาน มาสั่งงานต่อให้โรงเรียนทำ แล้วส่งไปยังเจ้าของโครงการจากส่วนกลาง แต่บางโครงการก็มีสิทธิ์ "สร้าง" แล้วค่อย "ส่ง" หาก ศน. เข้าใจและน้อมนำหลัก ปศพพ. ไปใช้ในการทำงานของตนจริง ท่านเหล่านั้นจะสามารถบูรณาการงานให้ง่าย (Simplicity) โดยเฉพาะโครงการประเภท "สร้าง" แล้วเสนอต่อสำนักงานเขตฯ ด้วยความเห็นดังนี้ ผมจึงคิดว่า การเปิดโอกาสให้ ศน. ได้เข้ามาเรียนรู้กับท่าน จะเป็นผลดีในระยะกลางและระยะยาวอย่างยิ่ง

ด้วยความเคารพอย่างสูง
ฤทธิไกร

ป.ล. ขออนุญาต นำสาระในอีเมล์ของท่านและคำตอบข้างตนนี้ เผยแพร่ในบันทึก gotoknow จะได้หรือไม่ครับ

**************************************************************************************************************************************

หมายเลขบันทึก: 576658เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2014 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2014 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณท่าน ดร.ฤทธิไกรครับ  ที่ให้แนวทางที่ชัดเจน  และจะได้เผยแพร่ให้คณะครูและนักเรียนได้พินิจพิจารณา  พัฒนาเกิดอุปนิสัยพอเพียงครับ....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท