การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเข้ามาเชื่่อมโยงกับการพัฒนาองค์กรแห่งความสุข


       

             เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฎิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ (แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง)

            ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร  อย่างเช่น ในการทำงานของบุคลากรในบางครั้งไม่ได้ทำงานอย่างที่ตนตั้งใจไว้ ทำงานไม่ตรงกับสายที่ตนเองได้เรียนชมา ให้คิดว่า มีงานทำ ดีกว่าไม่มีงานทำ ทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด คิดบวกให้เยอะ แล้วชีวิตของการทำงานก็จะมีความสุขมากขึ้น เริ่มต้นมาทำงานตอนเช้า คิดดีตั้งแต่ตอนเช้าก่่อนออกจากบ้านมาทุก ๆ วันเหมือนกับทฤษฎีปลา ที่ว่า การคิดดีและการคิดบวกจะทำให้ชีวิตของการทำงานของคนมีความสุข โดยรวมไปถึงเพื่อนร่วม ผู้บังคับบัญชาและส่งผลให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า ( ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก…รักในสิ่งที่ตัวเองทำ…คือมีมิติสร้างสุขของปัจเจกบุคคลในโลกแห่งความเป็นจริง )

 

คำสำคัญ (Tags): #ความพอเพียง
หมายเลขบันทึก: 563369เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2014 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2014 01:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พอประมาณ พอเพียง ...เหมาะสมตามบริบทของตนเองนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท