อาหาร ๑ เพื่อข้ามทะเลทราย


สามารถอ่านต้นเรื่องเกี่ยวกับ อาหาร 4 อย่าง ได้ที่ อาหาร 4 อย่าง

ส่วนบันทึกนี้เป็นภาคต่อครับ 

โดยเป็นผลการฝึกปฏิบัติตามพระสูตร "อาหาร 4 อย่าง" (วันแรกครับ 555)

เย็นวันนี้แวะไปห้างสรรพสินค้า ซื้อองุ่นไปฝากลูก ๆ ก่อนกลับบ้านครับ

โดยผมวางไว้ที่เบาะข้าง ๆ คนขับ ตอนขับรถออกจากห้างเข้าสู่ถนนใหญ่ 

มองดูเวลาแล้ว ถึงเวลาอาหารเย็นแล้ว ไม่แน่ใจว่าปากหรือท้องกันแน่รู้สึกหิว ๆ ขึ้นมา

มองไปเห็นถุงองุ่นอยู่ข้าง ๆ รีบคว้าไปเจาะรูถุงให้พอหยิบได้

รู้สึกเย็น ๆ มือเพราะพึ่งเอาออกจากตู้แช่ในห้าง ใจก็ยิ่งอยากชิมมากขึ้น 

ลูกที่ 2 ก็ตามมา แต่พอลูกที่ 3 พระสูตรเรื่อง อาหาร 4 อย่าง ก็แว๊บ! เข้ามา
(สามารถศึกษาพระสูตรได้ที่    http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1796/i... )

มือที่สัมผัสความเย็นของลูกองุ่น เชื่อมโยงไปสู่  "โคไร้หนัง"

ผมเคี้ยวลูกองุ่นลูกนี้อย่างช้า ๆ พร้อมกับค่อย ๆ พิจารณาพระสูตร

ตอนที่ว่าด้วย "อาหารเพื่อข้ามทะเลทราย" ไปด้วย 

คุณค่าแท้ (อาหารเพื่อข้ามทะเลทราย) กับ คุณค่าเทียม (ความหวานอร่อย) เริ่มเหวี่ยงสลับกันไปมา หนอ

ภาคขยายความ (ที่ไปที่มา)

หลายปีก่อนผมได้หนังสือที่เขียนโดยท่านติช นัท ฮันห์ มาจำนวนหนึ่ง

ที่ชอบใจมาก ๆ คือ ท่านจะใช้สิ่งรอบข้าง และเหตุในชีวิตช่วยในการเชื่อมโยงเข้าสู่ธรรม

ยกตัวอย่างเช่น บทคาถาเกี่ยวกับการดื่มน้ำชา เพื่อที่จะดื่มน้ำชา

ประมาณว่า  แรก ๆ ก่อนจะดื่มน้ำชา เล่าจะสวดพระคาถานั้นก่อน 

จนเวลาต่อมา จิตเราจะระลึกถึงพระคาถานั้นก่อนทุกครั้งที่จะดื่มน้ำชา เป็นต้น

ผมเองก็นำมาประยุกต์ใช้ในการดื่มกาแฟ เพื่อที่ดื่มกาแฟ ถึงแม้ผมจะจำพระคาถาไม่ได้

แต่ทุกครั้งที่ผมจะดื่มกาแฟ จิตก็จะถูกดึงมาอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับกลิ่นและรสกาแฟ

จนเวลาผ่านมาหลายปี ผมเริ่มสังเกตุว่า วิธีการนี้ได้ผลดีมาก ๆ 

ลักษณะคล้าย ๆ กันนี้ ผมก็เชื่อมโยงมรณานุสติ เข้ากับ ตะวันตกดิน

โดยแรก ๆ ก็ต้องเพียรพยายามระลึกเอา คิดเอาอยู่ แต่หลายปีผ่านมา

ทุกครั้งที่เห็นตะวันตกดิน จิตก็จะเชื่อมโยงไปที่มรณานุสติ เสมอ ๆ หนอ

ขยับมาที่ประเด็น "อาหาร 4 อย่าง" นั้น

เริ่มจากตอนสนใจศึกษาธรรมใหม่ ๆ (ตอนนั้นเน้นปริยัติ ยังไม่ได้ปฏิบัติ หนอ)

ผู้รู้ท่านชี้แนะว่า ให้ฝึก "กินน้อย นอนน้อย"

ผมตีความมั่ว ๆ ด้วยตนเองอยู่หลายปี ก็ยังเข้าไม่ถึง แต่ก็ค่อย ๆ พิจารณามาตลอดเวลา

จนเมื่อปีก่อน ได้รับประทานอาหารร่วมกับผู้มีภูมิธรรมสูงกว่า 

ท่านได้แนะบนโต๊ะอาหารว่า ทุกคำที่ท่านกินเข้าไป ท่านจะพิจารณาตลอด

แต่ผมเองก็ปากหนัก ลืมถามท่านไปว่า พิจารณาอย่างไร? 

ทำให้พิจารณามั่ว ๆ ด้วยตนเองอยู่เป็นนานมาอีกเป็นปี

จนเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกัลยาณมิตรและครูบาอาจารย์

ทำให้ได้ศึกษาพระสูตร อาหาร 4 อย่าง 

แรก ๆ ผมอ่านอย่างรวดเร็ว รู้สึกว่า เข้าใจยากมาก จนต้องปล่อยผ่านไปก่อน

หลายชั่วโมงได้กลับไปศึกษาอีก ถึงได้ค่อย ๆ กระจ่างขึ้นเป็นลำดับ 

จึงตัดสินใจเขียนบันทึกแชร์ไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกัลยาณมิตรใน G2K นีั

รายละเอียดดังในบันทึก อาหาร 4 อย่าง 

จนวันนี้ เอื้อมมือไปหยิบลูกองุ่นด้วยความหิว พระสูตรก็ผุดขึ้นมาให้พิจารณา หนอ

ถ้าถามว่า พิจารณาอย่างไรนั้น 

ส่วนตัวพิจารณาเห็นเพียงประมาณว่า ..

อาหารทุกคำที่กลืนเข้าไปนั้น ให้เป็นไปเพื่อคุณค่าแท้ คือ เพื่อเลี้ยงร่างกาย

ไม่ควรหลงยึดมั่นถือมั่นในคุณค่าเทียมทั้งหลายเช่น ยี่ห้อ ราคา รสชาด
ความอร่อย หรือแม้แต่ความสะอาด

เพราะคุณค่าเทียมเหล่านั้น จะสร้างภพ สร้างชาติ แห่งความหลงที่ติดตามมาอีกมากมาย หนอ

หมายเลขบันทึก: 566620เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2014 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2014 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กินเพื่ออยู่  อยู่เพื่อสร้างประโยชน์ต่อตนเองและเพื่อนมนุษย์จ้ะ

ยายธีเคยพิจารณาว่า..องุ่น..น่ากิน..เนอะ..น่ากินหนอ..หยิบกินไป..ลูกหนึ่ง..หวาน..หนอ...เอ้อ..อยากกินไปเรื่อย..หนอ...น้ำตาล..คงขึ้นกระฉูดหนอ...กินไปแล้ว..เดี๋ยว..ก็..คันเขยออๆ..หนอ.....ชั่วโมงต่อมา..คัน..จริงๆหนอ...องุ่น..ถูกฉีดยา..จิงๆๆหนอ...อยากกิน..ปลอกเปลือกหนอ..กินไปแล้ว.หมดอยาก..ไหมหนอ....

พิจารณาเพลินไปหน่อย..หมด.กิโล... เลยพบคำว่า..ชีวิต..เริ่มต้นที่การ..กินๆๆๆๆ...อิอิอิอิ.........สาธุ  สาธุ  สาธุ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท