สรุปบทเรียน กลุ่มการดูพระแท้ ทางไลน์ 4 กรกฎาคม 2557


เมื่อคืนดูเหมือนจะไม่ค่อยมีใครว่าง ก็เลยสอนแบบตอบถามอยู่สองประเด็นเล็กๆ

ประเด็นแรก คือเส้นใยแมงมุมในพระสนิมแดง ที่ไม่ทราบเจตนาของผู้บัญญัติศัพท์นี้

แต่จากการตีความน่าจะมีอย่างน้อยสองแบบด้วยกันคือ

  • 1.เป็นการงอกของสนิมใหม่ตามรอยแตกปริของสนิมเก่า เป็นเส้นเล็กๆฝอยๆ ที่จะมี เฉพาะในกรณีที่มีสนิมเก่าเป็นแผ่นป้องกันรอบนอก เมื่อมีแรงดันจากภายในก็จะปริแยก แล้วสนิมใหม่ก็งอกออกมาตามนั้น เป็นเส้นเล็กๆ หรือ
  • 2.เป็นการงอกของสนิมที่ผิว เป็นเส้นเล็กๆ ฉ่ำๆ จะชัดเจนเมื่อส่องสะท้อนกับแสงสว่างจัดๆ เช่น แสงอาทิตย์

ในกรณีแรกจะพบทั้งในพระเนื้อสนิมแดง และเนื้อผง บางองค์ บางเนื้อ ตามเงื่อนไข

ในกรณีที่สองจะพบเฉพาะพระเนื้อสนิมแดงเท่านั้น

แต่ทั้งสองกรณีก็ยังไม่ใช่จุดฟันธงแท้-เก๊ เพียงแต่ทำให้เป็นพระแท้ดูง่ายเท่านั้น ถ้าไม่มีก็ยังเป็นพระแท้ดูยากเท่านั้นเอง

ประเด็นที่สอง ผมเปิดประเด็นการดูเนื้อชินเขียวแบบชัดๆ

ก็คือการดูสนิมหลากหลายในเนื้อ จนดูเป็นเนื้อลายหินอ่อน มีสนิมไข ออกฉ่ำๆนวลๆ กลมกลืนอยู่ในเนื้อแบบไม่แยกชั้น

ที่เป็นการดูชินเขียวที่ผมเคยแนะนำไปแล้ว แต่นำมาขยายความเพิ่ม เพื่อความชัดเจนของการดูแท้เก๊ อีกครั้งหนึ่ง

จึงเป็นการสอนสั้นๆ ง่ายๆ แบบตามความความสนใจ ไม่มีกรอบการสอนที่กำหนดไว้

แต่ใช้แบบสอบถามความเข้าใจเท่านั้น

ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกท่านครับ

คำสำคัญ (Tags): #การดูพระแท้
หมายเลขบันทึก: 571753เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2014 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2014 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชัดมากครับ ของคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท