สรุปบทเรียน กลุ่มเรียนรู้ ทางไลน์ "การดูพระแท้" วันที 19 มิถุนายน 2557


เนื่องจากการเรียนการสอนในเรื่องการดูพระแท้ เพิ่งจบหัวข้อการสอน 

หลัก/วิธีการดูพระ ดิน ชิน และ ผง ไปเมื่อวันก่อน 

จึงเปลี่ยนแปลง การสอนเข้าไปสู่เนื้อหา การวิเคราะห์เนื้อแต่ละกลุ่ม มากขึ้น และได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจ ว่าจะเปลี่ยนแปลงการเรียนไปในเรื่องอะไรดี 

โดยการนำ พระที่ตนเองมีหรือสนใจ เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งที่สามารถ วิเคราะห์แนวทาง และ ความสนใจของผู้เรียนได้ชัดเจนมากขึ้น

เมื่อคืน เริ่มวิเคราะห์หลักการดูพระเนื้อดินเป็นหลัก โดยเฉพาะ พระชินราชบ้านกร่าง ที่ทำจากเนื้อพลาสติก แต่งผิวมาหยาบๆ ที่ยังไม่มี เขาหลักการใดๆ ของวิธีการดูพระแท้เนื้อดินดิบ ตามหลัก1 2 3 4 +8 แต่อย่างใดทั้งสิ้น

แต่แม้กระนั้น ก็ยังมีนักเรียนใหม่ เข้ามาถามทีละประเด็น จึงได้ตอบทีละประเด็นตามลำดับ เช่นเดียวกัน ที่น่าจะเกิดจากการขาดประสบการณ์ ในการดูพระตามหลักความเป็นจริง แบบอาศัยคำพูดและความเข้าใจของตนเองเป็นหลัก 

ผมจึงได้ให้คำแนะนำ ว่า ควรจะศึกษาตามความเป็นจริง เอกสารที่เขียนตามความจริง มากกว่าที่จะศึกษา ตามความเชื่อและตามความรู้สึกของตนเองเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดปัญหาความสับสนในกระบวนการเรียนรู้ 

โดยเฉพาะ ท่านที่เริ่มการศึกษา จากการดูพระเก๊เป็นหลัก และหวังว่าจะได้พระแท้ นั้น  เป็นไปได้ยากมาก และผมจึงแนะนำมาศึกษาจากพระแท้เลยจะดีกว่า


โดยอาศัยหลักการ

หลักที่ 1 คือการดูความเก่าให้เป็น

หลักที่ 2 มีส่วนผสมอย่างน้อย 2 อย่างที่ตรงกันข้ามกัน อยู่ด้วยกัน เช่น ในความใหม่มีความเก่า ในความเก่ามีความใหม่ หรือในความแห้งมีความฉ่ำ และในความฉ่ำมีความแห้ง เป็นต้น

และหลักที่ 3 มีความเหี่ยว ทุกระดับ มีความนุ่มนวล มีความฉ่ำ อยู่ด้วยกัน ในทุกจุดบนพื้นผิว

จากหลักมาตรฐานกลาง ทั้ง 3 ข้อนี้ สามารถแตกประเด็นไปสู่หลักข้อที่ 4 คือการดูเฉพาะ กลุ่มโดยเฉพาะเนื้อ แบบต่างๆ เช่น เนื้อดิน ใช้ หลักเนื้อ 8 ชั้นเป็นหลัก เนื้อชิน ใช้ 3 หลัก เนื้อผงใช้ 5 หลัก เป็นต้น

และได้ นำความแตกต่างๆนั้นมาทำเป็นแผนผัง ให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น แนะนำไปสู่การวิเคราะห์วิจารณ์ได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจความเป็นจริง อย่างรวดเร็วแทนการ อ่านตำราและเอกสารไปตามจินตนาการ ของตนเองไปกับการดูพระเก๊ ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่พบมากที่สุดในกลุ่มผู้เรียน

ดังนั้นจึงขอให้ผู้เรียนได้พัฒนาความเข้าใจหลักคิดของตนเองเสียใหม่ถึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง

โดยเริ่มจากของจริงเท่านั้น แม้จะเริ่มจากของจริง บางครั้งก็ยังเข้าใจผิดได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าเริ่มจากของทำเลียนแบบนั้น ผิดพลาดได้ง่ายมากๆ

ประเด็นการสอนเมื่อคืนนี้ก็มีอยู่ประมาณเท่านี้ และคิดว่าน่าจะนำไปใช้ต่อไปเรื่อยๆ ตามความสนใจของผู้เรียน

ยินดีตอนรับนักเรียนทุกท่านครับ

คำสำคัญ (Tags): #การดูพระแท้
หมายเลขบันทึก: 570720เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2014 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2014 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับอาจารย์  แบบนี้น่าจะเข้าใจง่ายกว่าครับ

ไม่แน่ครับ พวกดื้อตาใสมีเยอะครับ 555555555

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท