พุทธและพราหมณ์


               พระพุทธศาสนาเกิดมาเพื่อขัดแย้ง ตอบโต้ หักล้างคำสอนของพราหมณ์ ทั้งเรื่องอนัตตาและคำสอนเรื่องกรรม   กฎแห่งกรรมในศาสนาพราหมณ์ก็มี ในศาสนาเชนก็มี   แต่กรรมในศาสนาพราหมณ์มีไว้เพื่อสนับสนุนวรรณะสี่  ส่วนพระพุทธศาสนาสอนหลักกรรมเพื่อหักล้างระบบวรรณะสี่    กรรมในศาสนาเชนเป็นลัทธิกรรมเก่า ส่วนหลักกรรมในพระพุทธศาสนามุ่งให้กระทำการอันจะให้เกิดผลดีตรงตามเหตุปัจจัย

             ศาสนาพราหมณ์สอนหลักกรรมเพื่อให้เชื่อว่าการที่เกิดมาในวรรณะสี่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพทย์ เป็นศูทร ก็เพราะว่าท่านได้ทำกรรมที่จะให้มันเป็นอย่างนั้น  ดังนั้น ถ้าท่านเกิดมาในวรรณะไหน ท่านก็ต้องยอมรับสภาพที่ท่านเป็นอยู่และมีหน้าที่ประจำวรรณะ ซึ่งท่านต้องทำตามให้ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น สิทธิของวรรณะศูทรมีจำกัดแค่นี้ ท่านก็ต้องทำอยู่ในขอบเขตเท่านี้และเมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ก็นับว่าเป็นกรรมดีของท่านเมื่อทำตามหน้าที่ของวรรณะศูทรดีแล้ว ท่านก็มีทางมีความหวังที่จะไปเกิดดีขึ้นต่อไปในชาติเบื้องหน้าอาจจะไปเกิดในวรรณะสูงขึ้นและมีทางที่จะเจริญก้าวหน้า บรรลุโมกษะ ได้หลุดพ้น ได้เข้าถึงพรหมได้  แต่ตราบใดที่ท่านยังเป็นคนวรรณะศูทร ชาตินี้ทั้งชาติท่านไม่มีทางที่จะเจริญก้าวหน้าในทางจิตใจไม่มีทางที่จะได้ศึกษาพระเวทไม่มีทางที่จะบรรลุเข้าถึงพรหม

               แต่พระพุทธศาสนาสอนหลักกรรมเพื่อหักล้างวรรณะสี่นี้  พระพุทธศาสนาสอนว่า คนเราจะสูงจะต่ำทรามประเสริฐไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด   ใครทำกรรมดีคนนั้นก็เป็นคนดีทำกรรมชั่วก็เป็นคนชั่วเมื่อท่านประพฤติปฏิบัติดีท่านมีความเพียรพยายามใช้สติปัญญา ท่านก็สามารถบรรลุธรรมได้ เป็นพระอรหันต์ได้ไม่ว่าอยู่ในวรรณะไหน

หมายเลขบันทึก: 573355เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2014 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท