บุหรง....พรรณไม้งาม....ชวนให้หลงใหล


  

บุหรง..... ชวนให้หลงใหล

บุหรง เป็นไม้ดอกที่มีมนต์เสน่ห์ชวนหลงใหล ในความแปลกหลายด้านด้วยกัน ในอดีตมักจะพบบุหรงในสวนผสม หรือที่เรียกกันว่า สวนสมรมในสวนไม้ผลภาคใต้ บุหรงจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น มีร่มเงา ดังนั้นจะพบว่าบุหรงจะมีต้นไม้อื่นๆๆอยู่เคียงข้างสูงต่ำเสมอ ในปัจจุบันพบเห็นบุหรงน้อยลง แม้ว่า จะมีนกและสัตว์ป่าเช่น กระรอก นก ลิง จะช่วยในการการขยายพันธุ์โดยกินผลบุหรงเป็นอาหารก็ตาม แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศน์ต่างๆเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างสวนแบบพืชเชิงเดี่ยว ดังนั้นเรามาชื่นชมความงามแปลกตาของบุหรง และช่วยกันอนุรักษ์ต่อไป

  • บุหรงมีใบด้านบนเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างของใบมีนวลสีขาว หรือสีขาวอมฟ้าเคลือบ ถ้าเข้าไปอยู่ใต้ต้นบุหรง และมองผ่านขึ้นไป จะมองเห็นเป็นพุ่มไม้ที่มีใบสีฟ้านวล แปลกตา
  • และอีกสิ่งที่ทำให้บุหรงนี้มีความสวยงาม บุหรงมีดอกประกอบด้วยกลีบดอกเพียง 3 กลีบ ประกบกันเป็นแท่งคล้ายเหล็กสามเหลี่ยม บางดอกอาจจะเป็นแท่งตรงๆ บางดอกอาจจะเป็นแท่งบิดเบี้ยว แล้วบางดอกก็จะเป็นแท่งปลายเรียวแหลม บิดเป็นเกลียวน่าทึ่ง น่าพิศวงมาก และมีสีสันแตกต่างกันออกไปมากมาย จะเรียกว่า “หลากหลายพันธุ์” ก็ได้ และที่พิเศษก็คือ ในต้นเดียวกันมีดอกรูปร่างหลายแบบ มีสีสันต่างๆ กัน ในช่วงดอกตูม กลีบดอกมีสีเขียว พอดอกใหญ่ขึ้นและเริ่มบาน จะมีสีขาว ขาวนวล เหลือง ชมพู ส้ม แสด แดง ม่วง ม่วงแดง และม่วงอมดำ แต่ละดอกจะโชว์ความสวยงามอยู่ได้หลายวัน
  • เมื่อดอกบุหรงบาน “บานแบบไม่บาน” กลีบดอกจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น จะไม่บานแยกออกจากกันเป็นกลีบๆ เฉกเช่นดอกไม้ทั่วไป แต่ก็ยังคงประกบกันอยู่เหมือนเดิม และเมื่อใกล้โรย กลีบดอกจะเหี่ยวและหลุดร่วงลงสู่โคนต้นพร้อมกัน
  • และบุหรง ยังเป็นแหล่งอาหารในระบบนิเวศน์ที่สมบรูณ์ของป่า เพราะมีช่อผลสุกสีแดงเนื้อฉ่ำ ล่อตาล่อใจนกและสัตว์ป่านานาชนิด ดังนั้นจะเห็นได้ว่า บุหรงนั้น ชวนให้ใครหลงใหลจริงๆๆ

 

บุหรง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dasymaschalon blumei  Finet & Gagnep

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ชื่อพื้นเมือง : กระดังงาเขา (สุราษฎร์ธานี) นวลแป้ง (จันทบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้นเป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านต่ำ เปลือกนอกเรียบสีเทา เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง มี

กลิ่นฉุน เนื้อไม้เหนียว

ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม มีกลิ่น ไม่มีหูใบ ผิวใบเรียบทั้งสองด้าน หลัง ใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาวนวลอมฟ้า เส้นแขนงใบ 10-12 คู่ ใบหนาและแข็ง ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างสี ขาวอมฟ้า

ดอก ดอกเดี่ยว ออกใกล้ปลายยอด หรือที่ง่ามใบ ดอกห้อยลง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม สีม่วงหรือ เขียว ดอกอ่อนมีสีเขียว มีขนสั้นสีขาวปกคลุม กลีบดอก 3 กลีบ ขอบกลีบเชื่อมติดกันตลอดแนว กลีบบิดเวียนสี เหลือง เกสรเพศผู้สีชมพูอ่อน ขนาดเล็กจำนวนมากอัดเป็นวงกลม ล้อมรอบเกสรเพศเมีย กลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองขาวนวล ชมพูหรือม่วงแดง ก้านดอกสีม่วง กลีบดอกจะหลุดร่วงพร้อมกันทั้งสาม กลีบ ระยะเวลาออกดอก ออกผล เดือนมีนาคม – กันยายน

ผล ผลกลุ่ม มีผลย่อย 4-9 ผล ออกจากจุดเดียวกัน ผลรูปทรงกระบอก ผิวผลเรียบเป็นมัน มีรอยคอดในแต่ละช่วงเมล็ด ผลแก่สีแดง เนื้อฉ่ำน้ำ เป็นอาหารของนกและสัตว์ป่า ไม่มีก้านผลย่อย มี 2-6 เมล็ด เมล็ดรูปขอบขนานสีน้ำตาล

       พรรณไม้ที่ธรรมชาติสรรสร้างมาให้นั้น มีคุณค่าหลายๆๆด้านด้วยกัน หากให้ความสำคัญช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต จักเป็นแนวทางให้บรรพชนรุ่นต่อไป ได้เชยชมพรรณไม้งามเฉก เช่น บุหรง ให้อยู่เคียงคู่ป่าต่อไป......

หมายเลขบันทึก: 575750เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2014 06:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2014 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บุหรงพรรณ...(ขอชมพรรณไม้บุหรงบ้างครับ...ขอบคุณ)

รรณบุหรง หลงรักเจ้า นวลแป้งนาม

ใบเขียวเข้ม เต็มฟ้าคราม ตามขนาน

ลำพุ่มต้น ปนสีแดง เข้มน้ำตาล

รีใบเดี่ยว สลับก้าน โคนใบมน

อกห้อยเดี่ยว เรียวปลายลีบ กลีบติดกัน

สามกลีบเลี้ยง ม่วงเขียวนั้น คั่นสีขน

ขอบกลีบเชื่อม ติดตลอดเวียน บิดเคียนวน

กระดังงาเขา เจ้างามจน ล้นพรรณา

เหลืองเกษร วงษ์ผู้ซ้อน ขมภูอ่อน

ล้อมเกษร นารีซ่อน ไว้หรรษา

กลายสายสี เหลืองขาวนวล ลออตา

อีกชมพู ม่วงแดงปร่า ชวนน่ายล

เดือนมีนา ผ่านเมษา กันยาแล้ว

คงไม่แคล้ว ผลิตจากดอก ออกกลุ่มผล

ยามฝนตก ลูกดกเดือน กันยายน

เป็นอาหารประทานล้น เหล่าสกุณา

อันผลแก่ เคล้าสีแดง เนื้อฉ่ำน้ำ

ยามเจ้าโกรธ งอนหน้าง้ำ คล้ำหอมฉุน

หอมน่ะได้ กินไม่ได้ ไม่ละมุน

ไกลกันบ้าง แม่กลิ่นฉุน แล้วจะหมุนเวียนมา

ขอบคุณอาจารย์ เพิ่งรู้ว่า บุหรงคือ กระดังงา 

ขอบคุณณัฐนพ มนู อินทาภิรัต มากค่ะ ทำให้ บุหรงมีคุณค่าขึ้นอีกมากมายค่ะ

จำได้ว่า

ตอนไปใต้พบเห็นบ่อยๆเลยครับ

มาเขียนบ่อยๆนะครับมีประโยชน์มากๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท