สรุปบทเรียน "การดูพระแท้" ทางไลน์ 24 มิถุนายน 2557


เมื่อวานได้พระชินราชกรุบ้านกร่างมาอีก 4 องค์ ทำให้เริ่มสงสัยว่า ทำไม ผมจึงได้มาทุกวัน โดยไม่ได้ค้นหา

ทั้งๆที่เพื่อนทางสายสุพรรณบุรี บ่นผ่านเฟสมาตลอด และบอกมาว่า "หาไม่ได้" งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

เมื่อคืนก็เลยเปิดประเด็น เชิงประวัติศาสตร์ พงศาวดาร สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์และการเมือง ที่เป็นที่มาของการสร้างพระกรุบ้านกร่างและพระที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญๆ ก็คือ พระอู่ทองยุคโบราณ และพระชินราชเคลือบวัดใหญ่ชัยมงคล

ในกระบวนการเรียนผมกลับไปทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาถึง พระสามศิลปะ ของกรุบ้านกร่าง


คือ

1. ศิลปะพิษณุโลก (ซุ้มพระพุทธชินราช)

สัญญลักษณ์เมืองพิษณุโลก สองแคว อันเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นป้อมปราการของทางเหนือ ที่กษัตริย์อยุธยาในอดีตจะแต่งตั้งให้พระราชโอรสที่เกิดจากพระสนมสายเหนือ ไปปกครอง ในฐานะ เมืองมารดา ปกครองกันง่ายหน่อย

ที่เป็นยุทธศาสตร์การปกครองในสมัยโบราณ ที่ทำให้กษัตริย์มีพระสนมหลายพระองค์ เพื่อการนี้

ต่อมาเทื่อมีจังหวะทางการเมือง พระราชโอรสสายเหนือ ก็ได้มีโอกาสครองราชย์ ตั้งราชวงศ์ของตัวเองขึ้นมาใหม่ เป็นราชวงศ์พระร่วง

ดังนั้น เมืองพิษณุโลกจึงกลายเป็นจุดก่อกำเนิดของราชวงศพระร่วง และเป็นสัญญลักษณ์ของราชวงศ์พระร่วง

ในการสร้างพระพุทธรูปที่สะท้อนอิทธิพลของราชวงศ์นี้จึงใช้ ซุ้มพระพุทธชินราช เป็นสัญญลักษณ์สำคัญ

2. ส่วนพระพักตร์ นั้น กลับใช้ศิลปะอู่ทอง

ที่น่าจะเป็นตัวแทนของฝ่ายพระบิดา ที่มีต้นกำเนิดจากสายทางอู่ทอง และ สุพรรณภูมิ

3. ส่วนลำพระองค์ที่เหลือ กลับใช้ศิลปะเชียงแสน

ที่น่าจะแทนสายพระมารดา และเป็นเชียงแสนยุคที่ 3 ที่ถือเป็นเชียงแสนยุคใหม่ทีเดียว

และตามพงศาวดาร พระชินราชบ้านกร่างนั้นสร้างเป็นรุ่นแรก มีความหลากหลายแนวคิดขององค์พระ

และที่สำคัญพุทธลักษณะเป็นลักษณะกองกำลังทหาร

มีแม่ทัพใหญ่ (ชินราชคู่) ขุนพล มีแม่ทัพย่อย นายกอง ลดหลั่นกันลงมา อย่างเป็นระบบ

ที่ตามอ้างอิงในพงศาวดาร คาดว่าจะไว้แจกทหารออกรบ ในสมัยสงครามยุทธหัตถี

แต่ก็มีอีกพิมพ์ที่แตกต่างเชิงศิลปะ คือ ชินราชห้าเหลี่ยมอกใหญ่ ที่ใช้ศิลปะส่วนลำพระองค์เป็นอู่ทองทั้งหมด ที่น่าจะสร้างต่อมาภายหลัง

เพราะมีความคล้ายคลึง เชื่อมต่อ และเกี่ยวเนื่องกับพระชินราชเคลือบวัดใหญ่ชัยมงคล ที่เป็นยุคหลังจากบ้านกร่างแน่นอน

นั่นก็คือประวัติศาตร์ และที่มาของพระตระกูลสุพรรณบุรี ที่วงการเรียกอย่างผิดๆว่า "ขุนแผน"

ทั้งๆที่ชื่อ "ขุนแผน" เป็นแค่ชื่อพระเอกในวรรณคดียุคหลังๆนี้เอง ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับพระพุทธชินราชกรุบ้านกร่างแต่อย่างใด

ถ้าจะให้เหมาะสม ควรจะเรียกว่าพระสาย "สุพรรณบุรี" จะถูกต้องกว่า

แต่ก็จะมาไม่ตรงกับชินราชเคลือบวัดใหญ่ชัยมงคล ที่อาจจะถือว่าเชื่อมโยงกันก็ได้

เพราะตอนนั้นราชวงศ์พระร่วงได้ครองราชสมบูรณ์แบบแล้ว

ยังมีประเด็นที่ยังใช่คำไม่เหมาะสมเรียกพระอู่ทองยุคโบราณว่า "ขุนไกร" ที่เป็นชื่อพ่อของขุนแผน

ที่โดยเชิงศิลปะก็พอกล้อมแกล้มไปได้ แต่ในเชิงความเข้าใจของคนในวงการพระเครื่องนั้น กลับคิดว่าเป็นพระกรุ หรือยุคเดียวกันไปเสียอีก

ว่าเป็นพระตระกูลขุนแผน ทั้งๆทีเป็น พระศิลปะคุปตะสมัยทวาราวดี ผสมอู่ทอง รุ่นโบราณ เก่ากว่าพระบ้านกร่างหลายร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปีก็ได้ ไม่น่าจะเป็นแค่พ่อ ถ้าจะให้ใกล้เคียงหน่อย น่าจะยกให้เป็นทวดของทวดไปจะเหมาะสมกว่า

ถ้าจะเรียกให้ใกล้เคียงก็น่าจะว่าพระตระกูลอู่ทอง จะถูกต้องมากกว่า

ก็อย่างว่า คำที่กำหนดมาก็พยายามจะให้เป็นพุทธพานิชมากกว่าความจริงน่าจะเป็นอย่างไร

นี่ก็คือบทเรียนที่สอนเมื่อคืนที่ผ่านมา

เน้นไปทางประวัติศาสตร์ ที่ทำให้เราเข้าใจตัวเอง เข้าใจพระเครื่อง พุทธศิลป์ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การปกครองของดินแดนสุวรรณภูมิในอดีต

ผมใช้เวลาสืบค้นเรื่องนี้มาเกือบสิบปี ด้วยความเคารพและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระสมเด็จนเรศวรมหาราช

ผมได็เริ่มศึกษาพระบ้านกร่างมาเป็นกรุแรก เลยมีข้อมูลมากหน่อย และมีพระบ้านกร่างมากพอสมควร

ใครสนใจมาขอแบ่งได้ครับ

ผมมีเยอะเกิน

ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกท่านครับ

คำสำคัญ (Tags): #การดูพระแท้
หมายเลขบันทึก: 570974เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2014 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2014 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ..สำหรับรูปพระที่ถ่ายได้ชัดมากๆ เหมาะแก่การศึกษาครับ อย่างไรก็ตามรบกวนอาจารย์ถ่ายรูปด้านหลังและด้านล่างให้ด้วยครับ ระยะนี้งานยุ่งมากๆครับ แต่ก็เข้ามาดูความก้าวหน้าในการเรียน การสอนของอาจารย์ทุกวันครับ ส่งกำลังใจมาให้อาจารย์ทุกวันครับ ที่ช่วยเหลือสังคมให้น่าอยู่ยิ่งๆขึ้นครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ..

สว้สดีครับอาจารย์ ถ้าอาจารย์พอมีเวลา ช่วยจัดทำการสอนแบบนี้ออกมาเป็นหนังสือด้วยครับ  เอาแบบเล่ม 1 2 3 สอนแบบศิลปะสลับกับการดูเนื้อเล่มหนึ่ง เอาแบบวงกลมเหมือนสอนเด็กอนุบาลเลยครับ  ที่ผมชอบอ่านหนังสือเพราะมันทบทวนง่ายผมเชื่อว่าทุกคนชินกับการนั่งอ่านหนังสือพอสมควร  ในบันทึกของอาจารย์ บางครั้งรูปภาพก็หาย เอาแบบสี่สีเลยครับ ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท