​เมื่อวัยรุ่นเริ่มเพาะกายแบบผิดๆ


ผู้เขียนไม่เคยลืมประสบกาณ์ตอนที่เริ่มเพาะกายครั้งแรกเมื่อมีอายุได้ 14 ปีใน ค.ศ.1990 ในตอนนั้นคาดหวังไว้ว่าจะมีหุ่นแบบพระเอกที่ชื่อ Arnold Schwarzenegger ได้ภายใน 3-4 เดือนหลังจากที่ได้เพาะกายอย่างหนักควบคู่ไปกับโภชนาการแบบนักเพาะกายอาชีพตามตำราทุกอย่าง ซึ่งก็มีกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นมากภายใน 4 เดือนแต่ยังห่างไกลมากจากหุ่นแบบพระเอกที่ใฝ่ฝันไว้ นั่นเป็นบทเรียนจากการตั้งเป้าหมายที่สูงเกินจริงซึ่งมักเป็นข้อผิดพลาดของผู้ที่เริ่มเพาะกายทั้งหลาย หากเลี่ยงข้อผิดพลาดดังต่อไปนี้ได้ ย่อมจะประสบความสำเร็จในไม่ช้าเลย

ข้อผิดพลาดข้อที่ 1 – เป้าหมายสูงเกินจริง
การมีรูปร่างแบบนักเพาะกายอาชีพจำเป็นต้องใช้เวลาและการบริหารที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ มีการพักผ่อนที่เพียงพอ แล้วยังประกอบกับหลักโภชนาการที่ดีด้วย ท่านต้องมีความอดทนและจดบันทึกพัฒนาการของท่านซึ่งจะช่วยให้ท่านมีแรงบันดาลใจให้ขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างถูกต้อง โดยอาจถ่ายรูปตัวเองทุกๆเดือนพร้อมกับการวัดน้ำหนักตัวและสัดส่วนเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นพัฒนาการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อท่านจะได้ปรับเปลี่ยนโปรแกรมของการออกกำลังกายได้เหมาะสมที่สุด รูปถ่ายจะทำให้เห็นสัดส่วนที่เปลี่ยนได้ชัดเจนกว่าการวัดสัดส่วนเช่น ขนาดอาจวัดได้เท่าเดิมแต่ความคมชัดของกล้ามเนื้อสามารถเห็นได้คมชัดมากยิ่งขึ้นเพราะมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นพร้อมกับที่มวลไขมันลดลง หากวัดไขมันใต้ผิวหนังไว้เปรียบเทียบได้ก็จะยิ่งดี

ข้อผิดพลาดข้อที่ 2 – ขาดความสม่ำเสมอ
มีวัยรุ่นที่เริ่มเพาะกายเข้าใจผิดว่า หากฝึกต่อกัน 3 สัปดาห์ หยุดพักสัก 2 สัปดาห์ แล้วค่อยกลับมาฝึกต่อก็ได้ เพราะกล้ามเนื้อที่ได้มาแล้วจะหายไปเกือบหมด ดังนั้นการฝึกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเท่านั้นจึงจะสำเร็จได้

ข้อผิดพลาดข้อที่ 3 – ขาดการวางแผนการฝึกล่วงหน้า
การฝึกแบบไม่วางแผนคือ ฝึกไปเรื่อยๆด้วยการยกน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่มีลำดับที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากจะได้ผลไม่ดีแล้วยังอาจบาดเจ็บได้อีกด้วย

ข้อผิดพลาดข้อที่ 4 – ฝึกตามแชมเปี้ยน
การฝึกแบบวางแผนคือฝึกตามโปรแกรมของพวกแชมเปี้ยน ซึ่งเป็นขั้นที่ก้าวหน้ามากเกินไปสำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นหรือแม้แต่ผู้ที่ฝึกมาแล้วระยะหนึ่ง ทั้งนี้ผู้ที่ฝึกมากกว่า 10 ปีขึ้นไปเท่านั้น จึงจะรู้จักร่างกายของตนเองว่าควรฝึกแบบไหนจะเหมาะสมที่สุด และอาจฝึกแบบเน้นเฉพาะจุดได้เช่น ฝึกเพื่อเสริมจุดอ่อนในขณะเดียวกันก็ฝึกเพื่อรักษาจุดแข็งเอาไว้ด้วย ซึ่งท่าที่ฝึกอาจเป็นท่าฝึกเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งของกล้ามเนื้อเท่านั้น อีกทั้งความหนักและความถี่ของโปรแกรมฝึกก็หนักมากเกินไปสำหรับผู้ฝึกทั่วไปซึ่งควรฝึกเพื่อเสริมทุกส่วนก่อนโดยยังไม่ควรเน้น

ข้อผิดพลาดข้อที่ 5 – ฝึกผิดวิธี
การฝึกผิดวิธีที่พบได้บ่อยคือ ต้องการเสริมกล้ามเนื้อแต่ฝึกนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง และใช้ท่าที่ฝึกเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งของกล้ามเนื้อเท่านั้น
จาก Teen Bodybuilding: The Biggest Mistakes Teens Make When They Start Bodybuilding 

โดย Hugo Rivera, About.com
pic- teenbodybuilding.com

หมายเลขบันทึก: 570641เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2014 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2014 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วัยรุ่นใจร้อน อยากเห็นผลไวๆ มังคะ

อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับพฤติกรรมต้องมีความสม่ำเสมอ และมีวินัยนะคะ

จริงครับอ.nui โดยเฉพาะในเพศชาย

ด้วยเหตุนี้ผมจึงแปลบทความนี้มาลงเพื่อช่วยทำความกระจ่างและลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท