อบรมการพัฒนาการวิจัยทางการพยาบาล


     

       วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 57 เวลา 13.30 น.-16.30 น.  ข้าพเจ้าพร้อมพยาบาลใน 5 หอผู้ป่วยในแผนกการพยาบาลจักษุ-โสตฯ คณะกรรมการบริหารแผนกฯ  เข้าอบรมวิชาการในแผนกฯเรื่อง "การพัฒนาการวิจัยทางการพยาบาล" ณ.ห้องประชุมภาควิชาจักษุ-โสตฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผู้จัดคือกรรมการวิชาการแผนกการพยาบาลจักษุ-โสตฯ

        วิทยากรคือ นางสาวพรนิภา หาญละคร “พี่แจ๋ว” Blogger โกทูโนว์ของเราเอง ท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพัฒนาบริการสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งมีพี่แก้ว พี่อุบล จ๋วงพานิช หัวหน้าพยาบาลฝ่ายพัฒนาบริการสู่ความเป็นเลิศเป็นประธาน

      วันนี้นำเนื้อหาส่วนหนึ่งมาถ่ายทอดค่ะ และถือโอกาสบันทึกไว้กันลืมค่ะ

      วิทยากรพูดถึงR2R  Routine to Research  การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย

       การใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือสร้างความรู้ คนทำงานคิดตั้งโจทย์ การใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือพัฒนางาน วิเคราะห์ สรุปผล คนทำวิจัยต้องขี้สงสัย ท้าทาย ทำแล้วภูมิใจ งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนาทีม มีการทำงานร่วมกัน เกิด teamwork  พัฒนางาน คน องค์กร ได้องค์ความรู้ ยกระดับขึ้น ทำให้งานเป็นเครื่องมือสู่ความสุข เกิดมิตรภาพ

       โดยให้วิเคราะห์ตนเองว่าอยู่กลุ่มไหน เช่น ไม่ต้องการทำวิจัย  สนใจ  สนใจแต่ไม่มีโครงการแน่นอน มีโครงการ มีหัวข้อแต่ยังไม่เริ่มและสุดท้ายกลุ่มที่เก็บข้อมูลเอาไว้บ้างแล้ว ต้องการรู้จะทำอะไรบ้าง ซึ่งทุกกลุ่มสามารถทำวิจัยได้

        ต้องศึกษางานที่เกี่ยวข้อง สังเกตปัญหาการทำงาน การจัดการปัญหา หรือที่มีโครงการแล้วนำมาปรับ เขียนให้ชัด ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ถ้าเก็บข้อมูลเอาไว้แล้วลองเอามาพิจารณา ดูว่าจะปรับอะไรบ้าง ลองค้นหาปัญหาดู

        ต้องอ่านหนังสือมากขึ้น ลดเวลาทำในสิ่งที่ไม่จำเป็นลง ศึกษางานวิจัย ฝึกเขียน หาพี่เลี้ยง ซึ่งในทีมพัฒนาบริการสู่ความเป็นเลิศยินดีให้คำปรึกษาเสมอ

        หาเวลาผลักดันงานประจำสู่งานวิจัย เอาโครงการมาทำ หัดมองปัญหาในงาน อ่านงานคนอื่นมากๆ มีก้าวแรกก็จะมีก้าวต่อไป การเริ่มต้นมีความสำคัญ

        ซึ่งโจทย์ได้มาจากหลายแห่งเช่นกระบวนการดูแลผู้ป่วย อุบัติการณ์ต่างๆ เป็นต้น

       ตัวอย่าง เช่น อาจศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในกลุ่มผู้ป่วยที่ดูแล  ทบทวนวิเคราะห์ปัญหา ตั้งคณะทำงาน เช่นพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย

       วิทยากรได้บรรยายถึงการเขียนโครงร่างวิจัยพร้อมเปิดโอกาสให้ซักถาม

 

       ฟังแล้วจุดประกาย ข้าพเจ้าเองร่วมงานวิจัยR2Rมาบ้าง ฟังแล้วจะเริ่มทำเรื่องใหม่ การป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อยอดจากโครงการเดิมที่ทำ นอกจากนี้ยังสนใจทำงานวิจัยเรื่องการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวกับงานการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

       วิทยากรบรรยายได้ดีมากค่ะ น่าสนใจ ผู้เข้าฟังคนหนึ่งบอกข้าพเจ้าว่าวิทยากรทำเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ดึงดูดความสนใจ สนุกกับการฟังและกระตุ้นให้มีพลังอยากทำซึ่งข้าพเจ้าเองก็รู้สึกเช่นกัน

       ขอบคุณมากค่ะที่กระตุ้นให้ก้าว บอกเรื่องราว 

       พร้อมค่ะ...กับR2R

 

              

หมายเลขบันทึก: 561659เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ตามมาเชียร์การทำงานครับ

สู้ๆครับ

ลงมือทำ แล้วจะรู้ว่า วิจัยไม่ใช่เรื่องยากค่ะ น้องๆๆๆ

ขอบคุณมากค่ะพี่วรารัตน์

ขอบคุณค่ะอาจารย์อร วรรณดา

ดอกไม้แสนงาม ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ดร.ขจิต

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ คนทำงานในหน้างานบางทีก็ทำไปเรื่อยๆจนบางทีได้งานปฏิบัติอย่างเดียว ทำมามากแต่ไม่ได้จัดระบบหรือทำเป็นผลงาน บางครั้งก็ขาดแรงจูงใจค่ะ

การได้ทำผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่องคู่กันไปเป็นสิ่งที่ดี ได้มาอบรม ก็กระตุ้นอีกทางหนึ่ง สร้างความมั่นใจเพิ่มขึ้นจากการได้ความรู้เพิ่ม การมีแรงสนับสนุน มีทีม มีพี่เลี้ยงค่ะ

ขอบคุณมากค่ะพี่แก้ว

ขอบคุณมากค่ะ

อาจารย์อ.นุ

ป้าแดง

คุณพ.แจ่มจำรัส

อาจารย์บุษยมาศ

อาจารย์ดร.พจนา

และอาจารย์อร วรรณดาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท