beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ใครขโมยสตางค์ของฉันไป<๑> เริ่มต้นชีวิตการทำงาน..ด้วย.."งานในฝัน และการรู้หา"


ที่สำคัญสำหรับตัวเองคือ "อย่าหยุดนิ่งที่จะเรียนรู้".

   คนเราเริ่มชีวิตการทำงาน เร็วเท่าไรก็ยิ่งดี..บีแมนจำได้ว่าเริ่มทำงานหาสตางค์เองตอนเรียนอยู่ชั้นม.ศ.๓ (เท่ากับ ม.๔ ในสมัยปัจจุบัน) ประมาณอายุ ๑๖ ปี..ถ้าเป็นเมืองจีนสมัยโบราณคนเก่งๆ ก็อาจสอบได้จอหงวนตอนอายุ ๑๖ ปี..

   วัยทำงาน..คนที่เรียนน้อยก็จะเริ่มชีวิตการทำงานเร็ว..คนที่เรียนมากก็จะเริ่มชีวิตการทำงานช้าหน่อย จบปริญญาตรีตอนอายุ ๒๐ กว่าๆ ก็เริ่มไปหางานทำ (สมัครงาน) นี่กล่าวถึงคนส่วนใหญ่น๊ะครับ

   สิ่งที่ควรคำนึง..สำหรับคนที่เริ่มต้นงานก็คือ  

  1. ระดับรายได้
  2. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน
  3. สวัสดิการที่มีให้
  4. บรรยากาศในสถานที่ทำงาน
  5. โอกาสเติบโตก้าวหน้า
  6. วัฒนธรรมองค์กร

   และที่สำคัญสำหรับตัวเองคือ "อย่าหยุดนิ่งที่จะเรียนรู้"...

   สิ่งควรคำนึงทั้ง ๖ ข้อ สามารถหาอ่านได้ในคู่มือสมัครงานทั่วไป..เราจะไม่กล่าวถึงในที่นี้..

   บีแมนมีข้อคิดสำหรับ "งานในฝัน" ดังต่อไปนี้ (เป็น Keyword)

  • "การทำงานที่รัก ถือเป็นลาภอันประเสริฐ เพราะจะเป็นการทำงานที่มีความสุข"
  • แต่จะสุขยิ่งกว่า ถ้า "รักงานที่ทำ" ด้วย
  • ความสุขที่แท้จริง อยู่ที่คำว่า "พอ"
  • ชีวิตที่มุ่งแต่จะ "หาเงิน" อย่างเดียว จะเป็นชีวิตที่ปราศจาก "ความสุข"

   ในการ "รู้หา" ต้องทราบ "หลักการ" ของ "แหล่งที่มาของรายได้"

   แหล่งที่มาของรายได้

  1. รายได้จากการทำงานประจำ
  2. รายได้เสริม (ที่ไม่เบียดบังเวลาและคุณภาพของงานประจำ)
  3. รายได้จากการเป็นผู้ประกอบการ
  4. รายได้จากการลงทุน..ซึ่งประกอบด้วย
    1. ดอกเบี้ย
    2. เงินปันผล
    3. ค่าเช่า
    4. กำไร (จากการซื้อถูก-ขายแพง)

    บีแมนก็ขอแชร์ประสบการณ์หน่อยหนึ่ง...คือตอน เรียนหนังสือ..ได้ไปเรียนเรื่องราวเกี่ยวกับ "ชีววิทยาของผึ้งและการเลี้ยงผึ้ง" พอมาทำงาน...มีอาชีพรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ (หากมีโอกาส ในบทหลังๆ จะได้กล่าวถึงข้อดีของการทำงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางการเงิน)....มีอาชีพคือสอนนิสิต นักศึกษา เป็นงานอาชีพ ขณะเดียวกันก็เลี้ยงผึ้งเป็นงานอดิเรกด้วย..

    บีแมนมีรายได้จาก

  1. งานประจำคือ เงินเดือน ในการสอน
  2. รายได้เสริมจากการทำวิจัยเกี่ยวกับผึ้งและอื่นๆ (คนส่วนใหญ่ที่เป็นอาจารย์มีรายได้เสริมจากงานวิจัย) แต่ถ้าอยู่กรุงเทพฯ ต้องหากินกับการไปสอนพิเศษด้วย..อิอิ
  3. ข้อสามนี่ ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ
  4. ในการลงทุน ชีวิตที่ผ่านมา ก็ได้รับผลตอบแทนจาก ทุกๆ ตัว ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทต่างๆ,เงินปันผลจากหุ้นสหกรณ์และเงินเฉลี่ยคืนจากการกู้สหกรณ์, ค่าเช่าจากการให้เช่าที่พัก, และกำไรจากการซื้อของถูกมาขายแพง (เรื่องนี้ได้รับการชี้แนะจากเพื่อสมัยประถมชื่อ พงษ์สิทธิ์ แซ่เอี้ยะ)

     Keyword ของการรู้หาคือ หาเงินเพิ่ม เสริมรายได้

    จากบทที่แล้ว ได้กล่าวถึงว่า..พอเริ่มชีวิตทำงาน ต้องวางแผนเก็บเงินเอาไว้สัก ๕ ปีก่อนแล้วค่อยคิดว่าจะเอาเงินนั้นไปทำอะไร...

    เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน....เราจะเริ่มชีวิตการทำงาน ด้วยการสมมุติให้มีรายได้จากงานประจำ เดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท (พร้อมๆ กับ ค่าทำงานล่วงเวลาหรือรายได้อื่นๆ อีกสัก เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท) 

    โปรดติดตามตอนต่อไป..

หมายเลขบันทึก: 566345เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2014 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2014 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท