ฮักนะเชียงยืน 43


หวังให้เจ้าเติบโต

ติดตามงานครั้งสำคัญกับเด็กกลุ่มเป้าหมาย 


      ต่อเนื่องจากโครงการฮักเเพงร่วมใจลดใช้สารเคมี  ที่ฮักนะเชียงยืนได้ทุนจาก สกช. เเละ สสส.  ครั้งที่เเล้วเป็นการติดตามงานการละครให้เด็กโรงเรียนบ้านหนองกุง จำนวน 10 คน 2 กลุ่ม มาในคราวนี้เป็นการติดตามงานของเด็กไทบ้านเเบก ในวันที่ 31 กรกฏาคม - 3 สิงหาคม 2557 ที่ทั้งติดตามของ เด็กน้อยประถมโรงเรียนบ้านเเบก  เเละติดตามของเด็กใหญ่มัธยมโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมที่อยู่บ้านเเบกเช่นเดียวกัน โดยการติดตามนี้จะพาน้องคิดเเละทำ   โดยเด็กน้อยบ้านมี 1 กลุ่ม 10 คน ชื่อกลุ่มว่า กลุ่มอ้วนดำนะครเเบก   ส่วนกลุ่มเด็กใหญ่บ้านเเบกมีกลุ่มนาฬิกาเด็กเชียงยืนพิท กลุ่มสายเขียวรักษ์โลก เเละกลุ่มอื่นๆ  มาถึงตอนนี้ความคิดที่อยู่หัวหัว คือ "การที่เราจะพัฒนาอย่างยั่งยืนได้  เราต้องปลูกคนในชุมชน ให้ลุกขึ้นมาเท่านั้น เพราะถ้าเเม้ว่าจะบรรลุเป้าหมายไป เเต่ไม่ยั่งยืน ก็ไม่มีความหมายอะไร" การละครสามารถอาจทำให้คนเปลี่ยนเเปลงได้ ซึ่งผลของการเปลี่ยนเเปลงนั้นการที่จะให้เขาลุกขึ้นมานำชุมชนของตนเองเลย อันนี้ก็ถือว่ายากอย่างยิ่งเเต่เราต้องคอยปลูกใจกันไป โดยการติดตามในครั้งนี้เเละครั้งที่เเล้วมีกระบวนการที่เหมือนๆกัน ตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

๑.การพาน้องทบทวนปัญหาหรือทบทวนประเด็นของตนเองว่าเเท้จริงเเล้วประเด็นของตนเองนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร

๒.พาน้องทบทวนเรื่องราวของปัญหาโดยเเตกเป็น 5 ภาพตามกระบวนการละคร เอาปัญหาขึ้นก่อน(ภาพที่2) เเล้วต่อด้วยสาเหตุ(ภาพที่1) ต่อมาเป็นผลกระทบ(ภาพที่3) กิจกรรมที่ทำ(ภาพที่4) เเละเป้าหมาย(ภาพที่5) ในเครื่องมือการคิดนี้ หากเราคิดติดในเชิงตรรกกะมากเกินไปจะทำให้ละครไม่น่าดูเลย ถ้าใช้เครื่องมือนี้เเล้วคิดไม่ออก เเตกเป็นฉากไม่ได้ ควรใช้วิธีการ ได้เเก่

๒.๑ นำนิทานหรือปัญญาพื้นบ้านมาเป็นเส้นเรื่องโดย  วางเรื่องราวของเราไว้ตามทิทานเลย เเล้วค่อยเเทรกประเด็นเอา อาจทำให้ละครเราน่าสนุกน่าดู

๒.๒ ไม่ต้องไปยึดติดกับ 5 ภาพ เมื่อคิดไม่ออกจริงๆ ให้เขียนไปตามจินตนาการไปก่อน เเล้วเอาตรรกกะเชื่อมเข้าทีหลัง ถ้ากลัวว่ามันจะไม่ตรงประเด็น ให้มองดูเป้าหมายตนเองในขณะเขียน หรือ การใช้การเทียบเคียงสัญลักษณ์เเทน หรืออาจเขียนบทอย่างอ้อมๆ

๓ พาน้องเขียนบล็อกเเละจัดคนลงในกระดาษโดยการจัดคนนี้เป็นขั้นตอนในการจัด ภาพว่า เราจะเอาอะไรอยู่ส่วนใด อาจมีมีฉากหลัง มีต้นไม้  มีตึก มีบ้านไหม หรืออย่างไร เพื่อให้ละครเราดูสมจริงมากยิ่งขึ้น

๔.พาน้องเขียนบท ซึ่งบทในที่นี้สามารถเปลี่ยนเเปลงได้ตามความคิดเห็นของเขา เเต่ถ้าเมื่อบทใดที่ไม่เหมาะสมเราก็คอยกระตุ้นว่า บทนี้ไม่ควรออกสื่อ ซึ่งเราอาจใช้คำถามกระตุ้นการคิด หรือถ้าใช้คำถามเเล้วเด็กยังต้องการที่จะให้ออกสื่อไป เราอาจใช้การสอนการเเนะนำเข้ามาเเทนก็ได้  การเขียนบทถ้าคำตรงๆมันเเรงไปอาจใช้คำอ้อมๆเเทนจะดีมาก อาจมีเพลงหรือกลอนเด็ดๆที่นำเข้าเเต่ละฉาก ฯ

๕.พาน้องกำหนดคนเเสดงเเละพาน้องเข้าใจกับตัวละครที่ตนเองเเสดง อาจใช้วิธีการดึงใจให้เขามีความสนุก ให้เขาอยากที่จะทำ อยากที่จะเล่น เพื่อที่จะเตรียมพร้อมสู่การเล่นละครต่อไป

๖.พาน้องเล่นละครเลย โดยยึดฉากเเรกที่ว่า ตอนเเรกเราทำอะไรก่อน จะต้องอยู่ในจุดไหนของเวที ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยสมาธิ  ความเชื่อ  เเละจินตนาการเป็นอย่างสูง ซึ่งเราต้องรักษาระดับอารมณ์ของเด็กให้ ไม่เล่นจนเกินไป เเละไม่เครียดจนเกินไป ให้มันพอดี เเล้วเมื่อซ้อมเสร็จเเล้ว ก็ให้คอมเมนต์เพื่อปรับปรุงเเละอาจเล่าเรื่องราวให้น้องฟังในกลุ่มละครที่เขาทำได้ดี ฯ

๗.คอมเมนต์เพื่อปรับปรุง โดยจุดๆนี้ถ้าเป็นการใช้ ปิยะวาจา จะดีมาก เเละให้กำลังใจ เพื่อให้น้องมีเเรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง 

        ในเเง่ของเด็กประถมที่ 6 ซึ่งเขาอาจคิดไม่ออกเพราะประสบการณ์เเละการส่งสมยังไม่เยอะซึ่งเราอาจคิดช่วยน้องได้ อาจเเนะนำในทางที่จะทำให้ละครเเละผู้เล่นละครได้สนุกกับการเล่น 

        ในเเต่ละกลุ่มจะมีประเด็นที่ส่วนมหญ่เหมือนกัน คือ ประเด็นสารเคมีในชุมชน ซึ่ง เเต่ละกลุ่มจะมีวิธีการเล่าเรื่องราวต่างกัน ซึ่งหลายๆกลุ่มนำความเชื่อ เช่น เทวดาเข้ามา เป็นต้น โดยในช่วงนี้เป็นการติดตามที่ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดที่เด็กจะเกิดการเเรียนรู้ เราเองในบทบาทของพี่ลี้ยงต้องเป็นโค๊ช ตามบริบทของเด็ก (เพราะเด็กมีวัยที่เเตกต่างกัน จึงมีวิธีการโค๊ชที่ต่างกัน)  ความคาดหวังเล็กๆของกระผมเองที่เป็นหนึ่งในคณะพี่เลี้ยงมีความหวังว่า จากกระบวนการนี้ อาจทำให้เขามีความกล้าเเสดงออกมากยิ่งขึ้น  กล้าที่จะเป็นผผู้นำเพื่อนในสังคมของเขา  มีทักษะทางการคิดตาม 5 ภาพ  มีหลักคิดในการทำละครเมื่อเขาอยากจะทำให้ชั้นเรียน  หวังผลสูงสุด คือ มีความคิดว่าอยากให้เขาตระหนักในปัญหาบ้านเกิดของตนเอง (ปลูกใจ) 

        ซึ่งนอกจากจะปลูกใจน้องๆเเล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นเป้าหมายรอง คือ การปลูกใจพี่เลี้ยงร่วมด้วย ณ ตอนนี้ยังไม่ได้ถอดเเละ KM พี่่เลี้ยง สิ่งที่เราต้องทำต่อไปก็น่าจะชวนพี่เลี้ยงมาทบทวนเเละถอดตนเองในข้อเรียนรู้ที่เกิดขึ้น... ที่อาจจะทำต่อไป ... 

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 573738เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2014 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2014 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท