beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ครอบครัวตึ๋งหนืด <๓๑> เรื่องเล่า "การบริหารภาษี (เงินได้บุคคลธรรมดา)"


ในปีภาษี ๒๕๕๕ และปีภาษี ๒๕๕๖ (และปีต่อไปจนถึงปีเกษียณ) บีแมน (จะ) เสียภาษีเท่ากับ ๐ บาท ...

เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๗ บีแมนไปยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ Lotus extra ท่าทอง (ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต) โดยวันนี้เป็นวันแรกที่ทางสรรพากรเขตพื้นที่เมืองพิษณุโลก เพิ่มจุดบริการนอกสถานที่ ช่วงวันที่ ๑๗ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๗...จะข้ามเรื่องที่เป็นเรื่องของการบริการไป..มาสู่เรื่องราวที่เป็นการบริหารภาษี..

ในปีภาษี ๒๕๕๕ บีแมนได้ไปซื้อประกันแบบบำนาญ ๕ หมื่นกว่าบาท และในปีภาษีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงวิธีคำนวณค่าลดหย่อนบางรายการใหม่ทำให้ปี ๒๕๕๕ นั้นปีแมนได้คืนภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายทั้งปี ประมาณ ๗,๐๐๐ กว่าบาท

ในปีภาษี ๒๕๕๖ นั้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างภาษีใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีรายได้ ในภาพกว้าง..ดังนั้น บีแมนอยากจะนำประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารภาษีมาเล่าสู่กันฟัง (อ่าน) ดังนี้

สมมุติว่า บีแมนเป็น ข้าราชการ มีรายได้พึงประเมิน (จากเงินเดือน ค่าจ้าง) ปีละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท.. (รายได้อยู่ระดับกลางๆ ไม่มากไปและไม่น้อยเกินไป พอดี พอเพียง)...ลองมาดูอัตราภาษีสำหรับคำนวณเงินได้สุทธิแสดงดังภาพ

จากตาราง หากเราจะบริหารภาษีให้เป็นศูนย์ ต้องทำให้รายรับพึงประเมินก่อนหักภาษี อยู่ในช่วงไม่เกิน ๑๕๐.๐๐๐ บาท ซึ่งจะตกอยู่ในช่วงยกเว้นภาษี

รายการหักหมวดต่างๆ

1.เงินที่ส่งเข้ากองทุน กบช. (ขั้นต่ำ) ร้อยละ ๓ ของรายได้พึงประเมิน เท่ากับ ๑๕,๐๐๐ บาท
2.ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (ร้อยละ ๔๐ แต่ไม่เกิน ๖ หมื่น) เท่ากับ ๖๐,๐๐๐ บาท
3.ค่าลดหย่อน รวมตามรายการ ๒๘๑,๐๐๐ บาท
  • ส่วนตัว
  • บุตรที่ศึกษา ๓ คน คนละ ๑๗,๐๐๐ บาท เท่ากับ
    (ส่วนนี้ทั้งสามีและภรรยาหักได้เต็ม-คิดเต็มสิทธิ)
  • ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา (คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท)
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิต (อายุ ๑๐ ปีขึ้นไป)
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ (ซื้อได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของรายได้
    และในใบเสร็จต้องระบุว่าเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญ)

๓๐,๐๐๐ บาท
๕๑,๐๐๐ บาท
๓๐,๐๐๐ บาท
๑๐๐,๐๐๐ บาท

๗๐,๐๐๐ บาท

รายได้หักด้วยรายการหัก ๑-๓ (ก่อนหักเงินบริจาค) ๑๔๔,๐๐๐ บาท
เงินได้คำนวณภาษี (ไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ยกเว้น) ยกเว้น

จากตัวอย่างข้างต้น ยังไม่หักเงินบริจาค ก็เข้าข่ายที่ไม่ต้องเสียภาษีแล้ว (แต่ต้องไปยื่นแบบแสดงรายการ)

และสมมุติอีกว่า ในปี ๒๕๕๗ รายได้ของบีแมนเกิดเพิ่มกะทันหันเป็น ๖๐๐,๐๐๐ บาท ต่อปี (นั่นคือเพิ่มขึ้น ๑๐๐.๐๐๐ บาท) จะบริหารภาษีให้เป็นศูนย์ได้อย่างไร

  • วิธีคิดคือ ถ้ารายได้เพิ่มอีกปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท จากเดิมที่ไม่เสียภาษี อัตราภาษีจะมาอยู่ที่ร้อยละ ๕ คือ ๕,๐๐๐ บาท
  • ถ้าจะไม่ต้องเสียภาษีคือ เพิ่มส่วนที่เป็นเงินออมและนำไปหักภาษีได้
    (เท่ากับร้ฐช่วยออกเงินออมให้เราปีละ ๕,๐๐๐ บาท)
  • บีแมนจะเพิ่มการส่งเงินเข้ากองทุนกบข.อีก ร้อยละ ๕ (เท่ากับ ๓๐,๐๐๐ บาท คิดจากเงินได้ ๖๐๐,๐๐๐ บาท
  • ซื้อกองทุน LTF (Longterm Equty Fund) อีก ๗๐,๐๐๐ บาท (ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของรายได้-ซื้อปีไหนหักค่าลดหย่อนปีนั้น-เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอน ต้องนำไปแสดงในภงด.ด้วย)
หมายเลขบันทึก: 564504เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2014 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2016 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ของผมไม่ได้วางแผนบริหารภาษีครับ แต่เมื่อฐานของปี 2555 มีจำนวนเงินต้องจ่ายเพิ่ม ผมจัดการหารด้วย 12 แล้วขอให้งานการเงินหักเพิ่มจากฐานเดิม ทำไปทำมาปีนี้ (2556) ด้วยการเพิ่มจำนวนเงินหักลดหย่อน ทำให้ผมได้เงินภาษีคืน ประมาณ 5 พันบาทเศษ ๆ ครับ

เรียน อ.คณิน

  • การเงินเขาหักภาษีผมนิดหน่อย เดือนละสองร้อยกว่าบาท
  • พอไปยื่นภาษี ผมได้คืนมาหมด..สรุปว่าไม่มีรายได้พอจะให้หักภาษีครับ..อิอิ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท