ฉบับที่ ๐๑๐.๑ บุหรี่: ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด


เมื่อวันที่ (16 พฤษภาคม 2557) มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่จัดการแถลงข่าว เรื่อง บุหรี่: ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด”เพื่อชูประเด็นและให้เกิดกระแสของการรณรงค์อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31พฤษภาคม 2557 ที่จะถึงนี้

 

โดย มี ดร.โยนัส เทเก้น ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย(Dr.Yonas Tegegn, The WHO Representative to Thailand) กล่าวว่า สืบเนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ 31 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลกโดยในปี พ.ศ.2557นี้ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์ไว้ว่า Raise taxes on tobacco ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ภาษาไทยว่า “บุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด” และองค์การอนามัยโลกยินดีอย่างยิ่งในการกำหนดประเด็นรณรงค์นี้โดยการรณรงค์ในปีนี้องค์การอนามัยโลกจะเน้นเชิญชวนให้นานาประเทศทั่วโลกเรียกร้องให้รัฐบาลของตนเองขึ้นภาษียาสูบให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นซึ่งการบริโภคยาสูบเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ที่สามารถป้องกันได้การบริโภคยาสูบของประชากรโลกทำให้ผู้คนล้มตายประมาณ 6 ล้านคนในแต่ละปี และมากกว่า 600,000 คน ตายเพราะการได้รับควันบุหรี่มือสอง หากเราละเลยในเรื่องนี้ ในอนาคตไม่ถึง 20 ปีข้างหน้า ค.ศ. 2030 คาดการณ์ว่าจะมีคนตายจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 80 จะเป็นประชากรที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงรายได้ปานกลาง

นพ.นพพรชื่นกลิ่นรองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยปีละ50,710คนและเป็นสาเหตุของภาระโรคอันดับที่สองของคนไทยโดยทำให้คนเสียเวลาแห่งชีวิตจากการตายก่อนเวลา628,061ปีและสูญเสียสุขภาวะจากการเจ็บป่วยหนัก 127,184ปีในแต่ละปีทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย52,200 ล้านบาทซึ่งคิดเป็น 0.5% ของ GDP

ด้าน รศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอผลการวิจัยที่ศึกษาถึงทิศทางระบบภาษีและราคายาสูบในภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บทเรียนสำหรับประเทศไทยรศ.ดร.อิศรา กล่าวว่า การที่ประเทศไทยกำหนดราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตสูงสุดทำให้บริษัทบุหรี่ใช้วิธีแจ้งราคาเท็จที่ต่ำกว่าความจริงในการประเมินภาษีหรือนำเข้าบุหรี่ที่มีต้นทุนต่ำเข้ามาจำหน่ายจากการศึกษาระบบภาษียาสูบของประเทศในภูมิภาคอาเซียนประเทศอินโดนีเซียใช้วิธีกำหนดราคาขายต่ำสุด ทำให้บริษัทบุหรี่มีแนวโน้มที่จะขายบุหรี่ในราคาที่สูงขึ้นเพื่อเพิ่มกำไรซึ่งก็จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มมาก

รศ.ดร.อิศรากล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนที่ขณะนี้ประเทศไทยใช้นโยบายสองเลือกหนึ่งคือการคำนวณภาษีตามราคาต้นทุนที่บริษัทบุหรี่แจ้งหรือคำนวณภาษีตามสภาพ คือ ตามน้ำหนักมวนบุหรี่หากวิธีคำนวณไหนมีมูลค่าภาษีมากกว่าก็ให้เก็บตามวิธีนั้นควรจะต้องมีระบบในการปรับอัตราภาษีตามสภาพเป็นระยะ ๆ ทุก ๆ 2-3 ปี และมีการตรวจสอบความถูกต้องของราคาต้นทุนที่บริษัทบุหรี่แจ้งเพื่อประเมินภาษีอยู่เสมอ

ขณะที่ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ว่า การบริโภคยาเส้นในประเทศไทยยังคงเป็นปัญหา เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการบริโภคยาสูบ เกือบครึ่งหนึ่งของความสูญเสียทั้งหมด 6 หมื่นล้านบาท ในขณะที่มาตรการการเก็บภาษียาเส้นที่บริโภคเป็นบุหรี่มวนเองไม่เคยถูกนำมาใช้ จนกระทั่งปี พ.ศ.2555 ซึ่งมีการปรับขึ้นจากอัตรา 1 บาทต่อกิโลกรัมเป็น 10 บาทต่อกิโลกรัม พบว่าให้ผลดีในการลดจำนวนผู้บริโภคบุหรี่มวนเองในประเทศไทย กว่า 1 ล้านคน คือจากผู้บริโภคบุหรี่มวนเอง 5.3 ล้านคนในปี พ.ศ. 2554 ลดเป็น 3.6 ล้านคนในปี พ.ศ.2556 แต่บางคนหันไปบริโภคบุหรี่ซองราคาถูกแทน ทั้งนี้ผลที่เกิดขึ้นมาจากมาตรการอื่น ๆ ที่ สสส. กระทรวงสาธารณสุข และ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ดำเนินการระหว่างปี 2554-2556 ร่วมด้วย อาทิ เช่น การโฆษณาทางโทรทัศน์เรื่องยาเส้นตายเท่ากับบุหรี่ซอง และมาตรการชุมชนปลอดบุหรี่ เป็นต้น

ดังนั้นการดำเนินมาตรการภาษีเพื่อสุขภาพ ควรปรับปรุงภาษีกับผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภท รวมถึงยาเส้น โดยปรับขึ้นทั้งอัตราตามสภาพและอัตราตามปริมาณ เพื่อลดการเปลี่ยนประเภทไปบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ราคาถูกกว่า นอกจากนี้รัฐบาลควรนำยาสูบพันธุ์พื้นเมืองเข้าสู่ระบบภาษีอย่างเร่งด่วน โดยให้ผู้ประกอบการยาเส้นเป็นผู้เสียภาษี ไม่ให้เป็นภาระกับเกษตรกร

ศ.นพ.ประกิตวาทีสาธกกิจเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวทิ้งท้ายว่า ความพยายามของบริษัทบุหรี่ในการยับยั้งการขึ้นภาษียาสูบนับวันยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นขณะนี้ บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส กำลังแคมเปญเพื่อไม่ให้รัฐบาลขึ้นภาษีบุหรี่ โดยสนับสนุนให้มีการทำวิจัยถึงปริมาณบุหรี่หนีภาษีในเอเชียแปซิฟิกรวมทั้งประเทศไทยว่ามีอัตราบุหรี่หนีภาษีสูงโดยโทษว่ามีการเก็บภาษีสูงเกินไป รวมทั้งแสดงรายละเอียดโครงสร้างภาษีบุหรี่ไทยผ่านเฟซบุค “ชมรมผู้สูบบุหรี่ไทยหรือ ชมรมคนสูบบุหรี่"(Thai Smokers Community,www.facebook.com/thaismokers) เชิญชวนให้ผู้สูบบุหรี่ไทยแสดงความคิดเห็นคัดค้านการขึ้นภาษี จึงอยากให้กระทรวงการคลังรู้ทันกลยุทธ์ของบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส และควรขึ้นภาษีบุหรี่เนื่องจากการขึ้นภาษีครั้งสุดท้ายผ่านไป 2 ปีและผลการขึ้นภาษีได้จบไปแล้ว

ข่าวที่ปรากฏ : http://trc.or.th/th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/press-release/item/309-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%94.html

 

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่โทร. 0-2278-1828 / 08-1822-9799

หมายเลขบันทึก: 568934เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาร่วมรณรงค์ งดสูบบุหรี่ ด้วยกัน

หากเราตระหนักถึงการสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่และมีเจตนาที่จะรณรงค์ให้งดสูบบุหรี่แล้ว 

ทำไมเราจึงไม่เลิกผลิตขายและนำเข้าหรือห้ามการสูบบุหรี่ไปเลย

แทนที่จะทำเพียงแค่การขึ้นภาษี เพราะกระทบแต่คนจนส่วนผู้มีฐานะดีย่อมไม่ยี่หระที่ต้องจ่ายเพิ่มอยู่ดีนะครับ

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามค่ะ

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและผลการศึกษาของประเทศไทย แสดงผลการศึกษาว่า การเพิ่มภาษียาสูบเป็นวิธีที่ทำให้คนที่สูบยาสูบลดลงเป็นอันดับ 1  โดยส่วนใหญ่คนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางจะลด ละ เลิกการบริโภคยาสูบลง เมื่อราคายาสูบเพิ่มสูงขึ้น  ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่สูบบุหรี่อยู่ในกลุ่มนี้ครับ (นอกจากนโยบายการขึ้นภาษี ยังมีนโยบายอื่นๆอีกที่ทำให้ลดการบริโภคยาสูบ เช่น วิธีการห้ามอุตสาหกรรมยาสูบทำการตลาดและห้ามโฆษณา ค่ะ)

       - ควรมี การออกกฎหมายให้ยาสูบเป็นสิ่งผิดกฎหมายเป็นสิ่งที่ควรผลักดันเป็นกฎหมาย เพราะยาสูบถือเป็นยาเสพติด ที่อยู่ในยาเสพติดอันตรายที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1 เฮโรอีน , อันดับ 8 ยาบ้า , อันดับ 9 ยาสูบ ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านสำหรับความคิดเห็น และการติดตามค่ะ :D

<p></p><p></p><p></p><p>นำกิจกรรม วันงดสุบบุหรี่โลก  จากพื้นที่มาฝาก </p><p>อับดุลเลาะ  สาริมี ผู้ประสาน 7  จังหวัดภาคใต้  มาร่วมชี้แจง</p>

อย่าเพิ่มภาษีเลยครับ อย่าเพิ่มภาระให้ครอบครัวครับสิ่งที่ควรจะทำ คือการรณรงค์ให้มีการออกกฏหมายว่ายาสูบ บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดทีผิดกฏหมาย ห้ามมีไว้ในครอบครองครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท