วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปการจัดการความรู้เรื่อง การเผยแพร่งานวิจัย (ครั้งที่ 2)


สรุปการจัดการความรู้เรื่อง การเผยแพร่งานวิจัย (ครั้งที่ ๒)

มีอาจารย์นำเสนอ ๔ ท่านได้แก่

              อ.ดร.รุ่งทิวา หวังเรืองสถิต              จากภาควิชาการพยาบาลเด็ก

              อ.ดร.สมาภรณ์ เทียนขาว               จากภาควิชาการพยาบาลจิตเวช

              อ.วิสิฏซ์ศรี เพ็งนุ่ม                       จากภาควิชาการพยาบาลเด็ก

              อ.ศิริรัชส์ อินสุข                          จากภาควิชาการศึกษาทั่วไป

ผลการประชุมการจัดการความรู้ ได้ข้อสรุปดังนี้

ขั้นตอนการตีพิมพ์

๑. ขั้นเตรียม

๑.๑ กำหนดวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความ

๑.๒ ค้นหาวารสาร ที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการรับรอง ตรวจสอบวารสารว่าอยู่ในฐานข้อมูลที่ยอมรับจริงหรือไม่ ศึกษาข้อกำหนดของวารสาร

๑.๓ พิมพ์ตัวอย่างของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมาดูเป็นแนวทาง เขียนบทความ

๑.๔ พิจารณาจุดเด่นของงานที่ต้องการตีพิมพ์ ใช้วิทยาการวิจัยที่ใหม่กว่า ทันสมัยกว่า และต่างจากเดิม น่าเชื่อถือ

๒. ขั้นลงมือเขียน

๒.๑ ปฏิบัติตามระเบียบของวารสาร

๒.๒ ปรับเนื้อหาจากงานวิจัย ให้ได้เนื้อหาชัดเจนตามวารสารที่กำหนด

๒.๓ โครงสร้างบทความที่มีมาตรฐานและใช้ทั่วไป

-      ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง

-      บทนำและความเป็นมา (๑ หน้า)

-      แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อ (๒ หน้า)

-      ระเบียบวิธีวิจัย (๒ พิมพ์)

-      ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผล (๑๐ หน้า)

-      สรุปและข้อเสนอแนะ (๑ หน้า)

โครงสร้างแต่ละหน้า A4 ๒-๓ ย่อหน้า ควรอ้างอิงหน้าละ ๒-๓ แห่ง เขียนด้วยภาษาสารคดี เรื่องเล่า การสรุปและข้อเสนอแนะ ควรเขียนแบบร้อยแก้ว อย่างไรก็ตามขึ้นกับข้อกำหนดของวารสารที่จะลงตีพิมพ์

๒.๔ ส่งร่างบทความไปยังบรรณาธิการ

๒.๕ ปรึกษาและให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษและการพยาบาลตรวจสอบ หรือส่ง edit ต่างประเทศ

๒.๖ ทีมผู้ร่วมวิจัยทุกคนต้องเซ็นใบรับรอง

๒.๗ รอการติดต่อกลับ รับใบตอบรับการตีพิมพ์

๒.๘ อาจเสียค่า Peer Review ๒,๐๐๐ บาท

๒.๙ รับข้อเสนอแนะและปรับแก้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการส่งบทความตีพิมพ์

  • ไม่ยึดติดกับเนื้อหาที่เขียนไว้เดิมในเล่มวิทยานิพนธ์ ปรับลดให้เหมาะสม
  • เขียนตามรูปแบบที่กำหนด
  • มีการวางแผนทีดี
  • มีกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์
  • มีประเด็นการพิมพ์
  • เลือกวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล
  • มีกัลป์ยานมิตรที่ดี ในการช่วยอ่าน ให้ความคิดเห็น ให้กำลังใจ
  • มีแหล่งตรวจความถูกต้องภาษาอังกฤษ
  • มีความมุ่งมั่น
  • แก้ไขตามข้อเสนอแนะ
  • มีเวลา

ขั้นตอนการนำเสนองานวิจัยในเวทีระดับชาติหรือนานาชาติ (Oral or Poster Presentation)

๑. ขั้นเตรียม

๑.๑ ค้นหาเวทีในการนำเสนอ

๑.๒ กำหนดวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ

๑.๓ เขียนบทคัดย่อ

๑.๔ ตรวจสอบ กำหนดวันส่ง และค่าลงทะเบียน

๑.๕ รอรับคำตอบ

๒. ขั้นดำเนินการ

๒.๑ เขียนต้นฉบับ

๒.๒ ส่ง edit ต่างประเทศ

๒.๓ ส่งต้นฉบับในเวทีนำเสนอ

๒.๔ รอการติดต่อกลับ

๒.๕ เตรียม Script และ Powerpoint

๒.๖ ฝึกซ้อมพูดตามเวลาที่กำหนด 10-20 นาที (ฝึกกับชาวต่างประเทศ)

๒.๗ ฝึกตั้งคำถามแล้วตอบคำถามที่คาดว่าจะมีในการนำเสนอ

๒.๘ เตรียมตัวในการนำเสนอ “เสื้อผ้า หน้า ผม File”

๒.๙ นำเสนอตามวันเวลา

๒.๑๐ รับข้อเสนอแนะ ตอบคำถาม

๓. ขั้นผลลัพธ์

๓.๑ งานวิจัยได้รับการเผยแพร่

๓.๒ ได้รับใบประกาศในการนำเสนอ

๓.๓ ได้รับประสบการณ์ ได้เครือข่าย

๓.๔ ได้ประเด็นจากคำถาม 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำเสนอเวทีวิชาการ/Poster

  • PDCA ได้แก่ P: วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง D: ลงมือทำอย่างตั้งใจ C: ตรวจสอบผลงาน สุขใจ A: พัฒนางานวิจัยอย่างยั่งยืน
  • Poster ตรงกับรูปแบบ สาระสำคัญของการประชุม โดดเด่น ชูเนื้อเรื่องที่เรานำเสนอ
  • ใช้ดวง คือ ด. เป็นคนดี ทำหน้าที่ครูที่ดี ผู้บังคับบัญชาที่ดี ลูกน้องที่ดี ว.แวดวงครอบครัว แวดวงที่ทำงาน มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ง.เงิน
  • มีการบูรณาการ
  • นำเสนอตามเวลาที่กำหนด ห้ามเกินเวลา
  • เลือกเรื่องที่ทันสมัย อยู่ในประเด็นที่สังคมสนใจ
  • การเตรียมโปสเตอร์ มีความแตกต่าง โดดเด่น และตรงกับประเด็นที่นำเสนอ
หมายเลขบันทึก: 565406เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2014 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2014 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

P DCA ใช้ได้ดีเสมอๆ นะคะ

ขอบคุณผู้จัดที่จัดให้มีเวทีดีๆคะ

บรรยากาศการทำKMดีมากกกกกก คะ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกคนทีาเข้าร่วม การฟังอย่างตั้งใจ การให้เกียรติกัน ใช้กระบวนการติตตปัญญา เข้าสู่การจัดการความรู้เรื่งการเผยแพร่ผลวานวิจัย สามารถนำความรู้ตากการจัดการความรู้ไปใช้ต่อยอดในการเผยแพร่งานวิตัยได้ดีเยี่ยม..มีข้อเสนอแนะ อ.ศิริรีชส์ อินสุข สังกัดภาควิชาาการศึกษาทั่วไปแบะวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คะ มักจำเป็นพยาบาลเสมอนะคะ ขอบคุณคะ

PDCA ทำให้งานเราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายคะ การเผยแพร่ผลงานวิจัยย้งคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่เราต้องการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ที่เห็นใข้กระบวนการจิตตปัญญา คะ รางวัลอันยิ่งใหญ่คือ รางวัลจากใจ คะ ขอเสนอแนะ อ.ศิริรัชส์ อินสุข สังกัดภาควิชาการศึกษาทั่วไปคะ ขอบคุณคะที่ จะให้เป็นพยาบาล แล้วเจอกันอีกนะคะในดารนำเสนอผลงานวิจัย หรือประเด็นอื่น ๆ

ขอบคุณนะคะที่มีสิ่งดีๆให้พวกเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้สาระดีๆ

ดีมากเลยได้แนวคิดดีๆๆ

ดีมากเลยครับ เข้าไปอ่านได้รับความรู้จริงๆครับ

- ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ในการเขียนบทความตีพิมพ์เผยแพร่ ทุกอย่างจะสำเร็จได้ถ้ามีการเริ่มต้นที่ดี และสานต่ออย่างต่อเนื่อง

บรรยายดีมากๆ ทำให้เรียนรู้อย่างมีความสุขค่ะ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกครั้งที่จัดเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ แต่การทำงานเผยแพร่ตีพิมพ์ก็ยังต้องมีปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จหลายอย่างโดยเฉพาะที่สำคัญคือเวลา แรงจูงใจและแรงสนับสนุนกำลังทรัพย์ในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ค่ะ

ได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณที่แบ่งปัน

บรรยากาศการเรียนรู้ดีมากค่ะ ได้หลัก วิธีการ จากประสบการณ์ของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างกัลยาณมิตร ขอบคุณมากค่ะ

การแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเผยแพร่งานวิจัย เป็นสิ่งที่ดีมากครับ บรรยากาศการนำเสนอและการแลกเปลี่ยนเป็นกันเอง  น่าเรียนรู้ ได้รับรู้ข้อมูล และประสบการณ์ต่างๆ จากท่านอาจารย์ผู้นำเสนอ ซึ่งน้องใหม่อย่างผมือว่าประสบการณ์ในการมีส่วนร่วมเข้าฟังครั้งือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งครับ  ควารดำเนินการจัดอย่างต่อเนื่อง และน่าจะมีการเชิญสถาบันอื่นร่วมแลกเปลี่ยนด้วยก็น่าจะดีนะครับ  ขอบคุณมากครับ

ดีมาดเลยค่ะ อยากให้มีเวทีแบบนี้อีกบ่อยๆ 

วพบ. น่าจะจัดทำขั้นตอนการนำเสนองานวิจัยในเวทีระดับชาติหรือนานาชาติ (Oral or Poster Presentation)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท