SEEN อีสาน_๐๑ : อุปนิสัยพอเพียง คืออะไร ?


วันที่ ๒๖-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ทีมขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา อีสานตอนบน จัดเวทีถอดบทเรียนการขับเคลื่อนฯ โดยใช้ "กระดาษ ๙ แผ่น" ซึ่งเน้นการปลูกฝัง บ่มเพาะอุปนิสัยพอเพียง ด้วยการสอดแทรกในกระบวนการเรียนจัดการเรียนการสอน  ได้รับโอกาสจากอาจารย์ศศินี ลิ้มพงษ์ อาจารย์สุจินดา งามวุฒิพร และน้องสมเกียรติ พุทธิจรุวงศ์ มาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตลอดงาน... ขอบพระคุณท่านไว้ ณ ในที่นี้ด้วยครับ

หลังจากการแลกเปลี่ยนวันแรกจบลง DAR บอกเราว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องทำให้ "เข้าใจในความหมาย" ให้ตรงกันคือคำว่า "อุปนิสัยพอเพียง"  ผม "โยน" คำถามนี้เข้าไปใน "วง" แล้วส่งไมค์ซ้ายไปขวาจนวนมาครบทุกคน

  • ก่อนจะทำสิ่งใดๆ จะต้องคิดก่อน และต้องมีเหตุและผล ตามหลักวิชาการ คำนึงถึงคุณธรรม
  • มีเหตุ-ผล วางแผน ก่อนจะลงมือปฏิบัติ
  • มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ปรับตัวได้ดี ใช้จ่ายเงิน เผื่อแผ่ มีคุณธรรม
  • ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทำเรื่องยากให้ง่าย ไม่เปรียบเทียบ
  • คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น มีเหตุผล มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน ใช้ชีวิตให้อยู่ในสังคมได้
  • คุณธรรมที่ครูปลูกฝังให้กับนักเรียน
  • คิดและทำอย่างพอดี ไม่มาก น้อย เกินไป ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  • พฤติกรรมทุกอย่างที่แสดงออกมาจากการวิเคราะห์ตนเอง
  • ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น
  • อย่างน้อยให้มีศีล 5
  • ปฏิบัติตนให้พอเหมาะกับอัตภาพของตนเอง
  • กระบวนการคิดและวางแผน ภายในกิจกรรม มีเหตุผล และไม่ลืมคุณธรรมจริยธรรม
  • พฤติกรรมที่แสดงออกในทางบวก กล้าคิด กล้าธรรม มีเหตุผล
  • เป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต มีเหตุผล อดทน อดออม จัดการตนเองได้ คำนึงถึง 4 มิติ
  • การกระทำ แสดงออกเหมาะสม ไม่ทำให้ผูื้อื่นเดือดร้อน
  • การคิดอย่างรอบคอบ สมเหตุสมผล พึ่งตนเอง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 มิติ
  • คิดรอบคอบ มีเหตุผล ลึก รู้จริง มีภูมิฯ
  • บริหารจัดการอย่างพอเหมาะ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
  • รู้จักคิด วิเคราะห์ รอบคอบ เลือกทางปฏิบัติที่เหมาะสม มีคุณธรรม
  • การที่บุคคลมีเหตุผลรองรับการกระทำทุกอย่าง ถูกต้องตามครรลองคลองธรรมเหมาะสมกับฐานะของตน
  • ต้องตระหนัก ถึงการกระทำที่พอดี ถึงการกระทำ สถานภาพตนเอง
  • การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามบริบทของโรงเรียน
  • ลักษณะนิสัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ตามหลัก ปศพพ.
  • พฤติกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งกาย วาจา ใจ มีเหตุผล
  • พฤติกรรมที่แสดงออกอย่างมีสติ บนพื้นฐานอย่างมีเหตุผลอยุ่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
  • การปฏิบัติตนแบบเรียบง่าย เป็นคนดี มีเหตุผล อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
  • เป็นการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานตามอัตภาพตัวตน
  • นิสัยอะไรก็ได้ที่ทำแล้วดี จนเกิดเป็นสันดานแล้วประพฤติติดตัวตลอด
  • พฤติกรรมที่เราทำบ่อยๆ ซ้ำๆ ในทางที่ดี ทำจนเป็นนิสัยทั้ง กาย วาจา ใจ
  • พฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกในการปฏิบัติตนทุกเรื่อง ไม่ประมาท ใฝ่เรียนรู้
  • การปฏิบัติตนในวิถีชาวพุทธ
  • การดูแลปัจจัย 4
  • การปฏิบัติตนต่อบุคคลต่างๆ (ทิศ 6)
  • การวางตัวอย่างพอประมาณสำหรับตนเอง และต้องคำนึงถึงเหตุผล พร้อมกับปลูกฝังสิ่งนี้กับนักเรียน เกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด
  • รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ มีการวางแผน ใช้-จ่ายให้สมดุล สมเหตุสมผล มีคุณธรรม
  • หลักในการคิดดี ปฏิบัติดี
  • พฤติกรรมที่ดี มีคุณธรรมทั้ง 8 ข้อ ที่ทุกโรงเรียนควรจะปลูกฝัง ควรเพิ่มคุณธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ศีล 5
  • การดำรงอยู่ด้วยความสมดุล พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง
  • การปฏิบัติอย่างมีเหตุผล มีความเหมาะสม ตามอัตภาพตนเอง
  • การกระทำ/พฤติกรรม จะต้องใช้เหตุผล พิจารณา ก่อน รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเทศะ รู้จักสถานที่ รู้ชุมชน
  • การนำหลักคิด หลักปฏิบัติ ตามหลัก ปศพพ. มาใช้ในชีวิตประจำวัน จนเกิดเป็นนิสัยที่ดี ส่งผลให้ตนมีความสุข และผู้อื่นก็มีความสุข
  • เป็นการวางแผนในการดำเนินชีวิต โดยนำศีล 5 มาใช้ และตั้งอยู่บนเหตุผล พอดี พอเหมาะกับตน เห็นคุณค่าของสิ่งรอบข้าง
  • พฤติกรรมที่แสดงออกว่า รู้ตัว รู้ตน ทำทำไม ส่งผลต่อผู้อื่นหรือไม่ รอบคอบ ไม่ประมาท สรุปคือ มีสติ
  • เปรียบเทียบกับการทำบุญ ทำโดยไม่หวังผลตอบแทน
  • สิ่งที่เราสั่งสมความดี พองาม ตามอัตภาพ เป็นผู้ให้ แบ่งปัน
  • อุปนิสัย สรุป ได้คือ คุณลักษณะที่ดีประพฤ/ติปฏิบัติ อยู่บนพื้นฐานความพอเหมาะ พอดี และตามหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 3+2 = พอเพียง
  • รักและภูมิใจรากเหง้าของตนเอง
  • ผมบอกเวทีว่า ไม่มีใครผิด ไม่มีใครไม่ถูก เพราะทุกคำตอบล้วนแต่ออกมาจาก “หลักคิดที่พอเพียง” เพราะ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็น “หลักคิด” เมื่อนำ “หลักคิด” ไปใช้ สิ่งที่จะได้คือ “แนวปฏิบัติ” คือ “แนวปฏิบัติที่พอเพียง” เมื่อปฏิบัติจนชำนาญเป็นอัตโนมัติ จะตกผลึกเป็น “หลักปฏิบัติ” ในที่สุด 
  • อาจารย์ศศินีย์ ท่านสรุปคำนิยามจากผู้ใหญ่ ที่ให้คำนิยามไว้ดังสไลด์ด้านล่าง

</p><p class=”separator” style=”clear: both; text-align: center;”> <p>และสรุปอีกสไลด์ ที่ท่านใช้ขับเคลื่อนฯ บ่อยๆ </p><ul><li>อาจารย์สุจินดา เสนอผลสรุปจากการระดมสมองแลกเปลี่ยนแกนนำขับเคลื่อนฯ ของมูลนิธิฯ ตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ ดังสไลด์ด้านล่าง</li></ul><p>ผมสรุปอีกในตอนท้าย แต่คล้ายๆ ว่าจะไปไกลมาก จึงขอนำไปฝากไว้ในบันทึกหน้านะครับ</p>

หมายเลขบันทึก: 569653เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2014 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2014 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท