ข้าวราคาถูก ควรปลูกแบบลดต้นทุน


หลังจากที่รัฐบาลยุติโครงการรับจำนำข้าวจึงทำให้วิกฤติราคากระทบกับปากท้องของชาวไร่ชาวนา เมื่อข้าวเปลือกราคาเป็นไปตามกลไกของตลาดโลกที่มีทั้งอินเดีย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม ต่างก็ออกมาแข่งขันประชันราคาจนอยู่ที่ระดับราคา 5,000-6,000 บาทต่อตันซึ่งถือว่าต่ำมากอยู่เหมือนกัน เมื่อเทียบค่าครองชีพในปัจจุบัน ส่งผลทำให้กำรี้กำไรที่เคยมีของชาวไร่ชาวนาหดหายไม่เหลือพอที่จะนำไปจับจ่ายใช้หนี้ได้เพียงพอ

การประมูลข้าวที่ไทยหวังว่าจะได้จากฟิลิปปินส์ก็อาจจะต้องผิดหวังเพราะถูกเวียดนามแซงหน้าให้ราคาที่ต่ำกว่า จึงคาดได้ว่าน่าจะได้โควต้าในการส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์กว่า 700,000 ตัน (จากการเสริมสต๊อคข้าวที่กำลังลดลง) ไทยเราก็ต้องก้มหน้ากลับมาหาวิธีแนวทางในการระบายข้าวไปยังประเทศอื่นๆต่อไปทั้ง ยุโรป อเมริกา จีนแอฟริกา เพื่อที่จะได้ระบายข้าวที่มีอยู่ในสต๊อคจำนวนมาก

โดยปรกติไทยจะส่งออกข้าวไปต่างประเทศแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

1. ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวระดับพรีเมี่ยม ชื่นชอบมากในสหรัฐฯ อียู จีน สิงคโปร์

2. ข้าวขาว ปลูกมากในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ข้าวชนิดนี้ต้องแข่งขันกันสูงกับเวียดนาม ไทยมีจุดแข็งในข้าวขาว 100% และมีสัดส่งออกข้าวนี้ 30-40% ตลาดส่วนใหญก็จะเป็นชาวอาเซียนด้วยกัน อย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

3. ข้าวนึ่ง ไทยผลิตเพื่อส่งออก แต่ส่งออก 100% ไปที่แอฟริกา ไนจีเรีย

4.ข้าวเหนียว มีการส่งออกน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่บริโภคภายในประเทศ

วงจรการค้าข้าวก็จะมีเกษตรกรที่ทำหน้าที่ปลูกข้าวและส่งขายไปยังโรงสี โรงสีก็จะแปรสภาพเป็นข้าวสารจำหน่ายจ่ายแจกไปยังตลาดทั้งในในและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะผ่านพ่อค้าผู้ส่งออก ในห้วงช่วงสองสามปีที่ผ่านมาโครงการรับจำนำของรัฐบาลที่รับซื้อข้าวสูงถึงตันละ 15,000 บาท ทำให้กระทบกับพ่อค้าผู้ส่งออกจำนวนมากที่ไม่สามารถซื้อข้าวแข่งกับรัฐบาลได้ ข้าวส่วนใหญ่จึงไหลเข้าไปอยู่กับรัฐบาล และรัฐบาลก็จะต้องเร่งรีบหาเงินมาจ่ายคืนชาวด้วยการค้าข้าวออกไปยังตลาดทั้งภายในและต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการค้าแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจี แต่ก็มาติดขัดเกี่ยวกับเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นและปัญหาการเมือง ปัญหาข้าวเน่า ข้าวหายไปจากคลังที่เก็บจึงทำให้โครงการนี้มีอันสะดุดหยุดไปตามระเบียบ

ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะงักจากยอดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่หายหน้าหายตาไปส่วนหนึ่งทำให้เกิดปัญหาในหลากหลายมิติ แต่มิติที่สัมผัสกับชาวไร่ชาวนาเกษตรกรได้ก็คือเรื่องปัญหาปากท้องที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย เมื่อขายข้าวในราคาตามตลาดโลก ซึ่งมีราคาค่างวดเฉียดฉิวกับต้นทุนที่แพงโด่งขึ้นมา สาเหตุส่วนหนึ่งก็คือค่าครองชีพ ค่าปุ๋ย ค่ายาที่ขึ้นตามราคาข้าวแต่เมื่อราคาข้าวลดลงแต่ราคาปุ๋ยยาไม่ลดตามลงมาด้วย จึงทำให้การดำรงชีพของพี่น้องเกษตรกรดำรงอยู่ได้ยากขึ้น

การหาสิ่งทดแทนปุ๋ยยาเคมีจึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งอย่างการใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟที่ให้แร่ธาตุสารอาหารที่เกือบครบถ้วนแก่พืชหรือต้นข้าว ไม่ว่าจะเป็นฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิล ขาดแต่เพียง ไนโตรเจน ถ้าเกษตรกรไม่เผาตอซังฟางข้าวหรือมีการเติมอินทรีย์วัตถุปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพิ่มเติมเสริมเข้าไปก็จะช่วยทำให้ใช้หินแร่ภูเขาไฟทดแทนปุ๋ยเคมีได้ไม่ยาก ที่สำคัญทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงมามากกว่า 50-60% เพราะหินแร่ภูเขาไฟช่วยทำให้พืชมีความแข็งแกร่งจากซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ด้วย เพลี้ยหนอนแมลงราไรจึงเข้าทำลายได้ค่อนข้างยาก

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 566761เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2014 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท