ผิวเปลือกหอย กับผิวพระเนื้อปูนเปลือกหอย (2)


มีเพื่อนจำนวนมากมาบ่นว่า เพราะไม่เคยเห็นของจริง เลยแยกของจริงออกจากของเก๊ไม่ได้

ที่เป็นความจริง 100 % แต่ไม่น่าเห็นใจ

เพราะของจริงนั้นมีมากมาย ทั่วไป ที่ไหนก็น่าจะมี และผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเห็นเปลือกหอย แต่อาจจะไม่เคยส่องดู

ถ้าส่องดู ก็จะเห็นลักษณะการงอกของผิว และอาจจะคุ้นเคยกับผิวเปลือกหอย จนไม่มีทางที่จะงง หรือสงสัยว่าต่างจากพลาสติกอย่างไร

เรื่องนี้ผมเคยอธิบายไว้อย่างละเอียดแล้ว แต่ก็ยังมีนักถาม ที่เก่งเรื่องถาม ไม่ถนัดเรื่องอ่าน มาถามตลอด

จึงขอนำมาตอบอีกสักครั้ง

เปลือกหอยทุกชนิดจะมีการกำเนิดจากอย่างน้อย 3 กระบวนการด้วยกันคือ

1. จากการทำงานของอวัยวะของหอยเอง

2. จากการสร้างโมเลกุลของหอย เป็นโมเลกุลที่อาจจะไปเกาะเกี่ยวกันเอง ที่มักเกิดที่ผิวด้านลักษณะผิวเปลือกหอย

3. ผิวที่เกิดต่อเนื่องที่เป็นลักษณะที่เกิดโดยกระบวนการทางเคมี

ซึ่งเป็นลักษณะปกติของการเกิดผิวพระเนื้อปูนเปลือกหอย ที่เรากำลังสนใจ

ที่

1. มีการงอกของแคลเซียมคาร์บอนเนต (ปูนดิบ) เม็ดใสๆ มันๆ
2. แคลเซียมไบคาร์บอนเนต (ปูนสก) นวลๆในร่อง
และ

3. น้ำมัน เหลืองๆ

นี่คือหลัก 3 ข้อแรก ที่ใช้แยกปูนเปลือกหอย ออกจากพลาสติก (พระเก๊)

เพราะพระเก๊ เขาจะทำเม็ดโปะๆ เป็นก้อนใหญ่ๆ กองๆ เละๆ เลอะๆ อายุเดียว
ที่แตกต่างจากการงอกของปูนดิบที่เป็นเม็ดเล็กๆ ทับซ้อนกัน หลากอายุ

มีการชุบแป้งขาวๆ ปัดออกให้เหลือในร่อง
และทาสีเหลืองๆ มั่วๆ ไม่เป็นระบบ

และเมื่องอกไปนานๆ ก็จะเกิดความขรุขระ ที่ผมใช้คำว่า เหี่ยว (หลักข้อที่ 4)

และการงอกนั้น ก็จะทำให้เกิดรูพรุน (หลักข้อที่ 5)

รวมเป็นหลักการ 3+2 
ที่แยก พระเนื้อปูน ออกจากพระเก๊เนื้อพลาสติกได้อย่างชัดเจน

และขอย้ำว่า เม็ดปูนดิบนั้นเล็กมากๆ อาจจะมีมากถึง 100 เม็ดในพื้นที่ 1x1 มม ที่ทำเก๊ได้ยากมาก

ทั้งด้วยจำนวนเม็ดในพื้นที่แคบๆ ความกลมมน และความหลากอายุของเม็ดที่งอกทับซ้อนกันเป็นกองๆ

หลักนี้ เริ่มจากดูเปลือกหอยให้ออก แล้วไปดูพระเนื้อปูนเปลือกหอย

ใช้เวลาไม่เกิน ครึ่งชั่วโมง (หลังจากมองเห็นเม็ดปูนดิบ) ดูพระเนื้อปูนเปลือกหอยแท้ๆ เป็นทันทีครับ

หลักการง่ายๆเลยครับ
3+2 

จำได้แล้วพลาดยากครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

 

หมายเลขบันทึก: 563315เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2014 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2014 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เปลือกหอยที่พูดถึงคือเปลือกหอยชนิดใหนครับ ขอบคุณครับ

หอยที่มีเปลือกเป็นปูน ยกเว้นทากที่ไม่มีเปลิอกครับ

2. แคลเซียมไบคาร์บอนเนต (ปูนสก) นวลๆในร่อง

และ

3. น้ำมัน เหลืองๆ

หลักการง่ายๆเลยครับ
3+2

แค่นี้เองหรือครับอาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท