นักวิชาการพระปกเกล้า ชี้! สื่อต้องมีเสรีภาพมากขึ้น เพื่อแก้คอร์รัปชั่นไทย


เมื่อเวลา 9.30 น. วันที่ 30 สิงหาคม ที่ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะสถาบันพระปกเกล้า จัดการสัมมนา “การปฏิรูปประเทศไทย : การต่อต้านการทุจริต” โดยมี ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.เลิศพร อุดมพงษ์ น.ส.วรลักษณ์ สงวนแก้ว นักวิชาการสำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมอภิปราย

นายเลิศพร อุดมพงษ์ กล่าวว่า การทุจริตไม่ได้หมายถึงการได้รับเงินทองผลประโยชน์อย่างเดียวแต่หมายถึงการละเมิดสิทธิหรือทำร้ายผู้อื่นด้วย การทุจริตเชิงนโยบายเป็นประเด็นสำคัญเพราะมีความแยบยลทำให้มองไม่เห็นปัญหา จากการศึกษาภาคการเมือง ภาคราชการและภาคเอกชน เมื่อรวมกันจะเกิดการทุจริตสูง แต่ภาคประชาชนถ้าเกี่ยวเนื่องกับภาคส่วนอื่นจะเป็นเพียงการทุจริตระดับล่าง ดัชนีผลสำรวจความเห็นคนส่วนใหญ่การคอร์รัปชั่นประเทศไทย เห็นว่าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก 44เปอร์เซ็นต์เห็นว่าเป็นปัญหาร้ายแรง ภาคตำรวจเป็นอันดับหนึ่งที่คนคิดว่ามีการทุจริตมากที่สุด รองมาเป็นภาคการเมือง ภาคราชการ ภาครัฐสภา ภาคธุรกิจ และภาคการศึกษา

ด้านน.ส.วรลักษณ์ สงวนแก้ว เผยว่า กระบวนการพิจารณาคดีทุจริตของเราล่าช้า นำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ช้า เพราะอาจยึดตัวกระบวนการพิจารณาคดีมากไป ในต่างประเทศใช้วิธีการพิจารณาคดีพิเศษโดยอาจลงโทษจากหลักฐานได้ทันที ปัจจุบันเรามีกฎหมายว่าด้วยป้องกันและปราบปรามการทุจริตจำนวนมาก แต่สิ่งที่สำคัญคือมาตรการลงโทษผู้กระทำการทุจริต เพราะเวลาพูดถึงบทลงโทษจะคิดว่ามีแต่บทลงโทษทางอาญา แต่แท้จริงมีมาตรการทางจริยธรรม ทางวินัย และบทลงโทษตามกฎหมายอื่น

“กระบวนการควบคุมตรวจสอบและพิจารณาคดีบ้านเราค่อนข้างมีรูปแบบหลากหลาย ทำไมจึงมีประสิทธิภาพบังคับใช้ ต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับองค์กรตรวจสอบทุจริต ที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆทำงานหนักพอควร มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการทุจริตที่สำคัญ คือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ ถ้ามีความโปร่งใส ประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบได้ แต่ทำไมปัจจุบันไม่สามารถบังคับใช้ได้ อีกอย่างหนึ่งคือกฎหมายการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต ปัจจุบันผู้แจ้งเบาะแสไม่สามารถนำเบาะแสมาแจ้งได้ เพราะกลไกการคุ้มครองยังมีจุดอ่อนไม่สามารถคุ้มครองได้ทุกประเภท นี่เป็นมาตรการสำคัญที่ต้องแก้ไข น่ายินดีว่าในภาคเอกชนมีความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมป้องกันและปราบปรามการทุจริต จัดทำประมวลจริยธรรมในแต่ละองค์กร ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐมีประมวลจริยธรรมทุกองค์กร” น.ส.วรลักษณ์กล่าว

ส่วนนางถวิลวดี บุรีกุล กล่าวว่า ข้อเสนอของหน่วยงามต่างๆที่เสนอมาในเรื่องการต่อต้านการทุจริต ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ได้แบ่งเป็นมาตรการเชิงโครงสร้างที่ภาครัฐพึงกระทำและภาคส่วนอื่นๆ มาตรการป้องกันการทุจริตเชิงโครงสร้างต้องการให้มีมาตรการประเมินเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นธรรมมากขึ้น ส่วนเชิงกฎหมายหรือกลไกนั้นยังมีช่องว่างอยู่ เช่นการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง อยากให้ สนช. พิจารณาให้มีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อควบคุมการทำงานของนักการเมือง ส่วนการป้องกันนั้นการปิดเผยข้อมูลมีความสำคัญ และการสรรหาคนเข้าสู่อำนาจต้องมีมาตรฐานมีจริยธรรมมากขึ้น ประชาชนก็ต้องมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ของรัฐ

“การปราบปรามต้องดูเชิงกลไกกฎหมาย เช่น มาตรการทางภาษีอากร ตรวจสอบการเสียภาษีรายได้ย้อนหลัง ในแง่การปฏิบัติมีการเสนอเรื่องการให้ข้อมูลร้องเรียนด้านทุจริต ภาคประชาชนต้องรณรงค์มาตรการทางสังคมมากขึ้น และส่งเสริมให้สื่อมีเสรีภาพมากขึ้น” นางถวิลวดีกล่าว

ที่มา มติชน 30 สิงหาคม 2557

คำสำคัญ (Tags): #สื่อมวลชน
หมายเลขบันทึก: 575442เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2014 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2014 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท