JJ14V5_4 2Q คุณภาพหลักสูตร อุดมศึกษา


2Q คุณภาพหลักสูตร

  คุณภาพหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา มักจะถูกมองว่า ไม่เขัมข้น เพราะ หลายหลากจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม(ก้มหน้า)ที่เปลี่ยนจากสังคมอุดมปัญญา ก้าวข้ามไปสู่ อุดมศึกษา เพื่อการค้า หานักศึกษา มาเพื่อให้มีค่าลงทะเบียน เพื่อเลี้ยงชีพ ผู้บริหาร หรือ อาจารย์บางคน

 คุณภาพอุดมศึกษา ที่เกิดในสถาบันที่ อุดมไปด้วยป้ญญา

 การสร้างหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา ต้องเกิดจากความต้องการของสังคม ชุมชน หรือ ประเทศชาติ ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพชั้นสูง เพื่อสร้าง มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ ออกมารับใช้สังคม

 หลักสูตร หรือ ลู่ทางในการสร้าง หนทางแห่งการเรียนรู้ ต้องประกอบด้วย 2Q คือ Quantity + Quality

 Quantity เริ่มตั้งแต่ จำนวนอาจารย์ที่รู้จริง รู้รอบ รู้ลึก รู้ความเชื่อมโยง ที่สามารถ วางแผน ดำเนินการ ทบทวน กิจกรรม การเรียนรู้ ของ ลูก+ศิษย์และ อาจารย์เอง ให้เป็นไปตาม ปณิธาน หรือ ความตั้งใจ ว่าต้องการให้ คน เกิด การเปลี่ยนแปลงเป็น มนุษย์ที่ สมบูรณ์ เพียงพอ พอดี กับสังคมที่จะออกไปรับใช้

 ปริมาณ อาจารย์เบื้องต้น ที่ได้กำหนดขั้นต่ำ ๕ ท่าน เป็น กรรมการประจำหลักสูตร โดยหลักการ จะมีบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบที่ต้อง กำกับ ดูแล ให้การสนับสนุน หรือ นำเสนอ ต่อ สาขาวิชา ภาควิชา คณะวิชา หรือ สถาบัน เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ เป็นไปอย่่างมี คุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ

 จำนวนครั้งของ จำนวนครั้งของอาจารย์การประชุม จำนวนอาจารย์ที่เข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการประจำหลักสูตร จำนวนอาจารย์ที่ไปพัฒนาองค์ความรู้ จำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ฯลฯ เป็นตัววัด ตัวชี้ ตัวบ่งชี้ หรือ ภาษาที่ ดูดีมีชาติตระกูล คือ KPI จะสะท้อน จาก Quantity หรือ ปริมาณ ที่จะนำไปสู่ Quality คุณภาพ หาก เข้าใจ เข้าถึง และ นำไปพัฒนาได้

 Quality หรือ คำว่า คุณภาพ เป็นเรื่องราวที่ต้องเข้าไปทำความเข้าใจ สร้างจิตวิญญาณ ของความเป็น ครู/อาจารย์ ให้ ร้อยเรียง เชื่อมโยง ระหว่าง ปริมาณ ของ กิจกรรม/ภาระกิจ ต้องแทรกซึม สะท้อนถึง คุณภาพ

 การให้ความรู้ การสร้างความเข้าใจ เพื่อให้ ทุกหลักสูตร ที่เกิดขึ้น มีทั้ง ปริมาณขั้นต่ำของ ทรัพยากรที่จะต้องมี จะต้องถูก กำกับ ติดตาม ให้การสนับสนุน เพื่อให้เกิด คุณภาพ ตามเกณฑ์ หรือ มาตรฐาน ขั้นต่ำ

 การประเมินแต่ละหลักสูตร เริ่มต้น ด้วยการประเมินตนเอง ของ กรรมการประจำหลักสูตร อย่างสม่ำเสมอ ทุกภาคการศึกษา ทุกปีการศึกษา ทุกองค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ ทุกส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงเป็น เรื่องราวที่พึงกระทำ โดยที่ไม่ต้องมีหน่วยงานใด หรือ องค์กรใด มาบังคับ

 หน้าที่ของ ครู/อาจารย์ ต้อง ตั้งใจ ใส่ใจ บังคับใจ ให้เกิดการประเมิน เพื่อ Learn และ พัฒนา 2Q

JJ14 ฅ ฅนเดิม (210514)

หมายเลขบันทึก: 568866เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014 06:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014 06:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรรียนท่าน อ.จัน คุณภาพ ครู และ จิตสำนึกความเป็น ครู สำคัญครับ

ขอบคุณอาจารย์หมอ JJ มากครับ

อันนี้

 จำนวนครั้งของอาจารย์การประชุม จำนวนอาจารย์ที่เข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการประจำหลักสูตร จำนวนอาจารย์ที่ไปพัฒนาองค์ความรู้ จำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ฯลฯ

อันนี้เสียดาย บางทีเป็นแต่เรื่องเอกสาร

การไปพัฒนาความรู้ ไม่ทราบว่าได้ความรู้จริงๆไหม ขอบคุณที่กระตุ้นต่อมความคิดดีให้คิดเรื่องดีออกมาครับ

เรียน อ.ดร.ขจิต จำนวนครั้ง คือ Q แรก Quantity แต่จริงแล้ว ต้องมี Q ที่ สอง คิอ Quality ว่่า ทำไมถึงจะไปฟัง ฟ้งแล้วจะนำหลับมาพัฒนา ตน คน งาน อย่างไร และ ต้ัองตามไปดู Impact ว่านำมาใช้พัฒนา จริงหรือไม่ เกิดการพัฒนาอย่างไร ครับ

ขอบคุณมากๆครับอาจารย์หมอJJ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท