ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

ความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นการเชื่อมโยงให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองภูมิภาคมีความแน่นแฟ้มกันยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะด้านการค้าและการลงทุน จากที่มีความร่วมมือกันอยู่ในกรอบของการที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็น dialogue part-ner หนึ่งของอาเซียน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (AFTA-CER Closer Economic Partnership) ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันรวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจากผลของการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้ง  AFTA–CER FTA  ของคณะทำงานระดับสูง (High Level Task) เห็นว่า การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนและออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจโดยรวม  และเป็นการเสริมสร้างอำนาจการต่อรองของภูมิภาคทั้งสองในเวทีการเจรจาพหุภาคีและภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าและนักลงทุนทั่วโลกมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะผลักดันให้ประเทศสมาชิกสามารถเตรียมความพร้อมในการปรับตัวและพัฒนาระบบ / นโยบายเศรษฐกิจของตนให้ดียิ่งขึ้น

              การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีขึ้นหลังจากที่ผู้นำอาเซียน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ตกลงให้เริ่มการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยกำหนดเป้าหมาย ให้การเจรจาแล้วเสร็จภายใน 2 ปี เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค

               กรอบของความตกลงจะเป็น Comperhen sive Package ครอบคลุมทั้งเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือ ระหว่างกัน  โดยความตกลงจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อตกลงกันได้ในทุกเรื่อง ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน และนิวซีแลนด์ กับประเทศสมาชิกอาเซียน ในการให้ความยืดหยุ่นสำหรับระยะเวลาการเปิดเสรี และความอ่อนไหวของสินค้า สาขาบริการ และการลงทุนของต่างประเทศอาเซียน และมีเป้าหมายให้ การเจรจา แล้วเสร็จในปี 2550 และเริ่มมีผลใช้บังคับในปี 2551 โดยคณะเจรจา (ASEAN- Australia New Zealand Trede Negotiating Committee: AANZTNC) ประกอบด้วยหัวหน้าคณะเจรจา 3 คน จากฝ่ายอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝ่ายละ 1 คน และมีคณะทำงานหรือคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อเจรจาในเรื่องเฉพาะอื่นๆ โดย TNC จะรายงานผลต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (SEOM-CER Consultations) และเจ้าหน้าที่อาวุโสจะรายงานผลต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (AEM-CER Consultations) ทั้งนี้ โดยมีบรูไนเป็นหัวหน้าคณะเจรจาของอาเซียน และนายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย นอกจากนี้ ฝ่ายอาเซียน จะมี ASEAN Trede Negotiating Group (TNG) เพื่อเตรียมท่าที่สำหรับการเจรจาร่วมกันด้วย

            การเจรจา AANZTNG ครั้งแรกมีขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ณ กรุงมะนิลา

ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถึงขณะนี้การเจรจาซึ่งมีมาแล้ว 7 ครั้ง มีความคืบหน้าแล้วในหลายๆ เรื่อง   เช่น การจัดทำร่างข้อบทเรื่องพิธีการศุลกากร การพิจารณากฎถิ่นกำเนิดสินค้า  ข้อบทประเด็นกฎหมาย สำหรับเรื่องการเปิดตลาดสินค้า บริการ

การลงทุน ยังต้องมีการเจรจา กันต่อไป เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่าย โดยจะมีการประชุม Special TNC ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 1 ธันวาคม 2549 ณ ประเทศสิงคโปร์ ก่อนการประชุม  TNC ครั้งที่ 8 ที่นิงซีแลนด์ จะเป็นเจ้าภาพ                                           

                        สอบถามข้อเพิ่มเติมที่ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ โทร 2-2507-7415

                        ที่มา ข่าวหนังสือพิมพ์ประชาชาติ  ฉบับวันที่ 26-29 ตุลาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 56782เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2006 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เข้ามาอ่านแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้อุ๋ย

 

มาแวะอ่านเช่นกันค่ะ

ได้ความรู้เกี่ยวกับ FTA มากขึ้น

ขอบคุณนะจ้ะ ^_^

อ่านแล้วนะจ๊ะ  แล้วสินค้าหลักๆของไทยที่ทำ FTA กับสองประเทศนี้คืออะไรบ้างเอ่ย

 

สวัสดีครับ 

มีประเด็นที่สงสัยเกี่ยวกับเรื่องFTA นี้ว่า  เมื่อประเทศไทยได้ทำข้อตกลงกับประเทศออสเตรเลียไปแล้ว  หรือเรียกได้ว่าได้มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในทางการค้าไปแล้ว    การจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี ระหว่างอาเซียน  กับ  ออสเตรเลีย  ในครั้งนี้  จะเอื้อประโยชน์อย่างใดให้กับประเทศไทยอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท