สิ่งควรคำนึงด้านการออกแบบและการใช้งานสนามบิน (Best Practice)


ภาวะอันตราย ที่ต้องตรวจพินิจ ตรวจสอบด้วยสายตา คิดวิเคราะห์ สาเหตุการเกิด ให้ถี่มากขึ้นและ ดำเนินการแก้ไขให้ตรงสาเหตุ แบบนี้ เป็นการลดความเสี่ยงได้ดีที่สุด

..........การออกแบบก่อสร้างสนามบิน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ..............

..........บริษัทที่รับออกแบบเอง และบริษัทที่จ้างมาควบคุมงาน ผลลัพธ์ของสิ่งก่อสร้างนั้น อีกหน่วยงานหนึ่งบริษัทอีกบริษัทเป็นผู้ใช้งาน แบบนี้ต้องอาศัยการประสานการใช้งาน ที่พร้อมที่จะแก้ไขแบบได้ทันที คือแก้ไขพร้อมกับหรือขณะก่อสร้าง เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้ การออกแบบจะใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่เพราะการสำรวจ ออกแบบ และคุณลักษณะหน้างานจริงย่อมมีความแตกต่างกัน ลำพังเองการสำรวจ ณ ก่อนออกแบบอาจทำได้ในระดับเท่าที่คาดหมาย แต่หน้างานจริงที่ผู้ควบคุมงานเจอปัญหา และได้หาแนวทางแก้ไขให้ดีที่สุด อาจเป็นสิ่งที่การใช้งานจริงไม่สามารถปฏิบัติการคามคาดหมายของผู้คุมงานได้

ดังนั้นการออกแบบการติดตั้งอุปกรณ์และการทดลองใช้งานย่อมสามารถที่จะยืดหยุ่นให้สามารถ ออกแบบไปพร้อมๆกับการดำเนินการก่อสร้างติดตั้ง ดังเช่น ปัจจุบันนิยมปฏิบัติ เพราะจะสะท้อนตอบโจทย์การใช้งานจริงได้อย่างตรงจุดตรงประเด็นมากที่สุดครับ

..........ความผิดพลาดที่อาจเกิดจากการออกแบบคุมงานที่อาจไม่เหมาะกับกายภาพการปฏิบัติ ควรต้องพิจารณาให้รัดกุม ก่อนที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากมาตรฐานที่กำหนดขึ้นได้ เช่นเคสที่เคยพบครับ

เรื่อง : รูปแบบไฟขอบทางขับ (TWY edge lights) บริเวณทางขับออกด่วน(rapid Exit TWY)
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ (เพิ่มเติมหลังจากการประชุมสรุปข้อบกพร่องIntermediate Report)

พบว่าโคมไฟฟ้าสนามบินแบบฝังพื้น (Surface Type) ได้แก่โคมไฟกึ่งกลางทางขับ (Taxiway Centerline Light) ไม่เรียบเสมอ (Fitted) กับผิวทางวิ่ง

สาเหตุอาจเกิดจากขณะใช้งานไปได้ระยะหนึ่งเกิดความเค้น ขณะที่อากาศยานเลี้ยว ทำให้แรงที่กระทำต่อโคมไฟที่ฝังพื้นอยู่ได้รับแรงกระทำในลักษณะเฉียงหรือบิดตัว ทำให้น้อตยึดโคมไม่สามารถทนแรงเค้นที่มากระทำได้ กอปรกับการใช้ผิวทางย่อมมีการยุบตัว ทำให้แรงที่กระทำมีลักษณะการกระแทก น้ำหนักที่กระทำมากขึ้น หากมีวงแหวนที่ไม่ได้เป็นเหล็กหล่อ (Mold) กับถังยึดโคม อาจทำให้วงแหวน(Frange Ring)เกิดฉีกขาดบาดยางอากาศยานได้ การป้องกันจึงต้อง เพิ่มความถี่ในการบำรุงรักษา หากพบการทรุดตัวของผิวทางบริเวณโคมไฟฝัง การบิดตัวของโคมไฟ น้อตยึดโคมเริ่มรับแรงไม่ไหว การเริ่มไม่พอดีกันของโคมไฟกับระดับพื้นผิวทางรอบข้าง สิ่งเหล่านี้คือภาวะอันตราย ที่ต้องตรวจพินิจ ตรวจสอบด้วยสายตา คิดวิเคราะห์ สาเหตุการเกิด ให้ถี่มากขึ้นและ ดำเนินการแก้ไขให้ตรงสาเหตุ แบบนี้ เป็นการลดความเสี่ยงได้ดีที่สุด

เรื่อง : รูปแบบไฟขอบทางขับ (TWY edge lights) บริเวณทางขับออกด่วน(rapid Exit TWY
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ1(6). พบว่าไฟขอบทางขับ (TWY edge lights) บริเวณทางขับออกด่วน(rapid Exit TWY) ที่เป็นทางโค้งไม่สัมพันธ์กันคือไฟที่อยู่ตรงกันข้าม(บนแนวเส้นตั้งฉากกับเส้นกึ่งกลางทางขับ) ไม่เป็นคู่ๆไฟที่อยู่โค้งในมีระยะห่างมากกว่าไฟที่อยู่โค้งนอกโดยปกติไฟที่อยู่ในทางโค้งไฟที่อยู่ด้านในของโค้งจะต้องมีระยะห่างน้อยกว่าไฟที่อยู่ด้านนอกของโค้ง และควรจะอยู่บนแนวเส้นรัศมีของโค้งนั้นๆ (2549)

(ผลการหารือจะได้แก้ไขโดยเพิ่มโคมไฟระหว่างโคมไฟทางขับเดิมให้ตั้งฉากกับโคมที่ติดตั้งอยู่แล้ว)

เรื่อง : รูปแบบของแถบวงกลมล้อมรอบถุงกระบอกทิศทางลมและโครงเสาถุงลม
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ3(17). ไม่พบแถบวงกลมรอบถุงกระบอกทิศทางลม (Circular Band) และโครงเสาไม่เป็น Frangible...............
เรื่อง : ลักษณะคุณสมบัติของ Aircraft Stand Marking
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ1.Aircraft Stand Marking ที่ทาลงบนพื้นอ่านได้ไม่ชัดเจนยากต่อการ Identify ชื่อหมายเลขหลุมจอด

(เป็น Finding ทางด้านกายภาพ ในปี 2549 และ 2551ต่อมาปี 2553 ด้านเครื่องอำนวยฯรับผิดชอบ)

ตรวจสอบแล้วพบว่า ทสภ.ได้ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้วCLOSED

เรื่อง : การทำงานของ Runway Exit Taxiway Indicator Light หรือ RETIL
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ2. ระบบไฟเตือนก่อนที่จะถึงจุดเริ่มเลี้ยวของทางขับออกด่วน (Runway Exit Taxiway Indicator Light) หรือ RETILไม่สามารถใช้งานได้ทุกเส้นที่เป็นทางขับออกด่วน

- Taxiway Center line Lightโดยเฉพาะช่วงที่นำออกทางขับด่วน(on exit taxiway) มีโคมที่ใช้ไม่ได้ติดกันหลายโคม

- Taxiway Centerline Marking ขนาน 60 เมตรและจุดเลี้ยวออกจากทางวิ่งเข้าสู่ทางขับด่วนไม่ชัดเจน

- Runway Centerline Marking ไม่ชัดเจนโดยเฉพาะช่วงทางขับออกด่วน

(ปี 2549 เป็น finding ต่อมาได้แก้ไขเรียบร้อย และตรวจพบอีกในครั้งนี้ ปี 2553)

ตรวจสอบแล้วพบว่า ทสภ.ได้ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้วCLOSED

เรื่อง : ลักษณะคุณสมบัติของ Barrier
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ3. บริเวณทางขับ C9 ซึ่งปิดอยู่ มีการวางอุปกรณ์กั้น (Barrier) ซึ่งทำจากโลหะมีลักษณะไม่แตกหักง่าย(Frangible)

(ปี 2553 เป็น finding ต่อมาได้แก้ไขเรียบร้อยในปี 2554 และตรวจพบอีกในครั้งนี้ ปี 2555)

ตรวจพบที่กั้นโลหะเป็นสิ่งกีดขวาง และแจ้งให้ ทสภ.เปลี่ยนไปใช้กรวยยางแทนแล้วClosed

เรื่อง : ความชัดเจนง่ายต่อการ Identify และขนาดของป้ายข้อมูล (Information Sign) ชนิดที่บอกทิศทาง (Direction Sign)
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุ- ป้ายเป็นจำนวนมากที่เป็นป้ายแสดงข้อมูล (Information Sign ) ชนิด ที่บอกทิศทาง (Direction Sign) อ่านชื่อทางขับยาก (difficult to identify) เฉพาะในเวลากลางคืนและในสภาพอากาศไม่ดี

- ป้ายบอกทิศทางขับออกด่วน(ในทุกจุดที่เป็นทางขับออกด่วน) มีขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน คือ มีขนาดความสูงของตัวอักษร 30 cm. ซึ่งตามมาตรฐานจะต้องมีขนาด letter (ชื่อทางขับ) สูง 40 cm.

พบว่าป้ายบอกทิศทาง ได้เปลี่ยนขนาดของป้ายแล้ว แต่ป้ายแสดงข้อมูล (Information Sign ) ชนิด ที่บอกทิศทาง (Direction Sign) จำนวนมากยังยากต่อการอ่าน (difficult to identify) เพราะมีเงาบังแสงไฟในป้ายอาจทำให้อ่านชื่อทางขับยากในสภาพอากาศไม่ดี ลดจากประเภทที่ 2 ระดับลงเหลือประเภทที่ 3Open

เรื่อง : Advance Visual Docking Guidance System (A-VDGS)
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุข้อแก้ไข

-ให้ปรับปรุงระบบนำเข้าหลุมจอดด้วยสายตา (VDGS) โดยปรับให้เริ่มแสดงผล อัตราการเข้าใกล้จุดจอด (Closure Rate) ตั้งแต่ระยะ 15 เมตรตามข้อกำหนดใหม่(ข้อกำหนดเดิมเริ่มแสดงผลที่ระยะ 10 เมตร)

ข้อแนะนำ

-สีของตัวอักษรในการแสดงผล “STOP” จากเดิมสีเหลืองเปลี่ยนเป็นสีแดง

-การวัดอัตราการเข้าใกล้แบบละเอียด (ทีละ10 cm.) ให้เริ่มวัดที่ระยะ3 เมตรจากจุดจอด (จากปกติเริ่มที่ระยะ 1 เมตร)

เรื่อง : Tool for Night Inspection (การนำรถวัดแสงมาใช้)
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุข้อแก้ไข

-การนำรถวัดแสงไฟมาใช้งาน จะทำให้มีความแม่นยำในการวัดการตรวจสอบว่าโคมไฟฟ้าสนามบินใดมีความสว่างลดลงครึ่งหนึ่ง

ข้อแนะนำ

- ควรนำรถยนต์วัดแสง และ รถเข็นวัดแสง มาตรวจวัดและบำรุงรักษาหลอดไฟที่มีความสว่างลดลงครึ่งหนึ่ง เพื่อรักษาระดับร้อยละในการให้บริการ ให้ตรงกับชนิดของทางวิ่ง

-Operator ดำเนินการใช้รถยนต์วัดแสงตรวจเป็นระยะและ ประเมิน แก้ไขซ่อมบำรุง วางแผน Safety Stock เก็บผลไว้แสดง เมื่อมีการ Audit ด้าน Night Inspection แล้ว regulator อาจสุ่มตรวจด้วยรถเข็นตรวจ และใช้บันทึกผลการตรวจที่ Operator ทำการตรวจได้ใช้วิเคราะห์และอ้างอิง เพื่อการดำเนินการในเรื่อง Predictive and total Maintenance.

เรื่อง : SIGN (Ligh Emitting Diode:LED)
ข้อบกพร่อง/ข้อควรปรับปรุงที่พบ : รายละเอียดของสิ่งที่ตรวจพบและข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุข้อแก้ไข

-ป้าย ต่างๆเมื่อใช้ง่นไปนานๆ จะเกิดเงาของโครงป้ายทำให้แสงสว่างของป้าย ไม่สม่ำเสมอตลอดพื้นที่ทั่วทั้งป้าย และไม่ได้มาตรฐาน

ข้อแนะนำ

-การปรับปรุงเป็นหลอดไฟ LED จะช่วยแก้เรื่องการเกิดเงาของโครงป้ายได้ดี (ทดม.เปลี่ยนแล้วเห็นว่าจะแก้ปัญหาระยะยาวได้ดี)

-อาจต้องมีการตัดเคสของอุปกรณ์ให้คำนึงถึง ความสามารถในการทนกระแสไอพ่นเป่าป้าย(ความแข็งแรงที่อาจลดลง) และคุณสมบัติของการแตกหักตามมาตรฐานอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 573763เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2014 02:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2017 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท