ผักหวานป่ากับการเรียนรู้แบบบ้านๆ(2)


ในมุมทุกข์ก็ยังมีสุขอยู่อีกด้านในการรอคอยก็ยังมีโอกาสดีๆที่รออยู่..เสมอ

โอกาสจากธรรมชาติ...ในหนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียวกับการออกดอกติดผลของผักหวานป่าในแต่ละปี"การรอคอย"ได้สอนอะไรมากมายให้กับหัวใจ(ที่มันดิ้นรนมากกว่าหยุดนิ่ง) การทดลองหาคำตอบกับผักหวานป่าในวันนี้และปีนี้เวลานั้นหมดลงพร้อมๆกับคำตอบบางอย่างที่ได้มา..รวมถึงคำถามที่ค้างคาที่ยังไม่ได้ทำ แต่ก็ทำไม่ได้(เวลาหมด)ต้องรอเวลาเดียวกันนี้ในปีหน้า

คำตอบที่ได้มา..จากการพ่นฮอร์โมน(หวานใจ)

...ดอกผดในต้นที่พ่นฮอร์โมนเมื่อดอกเริ่มบานจะมองเห็นตุ่มเล็กๆอยู่ตรงกลางดอกซึ่งเป็นลักษณะของดอกที่จะพัฒนาเพื่อเป็นผลของผักหวานป่า..จากปีก่อนๆที่ยังไม่ได้พ่นฮอร์โมนดอกเหล่านี้จะมีเพียงเกษรผงเหลืองๆอยู่ข้างในดอกเมื่อบานเท่านั้น(เป็นลักษณะเช่นเดียวกันนี้ทุกต้นที่ทำการพ่น)..เมื่อเปรียบเทียบกับต้นดอกผดที่ไม่ได้พ่นฮอร์โมนทุกต้นจะไม่มีตุ่มผลตรงกลางดอกเลยแต่จะเป็นผงเกษรเหลืองๆเท่านั้น

...ต้นผักหวานอายุประมาฯ13-15ปีที่ไม่เคยออกดอกเกิน3ช่อในแต่ละปี หลังจากพ่นฮอร์โมนตอนนี้กำลังทยอยออกดอกมาแล้ว30-40ช่อ

...การให้น้ำในระดับพื้นดินแบบต่อเนื่องรวมถึงการสร้างร่มเงาลดความร้อนแรงของแสงแดดในฤดูร้อน(เรื่องที่ดูเหมือนไม่ยากแต่มันไม่ง่ายเลยที่เวลาลงมือทำทุกครั้งกลับต้องพบอุปสรรคขวางกั้นตลอด)

...ต้นผักหวานที่ถูกพ่นฮอร์โมนในต้นที่ยังไม่ออกดอกมีการแตกยอดอกมาได้ดี ซึ่งใบมีความสดชื่นอยู่ได้นานท่ามกลางแดดแผดเผา..เมื่อเทียบกับต้นที่ไม่ได้พ่นอยู่ในโซนพื้นที่เดียวกันที่ใบมีการเหี่ยวเฉามาก

สิ่งที่ค้างคาแต่ต้องรอเวลาและโอกาสในปีหน้า พ.ศ.2558

...ช่วงเวลาการพ่นฮอร์โมน ระยะเวลาในการพ่น

...การทดสอบการมห้น้ำแบบสปริงเกอร์แบบแปลงกับการให้น้ำหยด(ไหล)ที่โคนต้น

***ลักษณะและดอกผักหวานตัวเมีย(2557)***

...ปีนี้ได้ต้นตัวเมียเพิ่มอีก3-4ต้นแม้จะออกดอกไม่กี่ช่อแต่ก็ดีใจที่เป็นผู้หญิง จุมพิต จุมพิต

***ลักษณะชนิดของดอกผักหวานป่าที่เรียก"ดอกผด"...(ตัวผู้)***

 

...ดอกเป็นช่อมีก้่านไข่ แบบเดียวกันทั้งต้น...

 

...ดอกเป็นไข่ช่อยาวไม่มีก้าน แบบเดียวกันทั้งต้น...

 

...ดอกเป็นช่อก้านและไม่มีก้าน อยู่ในต้นเดียวกัน...



...ดอกผดทั้ง3แบบติดผลทุกแบบแต่ยังติดน้อย ปีนี้รอลุ้นผลพ่นฮอร์โมน...

...ลักษณะผงสีเหลืองละเอียดเหมือนแป้งที่อยู่ในช่อดอกผดเมื่อดอกบาน แต่ไม่มีในดอกชนิดตัวเมีย...

ถึงแม้ดอกผดที่กำลังแบ่งบานกำลังจะพัฒนามาเป็นผลของผักหวานป่าจะถูกแสงแดดแผดเผาในเวลาเพียง5-7วันของต้นเดือนมีนาคมปีนี้ที่ร้อนแล้ง(รอมานานนับปีดับในเวลา5วัน) ก็ไม่เป็นไร...เพราะอย่างน้อยๆหัวใจก็ได้รับคำตอบกับ"ฮอร์โมน(หวานใจ)" ที่ช่วยดับความค้างคาใจความสงสัยในชีวิตได้อย่างมากมาย(หากยังไม่ตายปีหน้าคงได้เริ่มใหม่..จัดเต็มกว่าเดิม)

***จากการทดลองฮอร์โมน(หวานใจ)ในปีนี้...กลับทำให้มองเห็นคำว่า ผลิตภัณฑ์,สิทธิบัตร,ทรัพย์สินทางปัญญา,(รูปแบบภาคปฎิบัติโครงการ) ผักหวานพอเพียง โมเดล,โอภาสโมเดล***

 

                                             *** ขอบพระคุณ สวัสดีค่ะ ***

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 563777เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2014 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2014 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

-สวัสดีครับ

-ตามมาเรียนรู้เรื่องผักหวานแบบบ้าน ๆ ครับ

-ขอบคุณครับ..

เป็นความรู้ใหม่จริง ๆ เรื่องดอกผักหวานป่า ไม่เคยเห็นมาก่อนจ้ะ เด๊่ยวนี้แถว ๆ บ้านคุณมะเดื่อก็ไม่มีต้นผักหวานป่าแล้ว จะมีอยู่ก็ต้องขึ้นไปบนภูเขาโน่นจ้ะ ขอบคุณคุณน้อยมาก ๆ ที่นำมาให้ได้รู้จ้ะ

...เป็นบทสรุปการศึกษา ปลูกผักหวานที่เห็นผลการเจริญเติบโต และความแตกต่างของเพศผักหวานได้ชัดเจนนะคะ...ว่าแต่งูในภาพชื่องูอะไรค่ะ...

สวัสดีค่ะคุณเพชรน้ำหนึ่ง...ขอบคุณที่กรุณาแวะมาเยี่ยมชมค่ะ ใบชะพลูมันแวววาวน่าทานจังค่ะดอกแคในภาพแถวๆบ้านเรียกดอกแคฝอยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูมะเดื่อ...ขอบคุณสำหรับดอกกุหลาบสีหวานๆค่ะ

ผักหวานป่าแถวๆอีสานก็นับวันลดลงเช่นกันค่ะด้วยเหตุนี้จึงพยายามเผยแพร่ให้คนหันมาปลูกอนุรักษณ์ไว้ให้คงอยู่ถึงรุ่นลูกหลาน

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์พจนา...สำหรับผักหวานป่ากับการเรียนรู้ก็สรุปข้อมูลเก็บไว้ไเรื่อยๆค่ะ(วันนึงคงได้ใช้ประโยชน์บ้าง) ส่วนงูบนต้นผักหวานเรียกว่า"งูเขียว"ค่ะ งูเขียวจะมี2ชนิดคือ"งูเขียวหางไหม้"(หางด้วน)ชนิดนี้มีพิษเทียบเท่ากับงูเห่าทำให้ถึงตาย..ส่นอีกชนิดคือ"งูเขียวหางยาว" ชนิดนี้ไม่มีพิาร้ายแรงค่ะ งูเขียวจะอาศัยอยู่ตามต้นไม้มากกว่าอยู่ตามพื้นดินเหมือนงูทั่วๆไปค่ะ..ที่สวนส่วนมากจะเป็นงูเขียวหางยาวค่ะ งูเขียวหางไหม้น้อยมากจะพบเจอ(ที่จริงแล้วงูเค้าก็มนุษย์เรามากกว่าค่ะอาจารย์)

ขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท