ชีวิตที่พอเพียง : 148. ปราชญ์ที่แท้


       ผมเดินทางกลับจากไปเยี่ยมลูกชาย    (หรือที่จริงเป็นการไปให้ลูกพาเที่ยวมากกว่า) ด้วยความอิ่มเอม  

       ยิ่งระหว่างนั่งเครื่องบินกลับ ได้อ่านเรื่อง Ideas as Art  ใน HBR Oct 2006   ทำให้ผมได้รู้จักปราชญ์ที่แท้ของโลกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน คือ James G. March ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด    ที่คนยกย่องให้เป็นกูรูหมายเลขหนึ่งด้านการจัดการหลังมรณกรรมของ Peter Drucker
 
      ปราชญ์ที่แท้ในสายตาผมเป็นคนถ่อมตัว    และมีมิติของความเป็นมนุษย์สูง    เห็นความงามและคุณค่าในสรรพสิ่ง แม้ในคนที่

ได้ชื่อว่าเป็นคนเลว     เห็นทั้งโอกาสในการสร้างสรรค์จากสิ่งหรือจุดที่ดูธรรมดาที่สุด    และเห็นข้อจำกัดของสิ่งที่ดูยิ่งใหญ่ อลังการ

      มองเห็นความงาม และคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย และเห็นระบบหรือคุณค่าของสิ่งที่ดูอย่างผิวเผิน เป็นความสับสน

ปั่นป่วน

      มองภารกิจของตนไม่ใช่แค่ระดับของการใช้งาน    แต่เห็นลึกเข้าไปถึงระดับคุณค่าและสุนทรีย (aesthetic)
 
      มุ่งทำตนให้เป็นผู้เพิ่มความงดงามให้แก่โลก แม้เพียงเล็กน้อย    ไม่ใช่เป็นผู้เพิ่มความอัปลักษณ์ให้แก่โลก


วิจารณ์ พานิช
๘ ตค. ๔๙
บนเครื่องบิน แอลเอ - ฮ่องกง

หมายเลขบันทึก: 57064เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2006 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณหมอครับ

แล้วมนุษย์กับปราชญ์มีความต่างกันไหมครับ เพราะต่างก็มีจิตใจสูงทั้งคู่ มองภาพรวม เห็นจุดดี-ด้อยของทุกระบบ ทำในสิ่งที่ดี หรือต่างกันที่ความปราดเปรื่องครับ

๗ พย ๔๙ (Kyoto)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท