ไขข้อสงสัยมาตรการ ของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs)update!!!


กรมการบินพลเรือนออกประกาศกรมห้ามนำของเหลว เจล สเปรย์หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันที่บรรจุในภาชนะเกิน 100 มิลลิลิตรขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน ส่วนในกรณีที่สามารถนำขึ้นได้คือของเหลวที่บรรจุในภาชนะไม่เกิน 100 มิลลิลิตรหรือถูกบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสซึ่งรวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตรและต้องไม่เกินคนละ 1 ถุง โดยต้องปิดผนึกปากถุงให้เรียบร้อย ส่วนกรณีภาชนะเปล่าที่มีขนาดบรรจุเกิน 100 สามารถนำขึ้นเครื่องได้ แต่หากมีของเหลวอยู่ในนั้นห้ามนำขึ้นแม้ว่าจะมีของเหลวเพียงเล็กน้อย ต้องเททิ้งก่อนนะครับ

LAGsจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทีมงาน KM TEAM สมส.ได้เล่าเรื่องแนวทางการควบคุมการรักษาความปลอดภัยสำหรับ Liquid Aerosol Gel (LAGs)และได้ถ่ายทอดเป็นบันทึกและถอดออกมาเป็นองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

มาตรการ LAGs(Liquids Aerosols Gels)

ประกาศใช้ในประเทศไทย เมื่อ 1 มิถุนายน 2550

ไขข้อสงสัยมาตรการ LAGs…….


ผู้โดยสารหลายๆท่านอาจสงสัยว่าเวลาเดินทางไปต่างประเทศหรือต่างจังหวัดทำไม ? เจ้าหน้าที่ตรวจค้น ณ สนามบินถึงห้ามนำของเหลว สเปรย์ เจล ที่เรานำติดตัวมาขึ้นเครื่อง จนบางทีทำให้ผู้โดยสารมีอาการหงุดหงิด โมโหใส่เจ้าหน้าที่ตรวจค้น ซึ่งบางครั้งอาจกลายเป็นสาเหตุจนทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันได้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้โดยสารก็เป็นได้อาจเป็นเพราะผู้โดยสารมีความเข้าใจไม่ตรงกันหรือเข้าใจผิดพลาดในแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม LAGs ขึ้นบนอากาศยาน….…………..

ก่อนอื่นผู้เขียนจะขอเล่าที่มาที่ไปเกี่ยวกับมาตรการควบคุม LAGs เสียก่อน เริ่มต้นด้วยการปฏิบัติการเตรียมก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในประเทศอังกฤษแต่ถูกสกัดเอาไว้ได้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ได้กลายเป็นเรื่องที่สร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก เพราะตำรวจเชื่อว่า คนร้ายเตรียมที่จะพกระเบิดขึ้นไปบนเครื่องบินโดยสารเพื่อก่อเหตุระเบิดกลางหาวบนเครื่องบินนับสิบลำซึ่งเป็น “ระเบิดประเภทของเหลว" ที่สามารถนำขึ้นเครื่องบินไปได้โดยการบรรจุอยู่ในขวดน้ำดื่มหรือขวดอื่นๆ ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ เครื่องเอ็กซเรย์ (X-Ray) ไม่สามารถตรวจจับของเหลวเหล่านี้ได้ เป็น “ระเบิดประเภทของเหลว" ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดนั้นเชื่อว่า ของเหลวที่น่าจะสามารถนำมาใช้เป็นระเบิดได้มากที่สุด ก็คือ ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) และไตรอะซีโทน ไตรเปอร์ออกไซด์ (ทีเอทีพี) ซึ่งไนโตรกลีเซอรีน เป็นสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่ง ปกติเป็นของเหลว ระเบิดได้ ลื่นมัน เป็นพิษ ไม่มีสี และหนัก ได้จากการไนเตรตสารกลีเซอรอล นิยมใช้ในการผลิตวัตถุระเบิด โดยเฉพาะไดนาไมต์ และใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและรื้อทำลาย >นอกจากนี้ยังมีใช้ในการแพทย์ เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจที่มา : http://th.wikipedia.com

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำของเหลว เจล สเปรย์หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน กรมการบินพลเรือน….ได้ดำเนินการออกประกาศกรม ห้ามนำของเหลว เจล สเปรย์หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันที่บรรจุในภาชนะเกิน 100 มิลลิลิตรขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน ส่วนในกรณีที่สามารถนำขึ้นได้คือ ของเหลวที่บรรจุในภาชนะไม่เกิน 100 มิลลิลิตรหรือถูกบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสซึ่งรวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตรและต้องไม่เกินคนละ 1 ถุง โดยต้องปิดผนึกปากถุงให้เรียบร้อย……..ถ้าเป็นของเหลว เจล สเปรย์หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันที่ซื้อมาจากร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shop) ภายในสนามบินหรือซื้อบนอากาศยานต้องบรรจุในถุงพลาสติกใสปิดผนึกปากถุงโดยไม่มีร่องรอยการเปิดสามารถนำขึ้นไปบนอากาศยานได้ยา และนมหรืออาหารสำหรับเด็กทารกซึ่งมีในปริมาณที่เหมาะสมก็สามารถนำขึ้นไปบนอากาศยานได้เช่นเดียวกัน


ส่วนกรณีภาชนะเปล่า เราไม่ห้ามนะครับ ไม่ว่าภาชนะเปล่านั้นจะมีขนาดเท่าไรก็ตาม เช่น ขนาดบรรจุ 100 500 1000 ก็ไม่ห้ามครับ

เพียงแต่ว่าถ้าภาขนะเกิน 100 มีของเหลวอยู่ เช่น ภาชนะเปล่า 500 มล. ไม่ห้าม แต่ถ้ามีของเหลวอยู่แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะห้ามครับ จึงต้องเทของเหลวนั้นทิ้งก่อนครับ ถึงจะนำภาชนะเปล่าขึ้นเครื่องได้ เพราะว่าเราไม่รู้ที่มาที่ไปของของเหลวนั้นนั่นเอง

แม้จะเป็นน้ำและดื่มให้ดูเราก็ไม่รู้ว่าบุคคลที่ที่ดื่มอาจกินยาอะไรไปเพื่อไม่ให้ สารตั้งต้นที่ดื่มไปไม่เกิดอาการกับร่างกายหรือไม่ คือ จะสงวนสิทธิ์ในการที่จะไม่ตรวจองค์ประกอบนั้นครับ แต่ถึงอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่าจะมีมาตรการที่ทำให้เกิดความสะดวกในการตรวจได้ ซึ่งทางหน่วยเกี่ยวข้อง ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ขณะนี้กำลังดำเนินการทดสอบเครื่องตรวจสอบคุณสมบัติ สารตั้งต้น ให้ใช้ได้สะดวกและปฏิบัติได้รวดเร็วขึ้น และสามารถนำมาใช้ให้เกิดความปลอดภัยและเกิดความสะดวกในการใช้งานไปพร้อมกันครับ

ท้ายนี้ขอให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตัวท่านเอง>องเหลวในปริมาณที่ไม่เกินกำหนดไม่สามารถที่จะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้

หมายเลขบันทึก: 576422เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2014 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2015 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท