ความรู้นอกตำรา : เรียนรู้ความเป็นบรรณารักษ์ ผ่านภาพยนตร์เรื่อง 198 รหัสรักปาฏิหาริย์


เมื่อครั้งหนึ่งผมมีโอกาสนั่งดูภาพยนตร์เรื่อง 198 รหัสรักปาฏิหาร เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่สะท้อนความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ผมเรียนในระดับปริญญาตรี ซึ่งผมสารมารถสรุปเป็น 2 ประเด็นคือ ได้อะไรจากภาพยนตร์ และ จากภาพยนตร์เห็นอะไรเกี่ยวกับงานบริการสารสนเทศ 

1. ได้อะไรจากภาพยนตร์

                1. การใช้บริการในห้องสมุดควรช่วยกันรักษาทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศบางชนิดก็ไม่มีขายอีกแล้วในร้านขายหนังสือ ซึ่งทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดนั้นเป็นสมบัติของทางราชการผู้ใช้บริการทุกคนควรช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของคนในรุ่นต่อๆไป
                2. หลังจากใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศแล้วควรจัดเก็บเข้าที่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการค้นหาทรัพยากรของผู้อื่นที่มาใช้บริการซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการคนอื่นๆ ซึ่งมีพฤติกรรมต่างจากการใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เช่น การซ่อนหนังสือเพื่อเก็บไว้อ่านคนเดียว  การวางหนังสือกลับด้าน 
การวางหนังสือผิดหมวดหมู่   การฉีกหนังสือ  ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและส่งผลให้ผู้ใช้บริการคนอื่นไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้และถือได้ว่าเป็นการทำลายสมบัติของทางราชการด้วย
                3. การปฏิบัติงานของบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะต้องปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและ
มีความขยันในการทำงาน อุทิศตนด้วยความวิริยะและมีความเสียสละเพื่อให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการห้องสมุด จากภาพยนตร์สังเกตได้ว่าผู้ใช้บริการต้องการค้นหาหนังสือในห้องสมุดซึ่งแฟนเก่าได้เขียนข้อความฝากไว้ในหน้า 198 แต่ผู้ใช้บริการจำชื่อหนังสือไม่ได้ บรรณารักษ์ได้อาสาช่วยค้นหาหนังสือในห้องสมุดซึ่งมีจำนวนมาก ซึ่งทำให้ได้ข้อคิดที่ว่า การที่จะเป็นบรรณารักษ์นั้นจะต้องทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ มีความเสียสละ มุ่งมั่นและมีความอดทนในการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการให้มากที่สุด
                4.  บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการถือได้ว่าผิดจรรยาบรรณของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ดังนั้นบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่จะต้องเก็บรวบรวมรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการ เคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ ไม่จำหน่ายหรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการให้กับบุคคลอื่น ดังนั้นบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ที่ดีจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้บริการโดยเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลนั้นโดยตรง หรือมีบางกรณีที่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ให้บริการด้านข้อมูลหรือความช่วยเหลืออื่นๆ   อนุญาตให้บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการเฉพาะส่วนของข้อมูลที่จำเป็นในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการเท่านั้น
                5.  การพูดจาของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่จะต้องพูดด้วยความไพเราะและจะต้องแต่งกายด้วยความสุภาพ เนื่องจากบรรณารักษ์เปรียบได้กับพนักงานบริการในสถานที่ต่างๆ ดังนั้นบรรณารักษ์จะต้องมีความอ่อนน้อมและพูดจาไพเราะกับผู้ใช้บริการและเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นการต้อนรับและเป็นการให้บริการด้วยความจริงใจ
                6. ผู้ใช้บริการห้องสมุด บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่จะไม่ส่งเสียงดังรบกวนการอ่านหนังสือหรือการใช้บริการห้องสมุดของผู้อื่น
                7. การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จากภาพยนตร์ผู้ใช้บริการ มีการมอบน้ำใจหรือสินบนให้กับพนักงานในเวลาราชการ แต่พนักงานไม่รับสินบนเนื่องจากเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์และเป็นผู้มีความพอใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่

                8. การรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มภายในห้องสมุด ซึ่งไม่ควรทำเพราะบางครั้งเศษอาหารหรือเครื่องดื่มอาจหกภายในบริเวณห้องสมุดหรือหกใส่ทรัพยากรสารสนเทศถือได้ว่าเป็นการทำลายทรัพยากรสารสนเทศอีกวิธีหนึ่งได้ 

                                               

  1. จากภาพยนตร์เห็นอะไรเกี่ยวกับงานบริการสารสนเทศ
            1. การบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการที่ไม่มีโอกาสได้เดินทางไปใช้บริการที่ห้องสมุดและเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างหลากหลายวิธี
            2. การบริการสำเนาเอกสาร เพื่อที่จะนำไปใช้นานๆ ทางห้องสมุดจึงมีการบริการสำเนาเอกสารซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการด้วย
            3. บริการสมัครสมาชิกห้องสมุดทำให้ผู้ใช้บริการสามารถ ยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้เป็นเวลานานขึ้น

                4. บริการช่วยค้นหาทรัพยากรสารสนเทศซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับหมวดหมู่หนังสือ
                5.การติดตามหนังสือที่ค้างคืนจากผู้ใช้บริการ เนื่องจากผู้ใช้บริการได้ยืมทรัพยากรสารสนเทศแล้วไม่ได้คืนตามเวลาที่กำหนด บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่จะต้องติดตามหนังสือที่หายไปและนำกลับมาให้บริการเหมือนเดิม
                6. บริการค้นหาสถิติข้อมูลการยืม – คืน ของแต่ละคนทำให้ทราบว่าผู้ใช้บริการแต่ละคนนั้นยืมหนังสือวันที่ เดือน ปี อะไร ยืมหนังสือเรื่องอะไรบ้าง  ยืมไปทั้งหมดกี่เล่ม ส่งคืนแล้วกี่เล่ม ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบการทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการยืมไปนำกลับมาคืนแล้วหรือยัง
                7.  บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด

หมายเลขบันทึก: 563991เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2014 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2014 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเรื่องที่เคยอยากดู แต่ตอนนี้ลืมไปแล้ว

ได้ทบทวนใหม่ จะไปหาดูครับ ;)...

เยี่ยมครับ...
ดึงการเรียนรู้ออกจากชั้นเรียนได้อย่างมากมายหลากหลายทาง

มาให้กำลังใจนะ...
ชื่นชม เสมอมา 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท