ผลการใช้ หน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง


ผลการใช้ หน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม

 

เพ็ญศรี  ใจกล้า ไชยณรงค์ ปรุงฆ้อง วิรัตน์ พลศรี ขวัญเมือง สิทธิจันทร์ พิกุล ไกรตรี*

ฤทธิ์ไกร ไชยงาม**

 

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์1)เพื่อหาประสิทธิภาพของหน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม2)หาค่าดัชนีประสิทธิผลของหน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม3)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ ของหน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมก่อนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 36 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย  4  ตัวเลือก  ซึ่งมี ค่าความยากง่าย  ระหว่าง 0.41 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0 .23 - 0.73 ค่าความเที่ยง  เท่ากับ 0.74 และแบบวัดการคิดวิเคราะห์มีค่าความยากตั้งแต่ 0.44 - 0.83 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.48 –0.78 ค่าความเชื่อมั่นเท่าทั้งฉบับ กับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test   ผลการวิจัย พบว่าหน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม มีประสิทธิภาพ 93.33 / 92.06 ค่าดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ.7315 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

คำสำคัญ : หน่วยบูรณาการ,การเรียนรู้แบบโครงงาน,แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น,ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                  การคิดวิเคราะห์


ภูมิหลัง

            ในสังคมแห่งการเรียนรู้การหรือในยุคปฎิรูปการเรียนรู้ การทำงานที่เน้นการบูรณาการเพื่อเยาวชนไทย คนไทยสามารถทำงานดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล กลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งร่วมมือร่วมใจ ร่วมพลังในการทำงานให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีคุณภาพนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงเน้นแบบบูรณาการและควรเป็นการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข.2551 : 1) และตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  2542 พระราชบัญญัติการศึกษาพุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา 23 ได้กำหนดให้การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา และมาตรา 24 ได้กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียนโดย (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (3) จัดกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (4) จัดการเรียนรู้โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm)

การแบบบูรณาการ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่างๆ กับ ชีวิตจริง ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างความคิดรวบยอดในศาสตร์ต่างๆ ทำให้เกิดการ เรียนรู้ที่มีความหมาย เนื้อหาและกระบวนการที่เรียนในวิชาหนึ่งอาจช่วยส่งเสริมการเรียนรู้อีกวิชา หนึ่ง และการสอนที่สัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากหลายๆ สาขาวิชาเข้าด้วยกันช่วยให้เกิด การถ่ายโอนการเรียนรู้ ช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริง และก็สามารถ เชื่อมโยงชีวิตจริงภายนอกห้องเรียนกับสิ่งที่เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าสิ่งที่ตนเรียนมีประโยชน์ หรือนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ซึ่งพิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข (2551 : 1) ให้ความหมายของการบูรณาการคือการทำให้สมบูรณ์(Integration)คือการทำหน่วยย่อยๆที่สัมพันธ์กันมาผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวให้ครบสมบูรณ์ในตัวเองและยังได้แบ่งประเภทของของการบูรณาการเป็นหลักสูตรบูรณาการ คือการนำเนื้อหาจากศาสตร์ต่างๆ มาผสมผสานกันก่อนการจัดการเรียนการสอนและการบูรณาการการเรียนการสอนคือการนำเนื้อหามาจัดการเรียนการสอนด้วยการผสมผสานวิธีการหลากหลาย กิจกรรมหลากหลาย นอกจากนั้นหลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการมีประโยชน์ ในการลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ ปัจจุบันความรู้และข้อมูลต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเรื่อง ที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้น ข้อมูลความรู้ที่เพิ่มขึ้นบางครั้งมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน การเรียนรู้ แบบบูรณาการจึงเหมาะสมมากกว่าที่แต่ละวิชาจะเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในวิชาของตน การเรียนรู้แบบ บูรณาการสามารถตอบสนองความสามารถของผู้เรียนซึ่งมีหลายด้านได้ เช่น ความสามารถ ทางภาษา คณิตศาสตร์ ความคล่องแคล่วของร่างกายและการเคลื่อนไหว ดนตรี สังคม ความรู้ ความเข้าใจตนเอง และสนองตอบต่อความสามารถที่จะแสดงออก และการตอบสนองทางอารมณ์ รวมทั้งทักษะการจัดการความรู้ นอกจากนั้นกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการสอดคล้องกับทฤษฎี การสร้างความรู้โดยผู้เรียน (Constructivism) ของซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) กระบวนการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะในการ เรียนรู้ และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

                         การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุดที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองได้ สามารถคิดวิเคระห์อย่างมีเหตุผล มีกระบวนการทำงานและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยมีครูเป็นผู้คอยกระตุ้นแนะนำ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้นำความรู้ในชั้นเรียนบูรณาการกับกิจกรรมที่จะกระทำ เพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหา และการค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบร่วมมือ การสอนแบบพหุปัญญา การสอนแบบ5Eจึงเป็นการสอนให้นักเรียนได้รู้จักวิธีทำโครงการวิจัยเล็ก ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ จุดประสงค์หลักของการสอนแบบโครงงานเพื่อต้องการกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักสังเกต รู้จักตั้งสมมติฐาน รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อตอบคำถามที่ตนเองอยากรู้ รู้จักสรุป และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ค้นพบ (กรมวิชาการ.2542 : 34)

        ภูมิปัญญาจึงเป็นสิ่งที่กล่าวถึงกันมากหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ในมาตรา 69 กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ สนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีสิทธิในการจัดการศึกษาอบรมและฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการของท้องถิ่น (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540. 2550 : 10-75) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตามศักยภาพ เพื่อให้มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง การนำแหล่งเรียนรู้ใน ชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจนวิทยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ในการจัดกระบวน การเรียนการสอน ซึ่งเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยให้การะบวนการเรียน การสอนบรรลุจุดมุ่งหมายได้ตามที่ต้องการ การนำภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้ มาใช้ในหลักสูตรการเรียน เป็นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ได้เน้นการมีส่วนร่วมของ ชุมชน โดยเฉพาะปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นผู้เชื่อมโยงชุดความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับสถานศึกษาเข้าสู่หลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนของสถานศึกษา ในแต่ละท้องถิ่น

          ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพสมศ. รอบสองของโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมพบว่า มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรในระดับพอใช้ มีค่าเฉลี่ย 2.80 และมาตรฐานที่ 9 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.02  และสมศ. ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า  ควรพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการเรียนรู้ให้ครบถ้วน เพื่อส่งผลสัมฤทธิ์ของการเรียนให้ผู้เรียนสูงขึ้น  ควรดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและควรดำเนินการเร่งปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงยิ่งๆ ขึ้น

         คณะผู้วิจัย มีความสนใจในการพัฒนาหน่วยบูรณาการ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยใช้วิชาสังคมศึกษา เป็นแกนในการพัฒนา คณะผู้ศึกษามีความเห็นว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง5กลุ่มมีเนื้อหาสัมพันธ์กันและเชื่อมโยง กลมกลืนกันได้เป็นอย่างดี เพื่อพัฒนาผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะกระบวนการคิด การทำงาน มุ่งให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องจะได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อหาประสิทธิภาพของหน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ตามเกณฑ์ 80/80

2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม

3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ ของหน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมก่อนและหลังเรียน

 

วิธีการวิจัย

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเชียงยืน-พิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 285 คน

กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 36 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม  (Cluster Random Sampling)  

ตัวแปรที่ศึกษา

     ตัวแปรอิสระได้แก่ หน่วยบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

     ตัวแปรตามได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง แบบโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

     2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

     3. แบบวัดการคิดวิเคราะห์

การดำเนินการวิจัย

ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้

ขั้นที่ 1  วางแผนการปฏิบัติ (Planning) เริ่มด้วย

    ขั้นตอนที่ 1.1  ศึกษาข้อมูล

    คณะวิจัยได้ประชุมกลุ่มเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรบูรณาการ ทั้ง5 รายวิชา คือวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ให้วิชาสังคมศึกษาเป็นแกนในการพัฒนาหลักสูตร  เพราะเห็นว่าสามารถเชื่อมโยงทั้ง 5 รายวิชาได้อย่างกลมกลืน ศึกษาความมุ่งหมายของหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ อัตราเวลาเรียน แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานของ พุทธศักราช 2544  สู่การเชื่อมโยงไปโครงงานแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน โครงงาน ภูมิปัญญาไทยที่มีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตและอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของท้องถิ่นด้วยความภูมิใจบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สอดคล้องกับประสบการณ์ชีวิตจริงของผู้เรียน

ขั้นตอนที่ 1.2  การสร้างหน่วยบูรณาการ

    จากศึกษาความมุ่งหมายของหลักสูตร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คำอธิบายรายวิชา คณะดำเนินงานได้คำนึงถึงกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติของกลุ่มสาระและธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นสื่อจุดประกายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ภายใต้หัวเรื่อง วิถีชีวิตพอเพียง

 

 ผังมโนทัศน์ที่ หน่วยบูรณาการ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง

 

ขั้นตอนที่ 1.3  ดำเนินการสร้างเครื่องมือ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่

1.3.1  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน่วยบูรณาการ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น คณะผู้ดำเนินงานจัดประชุมกลุ่มย่อย ในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ออกแบบการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design คณะผู้ดำเนินงานได้จัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design  ในส่วนที่เป็นสาระแกนกลางในการพัฒนาคือคือกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาคณิตศาสตร์ใช้กิจกรรมการสอนแบบร่วมมือ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ใช้กิจกรรมการสอนแบบ5Eในรายวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้กิจกรรมแบบร่วมมือ ซึ่งแต่ละรายวิชามีการจัดค่ายกิจกรรมเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตพอเพียง ที่แหล่งเรียนรู้ศรีเนตรพัฒนา เป็นสื่อในการเรียนรู้ และจัดให้ตรงวันเดียวกันโดยได้เชิญนายกฤติเดช ศรีเนตรภัทธ์  ร่วมบูรณาการเนื้อหาในแหล่งเรียนรู้ นายกฤติเดช ศรีเนตรภัทธ์  เป็นปราชญ์ชาวบ้านในเรื่องการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในเรื่องการทำเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภายใต้ชื่อ  “ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ศรีเนตรพัฒนา”  

1.3.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1.3.3 แบบวัดการคิดวิเคราะห์ ใช้แบบวัดการคิดวิเคราะห์ของ

     ขั้นที่ 2  ลงมือปฏิบัติตามแผน (Action)และสังเกตการปฏิบัติ (Observation)  ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ดังนี้

2.1 ในการศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการสอนบูรณาการตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง ในแต่ละวิชาตามหน่วยการเรียนรู้ คุณครูแต่จะท่านจะสอนตามเนื้อหาสาระของตนเอง มีสื่อการเรียนรู้ร่วมกันคือ ใช้แหล่งเรียนรู้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านศรีเนตรพัฒนา ก่อนดำเนินการสอนได้ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และทดสอบการคิดวิเคราะห์ คณะผู้ดำเนินการวิจัยได้จัดกิจกรรมค่ายบูรณาการแหล่งเรียนรู้ศรีเนตรพัฒนา เป็นสื่อในการกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ ที่แหล่งเรียนรู้  “ศรีเนตรพัฒนา”  ในการดำเนินกิจกรรมในค่ายบูรณาการ ได้แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสามารถ กลุ่มละ5 คน นักเรียนทุกคนจะสะสมความรู้ในแบบบันทึกค่ายบูรณาการวิถีชีวิตพอเพียง

2.2 การดำเนินกิจกรรมในวันที่ 27-28  พฤศจิกายน 2553  นักเรียนพร้อมกันที่แหล่งเรียนรู้ศรีเนตรพัฒนา กิจกรรมที่ใช้กระตุ้นพฤติกรรมกลุ่มและกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีกิจกรรมเรียนรู้ ตามฐานการเรียนรู้ ได้สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ค่ายศรีเนตรภัทรพบว่า

      2.2.1 ฐานการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  โดยนายกฤติเดช ศรีเนตรภัทธ์  ปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า นักเรียนมีความสนใจในระดับดี  และนักเรียนทำใบงานที่ 1 ได้ ร้อยละ 95

      2.2.2 ฐานการเรียนรู้เรื่องน้ำยาล้างจานสมุนไพร  นักเรียนลงมือปฏิบัติการทำน้ำยาล้างจานสมุนไพร  จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนมีความสนุกสนานในการที่ได้ลงมือปฏิบัติทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม นักเรียนได้ทดสอบด้วยการจับต้อง ดม และชิม พืชสมุนไพรที่ใช้ในการทำน้ำยาล้างจาน นักเรียนตื่นเต้นดีใจมากที่เห็นผลงานของตัวเอง สมกับที่รอคอย เพราะการทำน้ำยาล้างจานต้องทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน จากการตรวจใบงานที่ 2 ได้ ร้อยละ 100 นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการทำได้ทุกขั้นตอน ทุกคน

      2.2.3 ฐานการเรียนรู้เรื่องบ้านดินลดภาวะโลกร้อน นักเรียนลงมือปฏิบัติการเหยียบดินเพื่อให้ได้มาซึ่งอิฐที่ใช้ก่อบ้าน จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนมีความสุข หลังจากวิทยากรให้ความรู้ในเชิงทฤษฎีนักเรียนมีข้อสงสัยซักถาม มากมาย เมื่อลงมือปฏิบัตินักเรียนแย่งกันเหยียบดินอย่างสนุกสนาน แบ่งหน้าที่ในการปั้นก้อนอิฐ เพื่อใช้ในการก่อบ้าน จากการตรวจใบงานที่ 3 ได้ ร้อยละ 90 นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการทำได้ แต่ถ้าให้เลือกระหว่างบ้านดินกับบ้านที่ทำจากปูน นักเรียนส่วนมากเลือกบ้านปูน แต่เขาก็มีเหตุผลเป็นของตัวเอง

      2.2.4 ฐานการเรียนรู้เรื่องบ้านพลังงานแสงอาทิตย์นักเรียนได้รับความรู้เรื่องวงจรโซลาเซล ที่นำมาใช้ในการสูบน้ำเข้าแปลงพื้นที่เกษตร  จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนมีความสนใจ จากการตรวจใบงานที่ 4 ได้ ร้อยละ 70 อาจเป็นเพราะวิทยากรเน้นทฤษฎีมากเกินไป นักเรียนรับได้น้อย

      2.2.5 ฐานการเรียนรู้กิจกรรมเผาถ่าน น้ำมันควันไม้ นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงจากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนให้ความร่วมมือในกิจกรรม มีการแบ่งงานอย่างเป็นระบบ มีแผนกตัดฟื้นให้ได้ขนาด ประมาณ75-80 ซม. นักเรียนได้เรียนเทคนิคการจับมืดที่ถูกต้องและไม่มีอันตรายจากท่านรองผู้อำนวยการสมบัติ เอื้อกิจ มีแผนกลำเลียงไม้ และแผนกจัดไม้เข้าเตาอย่างมีระเบียบ นักเรียนสามารถปิดหน้าเตาได้ เสียดายไม่สามารถเปิดหน้าเตา เพื่อดูผลงานแห่งความสำเร็จ  จากการตรวจใบงานที่ 5 ได้ พบว่านักเรียนมีการเขียนภาพเตาเผา มีการสรุปองค์ความรู้ เป็นMindMapได้

      2.2.6 ฐานการเรียนรู้ผังเกษตรทฤษฎีใหม่ นักเรียนได้ฝึกการทำแผนที่ การคิดคำนวณระยะทาง การคำนวณพื้นที่ใช้งาน จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนมีความสนใจมากมีความกระตือรือร้น นักเรียนได้ฝึกการคิดคำนวณ สังเกตได้ว่านักเรียนชายจะคิดคำนวณเลขได้เร็วกว่านักเรียนหญิง แต่นักเรียนหญิงไม่อู้งานเหมือนนักเรียนชาย จากการตรวจใบงานที่ 6 พบว่า 100ละร้อย นักเรียนเขียนแผนผังแหล่งเรียนรู้ศรีเนตรพัฒนาได้ อาจเป็นเพราะนักเรียนได้ลงมือเอง ได้พูดคุยสนทนาหยอกเล่น เดินบ้าง วิ่งบ้าง ระหว่างลงมือวัดแผนที่

      2.2.7 ฐานการเรียนรู้เรื่องประวัติกู่ทองจากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนมีความสนใจมาก  นักเรียนไม่ทราบว่าใกล้บ้านตัวเองมีโบราณสถาน อยู่ที่วัดป่ากู่ทอง ธรรมวิเวกบ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน เป็นซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐ อยู่ในสภาพพังทลายมากเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปขอม ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ที่น่ายกย่องและนับถือมากคือ ภูมิรู้ในท้องถิ่นของเราแต่งกายสุภาพมาก เป็นแบบอย่างที่ดี ที่สุดจากการตรวจใบงานที่ 7 พบว่า ร้อยละร้อย นักเรียนสรุปองค์ความรู้ ในรูปMindMap ได้ เป็นที่น่าเสียดายมากในกิจกรรมที่ 8 ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้เนื่องจากเวลามีจำกัด

      2.2.8 การวิเคราะห์อย่างใคร่ครวญ นักเรียนเริ่มฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ตามกลุ่มร่วมมือ มีกิจกรรมการละลายพฤติกรรมเพื่อเปิดคลื่นสมองและการบรรยายพิเศษเรื่องการทำโครงงานจาก ดร. ฤทธิไกร ไชยงาม พบว่านักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากค่ายเรียนรู้ศรีเนตรพัฒนา

2.3 การสร้างองค์ความรู้ใหม่

      2.3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มสำรวจสภาพชุมชนของตนเอง และร่วมกันอภิปรายประเด็นที่ต้องการรู้ ที่ต้องการพัฒนา เป็นหัวข้อโครงงาน เมื่อได้หัวข้อโครงงานนักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันกำหนดจุดประสงค์ ตั้งสมมติฐาน กำหนดวิธีการศึกษาจากแหล่งความรู้ กำหนดเค้าโครงของโครงงาน  นำเสนอเค้าโครงงาน

      2.3.2 เผยแพร่ผลงานด้วยกิจกรรมเปิดโลกโครงงาน พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นมาก นักเรียนเตรียมตัว เตรียมคำพูดที่สวยๆ โดยมีเพื่อนๆคอยบอก ว่าพูดอย่างนี้ไม่ถูก พูดอย่างนี้ไม่สวย สังเกตได้ว่านักเรียนมีความสุขในการตกแต่งบอร์ดให้สวยงาม นักเรียนแสดงออกย่างเต็มศักยภาพ

     ขั้นที่ 3  สะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection)

3.1ผลการศึกษาหน่วยบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ดังนี้

 ตารางที่ 1  คะแนนการจัดกิจกรรม การทดสอบและความสามารถในการคิดวิเคราะห์

                 หน่วยบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องวิถีชีวิตพอเพียง

                  โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  ชั้นระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ดังนี้

 

 

แบบบันทึก

ค่ายเรียนรู้

(80คะแนน)

โครงงาน

(80คะแนน)

รวมคะแนน

(160 คะแนน)

ทดสอบ 5รายวิชา

(150 คะแนน)

การคิดวิเคราะห์(70 คะแนน)

หลัง

ก่อน

หลัง

ก่อน

คะแนนรวม

2,745

2,631

5,376

4,971

3,802

1,687

1,547

คะแนนเฉลี่ย

76.25

73.08

149.33

138.08

105.61

46.86

42.97

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1.5

2.708452

4.028

7.22

10.15

4.59

4.76

                         E1

93.33

 

 

 

 

                        E2

 

92.06

 

 

 

EI

73.15

จากตารางที่ 1 พบว่าคะแนนจากการกิจกรรมระหว่างเรียน  การทดสอบและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หน่วยบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ในระดับม.3 คิดเป็นร้อยละ 93.33/ 92.06 แสดงว่าหน่วยบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 92.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  80/80  เป็นไปตามสมมติฐานการศึกษาที่ตั้งไว้  ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7315 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น  0.7315 หมายความว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น จากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 73.15

3.2 ค้นพบที่ได้  พบว่าปัญหาอยู่ที่ครู คือ ครูขาดทักษะการตั้งคำถาม การเชื่อมโยงองค์ความรู้   การวางแผนทำงานร่วมกัน มีน้อย เพราะครูต่างมีภาระงานมาก มากจริงๆ    ครูเรายังยึดตนเองเป็นสำคัญมากกว่าผู้เรียน ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม คือ มุ่งจัดการเรียนรู้ให้จบตามเนื้อหาในแบบเรียน ใช้วิธีสอนที่เน้นการบรรยายเป็นหลัก ครูขาดความมั่นใจในการเป็นที่ปรึกษาโครงงาน 

 

สรุปผลการวิจัย

             ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. การศึกษาหลักสูตร  ได้หลักสูตรบูรณาการ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนด้วยด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ภายใต้ชื่อหน่วยบูรณาการ วิถีชีวิตพอเพียง

  1. การศึกษาการสร้างหน่วยบูรณาการ  ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงงาน โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ในการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3. การศึกษาดำเนินการ จากการศึกษาภาคปฏิบัติ การจัดกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการสอนด้วยโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม โครงงานที่นักเรียนสร้างขึ้นมีคุณภาพ ผ่านการประเมินทุกโครงงาน

4. สรุปผลการศึกษาการเรียนรู้ สรุปผลการศึกษาการจัดหน่วยบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น พบว่า

4.1  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ  E1 / E2  เท่ากับ  93.33/ 92.06ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีค่าเท่ากับ 73.15

4.2  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01

4.3 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01

 

อภิปรายผลการศึกษา

1. การศึกษาหลักสูตร  คณะผู้ดำเนินงานได้ประชุมกลุ่มเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรบูรณาการ ทั้ง5 รายวิชา คือวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา โดยได้มีมติให้วิชาสังคมศึกษาเป็นแกนในการพัฒนาหลักสูตร  ภายใต้ชื่อหน่วยบูรณาการ วิถีชีวิตพอเพียง พบว่า หลักสูตรสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้จริง นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงได้

2การศึกษาการสร้างหน่วยบูรณาการ  คณะผู้ดำเนินงานใช้รูปแบบการสอนด้วยโครงงาน ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น พบว่าหน่วยบูรณาการสามารรถพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้เนื่องจาก

3. การศึกษาดำเนินการ คณะผู้ดำเนินงานได้ดำเนินการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการสอนด้วยโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

4. สรุปผลการศึกษาการเรียนรู้ สรุปผลการศึกษาการจัดหน่วยบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น พบว่า

4.1  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ  91.74 / 85.48 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีค่าเท่ากับ 64.97

4.2  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01

4.3 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01

 

ข้อเสนอแนะ

ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า

1. การพัฒนาหลักสูตรในการใช้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

เป็นแกนในการพัฒนา มีเนื้อหาสัมพันธ์กันและเชื่อมโยงกลมกลืนกันได้เป็นอย่างดี กับอีก 4 รายวิชา สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของเด็ก และยังแบ่งเบาภาระในการสอนของครูอีกด้วย

2. การสร้างหน่วยบูรณาการ การประชุมกลุ่มเพื่อสร้างหน่วยบูรณาการ

โดยคำนึงถึงสำคัญจากสาระการเรียนรู้ให้ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. การศึกษาดำเนินการ จากการประชุมกลุ่ม พบว่าปัญหาอยู่ที่ครู  เพราะ

    3.1 ครูขาดทักษะการตั้งคำถาม การเชื่อมโยงองค์ความรู้  

    3.2 การวางแผนร่วมกัน มีน้อย เพราะครูต่างมีภาระงานมาก มากจริงๆ

    3.3 จากการใช้หน่วยบูรณาการพบว่า ครูเรายังยึดตนเองเป็นสำคัญมากกว่าผู้เรียน ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม คือ มุ่งจัดการเรียนรู้ให้จบตามเนื้อหาในแบบเรียน ใช้วิธีสอนที่เน้นการบรรยายเป็นหลัก

    3.4 ครูขาดความมั่นใจในการเป็นที่ปรึกษาโครงงาน

    3.5 จุดพัฒนาของเรา คือน้อมนำวิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปเพื่อความรู้ที่หยั่งยืน

4. สรุปผลการศึกษาการเรียนรู้  หน่วยบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องวิถีชีวิตพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น สามารถพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้เป็นไปตามเป้าหมาย

 

บรรณานุกรม

 

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

             กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2551.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนรู้แบบบูรณาการ.  กรุงเทพฯ :

             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  2553.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ.การสอนคิดด้วยโครงงาน:การเรียนการสอนแบบบูรณาการ.   

              กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข 2551  ทักษะ5C เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และ

             การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

             มหาวิทยาลัย. 2551.

สำนักศึกษาทั่วไป. ก้าวแรกของLLENมหาสารคามโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อ หนุนเสริมการพัฒนาการการเรียนรู้ ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. 

             มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2553.

หมายเลขบันทึก: 563227เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2014 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2014 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท