มาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษในไทยและต่างประเทศ.docx
มาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย
ประเทศไทยกำลังเร่งเสริมสร้างศักยภาพในการยกระดับทักษะของครูผู้สอนภาษาอังกฤษชาวไทย เพื่อให้บรรลุมาตรฐานของอาเซียน หลังคาดการณ์ว่า ครูสอนภาษาอังกฤษจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558
จากการมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบของการฝึกอบรม สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษในอาเซียนพบว่า ประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความรู้ภาษาอังกฤษดีกว่าประเทศอาเซียนอื่น ๆ ได้จัดให้มีการฝึกอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยตัดสินใจสนับสนุนการอบรบในหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก หรือ TESOL ร่วมกับสถาบันภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเน้นให้ครอบคลุมความรู้ทั้งในด้านการใช้ภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งจะมีการประเมินการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน รวมไปถึงการพัฒนาเทคนิคการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้ครูนำไปใช้ในการสอน
สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา เนื่องจากเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษาจำเป็นจะต้องมีความรู้ในพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดีของ เพื่อการศึกษาต่อในระดับอื่น ๆ โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่จบหลักสูตรนี้จะได้รับใบรับรองในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐาน
มาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษในต่างประเทศ
ครูผู้สอนต้องมีการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความสามารถ หรือที่เรียกว่า พัฒนาตนเอง ครูผู้สอนทุกคนมีภารกิจในการสอนให้ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ให้รู้จักคิด วิเคราะห์เขียน มีประสบการณ์ มีกระบวนการในการทำงาน ตลอดจนมีคุณธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขนอกจากนี้ครูผู้สอนต้องมีการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความสามารถ หรือที่เรียกว่า พัฒนาตนเอง
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มีขอบข่ายและมาตรฐานครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ดังนี้
ขอบข่ายสาระที่ 1 ความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ
มาตรฐานที่ 1 มีความเข้าใจธรรมชาติและองค์ประกอบทางภาษา(Linguistic Competence)
มาตรฐานที่ 2 มีความสามารถในการสื่อสาร (Communicative Competence)
ขอบข่ายสาระที่ 2 ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี วิธีสอนภาษาต่างประเทศ และกลยุทธ์การเรียนรู้
มาตรฐานที่ 4 มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
ขอบข่ายสาระที่ 3 การพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจึงมีมาตรฐานเหล่านี้ ซึ่งในคราวต่อไปจะบันทึกเกี่ยวกับรายละเอียดในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งขณะนี้มีการเตรียมการกันบ้างแล้ว นอกจากการจัดการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐานแล้ว ยังเป็นการพัฒนาตนเองของเพื่อนครูไปด้วย
ไม่มีความเห็น