กระบวนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา


ความหมายนวัตกรรม

Hughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. การคิดค้น (invention)

2. การพัฒนา (Development)

3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม ดังนั้นนวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้

1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย

2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่

3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม

ศาสตราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้ 4 ประการ คือ

1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น

2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง

3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่" นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่" นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

ความสำคัญของนวัตกรรมต่อการศึกษา

1-      เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป

2-      เพื่อแก้ไขทางการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

3-      เพื่อแก้ไขทางการศึกษาในปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ๆขึ้นมา

4-      เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง

5-      เพื่อช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนทางการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา

  1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
  2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
  3. การพัฒนาสื่อใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
  4. การใช้เทคโนโลยี้ด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอน
  5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
  6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่

คุณลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการศึกษา

  1. เป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์โดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนสภาพจริง
  2. เข้ากันได้กับสิ่งที่มีอยู่เดิม และสอดคล้องกับสภาพการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
  3. ไม่มีความซับซ้อน ง่ายและสะดวกในการนำไปใช้
  4. สามารถนำไปใช้และทดสอบได้
  5. สามารถสังเกตเห็นรูปแบบหรือผลที่เกิดจากนวัตกรรมได้อย่างชัดเจน

นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ได้แก่

1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา

4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง

5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา

                การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษานั้น นักวิชาการศึกษาจะใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา เป็นระเบียบวิธีวิจัยในการพัฒนานวัตกรรมโดยมีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนดังนี้

  1. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หมายถึง การศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอน การศึกษาเอกสารและวิจัย เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในแก้ปัญหา รวมทั้งความรู้ที่จะใช้ในการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม
  2. การวางแผนพัฒนานวัตกรรม หมายถึงการเตรียมการในด้านต่างๆ เช่นหลักสูตร ระยะเวลางบประมาณ วัสดุ – อุปกรณ์ บุคลากร ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มตัวอย่างฯลฯ
  3. การสร้างนวัตกรรม หมายถึง การลงมือทำเพื่อสร้างนวัตกรรม โดยจะใช้กระบวนการพัฒนาสื่อ 7 ขั้นตอนของ Stephen M. Alessi and Stanley R. Trollip คือ

        การเตรียม ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม การสร้างแผนการสอนและกำหนดเนื้อหา และการสร้างแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน(โดยการวิเคราะห์ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยผู้เชี่ยวชาญ และการวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ)

            การออกแบบสื่อและนวัตกรรม ประกอบด้วยการวิเคราะห์โครงสร้างนวัตกรรมออกแบบขั้นแรก ประเมินและแก้ไขการออกแบบ

            การเขียนแผนผังของนวัตกรรม คือการเขียนแผนผังเพื่อให้เห็นโครงสร้างทั้งหมดของนวัตกรรมที่จะสร้าง

            การสร้างสตอรี่บอร์ด คือ การร่างลักษณะของนวัตกรรมแต่ละส่วนหรือแต่ละหน้าให้เห็นรายละเอียดของนวัตกรรม

            การสร้างนวัตกรรม คือ การลงมือทำตามที่ได้ออกแบบไว้

            การผลิตเอกสารประกอบ ประกอบด้วยคู่มือครู คู่มือการใช้ คู่มือนักเรียน ฯลฯ

        การประเมินและการแก้ไขนวัตกรรม คือการส่งนวัตกรรมที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพและปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

  1. การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หมายถึง การทดลองใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนแต่ละคน จำนวน 3 คน โดยสุ่มเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียน เก่ง ปานกลางและอ่อน อย่างละ 1 คน โดยผู้พัฒนานวัตกรรมสังเกตการใช้นวัตกรรมของแต่ละคนอย่างใกล้ชิด  
  2. การประเมินและการปรับปรุงครั้งที่ 1 หมายถึงการนำผลการทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่งมาประเมินผลและปรับปรุงนวัตกรรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  3. การทดลองแบบกลุ่มเล็ก หมายถึงการทดลองใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนกลุ่มเล็ก จำนวน 9 คนโดยการสุ่มผู้เรียนที่มีผลการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนอย่างละ 3 คนโดยจัดให้มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
  4.  การประเมินและการปรับปรุงครั้งที่ 2 หมายถึงการนำผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยอาจใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐาน80/80 หรือการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนกับหลังเรียน(t-test) หากผ่านเกณฑ์ที่กำหนดก็สามารถนำนวัตกรรมไปทดลองขั้นต่อไปได้ แต่หากไม่ผ่านต้องมีการปรับปรุงและนำไปทดลองกลุ่มเล็กกับนักเรียนชุดใหม่อีกครั้ง
  5. การทดลองแบบกลุ่มใหญ่

สาเหตุการเกิดขึ้นของนวัตกรรมการศึกษา

1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน

2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว

3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม

ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา

1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ

2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน

3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง

5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ

6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรท้องถิ่น

2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น Webblog , Gotoknow

4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด

5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์

หมายเลขบันทึก: 563376เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2014 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2014 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท