บาดทะยักเข้าแผล


เชื้อบาดทะยัก มักจะอยู่ในดิน ในฝุ่น

มักจะเข้าร่างกายเราทางบาดแผล

บาดแผลเล็กแต่ลึก เช่นแผลจากตะปูตำ มีโอกาสเกิดบาดทะยักได้ง่าย

เพราะฉะนั้นจึงต้องทำแผลให้สะอาด แผลลึกก็ต้องกรีดบาดแผลให้กว้างขึ้น

และที่สำคัญ ต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักด้วย


ลุงทองดี ไปช่วยชาวบ้าน ขุดลอกทางระบายน้ำในหมู่บ้าน แล้วเกิดลื่นหกล้ม

ส้นเท้าไปโดนขอบของทางระบายน้ำที่ทำด้วยปูนซิเมนต์

เป็นแผลลึก สกปรก เปื้อนไปด้วยตะไคร้น้ำ

เพื่อนๆพาลุงทองดีไปโรงพยาบาล

พยาบาลทำแผลและเย็บแผลให้

แล้วให้ยากลับมากินที่บ้าน แนะนำให้ไปทำแผลทุกวัน


เวลาผ่านไป เกือบสองอาทิตย์ ลุงทองดีเริ่มรู้สึกว่า ตัวเองอ้าปากไม่ขึ้น และตัวสั่น แผลก็ยังไม่หายดี

ลุงทองดี บอกกับพยาบาล ที่ทำแผลให้ พยาบาลกลับบอกว่า “ไม่เป็นอะไร มังคะ ไข้ ตัวร้อน ก็ไม่มี"

ลุงทองดีไม่สบายใจ จึงให้ลูกสาว พาไปพบหมอ

หมอส่งลุงทองดี ไปพบหมอเฉพาะทางอีกหลายคน เพราะหาสาเหตุไม่ได้

จนท้ายสุด ลุงทองดี ถูกส่งให้ไปพบหมอฟัน

หมอฟันเองก็ไม่แน่ใจ เกิดจากสาเหตุอะไร

จึงแนะนำให้ ลุงทองดี ไปหาหมอรุ่นพี่ที่เขาเก่งทางด้านขากรรไกร

ลุงทองดี ไม่สะดวกไปในวันนั้น

จึงเตรียมตัวจะไปพบหมอในวันรุ่งขึ้น

ตกเย็นของวันนั้นเอง ลุงทองดีรู้สึกปวดกราม กลืนน้ำลายก็ไม่ได้

ลุงทองดี รีบเข้านอน อาหารเย็นก็กินไม่ได้ อ้าปากไม่ขึ้น กลืนไม่ได้

ลูกสาวรู้สึกกังวลมาก จึงต้องเข้าไปดูพ่อในห้องนอนบ่อยๆ

ตกดึกลูกสาวเห็นว่า ลุงทองดี กระตุกคล้ายกับชัก

จึงพาลุงทองดี กลับมาที่โรงพยาบาลเดิม

คุณหมอตรวจพบว่า "อาการแบบนี้ไม่ใช่ชัก แต่เป็นกล้ามเนื้อกระตุก"

คุณหมอ ไม่แน่ใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับลุงทองดีกันแน่

พยายามค้นหาในประวัติการรักษาที่ผ่านมา

และกลับมาตรวจร่างกายของลุงทองดี ซ้ำแล้วซ้ำอีก

ลำตัวของลุงทองดีแข็งเกร็งมากขึ้น

คุณหมอยังคงตรวจหาสาเหตุจนพบว่า

คนไข้มีแผลที่ส้นเท้า “หรือว่าคนไข้จะเป็นบาดทะยัก” พยาบาลเอ่ยขึ้น

คุณหมอ เริ่มเอ๊ะใจ จึงบอกกับญาติว่า “จะลองรักษาแบบบาดทะยักดู”


ลุงทองดี ถูกจัดให้นอนพักในห้องผู้ป่วยแยกจากผู้ป่วยคนอื่นๆ

ให้มีแสงน้อยๆ งดเยี่ยม กินอาหารทางสายยางผ่านทางจมูก

ให้คนดูแลสัมผัสตัวคนไข้น้อยที่สุด และให้ยาฆ่าเชื้อกับลุงทองดี

เวลาผ่านไป สองอาทิตย์ อาการของลุงทองดีเริ่มดีขึ้น

ญาติดีใจมาก คุณหมอเองก็ดีใจไม่น้อยที่รักษามาถูกทาง

“คราวหน้า มาโรงพยาบาลต้องบอกหมอให้ครบนะว่าเป็นอะไรมาบ้าง หมอจะได้วินิจฉัยได้ถูกต้อง” หมอกำชับเพิ่มอีก

ลุงทองดีรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานเป็นเดือน

จึงสามารถกลืนอาหารได้ ลำตัวไม่แข็งเกร็งอีกแล้ว

ลุงทองดีบอกกับลูกๆว่า "เหมิือนได้เกิดใหม่ อีกครั้ง"


ในบางครั้งการรักษาโรคใดโรคหนึ่ง

คนรักษาก็อาจจะหลงทางได้ เนื่องจากอาการของโรคบางโรคคล้ายคลึงกันมาก

บวกกับประสบการณ์ของคนที่ให้การรักษาพยาบาล

คนไข้ก็มีความทุกข์ทรมาน คุณหมอคุณพยาบาล ก็มีความทุกข์กังวลที่หาสาเหตุของโรคไม่ได้

ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือการป้องกัน อย่าให้เกิดโรคใดๆขึ้น

อย่างที่ลุงทองดีต้องทุกข์ทรมานกับโรคในโรงพยาบาลนานเป็นเดือน เดือน

หมายเลขบันทึก: 570362เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พี่แดงเขียนเล่าได้เก่งมากเลยนะคะ ชวนให้คิดได้ตลอดเลย น่าจะลองเขียนเรื่องสั้นได้นะคะนี่ (เป็นความคิดที่ผุดขึ้นมาเมื่ออ่านจบค่ะ)

ขณะหนึ่งการหลงทางก็มีชุดความรู้ในตัวของมันเอง  เป็นชุดความรู้ที่อาจต้องหยิบจับไปใช้ในกรณีอื่นๆ ....

คิดถึงครับ....

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท