beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ใครขโมยสตางค์ของฉันไป<๒.๒>รู้เก็บ.."ที่อยู่ของเงินออม" ตอน ๒


ในหน่วยงานที่ตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฝ่ายลูกจ้างควรจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราส่วนสูงสุดตามที่หน่วยงานได้กำหนดไว้

  จากตอนที่ ๑ ตัวอย่างที่อยู่ของเงินออม

  1. สหกรณ์ออมทรัพย์ของหน่วยงาน
  2. สลากออมสินพิเศษ ธนาคารออมสินและสลากทวีสิน ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
  3. ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ (เบี้ยประกัน=เงินออม)
  4. กองทุนประกันสังคม (สวัสดิการขั้นพื้นฐาน) ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
  5. กองทุนสำรองเลี้้ยงชีพ (นายจ้าง+ลูกจ้างจ่ายเท่ากันในอัตราร้อยละ ๒-๑๕) ควรเลือกออมสูงสุด
  6. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. (ขรก.๓+รัฐบาล๕) ซึ่งสามารถออมเพิ่มได้อีก 12% รวมเป็น 15% ของรายได้ซึ่งสามารถนำไปเครดิตภาษีได้เต็มจำนวน 

   ที่แปลกคือ ที่ม.นเรศวร บีแมนออมเงินผ่าน กบข. หักเงินเดือนร้อยละ ๓ และรัฐบาลสมทบให้อีกร้อยละ ๕ (รวมเงินชดเชยและเงินประเดิม) และยังออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สินสถาพรอีก ร้อยละ ๒ ของรายได้ รวมกับที่มหาวิทยาลัยจ่ายจากเงินรายได้อีกร้อยละ ๒...รวมเม็ดเงินแล้วออมถึงร้อยละ ๑๒ ของรายได้ (ในปีท้ายๆ ของอายุราชการ จะออมเพิ่มในส่วนของกบข. เพื่อใช้ส่วนในการลดหย่อนทางภาษี)

    มาแปลกตอนที่ เอาแบบแสดงการรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแสดง กับ กรมสรรพากร เขาจะงงตรงที่มีการเครดิตภาษี ๒ ส่วน ทั้งส่วนที่เป็น กบข. และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ..ต้องอธิบายให้เข้าใจ

    ในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ...เป็นเงื่อนไขของกฏหมาย..ที่นายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกัน เพื่อจ่ายเงินสมทบฝ่ายละเท่าๆ กัน ในระหว่างร้อยละ ๒-๑๕ ดังนั้นหากหน่วยงานที่มีความมั่นคงอยากจะช่วยเหลือลูกจ้างแล้ว จะเลือกอัตราสมทบที่สูง ดังนั้นลูกจ้างควรเลือกหักรายได้ในอัตราสูงสุดที่หน่วยงานกำหนดไว้

หมายเลขบันทึก: 566890เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2014 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2014 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท