ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

ปัจจัยต่างๆที่นำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง


ปัจจัยต่างๆที่นำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งมีหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี รูปร่างหน้าตาดี หรือมีชาติกำเนิดดี เกิดอยู่ในตระกูลที่ดี

2.เป็นผู้ที่มีการศึกษาดี หากจบปริญญาเอกก็จะยิ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชน

3.เป็นผู้ที่มีฐานะทางด้านการเงินดีมั่นคง

4.เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง คนรู้จักเป็นจำนวนมาก

5.เป็นผู้ที่มีเครือข่ายญาติพี่น้องมากและมีเพื่อนฝูงมาก

6.เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพที่ผู้คนยอมรับและรู้จักมาก เช่น ครู ทนายความ แพทย์ ตำรวจ และข้าราชการที่ได้ทำงานใกล้ชิด ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่

7.เป็นผู้ที่นำเทคนิคใหม่ๆมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง เช่นในอดีต ผู้สมัครบางคนอาจจะจัดให้มีการฉายภาพยนตร์ บางคนอาจจะมีการขี่ช้างขี่ม้าในการหาเสียง บางคนอาจจะจุดตะเกียงเข้าไปสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น

8.เป็นผู้สมัครที่มีใจกว้าง ใจถึง ใจใหญ่เช่น มีการเลี้ยงอาหารสุราหัวคะแนนหรือผู้ที่ช่วยทำงาน

9.เป็นผู้ที่มีใจบุญกุศล ชอบช่วยเหลือผู้ยากไร้ บริจาคเงินให้กับวัดวาอาราม และสาธารณกุศลต่างๆ

10.เป็นผู้ที่มีระบบบริหารจัดการหัวคะแนนที่ดี

11.เป็นผู้ที่ใช้เงินในการซื้อเสียงซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย แต่ก็มีนักการเมืองจำนวนมากที่ยังใช้เงินเพื่อซื้อคะแนนเสียง

12.เป็นผู้ที่รู้จักประสานผลประโยชน์หรือใช้ระบบอุปถัมภ์ให้กับกลุ่มต่างๆในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

13.เป็นผู้ที่สร้างและสะสมผลงานต่างๆ อย่างมากมาย เช่น ถูกรับเชิญไปให้ความรู้เป็นวิทยากรให้แก่หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่

14.เป็นผู้ที่มีความสามารถในการพูดหาเสียงที่เก่งสามารถพูดโน้มน้าวใจประชาชนในพื้นที่ได้

15.เป็นผู้ที่มีระบบการจัดการเลือกตั้งที่ดี กล่าวคือ มีการวางแผน มีการจัดองค์กร มีการจัดคนที่เหมาะสมกับงาน มีการสั่งการและมีการประเมินผล

16.เป็นผู้ที่มีความสามารถในการนำหลักการตลาดมาประยุกต์ใช้กับการเมือง

17.เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสารทางการเมืองกับคนในพื้นที่เลือกตั้ง

สำหรับ ปัจจัยที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งได้แก่

1.ไม่มีสร้างผลงานต่างๆในพื้นที่

2.ไม่สม่ำเสมอในการพบปะกับประชาชนในพื้นที่ เช่นบางคนมักจะไปพบปะประชาชนในช่วงหาเสียง เมื่อได้เป็นนักการเมืองแล้วก็ไม่ยอมไปพบปะ ซึ่งคู่แข่งสามารถใช้โจมตีได้

3.ไม่มีระบบจัดตั้งหัวคะแนนที่ดี เพราะหัวคะแนนจำนวนมาก เห็นแก่เงิน เห็นแก่ผลประโยชน์ ในขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้การช่วยเหลือผู้สมัครอย่างเต็มที่

4.ไม่ซื้อเสียงในการเลือกตั้ง สำหรับในการเลือกตั้งจำนวนมากมีการซื้อเสียง หากผู้สมัครคนใดที่ไม่ซื้อเสียงแต่คู่แข่งซื้อเสียง ผู้สมัครท่านนั้นก็เสี่ยงกับการสอบตกเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้การซื้อเสียงจะผิดกฏหมายแต่ก็มีนักการเมืองจำนวนมากที่เสี่ยงซื้อเสียงเพื่อให้ตัวเองได้รับเลือกตั้ง

5.ไม่รู้จักประชาสัมพันธ์ตนเองหรือประชาสัมพันธ์ผลงานตนเองน้อยเกินไป ทำให้ผู้เลือกตั้งคิดว่าผู้สมัครท่านนั้นไม่มีผลงาน

6.ไม่รู้จักตอบโต้ข่าวลือ ในการเลือกตั้งคู่แข่งมักจะมีการปล่อยข่าวลือ ถ้าหากว่าผู้สมัครไม่ตอบโต้หรือไม่แก้ข่าวก็จะทำให้ประชาชนในพื้นที่หลงเชื่อข่าวลือนั้น จึงทำให้ผู้สมัครท่านนั้นเสียคะแนนเสียง เช่น ข่าวลือว่าผู้สมัครได้วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอกปลอมแล้วนำมาลงสมัครเป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 571883เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2014 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2014 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท