LLEN_3


ถ้าถ่ายทอดออกไปได้ จะเกิดประโยชน์ทำให้มรดกทางภูมิปัญญานี้อยู่กับเราไปนานๆ...

เรียนรู้อักษรธรรมกับเพื่อนที่เป็น "ดอกไม้เเห่ง LLEN"

        เราไม่รู้เราก็มารู้ไว้เป็นการดี มาเรียนรู้จากผู้รู้ มาเรียนรู้จากนักอักษรธรรมน้อยที่เป็นเพื่อของเราเอง เป็นผลผลิตของ LLEN มหาสารคาม ในครั้งนี้ก็นับว่าเป็นความโชคดีอีกเเล้ว ที่ได้มาเรียนรู้กับเพื่อนของเรา ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ที่งานนี้เป็นการเรียนรู้อักษรธรรมของน้องๆ ม.2เเละม.1 ในขณะนั้น เราก็ได้โอกาสมาเรียนรู้พอดี เพราะเราก้ไม่รู้เลยว่า ฮักษรธรรม คือ อะไร เป็นอย้่างไร พอได้มาดูจริงๆเเล้วนั้นอักษรธรรมที่คนเฒ่าคนเเก่กล่าวถึงอยู่บ่อยๆก็เป็นอย่างนี้นี่เอง เราเคยเห็นอยู่ใต้ฐานประพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเราทุกๆวัน(บ้านกระผมอยู่ติดวัด) งานนี้เริ่มต้นขึ้นด้วยเพื่อนๆที่เป็นผู้นำห้อง 3/1 ทีเเรกๆนั้นเราก็เขียนไม่เป็นไม่รู้จะหยักไปอย่างไร เเต่พอมาดูจริงๆเเล้วที่ไหนได้ เขามีการเทีบยตัวอักษร มีคู่มือเป็นเล่ม เหมือนเครื่องช่วยให้ง่ายขึ้นอีกต่างหาก มีการประกวด้วย ประกวดคนที่เขียนสวยที่สุด เราก็เขียนไม่สวย พึ่งหัดเขียนก็เปรียบเหมือบกับอนุบาลฝึกหัด ภาษาธรรมนั้น เเบ่งออกเป็นภาษาธรรมหลายประเภท อันได้เเก่ ภาษาธรรมเหนือ ภาษาธรรมภาคกลาง ภาษาธรรมอีสาน ซึ่งเเต่ละประเภทนั้นจะคล้ายกันไป เเต่จะมีอยู่หลายตัวที่ใช้ไม่เหมือนกัน ทำให้กระผมเองเริ่มเข้าใจมากยิ่งขึ้นโดยในครั้งเเรกนั้น คิดว่าภาษาก็เหมือนกันๆกัน ... กิจกรรมในวันนี้ เพื่อนผู้นำ พาเราเเละน้องๆเขียนทีละตัว หัดเขียนทีละตัวๆ ตั้งเเต่ ก - ฮ เเละมีสระอีกหลายๆตัว เเล้วก็เสร็จไปสำหรับตัวอักษรเเละพยัญชนะ ซึ่งก็ถือว่าไม่ยาก ทุกคนสามารถเขียนได้ เเต่จะเขียนดีไหม ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องขึ้นอยู่กับพรเเสวง  

        เมื่อได้ตัวอักษรเเละพยัญชนะเเล้วนั้น เราก็มาหัดผสมกับกันเลย ด้วยคำง่ายๆก่อน คำว่า หมา เเมว  พระ  โรงเรียน  มือ เก้าอี้ เป็นต้น หัดผสมได้สักพักหนึ่งเเล้วก็มาลองหัดอ่านพร้อมกัน ทีละคำ ๆ จนเริ่มอ่านอ่านได้เเล้ว หลังจากนั้นเพียงไม่นานด้วยระยะเวลาที่จำกัด ก็มาถึงการเขียนชื่อ ของตนเอง ช่วงนี้ใ้ชเวลาของตนเอง ด้วยตนเอง ในการเขียนชื่อตนเอง มีเพื่อนเดินมาให้คำปรึกษา อยู่หลายครั้งเราจึงเขียนชื่อเราออก ด้วยภาษาธรรมอีสานที่เรียนมาครึ่งค่อนวัน ภาษาธรรมอีสานนี้ ถ้ามองอีกอย่างหนึ่งก้ไม่ยากเพราะต้องอาศัยหลัการจำ การฝึกเขียนบ่อยๆมิฉะนั้นจะลืม ซึ่งพอย้อนมาถึงทุกวันนี้ กระผมเองก็ได้ลืมไปเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว จำต้องศึกษาเองอีกเพื่อเน้นย้ำตนเอง

        ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาธรรมอีสานในครั้งนั้นทำให้เราได้หวนมองตนเอง ในชุมชน ในบ้านเกิดของตนเองว่า ยังมีอีกสิ่งที่หนึ่งทางบรรพบุรุษได้ทิ้งมรดกไว้ ที่ทุกวันนี้ลบเลือนหายไปจนเกือบหมดเเล้ว  สิ่งที่เราทำในวันนั้น ทำให้ต้องคิดต่อไปอีกล่ะว่า อักษรธรรมเเห่งภูมิปัญญานี้เราจะสืบทอดต่อไปได้อย่างไร เพราะเกิดมาจากบรรพบุรุษของราเอง จะมีเด็กสักกี่คนที่สนใจเเละเขียนภาษาธรรมอีสานเป็น จะมีเด็กสักกี่คนที่จะสืบทอดมรดกทางภูมิปัญญาที่รุ่นหลังทิ้งเอาไว้ให้ เเละจะมีเด็กสักกี่คนที่ใช้เวลาว่างในการศึกษาชุมชนของตนเช่นนี้ 

        ย้อนมองไปถึงอักษรธรรมอีสานนี้ครั้งใด ยิ่งรู้สึกว่า ชุมชนของเรานั้น มีสิ่งใหม่เข้ามาเเทนที่มรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญานี้หมดเเล้ว ทุกวันนี้เหลือก็เเต่ภาษาที่เราใช้กันในทุกๆวัน  เเละมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย  ถ้ามองจริงๆเเล้ว เวลาเพียงไม่นานก็ทำให้บริบทสังคมนั้นเปลี่ยนเเปลงไปอย่างรวดเร็ว จนเราเองในบางครั้งก็ตามไม่ทัน ... การมาเรียนรู้อักษรธรรมอีสานในคราวนี้เป็นเเรงบันดาลใจให้ก้าวต่อไปสู่โครงงานอีกครั้ง ... ผลที่เกิดขึ้นในการมาเรียนในคราวนี้โดยส่วนตัวนั้นกระผมเองมองว่า เป็นผลต่อตนเอง คือ เราได้รู้ว่าภาษาธรรมอีสานนั้นอยู่ในชุมชนของเรามาช้านานเเล้ว เเล้วก็ลบเลือนไปเเล้ว  รู้ว่าอักษรธรรมนั้นไม่ยากเพียงฝึกฝนตนเอง  โดยที่จะส่งผลต่อสังคม โดยที่ถ้าเเกนนำที่มาเรียนรู้ในคราวนี้สามารุจดจำ เเละฝึกฝนตนเอง หรือถ่ายทอดออกไปได้ จะเกิดประโยชน์ทำให้มรดกทางภูมิปัญญานี้อยู่กับเราไปนานๆ ...  

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #LLEN_3#llen
หมายเลขบันทึก: 563225เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2014 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2014 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการถอดบทเรียน "อักษรธรรม" ที่ดีสมควรเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันค่ะ...

ขอขอบคุณ อาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ ที่มาให้กำลังใจครับ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท