เครือข่ายรายวิชาศึกษาทั้่วไป : ๐๒ _ แนวคิดการจัดการเรียนรู้ GE ม.ขอนแก่น


วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๗ ในขณะ "ถอดบทเรียน" จากวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายรายวิชาศึกษาทั่วไป (NEGEN) ผมได้เรียนรู้จาก รศ.สุภาพ ณ นคร และอาจารย์ท่านอื่นๆ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เยอะเลยครับ ผมคิดว่า แนวคิดของท่านอาจารย์สุภาพ น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้สนใจ จึงกลับมาค้นคว้า และนำมาไว้ในบันทึกนี้

  • มุ่งเน้นกระบวนการมากกว่าท่องจำเนื้อหา เป็นเรื่องของการปลูกฝังมากกว่าการท่องจำ
  • รายวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่น  เน้นการสร้างองค์ความรู้เอง โดยใช้รากเหง้าภูมิถิ่นของตนเอง รายวิชาศึกษาทั่วไปควรเป็นฐานให้ชีวิต
  • Teach Less Learn More เปิดปากศิษย์ ปิดปากครู
  • ไม่ใช่เพียงได้สอน ได้รู้ หรือทำได้ แต่ต้องเป็นการเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง
  • อัตลักษณ์ของ นิสิต มข. คือ ตรงเวลา และ รักองค์กร 
  • มข. โยนโจทย์เรื่อง Project-based Learning  ซึ่งน่าจะนำมาสู่ Learning Outcome ที่เป็นเราต้องการ 
  • อยากได้ ไอดอล ที่เป็นผู้สอน หรือก็คือ การทำตัวเป็นแบบอย่างของอาจารย์ 
  • ต้องไปให้ไกลกว่าปัญญาจากการคิด แต่ต้องไปให้ถึงปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ ภาวนา สู่การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformation Educaiton)
  • ฯลฯ

ท่านบอกว่า GE-มข. มอง GE ว่า ควรจะมี ๓ กระบวนการของการจัดการเรียนรู้ ได้แก่

  • Learning How to Learn  (Learning Skills) ในช่วงปีแรก
  • Learn How to Do / Create (Creativity & Innovation Skills) ในปีถัดมา
  • Liberal Arts Learning (Life Skills) บูรณาการการเรียนรู้สู่ชีวิต เพื่อทักษะชีวิต

แน่นอนว่าบทบาทของอาจารย์ต้องเปลี่ยนไป จาก Leacturer เป็น

  • Manager (ผู้จัดการ)
  • Leader (ผู้นำ)
  • Facilitator (ผู้อำนวย)
  • Inspirator (ผู้สร้างแรงบันดาลใจ)
  • Evaluator (ผู้ประเมินผล)
  • Cultivator (ผู้อบรมสั่งสอน บ่มเพาะ)

ระหว่างที่ผมจับสีชอร์คเป็น "คุณอำนวย" คุณก้อย "คนสวย" หนึ่งในทีม CADL ของเรา ได้สรุปเอาประเด็นต่างๆ ไว้ในลักษณะ Mind Mapping 

หมายเลขบันทึก: 567977เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

ได้เรียนรู้มากเลย

จำได้ว่าเคยอ่านหนังสือของอาจารย์ สุภาพ สมัยเด็กๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท